เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7
  พิมพ์  
อ่าน: 37256 ราชาเจ้าสำราญ : ชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 26 ม.ค. 06, 08:52

 ขอบคุณทุกท่านที่มาร่วมวงเพิ่มเติมความคิดเห็น ให้กระทู้นี้คึกคักขึ้นค่ะ
******************************
ต่อ
พระสนมเหล่านี้หลากหลายมาก     บางคนก็เป็นหญิงชาวบ้านสามัญ บางคนก็พอมีเชื้อมีสายผู้ดี   บางคนเป็นชาววัง บางคนเป็นนางละคร  
บางคนไม่มีลูก  บางคนมีลูกหนึ่งคนบ้างสองคนบ้าง  มีคนเดียวที่มีมากถึง 6  คน
พระเจ้าชาร์ลส์ทรงรับทุกคนเป็นโอรสธิดา ไม่ได้ปิดบังฐานะของเด็กเหล่านี้      เมื่อขึ้นครองราชย์แล้วก็ทรงตั้งโอรสธิดาให้มีบรรดาศักดิ์เป็นลอร์ดหรือเลดี้    
แต่ว่าไม่มีใครได้เป็นเจ้าฟ้า เพราะถือว่ามารดาเป็นพระสนมนอกกฎหมาย   พระบิดาไม่ได้ทรงสมรสด้วยสักคนเดียว   พูดอย่างภาษาสามัญคือได้กันเฉยๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 26 ม.ค. 06, 09:02

 ต่อไปนี้คือรายชื่อโอรสธิดาและพระสนมผู้มารดา  

ขอแสดงความเห็นใจคุณนุชนาที่อาจจะต้องอ่านด้วยความปวดศีรษะอีกครั้ง  

 เพราะว่าพระเจ้าชาร์ลส์ทรงตั้งชื่อโอรสคนละแม่ ซ้ำๆกันถึง 4 คนว่าชาร์ลส์ เหมือนกัน

เป็นธรรมเนียมที่ชาวบ้านเขาไม่ทำกัน   ถ้าตั้งชื่อลูกชายคนหนึ่งว่าจอห์นแล้ว ก็จะไม่ตั้งชื่อลูกอีกคนว่าจอห์นอีก

แต่ท่านเป็นพระเจ้าชาร์ลส์ซะอย่าง

ส่วนนามสกุล  พระราชทานคำว่า ฟิตซ์นำหน้า   เช่นฟิตซ์รอย  ฟิตซ์ชาร์ลส์



คำว่าFitz แปลว่า ลูกชาย    คำที่มาต่อก็บ่งบอกถึงเชื้อสายของเด็ก  เช่น Fitzroy ก็คือ son of a king  คือลูกพระราชา   Fitzcharles คือ  Charles' son  ลูกของชาร์ลส์

นามสกุลขึ้นต้นด้วย Fitz นี้เป็นที่รู้กันว่าหมายถึงสืบมาจากโอรสนอกกฎหมายของพระราชา



เชิญอ่านชื่อและนามสกุลบรรดาโอรสและพระสนมนอกกฎหมาย รายชื่อมีดังนี้ค่ะ



1) เจมส์ ครอฟท์ส์ (1649-85) ต่อมาได้บรรดาศักดิ์เป็นดยุคแห่งมอนมัธ  มารดาคือลูซี วอลเตอร์ ที่เล่าให้ฟังแล้ว

โปรดจำชื่อนี้ไว้  เขามีบทบาทต่อมาในรัชสมัยต่อจากพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2

2)  ชาร์ล็อตต์  ฟิตซ์รอย (1651-84) มารดาคือเอลิซาเบธ คิลลิกรูว์  เลดี้แชนนอน

3   ชาร์ลส์ ฟิตซ์ชาร์ลส์ หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ดอน คาร์ลอส   (1657-80), ได้รับบรรดาศักด์เป็นเอิร์ลแห่งพลีมัธ  มารดาชื่อแคทเธอรีน เพ็กก์  เลดี้กรีน

คาร์ลอสเป็นภาษาสเปน ตรงกับคำว่า ชาร์ลส์ในภาษาอังกฤษ  ดอน คาร์ลอสก็คือท่านชาร์ลส์

4   แคทเธอรีน ฟิตซ์ชาร์ลส์   น้องสาวของหมายเลข 3
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 26 ม.ค. 06, 09:07

