เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 7
  พิมพ์  
อ่าน: 37173 ราชาเจ้าสำราญ : ชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 23 ม.ค. 06, 10:32



   ถ้าหากว่าวอลท์ ดิสนีย์ เอาชีวิตของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ไปทำหนังการ์ตูน  

เพลงประกอบฉากในช่วงนี้ที่เหมาะสมที่สุดเห็นจะไม่มีอะไรเกินเพลงในเรื่อง Cinderalla



A dream is a wish your heart makes

When you're fast asleep

In dreams you lose your heartaches

Whatever you wish for, you keep



Have faith in your dreams and someday

Your rainbow will come smiling thru

No matter how your heart is grieving

If you keep on believing

the dream that you wish will come true



ในที่สุด  หลังจากเป็นคนล้ม ให้ผู้นำหลายๆประเทศในยุโรปพากันก้าวข้าม เพื่อจะเอาอกเอาใจครอมเวลล์   พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ก็ทรงลุกขึ้นมาได้อีกครั้ง

ได้รับคำกราบทูลเชิญให้เสด็จกลับอังกฤษอย่างสง่าผ่าเผยในฐานะเจ้าแผ่นดิน    ไม่มีใครต่อต้าน  ไม่มีการเสียเลือดเนื้อ  มีแต่เสียงไชโยโห่ร้องต้อนรับ  

ผู้นำประเทศต่างๆก็พากันแย่งเอาอกเอาใจแสดงมิตรไมตรี เปลี่ยนจากเดิมแบบหน้ามือเป็นหลังมือ

ทรงฉลองวันครบรอบประสูติ 30 พรรษาพอดี ในวันเสด็จกลับลอนดอนเพื่อมาครองราชย์  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 23 ม.ค. 06, 10:38

 รัชสมัยของพระองค์ได้รับการขนานนามว่า Restoration ซึ่งแปลว่าการคืนกลับมา
ทรงสลายสังคมที่ถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพ ด้วยความเข้มงวด   เขม็งตึงแบบพิวริตันให้กลับมาสู่ความบันเทิงร่าเริงใจอีกครั้ง
ประชาชนผ่อนคลายความตึงเครียด มีความสุขมากขึ้น  ใครจะร้องเพลง จัดงานรื่นเริง เลี้ยงฉลองคริสต์มาส เต้นรำ สนุกสนานตามแบบเดิม ก็ไม่มีใครห้าม

 ราชสำนักเต็มไปด้วยเสียงเพลง ละคร ดนตรีและงานรื่นเริง  พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ทรงได้รับสมญาว่า The Merry Monarch หรือราชาเจ้าสำราญ
ที่สำคัญก็คือ..มีหญิงงามผู้เรียงแถวเข้ามาครองตำแหน่งพระสนม อย่างไม่เคยมีมาก่อนในสมัยพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ผู้ซื่อสัตย์ต่อพระราชินีเพียงผู้เดียว  
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 23 ม.ค. 06, 10:54

 ชีวิตเหมือนฝัน จังค่ะ ไม่น่าเชื่อ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 23 ม.ค. 06, 17:47


ขออภัยเป็นอย่างยิ่งค่ะ อาจารย์โปรดกรุณาลบ ค.ห. 33 แล้วใช้อันนี้แทนค่ะ ดิฉันตัดปะผิดที่
ตรง Commonwealth ต้องมีแค่ 2 พ่อลูกเท่านั้น ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 25 ม.ค. 06, 18:14



   1)ไม่ทราบว่าอาจารย์เล่าจบหรือยังคะ กำลังคอยฟังว่าเหตุใดท่านจึงไม่เนมพระโอรสหรือธิดาเป็น ม.ก. น่ะค่ะ



2) อาจารย์พอทราบไหมคะว่า เหตุใดราชวงศ์อังกฤษ จึงนิยมตั้งชื่อคิงหรือควีนโดดไปโดดมา

ชวนปวดเศียรเวียนเกล้ามากค่ะ ประติดประต่อไม่ค่อยถูก



เช่น James II ทำไมถึงใช้ตามปู่ แต่ไม่ตามพ่อ

หรือ ควีนปัจจุบัน เป็น Eli. II ห่างจาก Eli I หลายร้อยปี

อย่างน้อยควรมี sequence หรือ series บ้าง

หากคำตอบข้อนี้คือ That's just the way it was. อาจารย์ก็ไม่ต้องตอบหรอกค่ะ

เพราะดิฉันเข้าใจได้ว่าหลายสิ่งมันเหนือคำอธิบายค่ะ ขอบคุณค่ะ  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 25 ม.ค. 06, 18:35

