เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 6707 วรรณกรรมเยาวชน ต่างจาก วรรณกรรมทั่วไป ตรงไหนบ้าง
อ๊อฟ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 167

SIIT, TU


เว็บไซต์
 เมื่อ 20 ม.ค. 06, 11:28

ผมเห็นมีคนโพสต์ถามเรื่องเกี่ยวกับวรรณกรรมไว้ใน
กระทู้ รศ.ดร.คุณหญิง วินิตา ดิถียนต์ (ว.วินิจฉัยกุล, แก้วเก้า) ห้อง vInspiration
 http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Pid=31627

ซึ่งน่าจะเหมาะกว่าถ้าย้ายมาเป็นกระทู้ในห้องนี้ครับ
บันทึกการเข้า
ชอสเซอร์
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 19 ม.ค. 06, 21:13

ขอเรียนถามผู้ทราบค่ะ
1. "แก่นเรื่อง" ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่ากระไรคะ, theme?

2. สงสัยว่าวรรณกรรมเยาวชนต่างจากวรรณกรรมทั่วไป ในประเด็นต่อไปนี้ใช่ไหมคะ
2.1 ตัวละครน้อยกว่า ผู้อ่านรุ่นเยาว์ซึ่งมีสมาธิสั้นกว่าผู้ใหญ่จะได้ไม่หลงประเด็น เข้าใจง่าย
2.2 ดังนั้นเมื่อเรื่องไม่ซับซ้อน ทำให้ผู้แต่งสามารถจบได้เร็ว จึงมักจะเป็นพอกเก็ตบุคบางๆ
2.3 ไม่มีโรมานซ์มาเกี่ยวข้อง
บันทึกการเข้า
ชอสเซอร์
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 19 ม.ค. 06, 21:43

อีกประเด็นหนึ่งค่ะ ที่หัวกระทู้เขียนว่า... คุณหญิง รศ.ดร.วินิตาฯ ดิฉันเคยผ่านตาที่อื่น
ใช้ตำแหน่งทางวิชาการก่อน ตามด้วยไตเติลทางการศึกษา และปิดท้ายด้วยพรีฟิกซ์คุณหญิง
เป็น...รศ.ดร. คุณหญิงวินิตาฯ

ไม่ทราบว่าอันไหนถูกต้อง ตามหลักการใช้ภาษาคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 20 ม.ค. 06, 13:45



   ตอบข้อสุดท้ายก่อน



ในสถาบันการศึกษา ใช้เรียงลำดับ  ตำแหน่งทางวิชาการ +วุฒิการศึกษา+ คำนำหน้าชื่อ(จากการที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลจุลจอมเกล้าฯ)

แต่นอกสถาบัน   บางทีเขาก็ตัดลำดับแรกออกไป เหลือสองกับสาม  บางทีก็ตัดหนึ่งสอง เหลือสามอย่างเดียว

ขอบคุณที่ถามขึ้นมา  กลับไปแก้ไขให้คุณแพรแล้วค่ะ



ต่อไปคือตอบคำถาม

1. "แก่นเรื่อง"   หรือ "แนวเรื่อง "ตรงกับคำภาษาอังกฤษ ว่า theme ใช่แล้วค่ะ



2. สงสัยว่าวรรณกรรมเยาวชนต่างจากวรรณกรรมทั่วไป ในประเด็นต่อไปนี้ใช่ไหมคะ

2.1 ตัวละครน้อยกว่า ผู้อ่านรุ่นเยาว์ซึ่งมีสมาธิสั้นกว่าผู้ใหญ่จะได้ไม่หลงประเด็น เข้าใจง่าย

2.2 ดังนั้นเมื่อเรื่องไม่ซับซ้อน ทำให้ผู้แต่งสามารถจบได้เร็ว จึงมักจะเป็นพอกเก็ตบุคบางๆ

2.3 ไม่มีโรมานซ์มาเกี่ยวข้อง



วรรณกรรมสำหรับผู้เยาว์ แบ่งกว้างๆได้ 2  อย่าง คือ วรรณกรรมเด็ก( Children's Literature ) กับ วรรณกรรมเยาวชน (Literature for Adolescents) ซึ่งหมายถึงอายุ 15-25

ถ้าเป็นวรรณกรรมเด็กเขาก็แบ่งซอยลงไปอีกเป็นเด็กก่อนวัยเรียน เด็กประถมต้น เด็กประถมปลาย เด็กมัธยมต้น มัธยมกลาง

ส่วนวรรณกรรมเยาวชน แตกต่างไปอีก  เกือบจะเท่าวรรณกรรมผู้ใหญ่



เอาเป็นว่าคุณชอสเซอร์คงไม่ได้ตั้งใจจะรู้ละเอียดยิบย่อยขนาดนั้น   ที่คุณถาม เข้าลักษณะบางส่วนของวรรณกรรมเด็กประถมต้นถึงมัธยมต้น

คือ

ขนาดไม่ยาวมากนัก   เนื้อเรื่องไม่ซับซ้อน  ตัวละครเด่นๆมีน้อยเท่าที่จำเป็น



ที่เพิ่มขึ้นมากคือ

ภาษาอ่านง่ายเข้าใจง่าย   ไม่มีนัยยะเปรียบเทียบที่ซับซ้อน  ไม่มีลูกเล่นเรื่องภาษาหรือภาพพจน์ที่วิจิตรพิสดาร  ไม่แสดงความโหดเหี้ยมรุนแรง  ไม่มีบทรักถึงพริกถึงขิง  