5   แอนน์ พาล์มเมอร์ ฟิตซ์รอย  (1661-1722) มารดาคือบาร์บารา พาล์มเมอร์ หรือเคานเตสคาสเซิลเมน  และดัชเชสแห่งคลีฟแลนด์ตามลำดับ
โปรดจำชื่อพระสนมคาสเซิลเมนไว้ให้ดี  เธอมีบทบาทโดดเด่นมาก
6   ชาร์ลส์  ฟิตซ์รอย (1662-1730),   ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นดยุคแห่งเซาธ์แธมป์ตัน  และต่อมาเป็นดยุคแห่งคลีฟแลนด์
7   เฮนรี่ ฟิตซ์รอย (1663-90),  ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นดยุคแห่งกราฟตัน
8    ชาร์ล็อตต์ ฟิตซ์รอย (1664-1718), ต่อมาเป็นเคานเตสแห่งลิชฟิลด์
9   จอร์ช ฟิตซ์รอย 716), ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นดยุคแห่งนอร์ธธัมเบอร์แลนด์
10  แมรี่ ทิวเดอร์(1668-1726) มารดาชื่อแมรี่ เดวิส
12  ชาร์ลส์ โบเคลิร์ก(1670-1726), ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นดยุคแห่งเซนต์อัลบันส์ มารดาเป็นนางละครชื่อดังของยุค ชื่อเนลล์ กวินน์
13  เจมส์  โบเคลิร์ก น้องชายของหมายเลข 12
14  ชาร์ลส์ เลนนอกซ์(1672-1723), ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นดยุคแห่งริชมอนด์ มารดาชื่อหลุยส์ เรอเน เดอ คารูอาล ดัชเชสแห่งปอร์ตสมัธ

และมีอีก 1 คนที่ตายไปตั้งแต่ยังเล็ก ก่อนหมายเลข 1 ไม่ต้องบอกชื่อดีกว่าค่ะ  แยะพอแล้ว

จำนวนพระสนมที่ไม่มีโอรสธิดาด้วยกัน มีอีก 6 คน  หนึ่งในจำนวนนี้เป็นพระพี่เลี้ยงสาวที่ลือกันว่าทรงมีความสัมพันธ์ด้วยตั้งแต่พระชนม์แค่ 14 เท่านั้น
ข่าวลือนะคะข่าวลือ  ถ้าเป็นจริงก็ถือว่าเจ้าชายชาร์ลส์ทำให้วัยรุ่นยุค 2006 ชิดซ้ายไปเลย
อีกหนึ่งเป็นนางพระกำนัลของพระราชินี

ทรงมีพระสนมพร้อมๆกันหลายคน   ไม่ใช่ทีละคน  พระสนมส่วนใหญ่ก็รู้จักมักคุ้นกันดีด้วยว่าใครเป็นใคร  มีการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกันตามประสาผู้หญิง

เวลาหมดแล้วสำหรับวันนี้  ขอต่อพรุ่งนี้ค่ะ
บันทึกการเข้า
ชื่นใจ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 136

นักศึกษาปริญญาเอก University of East Anglia England


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 26 ม.ค. 06, 17:39

 เมื่อวันก่อนอิฉันอ่านหนังสือเรื่อง “เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก” ของคุณทิพย์วาณี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
คุณตาของผู้ประพันธ์เล่าว่า เคยอยากเป็นเพชฌฆาตจึงเข้าไปฝึกอาชีพด้านนี้
ในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี การตัดศรีษะนักโทษประหารทำกันกลางลานในที่โล่งแจ้ง
เป็นเหมือนมหรสพ ที่ใครใคร่ดู ดูได้ตามอัธยาศรัย บ้างก็ยืนกอดอกดูอยู่รายรอบ
บางคนอยากได้วิวดี ทัศนียภาพไม่มีอะไรบดบังก็ปีนต้นไม้ ซึ่งทุกกิ่งก็มีคนจับจองกันแน่น
เมื่อเพชฌฆาตดาบหนึ่งพร้อม ก็กวัดแกว่งดาบตัดศรีษะจนกระเด็น เลือดสาดรายรอบ
โดยมีเพชฌฆาตมือสอง คอยลงดาบซ้ำหากนักโทษคอไม่ขาด ยังมีเสียงเล็ดออกมา
คุณตาเล่าว่าจังหวะที่คอกระเด็นเลือดสาดนั้น คนดูกรี๊ดดดดดด้วยความสยองขวัญ
เหมือนที่อาจารย์เล่าใน ค.ห. ก่อนหน้าน่ะค่ะ พวกที่อยู่บนต้นไม้ บางคนต๊กกะใจ
ตกลงมาจากคาคบ แข้งขาหักไปตามๆกันก็มี