1) เรื่องนี้ยังไม่จบค่ะ มีอีกยาว
ม.ก. คือมกุฎราชกุมาร /มกุฎราชกุมารี ใช่ไหมคะ    
เพราะว่าโอรสธิดาเหล่านี้ไม่มีสิทธิ์ในการสืบราชบัลลังก์ เป็นโอรสธิดานอกกฎหมายค่ะ
2) แยกได้เป็นข้อๆดังนี้
-กษัตริย์อังกฤษที่ขึ้นครองราชย์ อาจไม่ใช่โอรสองค์ใหญ่ของกษัตริย์องค์ก่อน ก็ได้  
แต่เป็นองค์รองๆเพราะสมัยก่อนอัตราการตายของทารกสูงมาก  พี่ตายไปตั้งแต่เล็ก น้องรอดมาจนโต ก็ครองราชย์แทน
หรือไม่พี่ครองราชย์แล้วไม่มีรัชทายาท  น้องชายก็ครองราชย์ต่อจากพี่  (ในกรณีพระเจ้าเจมส์ที่สอง)
- เจ้าชายหรือเจ้าหญิงอังกฤษที่ขึ้นครองราชย์ มีสิทธิ์จะเลือกพระนามใหม่ที่เห็นสมควรได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นพระนามเดิม
อย่างเจ้าหญิงอเล็กซานดรินาวิกตอเรีย ทรงเลือกพระนามวิกตอเรียเมื่อขึ้นครองราชย์
หรือบางองค์ก็เลือกพระนามเดิม อย่างควีนเอลิซาเบธที่ 2 มีพระนามเดิมแต่ประสูติว่าเจ้าหญิงเอลิซาเบธอยู่แล้ว
- การครองราชย์  บางทีก็ไม่รู้ล่วงหน้ากันหรอกว่าใครจะได้ครองเป็นสมัยต่อไป เพราะความผันผวนเกิดขึ้นได้เสมอ   ตัวแปรมันเยอะ
จะตั้งชื่อเอาไว้ล่วงหน้าให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เผื่อนักประวัติศาสตร์หรือนักเรียนรุ่นหลังจะได้จำง่าย  คงไม่เป็นไปตามที่คิดมั้งคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 25 ม.ค. 06, 18:40

 มาเล่าต่อค่ะ
คุณนุชนา ถ้าคำอธิบายข้างบนนี้อ่านแล้วยังงง  ถามใหม่ได้นะคะ
************************************
เมื่อพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2  ขึ้นครองราชย์  แม่ทัพและขุนนางจำนวนมากที่เคยรับใช้ครอมเวลล์ และเคยแสดงความจงเกลียดจงชังราชวงศ์สจ๊วตออกนอกหน้านอกตาในสมัยสาธารณรัฐ  
ก็กลับลำกลับหน้ามือเป็นหลังมือ  มาประจบประแจงแสดงความจงรักภักดีราวกับเป็นข้าเก่าเต่าเลี้ยงกันมาแต่แรก

ชาร์ลส์ก็ทรงสุขุมพอจะกล้ำกลืนความเจ็บแค้น   และยอมรับไมตรีเพื่อเห็นแก่ผลดีในระยะยาว   ทรงนิรโทษกรรมแก่บรรดาข้าราชการใหญ่น้อยผู้เข้าข้างครอมเวลล์มาก่อน

แต่บุคคลกลุ่มเดียวที่ทรงให้อภัยไม่ได้ คือคณะผู้พิพากษาที่ลงนามตัดสินลงโทษประหารพระบิดา  ทั้งนี้ทรงรวมทั้งครอมเวลล์และคนสนิทของเขา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 25 ม.ค. 06, 18:42

 คนที่ต้องโทษมี 59 คน  ในจำนวนนี้ตายไปแล้ว 15 คน บางคนหลบหนีอาญาออกนอกประเทศ  
ที่เหลือถูกตัดสินจำคุก 14 คน และ 13 คนถูกลงโทษประหารชีวิต
ครอมเวลล์และลูกน้องคู่ใจ ซึ่งตายไปหมดแล้ว ถูกขุดเอาศพขึ้นมาแขวนคอบนตะแลงแกงแบบเดียวกับนักโทษชั้นต่ำ
แล้วถูกตัดศีรษะอีกทีหนึ่ง ในวันครบรอบ 12 ปีที่พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ถูกสำเร็จโทษ

ย้อนมาถึงชีวิตส่วนพระองค์ของชาร์ลส์อย่างที่เกริ่นไว้ในหัวข้อ     อย่างที่เล่ามาแล้วถึงพระสนมคนแรกที่ชาร์ลส์มีเมื่อพระชนม์ 18   แม้ว่าจบกันไปแบบไม่ดี  ก็ไม่ได้หมายความว่าพระองค์จะไม่มีใครอีก
ตลอดเวลาหลายปีที่ต้องประทับอยู่ห่างไกลอังกฤษ ลำบากยากจนและถูกรังเกียจสารพัด  ชาร์ลส์ก็ยังมีพระสนมอย่างน้อย 4 คน  
พระสนมทุกคน   ตั้งแต่คนแรกจนคนสุดท้าย ทรงเลือกที่รูปร่างหน้าตาสะสวย  
ไม่จำเป็นว่าต้องมีเชื้อสายสูงส่ง หรือว่าต้องมีความประพฤติบริสุทธิ์ดีงาม  เอาเป็นว่าถูกพระทัยก็แล้วกัน
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 25 ม.ค. 06, 18:58