มักจะช่วยสร้างสรรค์ด้านจินตนาการ   ส่งเสริมค่านิยมที่ดีในสังคม เช่นการบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น ความขยันหมั่นเพียร ความซื่อสัตย์ฯลฯ



อ้อ  ถ้าเป็นเรื่องสำหรับคนอ่านวัยไหน ตัวละครเอกมักเป็นเด็กวัยนั้นค่ะ  
บันทึกการเข้า
Dominio
ชมพูพาน
***
ตอบ: 128

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 20 ม.ค. 06, 17:02

 ขอบคุณ คุณอ๊อฟ ที่ช่วยย้ายห้องให้ค่ะ
สัปดาห์ที่ผ่านมาไปเก็บข้อมูลกลางป่าลึกที่โรงเรียนนำร่องด้านไอทีของเรา
ซึ่งรับสัญญาณเน็ตจากดาวเทียม ความเร็วไม่แพ้กลางกรุง แต่ log in
เข้าเรือนไทยไม่ได้หลายๆวัน ได้ข้อความว่าคุณอยู่ในระบบนานเกิน และมีข้อความ
fatal error…และตอบ sms ไม่ได้ เช่นกันค่ะ แต่เมื่อวานระบบกลับมา OK แล้วค่ะ
และเข้าหน้านั้นได้โดยไม่ต้อง log in

เราไปช่วยกันจัดตู้หนังสือให้เด็กๆที่นั่นค่ะ เพื่อนที่ไปด้วยกันขนหนังสือ
วรรณกรรมเยาวชนที่เขาอ่านจบแล้วไปให้หลายเล่ม ดิฉันถามคำถาม
วรรณกรรมเยาวชนเพราะแปลกใจ มีเพื่อนที่ทำงาน 2-3 คน ที่ชอบอ่าน
หนังสือเด็กแทนนิยายผู้ใหญ่ โดยให้คำตอบว่าโลกของเด็กๆแจ่มใส
อ่านแล้วเบาสมอง เหมือนอ่านเรื่องคุณตาคุณยายยังเด็กนั่นเอง

แล้วไปค่ะ ที่คำว่า “แก่นของเรื่อง” ตรงกับคำว่า “theme” ซึ่งเป็นภาษาไทย
ที่ประหลาด ดิฉันหวั่นใจว่าหากอาจารย์เกิดเฉลยว่า “core” เห็นท่า
Chaucer, Marlowe, Sidney, Surrey, Spencer, Bonne, Congreve, Milton, etc.
คงจะดาหน้ามาทวงดีกรีคืน The Medieval and Elizabethan Restoration
ถึงไม่ใคร่ถูกโฉลก แต่ชื่อพวกนี้จำได้จนวันตายค่ะ

Thanks for the picture; it’s cute, and over mths I am aware that
it’s impossible even for a little roach to crawl across the doorstep of
Rueurnthai unnoticed.
บันทึกการเข้า
Dominio
ชมพูพาน
***
ตอบ: 128

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 21 ม.ค. 06, 03:47



   "ส่วนวรรณกรรมเยาวชน แตกต่างไปอีก เกือบจะเท่าวรรณกรรมผู้ใหญ่"



ถ้าจะแยกตามคำจำกัดความที่อาจารย์กรุณาให้มาข้างต้น ต้นส้มแสนรัก และเด็กจอมแก่น (The Williams)

ก็อยู่ในข่ายกึ่งเด็กกึ่งผู้ใหญ่ ถูกไหมค่ะ ขอบพระคุณค่ะ



ขออนุญาตไปขำต่อก่อนค่ะ อาจารย์ถ้าจะมี sixth sense หรือตาติดเรดาร์

I didn't think I left anything noticable, yet you  smelled it!!  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 21 ม.ค. 06, 07:30

 ต้นส้มแสนรักเป็นวรรณกรรมเยาวชนค่ะ  15-25 ปี
ส่วนหัสนิยายชุด William Brown เด็กจอมแก่น เป็นวรรณกรรมสำหรับเด็กอายุ 11-13 ปี

ถ้าไม่อยากให้ดูออก คุณต้องเปลี่ยนสำนวนเขียน และเนื้อหาที่คุณสนใจ เสียใหม่ค่ะ  
บันทึกการเข้า
Dominio
ชมพูพาน
***
ตอบ: 128

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 21 ม.ค. 06, 14:19


วรรณกรรมเยาวชน ชุดบ้านเล็ก หรือแม้แต่แฮรี่ พอตเตอร์ ถ้าจะเรียกว่าผู้แต่งเล็งกลุ่มเป้าหมาย
หลักไปที่เยาวชน ส่วนผลพลอยได้คือ กลุ่มผู้ใหญ่ ก็ไม่น่าจะผิดความจริงนะคะ บางครั้งผู้ประพันธ์
อาจคาดไม่ถึงว่ากลุ่มรองกลับให้ความสนใจอย่างล้นหลาม จนกลายมาเป็นกลุ่มใหญ่แทน
เป้าหลักที่แท้จริงก็ได้มังคะ

สงสัยดิฉันคงไปพลาดที่นามแฝง นึกได้ก็ใส่ลงไปทันทีค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.058 วินาที กับ 19 คำสั่ง