เคยมีนักโทษประหารผัวเมีย คนผัวถูกฟันคอก่อน พอเมียเห็นเข้าจึงกรีดร้องทำให้เพชฌฆาตเสียสมาธิก็มี
หลังจากนั้นการประหารนักโทษหญิงจึงซาลงไป หรือไม่ค่อยทำให้เห็นกันในที่สาธารณะ
ส่วนศรีษะของนักโทษก็เสียบประจานให้ชาวบ้านได้เห็น จะได้หวาดกลัวอาญาแผ่นดิน

ที่อิฉันเขียนมายืดยาวเพื่อจะสื่อว่า ไม่ว่าการสำเร็จโทษประหารของเมืองใดยุคใด ก็โหดไปคนละแบบ
แบบของพม่าว่าโหดแต่ยังมีถุงแดงอำพรางสายตา ไม่เห็นเลือดสาดซัดสักหยดลงธรณี
ของอังกฤษกับไทยสยองกว่าพม่า เพราะนอกจากจะประหารแล้ว ยังเสียบหัวประจาน อุจาดตาเป็นยิ่งนัก
ของอังกฤษ ตายไม่ตายเปล่า แต่ยังแฝงความทรมานในรูปแบบการแขวนคอให้เกือบตาย
แล้วรีบเอาลง ให้แค่จวนเจียนตาย เฮ้อ..นึกแล้วทานข้าวไม่ลงจริงๆค่ะ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 27 ม.ค. 06, 01:33

 อาจารย์ครับ ภาพใน ค.ห. 46 เห็นถ้าจะเป็นตอนที่เรียกว่า beheaded ใช่ไหมครับ
พอบั่นคอเสร็จแล้ว เพชฆาต (คำนี้สะกดอย่างไงครับ พจนานุกรมไม่มีครับ) ก็ใช้ปังตอคู่มือ
เลาะบอดี้ให้เป็นสี่ส่วน (quartered) ถ้ารวมหัวด้วยก็เป็น 5 ส่วน แล้วนำแต่ละส่วน เสียบไม้ประจาน
ผมว่าการชำแหละแบบนี้ใช้เวลาไม่กี่นาที ถ้าเป็นหมอพรทิพย์ในสมัยนี้คงต้องเป็นชม. นะครับ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 27 ม.ค. 06, 01:45

 Pls don't forget to touch upon the fate of Cromwell Jr. duay ka.
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 27 ม.ค. 06, 08:29

ตอบคำถามก่อน แล้วค่อยเล่าเรื่องต่อ
1)ตอบคุณชื่นใจและคุณติบอ ซึ่งคงไม่กลัวเรื่องต้อง diet มื้อกลางวันและเย็นหลังดูภาพประกอบ

ศัพท์ที่คุณชื่นใจยกมา  ในความเป็นจริง  ลำดับที่ถูกต้องคือ drawn,hanged and quartered  แต่เขาเรียกสลับที่กันอย่างคุณเรียก

drawn = เริ่มด้วยนักโทษ(เป็นๆ) ถูกมัดมือลากไปตามถนน ด้วยม้า จะเป็นลากหลังรถม้า หรือม้าลากตรงๆก็ตาม  เรียกได้ว่าถูกลากถูลู่ถูกังไปตามท้องถนน  เนื้อตัวครูดหินดินทรายถลอกปอกเปิก
hanged= พอถึงตะแลงแกงก็หิ้วร่างนักโทษขึ้นไปแขวนคอ  แต่ระวังในการแขวนไม่ให้หัวตกห้อยมาข้างหน้าอันจะทำให้กระดูกคอหัก ตายเสียก่อน แขวนรัดกระเดือกให้ห้อยต่องแต่งทุรนทุราย  แต่ไม่ตาย
quartered = หลังจากแขวนไว้สักครึ่งชั่วโมงหรือชั่วโมงหนึ่ง   ใกล้ตายแต่ไม่ตาย  ก็ปลดร่างเอาลงมาผ่ากันสดๆ    ด้วยกรรมวิธีคล้ายกับอาเฮียสับไก่บนแผงในตลาดสด
คือผ่าอกแหวะตลอดถึงท้อง  ควักไส้พุงออกมา   แล้วสับแขนขาออกขาดจากกัน