 1) อาจารย์อธิบายได้เห็นภาพดีค่ะ หรือพูดอย่างนี้ได้ไหมค่ะว่า James II สมัยทรงพระเยาว์ก็เป็น James
อยู่แล้วตามปู่ ครั้นพอทรงขึ้นเถลิง ก็เลย เติม II เข้าไปให้เป็นไปตามลำดับน่ะค่ะ
2) รู้สึกว่าโลกยุติธรรมดีค่ะสำหรับการแก้แค้นให้พระบิดา เพราะๆฟังๆดูแล้วโทษประหาร
ที่พระบิดาได้รับนั้นมากเกินไป หรือไม่ก็ให้พระองค์ทรงจองเวร Cromwell Jr. แทนก็จะดีค่ะ
บันทึกการเข้า
นนทิรา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 77


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 25 ม.ค. 06, 22:12

 มานั่งล้อมวงฟังอาจารย์ค่ะ ฟังอาจารย์เล่าสนุกมากๆ

อ่านเรื่องนี้แล้วยิ่งตอกย้ำความเข้าใจว่า ทำไมจึงมีข่าวว่า เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์องค์ปัจจุบัน ทรงมีพระดำริว่า เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ จะไม่ทรงใช้พระนามว่า King Charles III แต่จะทรงใช้พระนาม King George VII แทน
บันทึกการเข้า
ชื่นใจ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 136

นักศึกษาปริญญาเอก University of East Anglia England


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 26 ม.ค. 06, 00:32

 อิฉันเคยทราบมาบ้างว่าในยุคพระเจ้าชาร์ลส์ เป็นยุคแห่งการแก้แค้น
เข้าใจว่าช่วงที่พระองค์เป็นเจ้าไม่มีศาล พเนจรไปในยุโรป มีชีวิตที่อดอยากแร้นแค้น
จึงทำให้พระองค์เก็บกดมาก พอขึ้นศักราชใหม่วันฟ้าสีทองผ่องอำไพมาถึง เริ่มต้น ค.ศ. 1660
ความโกรธที่อัดอั้นจึงค่อยปลดปล่อยออกมา พระองค์เริ่มเช็กบิลคิดบัญชี
ศัตรูเก่าที่ฝากแค้นมาร่วมสิบสองปี โดยใช้วิธีสำเร็จโทษสุดโหดแบบบาเรียนของยุคกลาง (Medieval)
จำเฟสหนึ่งจากอาจารย์สอนประวัติศาสตร์ได้ว่าวิธีที่ใช้เพื่อแก้แค้น เรียกกันว่า
“hanged, drawn, and quartered” อยากให้อาจารย์ช่วยเล่าหน่อยค่ะว่า
วิธีนี้มันโหดสมกับคำเลื่องลือไหมคะ ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
KC
อสุรผัด
*
ตอบ: 3

university of Kent


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 26 ม.ค. 06, 07:58

 family tree ของราชวงอังกฤษตั้งแต่ William I (William the conqueror) ถึงปัจจุบัญ( Elizabeth II) ครับ น่าจะเป็นประโยชน์บ้าง ตามเวบนี้เลยครับ
 http://en.wikipedia.org/wiki/English_monarchs_family_tree

และ
 http://en.wikipedia.org/wiki/British_monarchs'_family_tree

รูปมันใหญ่ลดขนาดแล้วอ่านยากคิดว่าไปอ่านในเวบน่าจะดีกว่าครับ
บันทึกการเข้า
KC
อสุรผัด
*
ตอบ: 3

university of Kent


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 26 ม.ค. 06, 08:05

 อ้อ link อันแรกเป็นของราชวง plantagenets, York, Lancaster, tudor
อันที่2 เป็นของราชวงstuart, hannover, etc.
2link assdress คล้ายกันแต่ไม่ใช่อันเดียวกันครับ

เวบที่น่าสนใจอีกอันนะครับ
 http://www.royal.gov.uk/output/Page5.asp
น่าจะพอเป็นประโยชน์บ้างครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 26 ม.ค. 06, 08:31



  ตอบคุณชื่นใจ

In 1661, Oliver Cromwell's body was exhumed from Westminster Abbey, and was subjected to the ritual of a posthumous execution

 – on January 30, the same date that Charles I had been executed.

He was in fact hanged, drawn and quartered.

At the end, his body was thrown into a pit.

His severed head was displayed on a pole outside Westminster Abbey until 1685.

Since then, it changed hands several times, before eventually being buried in the grounds of Sidney Sussex College, Cambridge, in 1960.



hanged, drawn, and quartered ที่คุณถามเป็นวิธีการลงโทษของศาลอังกฤษโบราณ  กระทำต่อผู้ได้รับโทษขั้นร้ายแรงที่สุด

ในกรณีของครอมเวลล์ เป็นการทำกับศพของเขา   จะเรียกว่าโหดร้ายหรือไม่ก็แล้วแต่คิด   ดิฉันเห็นว่าเป็นการประจานมากกว่า



เอาภาพมาให้ดู  ไม่ควรดูก่อนเวลาอาหาร

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 26 ม.ค. 06, 08:32

 อีกภาพหนึ่งของ hanged, drawn, and quartered
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 19 คำสั่ง