เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 8776 ภาษาไทย กับภาษาศาสคร์
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 30 ม.ค. 06, 20:00

 ปล ผู้แต่งหนังสือเล่มนี้ เป็นชาวไทยค่ะ....

มีความลับหรือค่ะ ถึงบอกชื่อผู้แต่งไม่ได้
คุณแย้มมาทีละนิด เหมือนเล่นโปลิซจับขโมย
บันทึกการเข้า
บุรุษจรัสแสง
อสุรผัด
*
ตอบ: 14

เรียน


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 30 ม.ค. 06, 21:39

 ไม่ได้เป็นความลับค่ะ scan มาเลยดีกว่า...
บันทึกการเข้า
บุรุษจรัสแสง
อสุรผัด
*
ตอบ: 14

เรียน


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 30 ม.ค. 06, 21:40

 ...
บันทึกการเข้า
บุรุษจรัสแสง
อสุรผัด
*
ตอบ: 14

เรียน


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 30 ม.ค. 06, 21:42


...
บันทึกการเข้า
บุรุษจรัสแสง
อสุรผัด
*
ตอบ: 14

เรียน


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 30 ม.ค. 06, 21:43


2
บันทึกการเข้า
บุรุษจรัสแสง
อสุรผัด
*
ตอบ: 14

เรียน


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 30 ม.ค. 06, 21:44


3
บันทึกการเข้า
บุรุษจรัสแสง
อสุรผัด
*
ตอบ: 14

เรียน


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 30 ม.ค. 06, 21:46


4
บันทึกการเข้า
บุรุษจรัสแสง
อสุรผัด
*
ตอบ: 14

เรียน


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 30 ม.ค. 06, 21:46


5
บันทึกการเข้า
บุรุษจรัสแสง
อสุรผัด
*
ตอบ: 14

เรียน


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 30 ม.ค. 06, 21:48

 ชื่อหนังสือ ไวยากรณ์ไทยในภาษาศาสตร์

ผู้แต่งคือ ศ.ดร.อุดม วโรตม์สิกขดิตถ์

ค่ะ
บันทึกการเข้า
ชื่นใจ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 136

นักศึกษาปริญญาเอก University of East Anglia England


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 31 ม.ค. 06, 05:33

 ขอออกตัวพักเรื่องภาษาศาสตร์ค่ะ เพราะว่าไม่ได้เป็นผู้รู้จริงทางนี้
แต่ยังหวังว่าจะมีผู้รู้จริงช่วยให้ความรู้เพิ่มเติมเรื่องนี้ได้ในอนาคต

อยากปรารภกับ จขกท เรื่องที่ฉีกแนวไปจากประเด็นเดิมเล็กน้อย
เท่าที่อ่านเอกสารที่คุณสแกนมานั้น
อิฉันอ่านในฐานะผู้รับสารที่ไร้เดียงสาต่อศาสตร์นี้ในเชิงลึก
รวมทั้งวิเคราะห์ตามข้อความในคำนำอย่างไม่บวกไม่ลบแล้ว เห็นว่า
ผู้เขียนตำราสะท้อนจุดประสงค์ของตนว่า
ต้องการนำเสนอความคิดเห็นอีกแง่มุมหนึ่งที่ต่างไปจากองค์ความรู้ที่มีอยู่เดิม

ในฐานะที่อิฉันเคยทำงานด้านการสอน
อิฉันชื่นชมที่คุณพยายามหาคำตอบในสิ่งที่คุณสงสัย
แต่อยากแนะนำเพิ่มเติมว่า กรณีที่คำถามของคุณเป็นเรื่องของ “ศาสตร์”
การหาคำตอบด้วยวิธีที่เป็น “ศาสตร์” น่าจะเอื้อประโยชน์ได้สูงสุด
ถ้าคุณช่างวิเคราะห์ จะพบว่า ผู้เขียนตำราแสดงข้อความไว้หลายแห่งว่า
ท่าน “เชื่อว่า” เรื่องราวของภาษาไทยน่าจะเป็นเช่นนั้น-เช่นนี้...
ย่อมหมายความว่า ท่านต้องมี“แหล่งข้อมูล หรือ แหล่งอ้างอิง หรือ หลักฐาน”
ที่ท่านต้องสืบค้นมาแล้วด้วยวิธีที่เป็นศาสตร์ที่น่าเชื่อถือ สืบค้นอย่างละเอียด เป็นจำนวนมากพอ
และที่สำคัญ ท่านต้องอ้างอิงแหล่งข้อมูลต่างๆ ไว้ในบรรณานุกรม
คุณสามารถเรียนรู้การเป็นนักแกะรอยองค์ความรู้ ด้วยวิธีที่เป็น “ศาสตร์” ได้
โดยการสืบค้น เมื่อค้นเจอก็คว้ามาศึกษาเพิ่ม
คุณอาจจะพบคำตอบที่ช่วยคลายความสงสัยลงได้ หรือหากไม่พบ อย่างน้อยคุณก็ได้รู้ว่า
อะไรคือมูลเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้เขียนแสดงความคิดเห็นเช่นนั้น
และหากคุณอยากพิสูจน์ต่อไป สิ่งที่คุณค้นคว้าวิจัยอาจกลายเป็นองค์ความรู้ใหม่ด้วยก็เป็นได้
บันทึกการเข้า
ชื่นใจ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 136