คำว่า beheaded คือประหารด้วยการตัดหัวค่ะ คุณติบอ  ดิฉันไม่ประสงค์จะเลื่อนเม้าส์ขึ้นไปดูรูปประกอบอีกเพราะเพิ่งจะกินข้าวเช้ามา อธิบายตรงนี้ละกัน
เพชฌฆาต สะกดแบบนี้ค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 27 ม.ค. 06, 09:04

 2) ตอบคุณนุชนา
เฮ้อ คุณนุชนาละก็   สนใจใครก็ไม่รู้  
ริชาร์ด ครอมเวลล์ไม่เห็นมีอะไรน่าสนใจเลยนี่คะ   ออกซื่อบื้อ   ไม่เห็นเก่งอะไรสักเรื่อง  
ที่สำคัญ  แต่งกลอนเกี้ยวสาวก็ยังไม่เป็นอีกด้วย  
สู้หนุ่มในเรือนไทยก็ไม่ได้

แต่ถามก็ยินดีตอบค่ะ

ริชาร์ด ครอมเวลล์ ลูกชายของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ถูกพ่อจับเป็นทายาทขึ้นนั่งบัลลังก์ของ "ท่านผู้พิทักษ์แผ่นดิน" เพื่อสืบต่ออำนาจของสาธารณรัฐ  
ซึ่งในความจริงก็คือรัฐเผด็จการของพ่อ ซึ่งกำลังล่มสลาย
ก่อนหน้านี้ริชาร์ดไม่ได้เป็นคนทะเยอทะยานทางการเมืองอย่างพ่อ   เขามีชีวิตเรียบๆ แบบคหบดีชนบท

ปฏิกิริยาของทหารที่ทนอำนาจเบ็ดเสร็จของครอมเวลล์ผู้พ่อต่อไปไม่ได้ บวกกับการลุกฮือต่อต้านจากที่โน่นที่นี่ของประชาชน ทำให้ริชาร์ดตกเก้าอี้ไปโดยไม่มีสงครามกลางเมือง

เมื่อพระเจ้าชาร์ลส์เสด็จคืนกลับมาครองบัลลังก์   ริชาร์ดก็หนีออกจากอังกฤษไปซุ่มซ่อนตัวในฝรั่งเศส ปลอมแปลงชื่อว่าจอห์น คล้าค  ต่อมาก็ระเหเร่ร่อนไปอยู่ในอิตาลี ฝรั่งเศส   และสวิตเซอร์แลนด์
เป็นเวลา 20 ปี กว่าเขาจะได้รับนิรโทษกรรม ให้กลับมาบ้านเกิดเมืองนอนได้

ริชาร์ดมาเช่าห้องเล็กๆอยู่ในชนบทที่เขาเคยอยู่ก่อนขึ้นครองอำนาจ   ในวัยชรา ก็เป็นเพียงตาแก่ แต่งตัวโทรมๆแบบชาวนา  
เขามีชีวิตยืนยาวถึง 85 ปี จนเห็นพระราชินีแอนน์ขึ้นครองราชย์     ไม่มีใครคิดว่าตาแก่จนๆคนนี้แหละเคยนั่งอยู่บนบัลลังก์เดียวกับเจ้าแผ่นดินมาแล้ว
บั้นปลายของริชาร์ดไม่มีอะไรให้เอ่ยถึง  เขาอยู่อย่างลำบากยากจน  แล้วตายไปตามอายุขัย  ศพฝังไว้ในสุสานของวัดในหมู่บ้าน ชื่อHursley Parish Church  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 27 ม.ค. 06, 09:09

 กลับมาเล่าเรื่องต่อจาก ค.ห. 49

ถ้าถามว่าพระเจ้าชาร์ลส์ทรงมีพระราชินีไหม ก็ขอตอบว่า มี  
หลังจากครองราชย์ได้ 2 ปีพระองค์ก็อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิง "แคทเธอรีน  แห่ง บรากันซ่า" เป็นพระธิดาของพระเจ้าจอห์นที่ 4 เจ้าแผ่นดินโปรตุเกส

