|
|
คำฝอย
มัจฉานุ
 
ตอบ: 64
เรียน
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 19 ม.ค. 06, 15:45
|
|
โหย อาจารย์เทาชมพูขา ดิฉันล่ะชอบจังที่อาจารย์บอกว่า ลูซี ไปมีกิ๊ก เนี่ย ศัพท์เด็กสมัยใหม่มาใช้กรณีนี้ ฟังดูน่ารักดีนะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นันทิ
อสุรผัด

ตอบ: 10
ทำงานพนักงานองค์การของรัฐ
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 19 ม.ค. 06, 15:49
|
|
สวัสดีค่ะอาจารย์เทาชมพู และทุกๆ ท่าน ขออนุญาตร่วมฟังด้วยคนนะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
HotChoc
มัจฉานุ
 
ตอบ: 62
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 19 ม.ค. 06, 18:42
|
|
เอ...ผมนึกว่าในยุโรป จะประหารเชื้อพระวงศ์จะให้ใช้ดาบซะอีก เขาว่ามันคมกว่า แต่ผมจำไม่ได้แล้วว่าอ่านจากไหน ยังไงจะติดตามอ่านนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 20 ม.ค. 06, 07:47
|
|
เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ ไม่อาจจะขึ้นเป็นพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษได้โดยอัตโนมัตินับแต่พระบิดาสิ้นพระชนม์ ทั้งนี้เพราะไม่มีราชบัลลังก์อังกฤษรองรับอยู่อีกแล้ว แต่ก็ไม่เคราะห์ร้ายถึงขนาดเป็นเจ้าไม่มีศาล เพราะว่าสกอตแลนด์ได้ยอมรับนับถือราชวงศ์สจ๊วตมาแต่แรก ถึงไม่ได้ครองอังกฤษ ก็ทรงได้เป็นราชันย์แห่งสกอตแลนด์ และบางส่วนของอังกฤษและไอร์แลนด์ โดยมีพระราชพิธีราชาภิเษกที่เมืองสกูน เมื่อพระชนม์ได้ 21 ปี
ในพระทัย พระราชาหนุ่มยังคงครุ่นคิดถึงราชบัลลังก์อังกฤษอยู่ไม่ขาด ทรงถือว่าโอลิเวอร์ ครอมเวลล์คือโจรปล้นสิทธิ์อันชอบธรรมไปจากพระองค์
สองปีต่อมา ทรงรวบรวมนายทหารและไพร่พลชาวสกอต ตลอดจนกลุ่มขุนนางรอยัลลิสต์ผู้ภักดีต่อกษัตริย์ ยกพลเข้าโจมตีอังกฤษเพื่อจะกำจัดครอมเวลล์ออกไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 20 ม.ค. 06, 08:11
|
|
ใครที่ชอบนิยายชุด"บ้านเล็ก"ของ ลอรา อิงกัลส์ ไวลเดอร์ คงจำผู้แปลคือ คุณสุคนธรส (หรือม.ล.รสคนธ์ อิสรเสนา ผู้ถึงแก่กรรมไปนานแล้ว)ได้
คุณสุคนธส แปลหนังสือประวัติศาสตร์ไว้อีกชุดหนึ่ง น่าอ่านมาก เป็นเรื่องราวของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ชื่อว่า " การลี้ภัย" มี 4 เล่มด้วยกัน 1) การลี้ภัยของดยุ๊คแห่งยอร์ค 2 )คำพิพากษา 3) การลี้ภัยของพระเจ้าแผ่นดิน 4) นิวัตพระนคร
หนังสือชุดนี้หายาก ดิฉันโชคดีไปเจอเข้าโดยบังเอิญในงานหนังสือ ทางร้านเอามาขายลดราคาแบบล้างสต๊อค 4 เล่ม 160 บาทเท่านั้น มีกล่องใส่เสียด้วย สภาพดีมาก ตอนนี้ทะนุถนอมเอาไว้บนหิ้ง เป็นหนังสือมีค่าชุดหนึ่งในห้องหนังสือที่บ้าน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
HotChoc
มัจฉานุ
 