นักศึกษาปริญญาเอก University of East Anglia England


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 31 ม.ค. 06, 05:34

 อิฉันมีความคิดเห็นส่วนตัวว่า คำถามของคุณไม่ควรเป็นคำถามในกระทู้
หากกระทู้ของคุณเป็นไปเพื่อการแสดงความคิดเห็น ไม่มีถูกหรือผิด อย่างนี้น่าจะใช้ได้
หรือกระทู้ของคุณเป็นการนำเสนอองค์ความรู้ที่ผ่านกระบวนการค้นคว้าวิจัย
และเป็นยอมรับและเผยแพร่กันกว้างขวางแล้ว ก็น่าจะใช้ได้เหมือนกัน

แต่เมื่ออิฉันติดตามกระทู้นี้มาเรื่อยๆ อิฉันเห็นว่าองค์ความรู้เรื่องนี้ยังไม่สิ้นสุด
ดังนั้นการนำมาเป็นประเด็นในกระทู้อาจจะยิ่งทำให้เกิดความสับสนมากยิ่งขึ้น
ท่านผู้เขียนสร้างทฤษฎีและเผยแพร่สมมติฐานของท่าน
แต่หลักวิชาที่ยอมรับทั่วไปว่าไว้อีกอย่าง และยังไม่มีใครหรือทฤษฎีใดออกมาสรุปแบบฟันธง
ย่อมแสดงว่าประเด็นนี้ยังต้องการการศึกษา-ค้นคว้า-วิจัยเพิ่มเติม
เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่หนักแน่นพอ
(นี่พูดด้วยความไม่เชี่ยวชาญทางภาษาศาสตร์
แต่พูดใช้วิจารณญาณพิจารณาสิ่งที่อ่านทั้งหมดอย่างละเอียดแล้ว)
...
อ้อ...เกือบลืมค่ะ หนังสือเล่มนี้พิมพ์ออกเผยแพร่เมื่อไหร่ ปีไหนคะ
ถ้ามันนานมากแล้ว ให้ตระหนักไว้ว่าอาจจะมีการค้นคว้าวิจัยแล้วเยอะแยะมากมาย
จนได้ข้อสรุปไปแล้ว...นั่นคือคุณต้องพยายามแกะรอยไปให้ถึง
แต่ถ้าเพิ่งพิมพ์เผยแพร่เมื่อไม่นานมานี้ ก็โยงไปถึงสิ่งที่อิฉันว่าไว้เมื่อสักครู่
มันยังต้องการการศึกษา-ค้นคว้า-วิจัยเพิ่มเติม
และถ้าเรื่องนี้กำลังได้รับการศึกษา-ค้นคว้า-วิจัยเพิ่มเติมอยู่จริง
ก็ไม่มีใครให้ข้อสรุปได้ในตอนนี้...นั่นก็คือคุณต้องพยายามแกะรอยอีกเหมือนเดิม

ทั้งหมดที่เขียนมายืดยาว รวมทั้งที่เคยปรารภไว้ใน คหพ ก่อนๆ ด้วย
ก็เพียงอยากจุดประกายให้คุณเป็นนักค้นคว้าที่ดีและรอบคอบ
วิเคราะห์-แกะรอย แหล่งข้อมูล (ที่น่าเชื่อถือ) เป็นและมีประสิทธิภาพ
รวมทั้งเลือกใช้วิธีที่เหมาะสมที่สุดในการวิเคราะห์-แกะรอย
เพื่อคุณจะมีคุณสมบัติของความเป็นนักวิจัยที่ดีอยู่ในตัว
หวังว่าความคิดเห็นของอิฉันจะเอื้อประโยชน์ให้คุณได้ (หากไม่ใช่วันนี้ ก็ในอนาคต)

ส่วนเรื่องของภาษาศาสตร์ที่เกี่ยวกับภาษาไทย
คงต้องขอความกรุณาจากอาจารย์เทาชมพูรวมถึงท่านผู้รู้ท่านอื่นแล้วหละค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 31 ม.ค. 06, 09:38

 ดิฉันคิดว่าเป็นทฤษฎีที่ดร.อุดมนำเสนอ   ฉีกแนวมาจากหลักทฤษฎีเดิมๆของไทย  ที่ดร.อุดมเห็นว่าเอาแบบไวยากรณ์มาจากฝรั่ง สวมเข้ากับประโยคไทย

ผู้วางหลักของเดิมก็คือพระยาอุปกิตศิลปสาร     หลักเกณฑ์ของท่านเป็นที่ยึดถือใช้ต่อกันมาเรื่อยๆหลายสิบปี ในคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งเป็นคณะที่ผลิตครูภาษาไทยเป็นแห่งแรกในประเทศไทยก็ยึดตามหลักเกณฑ์นี้