ขอคุยแบบแยกออกซอยเล็กไปอีกหน่อยนะคะ

เจ้านายสตรีและกุลสตรียุโรปในสมัยเก่ามีธรรมเนียมสมรสคล้ายๆผู้หญิงอินเดียอยู่อย่างหนึ่ง คือเธอต้องเป็นฝ่ายมอบสินสอดให้เจ้าบ่าว    
แทนที่จะเป็นแบบไทยที่เจ้าบ่าวต้องหาแหวนเพชรและสินสอดทองหมั้นมาขอลูกสาวจากพ่อตาแม่ยายไปครองคู่  
มองในแง่นี้  เจ้าสาวไทยกำไรดีกว่าเยอะเลย  ถ้าหากว่าเลือกคู่แบบเข้าตามตรอกออกตามประตู   ไม่ใจเร็วด่วนได้  หอบผ้าไปอยู่กันเฉยๆ

สินสอดของฝรั่ง ที่ว่า เรียกว่า dowry (อ่านว่า ดาว-รี่)  คือทรัพย์สินที่พ่อของฝ่ายหญิงกำหนดเอาไว้ให้ลูกสาวว่า  
นังหนูคนนี้จะได้สินส่วนตัวมากน้อยแค่ไหนติดตัวไปเวลาเธอแต่งงาน    
เมื่อเป็นคุณนายไปแล้ว ทรัพย์สินจำนวนนั้นก็จะตกเป็นของสามีเป็นผู้จัดการบริหารเงินทองต่อไป  
หรือเรียกกันตรงไปตรงมาว่า  ต้องยกลูกสาวให้แถมเงินให้เจ้าบ่าวใช้น่ะค่ะ
   
ดาวรี่เป็นสิ่งดึงดูดใจให้ผู้ชายพิจารณาเลือกเจ้าสาว ว่าจะขอแต่งงานกับคนไหน  หรือจะไม่ขอคนไหนดี  ดูจากเงินทองของเธอเป็นหลัก   ฝ่ายผู้หญิงก็ดูด้วยว่าผู้ชายคนนั้นมีอะไรดีพอจะคุ้มดาวรี่ของเธอที่ต้องจ่ายให้ไหม   เมื่อสมน้ำสมเนื้อก็ตกลงปลงใจกัน
ที่จะแต่งงานกันด้วยความรักมีน้อย ที่เป็นได้คือยากจนกันทั้งสองฝ่ายเลยไม่ต้องคิดเรื่องเงินทองกันให้มาก

พ่อแม่บ้านไหนมีลูกสาวเยอะแต่เงินไม่ค่อยมี  โอกาสจะได้ลูกเขยมีหน้ามีตา แทบเป็นไปไม่ได้  ถ้าได้ก็ต้องถือว่าเป็นโชคมหาศาล   อย่างน้อยลูกสาวก็ต้องสวยประทับใจชาย  คุณสมบัติและชื่อเสียงดีงามก็ต้องมีเพียบ จึงจะพอมีหวัง

ถ้าอ่านนิยายของเจน ออสเตนอย่าง Pride and Prejudice จะเข้าใจว่าทำไมแม่นางเอกผู้มีลูกสาวตั้ง 5 คนถึงเดือดร้อนในการเข็นลูกๆให้ออกเรือนกับผู้ชายฐานะดีหรือการงานดี  หนุ่มแบบนี้หลุดเข้ามาในหมู่บ้านสักคนก็แทบจะต้องไล่คว้ากันทีเดียว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 27 ม.ค. 06, 09:12

 ถ้าเป็นลูกสาวเศรษฐี สินสอดก็อาจจะเป็นเงินจำนวนนับหมื่นหรือแสนปอนด์ หรือคฤหาสน์โอ่อ่าพร้อมที่ดินกว้างขวาง  เป็นสิ่งล่อใจคุณชาย



ในสมัยศตวรรษที่ 19 เมื่อบรรดานักแสวงโชคยากๆจนๆ จากยุโรป เดินทางไปสานฝันในอเมริกา  เกิดร่ำรวยกันขึ้นมา  

เงินทองไหลมาเทมาจากการลงทุนอุตสาหกรรมบ้าง กิจการรถไฟบ้าง เหมืองแร่บ้าง อะไรพวกนี้    

คุณพ่อและคุณแม่มหาเศรษฐีใหม่ก็จับลูกสาวผู้มีสินสอดเป็นแสนๆปอนด์ ข้ามแอตแลนติคมาแต่งงานกับขุนนางสูงศักดิ์แต่กระเป๋าแห้งในอังกฤษ



ผลดีเกิดขึ้นทั้งสองฝ่าย   ท่านลอร์ดท่านดยุคก็ได้'ดาวรี่' ของเจ้าสาวมาซ่อมปราสาทซึ่งทรุดโทรมเต็มที   กับชำระหนี้ที่ติดค้างเจ้าหนี้มานานหลายปี  

ฝ่ายหญิงสาวอเมริกันไร้สกุลรุณชาติ ก็ได้มาเป็นท่านผู้หญิงหรือคุณหญิง เฉิดฉายอยู่ในวงไฮโซของอังกฤษ



ในกรณีนี้ถ้าเป็นเจ้าหญิง  สินสอดที่ติดพระองค์ไปก็อาจจะเป็นเกาะทั้งเกาะ หรือเมืองทั้งเมืองที่พระบิดาครอบครองอยู่

เกาะหรือเมืองนั้นถ้าเป็นเมืองท่าหรือเมืองอะไรที่มีผลประโยชน์งามๆ   พระราชาที่ได้เป็นพระสวามีก็แฮปปี้ได้ดินแดนมาเพิ่มพูนเงินทองในท้องพระคลัง  

ตัวเจ้าหญิงเองก็จะได้เป็นราชินีผู้ทรงเกียรติ  แต่จะอยู่กันอย่างเป็นสุขหรือไม่ ไม่ใช่เรื่องต้องคำนึงถึง  การอภิเษกสมรสเป็นเรื่องการเมืองเต็มร้อยอยู่แล้ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 27 ม.ค. 06, 09:16

 เจ้าหญิงแคทเธอรีนแห่งบรากันซ่าเสด็จมาเป็นทองแผ่นเดียวกันกับพระราชาอังกฤษ
พร้อมด้วยสินสอดคือเงินทองเพชรนิลจินดามหาศาล บวกด้วยเมืองบอมเบย์ในอินเดียและ Tangier (อ่านว่าไงคะ ทังเจียร์?) ในแอฟริกาเหนือ  เหนือมอร็อคโคขึ้นไปหน่อย  

คงจำได้ว่าโปรตุเกสเป็นชาติที่เดินเรือมาทางตะวันออกก่อนใครในยุโรป
 ค้าขายอย่างกว้างขวางตามเมืองท่าต่างๆรวมทั้งอาณาจักรอยุธยาของเราด้วย  
ค้าขายเฉยๆบ้างๆยึดเอาดื้อๆบ้างก็หลายแห่ง  รวมความแล้วกำไรมหาศาล

แม้ว่ามั่งมีสินสอด แต่ตัวพระนางแคทเธอรีนเองไม่ค่อยจะได้รับความนิยมจากราษฎรอังกฤษเท่าใดนัก
เพราะทรงนับถือคริสตศาสนานิกายโรมันคาทอลิคที่คนส่วนใหญ่ไม่นิยมยินดีด้วย
ส่วนตัวพระองค์เองเมื่ออยู่ในวังหลวงก็ใช่ว่าจะสุขพระทัย    เพราะบรรดาพระสนมของพระสวามีที่เดินเชิดเป็นนางพญากันเต็มราชสำนัก
เป็นที่บาดตาบาดใจ ก่อความระทมขมขื่นให้มากมาย อย่างที่เราเดาเหตุการณ์กันได้ไม่ยาก  
หมดเวลาของวันนี้ค่ะ  ขอต่อคราวหน้า
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 27 ม.ค. 06, 09:40

 แหม..อาจารย์ค่ะ ดิฉันอยากให้ Cromwell Jr. ได้รับโทษแทนบิดาตัวเอง ที่ก่อกรรมขึ้นในสมัย
the Protectorate บ้างน่ะค่ะ ใช่ว่าจะแค่โดนเนรเทศเท่านั้น

จำได้จากวิชาประวัติศาสตร์ว่าวิธี Hanged, drawn, and quartered นี้ King Edward ที่ 1 เริ่มใช้
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1283 เพื่อลงโทษเจ้าชายแห่งเวลส์ อีก 20 ปีต่อมา ก็ใช้วิธีนี้ฆ่าผู้นำชาวสกอต
ที่ต้องการปลดปล่อยแผ่นดินสกอตออกจากการครอบครองของอังกฤษ