อันที่จริงมันก็ไม่มีข้อห้ามว่าใครจะเสนอทฤษฎีใหม่ขึ้นมาไม่ได้  ไม่ว่าในสาขาวิทยาการสาขาไหนทั้งนั้น
ถ้าหากว่าเข้าท่า และมีเหตุมีผลและข้อพิสูจน์รับกันเหมาะเจาะลงตัว   เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป   ทฤษฎีใหม่ก็ย่อมแทนที่ทฤษฎีเก่าได้เป็นเรื่องธรรมดา

คุณคงจะเรียนวิชานี้อยู่ในมหาวิทยาลัย ระดับปริญญาโทหรือปลายๆปริญญาตรี ถึงเกิดสงสัยขึ้นมา

อันที่จริงเอาที่เรื่องน่าจะเข้าใจง่ายกว่า

เริ่มด้วยคำกริยา พจนานุกรมให้ความหมายดังนี้
ค้น :  กริยา
คำ :  กริยา
เสียง :  กฺริ-ยา; กะ-ริ-ยา
คำตั้ง :  กริยา
นิยาม :  คำที่แสดงอาการของนามหรือสรรพนาม.

กริยา คือคำที่แสดงอาการ -  เรียนกันมาแบบนี้
แต่พอมาวางทฤษฎีใหม่ว่า  จะดูว่าคำไหนเป็นกริยา   ไม่ได้มองในแง่ว่ามันแสดงอาการหรือไม่แสดง   แต่ดูว่าใส่คำว่า "ไม่"ลงไปข้างหน้าได้ไหม

ถ้างั้น ก็จะเกิดมีคำจำนวนมากมายที่ใส่คำว่า "ไม่" ได้ แต่พอให้แสดงอาการ ไม่รู้จะแสดงยังไง

เขากินข้าว   เขาไม่กินข้าว  ยังงี้ดูออกว่า "กิน" เป็นคำกริยา
เขาก่อความไม่สงบ    ถ้างั้น สงบ ก็เป็นคำกริยา น่ะสิคะ
แล้วคำว่า "ก่อ" เป็นอะไรในประโยค  
หรือจะถือว่าประโยคมีคำกริยา 2 คำ คือ "ก่อ " และ "สงบ"  แล้วคำกริยา 2 คำนั้นมีบทบาทต่างกันอย่างไร  
กริยา มีอกรรมกริยา และสกรรมกริยา   สงบเป็นคำกริยาประเภทไหน

อาหารจานนี้อร่อย  อาหารจานนั้นไม่อร่อย   อร่อยเป็นคำกริยาของอาหารงั้นหรือคะ
ไม่ใช่นะคะ  อาหาร มันแสดงอาการ  อร่อย ด้วยตัวมันเองไม่ได้ คนกินต่างหาก รู้สึก อร่อย

ดิฉันยังไม่อยากสรุปความเห็นของตัวเองว่าไม่เห็นด้วยกับหลักของดร.อุดม   เพราะว่าได้อ่านตัวอย่างเพียงไม่กี่หน้า
พวกนักภาษาศาสตร์เขาอาจจะมีวิธีคิดของเขาแตกต่างไปจากนักวรรณคดีก็ได้  
ก็ได้แต่ยกขึ้นมาเท่าที่สะดุดใจ เท่านั้น
เดี๋ยวถ้าเจออาจารย์ภาษาศาสตร์จะลองถามดู

ส่วนคุณจขกท.  ดิฉันอยากฟังความเห็นของคุณบ้าง  ไม่อยากให้ทำแต่ตั้งคำถามหรือสแกนงานของดร.อุดมมาให้คนอื่นออกความเห็นฝ่ายเดียว
บันทึกการเข้า
บุรุษจรัสแสง
อสุรผัด
*
ตอบ: 14

เรียน


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 31 ม.ค. 06, 15:11

 สรุปง่าย ๆ เลยน่ะค่ะหลังจากที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ ตั้งแต่ได้อ่านคำนำมันก็ทำให้เกิดความอยากรู้แนวคิดที่แตกต่างไป ของผู้แต่งและคิดว่าคงสนุกดี แต่พอระหว่างอ่านบทที่ 1 ก็ต้องยอมรับว่ายากมาก ที่จะต้องทำใจ ทำหัวให้โล่ง ว่าที่อ่านนี้เป็นเรื่องแนวคิดใหม่ เพราะความรู้สึกเก่า ๆ ที่เคยได้เรียนมา มันก็ออกมาตีด้วย บางตอนที่อ่านตัวอย่างที่ผู้แต่งได้มานำเสนอก็พอเข้าใจ แต่อีกใจก็ชอบคิดถึงเรื่องที่เคยเรียนมานานแล้ว ก็เลยลองมา post ถามดูค่ะ เพื่อเป็นแบ่งปันความสับสนในหัวค่ะ 5555

แต่ก็ขอขอบคุณน่ะค่ะ ที่พยายามช่วยเหลือในครั้งนี้      
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.042 วินาที กับ 19 คำสั่ง