พอแบ่งร่างออกได้ 5 ส่วน ก็เอาชิ้นส่วนไปเสียบประจาน 5 แห่ง เพื่อขู่ให้ผู้คิดก่อการ กริ่งเกรงอาญาแผ่นดิน
ที่รุนแรงมาก แต่วิธีการลงโทษแบบนี้ปรากฎว่านิยมใช้กับนักโทษเฉพาะข้อหาทรยศ กบฎ หรือ ชักน้ำเข้าลึก
เท่านั้น แต่ไม่เคยเห็นว่าใช้กับอาชาญากรรมแขนงอื่นเลย ต่อมายกเลิกในสมัยพระนางวิคตอเรีย
ซึ่งพระองค์มีพระทัยอ่อนโยนกว่า ไม่ประสงค์ให้ใช้วิธีการป่าเถื่อนเช่นนี้อีก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 28 ม.ค. 06, 08:44

 ตื่นขึ้นมาได้ยินเสียงประทัดรอบบ้าน      สุดสัปดาห์นี้คงไม่ค่อยมีใครแวะเข้ามาในเรือนไทย  คงไปเที่ยวกันหมด
คุยคนเดียวก็ได้ค่ะ
***********************************
ในบรรดาพระสนมของพระเจ้าชาร์ลส์ ไม่มีใครมีบทบาทโดดเด่น (หรือเรียกให้ถูกคืออื้อฉาว) เท่ากับบาร์บารา พาล์มเมอร์  ผู้มีบรรดาศักดิ์เป็นเคานเตสคาสเซิลเมน และดัชเชสแห่งคลีฟแลนด์ในภายหลัง

ชีวิตหล่อนถ้าเอาไปทำละครหลังข่าว   รับรองว่าเรตติ้งพุ่งกระฉูด

บาร์บารามีกำเนิดในตระกูลผู้ดี   แต่บิดาเสียชีวิตจากสงครามกลางเมืองทำให้ภรรยาและลูกสาวลำบากยากจนลง  หล่อนพลาดหวังไม่ได้แต่งงานกับคนรักคนแรกที่เป็นหนุ่มผู้ดีมีเกียรติ   เพราะเขาอยากได้ภรรยาที่มีสินสอดเยอะๆ

หล่อนจึงได้แต่งงานกับโรเจอร์ พาล์มเมอร์ผู้มีเชื้อสายผู้ดิบผู้ดีพอประมาณ แต่ไม่ถึงกับมั่งคั่งโดดเด่นนัก

พ่อแม่ผู้ชายรังเกียจลูกสะใภ้เข้ากระดูกดำ   เพราะเชื่อว่าลูกชายได้ภรรยาอย่างบาร์บารา  วันหนึ่งจะต้องคร่ำครวญว่า
"ชายใดในปฐพี  ไม่เหมือนพี่ที่ตรอมใจ"
ผลในอนาคตก็ชี้ชัดว่าผู้เฒ่าทั้งสองดูแม่นยังกะตาทิพย์  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 28 ม.ค. 06, 08:52

 ด้วยความงามที่เลื่องลือว่าเป็นยอดหญิงงามที่สุดคนหนึ่งในยุคนั้น  เมื่อบาร์บาร่าอายุ 19 (หล่อนอ่อนกว่าพระเจ้าชาร์ลส์ 10ปี) ก็ได้ไปเป็นพระสนม
ตั้งแต่พระองค์ยังไม่ได้กลับมาครองราชย์ และทั้งที่หล่อนมีสามีอยู่กินกันทั้งคน

9 เดือนหลังไปเป็นพระสนม  บาร์บาราก็มีลูกสาวคนแรก   และต่อมาก็มีลูกสาวคนที่สอง
ตอนนั้น โรเจอร์กับบาร์บาร่าก็แยกเตียงแบบต่างคนต่างอยู่ แต่ไม่ได้หย่าขาดจากกัน  ยังคงได้ชื่อว่าเป็นสามีภรรยากันต่อมา  ออกงานออกการร่วมกัน
แม้ว่าหล่อนดำรงฐานะพระสนมอย่างเปิดเผยในราชสำนัก
 
บาร์บารายังคงเป็นพระสนมคนโปรดเมื่อพระเจ้าชาร์ลส์ขึ้นครองราชย์ ใน ค.ศ. 1661
หลังครองราชย์ 1 ปี  พระองค์ก็พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้สามีของหล่อนได้เป็นเอิร์ลแห่งคาสเซิลเมน

เป็นเรื่องตลกที่หัวเราะไม่ออกคือพระเจ้าชาร์ลส์ มีเงื่อนไขว่าลูกชายที่เกิดจากบาร์บาราเท่านั้นจะได้สืบต่อยศถาบรรดาศักดิ์ของพ่อต่อไป
ถ้าโรเจอร์แต่งงานใหม่  ลูกที่เกิดจากหญิงอื่นไม่มีสิทธิ์สืบต่อเป็นลอร์ดคาสเซิลเมน  
ทั้งที่ทั่วอังกฤษ  ลูกขุนนางเขาก็สืบต่อกันทางพ่อทั้งนั้น    ไม่ได้เกี่ยวว่าแม่เป็นใคร ชื่ออะไร

นี่คือภาพของชายผู้เคราะห์ร้ายที่สุดคนหนึ่งของยุค Restoration โรเจอร์ พาล์มเมอร์ ค่ะ  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 28 ม.ค. 06, 09:02

 ข้อนี้ ทำให้รู้กันทั่วว่า บรรดาศักดิ์ที่พระราชทานให้โรเจอร์เป็นเพียงหัวโขน  
ที่จริงคือเพื่อทำให้ภรรยาของเขาได้มีคำนำหน้าเป็นผู้ดิบผู้ดีว่าเลดี้คาสเซิลเมนเ     หาใช่ว่าสามีทำความดีงามสมควรได้เกียรติไม่

โรเจอร์ พาล์มเมอร์ รู้เท่าๆกับคนอื่นรู้ว่าบรรดาศักดิ์ลอร์ดคาสเซิลเมนคือการประจานให้อับอายมากกว่าเป็นเกียรติยศหน้าตา  
ตัวเขาเองก็กลืนไม่เข้าคายไม่ออกทำอะไรไม่ได้ เพราะจะลุกขึ้นตัดรอนขอหย่าภรรยา ให้หล่อนหลุดจากตำแหน่งเลดี้ก็ทำไม่ได้     จะขัดขืนพระราชโองการเดี๋ยวก็หัวหลุดจากบ่า

เขาก็เลยได้แต่เก็บตัวไม่สุงสิงกับเพื่อนฝูง   ไม่เคยเข้าไปนั่งในสภาขุนนางตามสิทธิ์ของเขา   จำใจต้องยอมรับฐานะลอร์ดคาสเซิลเมนแบบไม่รู้จะทำอะไรดีกว่านั้น

ชะตากรรมแค่นี้  เหมือนกับว่ายังไม่ย่ำแย่พอ  เรื่องกลืนไม่เข้าคายไม่ออกอีกอย่างคือลูกสาวที่คลอดจากบาร์บารา  จนแล้วจนรอดก็ยังไม่รู้ว่าเป็นลูกของเขาหรือลูกของพระเจ้าชาร์ลส์กันแน่

โรเจอร์บอกใครต่อใครว่าแม่หนูน้อยเป็นลูกของเขา  แต่พระเจ้าชาร์ลส์ก็ทรงแน่พระทัยว่าหนูน้อยเป็นพระธิดาแท้ๆ     ถึงกับพระราชทานนามสกุลให้ว่า ฟิตซ์รอย  แปลง่ายๆว่าลูกหลวง

แต่จะเป็นลูกของใครก็ไม่ได้ทำให้สถานการณ์อันน่าพะอืดพะอมนี้ดีขึ้น   โรเจอร์ก็ได้แต่กล้ำกลืนฝืนทนไปวันๆกับเสียงเย้ยหยันรอบทิศ
ส่วนชาวบ้านน่ะเชื่อกันว่าลูกทุกคนของบาร์บาร่า ที่มีตั้ง 6 คน  ไม่ได้เกิดจากลอร์ดคาสเซิลเมน สามีตามกฎหมายของหล่อนสักคนเดียว
และซ้ำร้ายกว่านั้นคือ ไม่ได้เกิดจากพระเจ้าชาร์ลส์พระองค์เดียวอีกด้วย

ภาพนี้ บาร์บาราโพสท่าเป็น "มาดอนน่า" หรือพระแม่มารีอุ้มพระกุมาร
ให้ศิลปินวาด  
วันนี้แค่นี้ก่อนค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.078 วินาที กับ 19 คำสั่ง