ตอบ: 62
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 20 ม.ค. 06, 11:36
|
|
คงไม่ใช่กรณีนี้จริงๆแหละครับ เพราะตอนที่ผมอ่านผู้ถูกประหารเป็นผู้หญิง กษัตริย์สั่งให้ใช้ดาบประหาร บทความก็แจกแจงสรรพคุณการใช้ดาบว่าดีกว่าใช้ขวานยังไงบ้าง ผมเลยมี impression ว่าใช้ดาบเป็นการให้ศักดิ์ศรีผู้ถูกประหารมากกว่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ศรีปิงเวียง
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 20 ม.ค. 06, 17:16
|
|
สวัสดีครับคุณฮอทฟัดจ์ เอ๊ย คุณHotChoc และ อ.เทาชมพูครับ จากความเห็นที่ 24 ผมคิดว่าที่คุณพูดถึงน่าจะเป็นการสำเร็จโทษพระราชินีแอนน์ โบลีนในพระเจ้าเฮนรีที่ 8 มากกว่าครับ เพราะเท่าที่เคยได้ยิน มีการระบุว่ากรณีการประหารชีวิตด้วยดาบนี้ เกิดจากการกราบทูลของพระนางแอนน์โบลีน ซึ่งเพชรฆาตก็มาจากฝรั่งเศส เคยได้ยินว่ามีผู้พบหญิงสาวไร้ศีรษะ(สันนิษฐานว่าเป็นพระนางแอนน์ โบลีน) ที่ปราสาทแห่งหนึ่งครับ แต่ไม่แน่ใจข้อมูลดังกล่าวนัก ป.ล. การใช้ดาบสำเร็จโทษมีครั้งเดียวในประวัติศาสตร์เท่านั้น ที่เหลือใช้ขวานทั้งหมดครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ไม่เห็นใครแน่นอน
|
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 21 ม.ค. 06, 08:02
|
|
เดินแยกออกซอยเล็กไปหลายความเห็น ขอเดินย้อนกลับมาสู่ถนนใหญ่อีกครั้งค่ะ
(ต่อ) หลังชัยชนะที่วูสเตอร์ ครอมเวลล์ก็ได้ครองอำนาจต่อมาอย่างไร้ผู้ต้านทานได้อีก เป็นเวลานานหลายปี
ความเหิมเกริมในอำนาจทำให้เขากลายเป็นผู้เผด็จการ เขาทำสิ่งที่หนักข้อกว่าพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ทำหลายเท่า เช่นเมื่อถูกส.ส. คัดค้านเขาก็ยุบสภาเอาดื้อๆ ตั้งสภาใหม่ที่ล้วนแล้วไปด้วยลูกน้องสอพลอประจบประแจง ว่าไงว่าตามกัน เขาลักลอบขายพระราชทรัพย์ของหลวงที่เก็บไว้ใน Tower of London นำเงินไปใช้เพื่อบำรุงอำนาจส่วนตัว ถลุงเงินในท้องพระคลังแทบจะเกลี้ยง ทำสงครามกับเนเธอร์แลนด์ 2 ครั้ง เปลืองเงินทอง ผลักภาระด้านภาษีให้ประชาชนแบก แทบโงหัวไม่ขึ้น ครอมเวลล์ห้ามความสนุกสนานร่าเริงทั้งหมดในประเทศ ประชาชนถูกห้ามฉลองคริสต์มาส แต่ถูกบังคับให้ถือศีลอด ในวันนั้น แม้แต่ทหาร เมื่อพ้นประจำเวรยามกลับบ้านก็ต้องกลับมานั่งสวดมนตร์ที่บ้าน จะไปเฮฮากันไม่ได้ ชาวบ้านผิวปากร้องเพลงดังๆก็ไม่ได้ ต้องสวดมนตร์แทน บ้านเมืองมีแต่ความตึงเครียด ปีแล้วปีเล่าผู้คนรู้สึกตกต่ำและสิ้นหวัง
ในที่สุด ครอมเวลล์ก็กลายเป็นที่เกลียดชังในสายตาประชาชนคนเดินถนนทั่วไป การต่อต้านเล็กๆน้อยๆลุกลามกันทั่วไป จนกระทั่งเขาตายลงเมื่อ 1658 ความอดทนของประชาชนก็สิ้นสุดลง
แม้ว่าครอมเวลล์มอบหมายให้ลูกชายสืบตำแหน่งต่อ แต่ไม่มีผลอะไรอีกแล้ว สาธารณรัฐล้มครืนลงมา สังคมเริ่มเหมือนเรือขาดหางเสือ ประชาชนพร้อมใจกันเรียกร้องสังคมอังกฤษแบบเดิมที่มีรัฐสภาจากการเลือกตั้ง และมีระบอบกษัตริย์กลับคืนมาอีกครั้ง ก่อนสังคมอังกฤษจะเข้าสู่วิกฤต ในที่สุดทหารและรัฐสภาก็ต้านทานกระแสประชาชนไม่ไหว หันเหกลับมายอมรับระบอบกษัตริย์อีกครั้ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 23 ม.ค. 06, 10:29
|
|
ทางฝ่ายพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ช่วงชีวิตนับแต่พ่ายแพ้ศึกเป็นช่วงตกระกำลำบากอย่างยากจะเชื่อว่าเกิดขึ้นได้กับผู้เป็นเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ทรงยากไร้สิ้นเนื้อประดาตัว เมื่อบากหน้าไปพึ่งฝรั่งเศส สังฆราชมาซาแร็งอัครมหาเสนาบดีผู้กุมอำนาจตัวจริงแทนพระเจ้าหลุยส์ ที่ 13 ก็รังเกียจเดียดฉันท์ขับไล่ ทรงลี้ภัยไปประเทศอื่นๆในยุโรป ผู้นำก็หวังประจบเอาใจผูกมิตรกับครอมเวลล์เพื่อประโยชน์ทางการค้า จึงพากันขับไล่ไสส่งราชาไร้บัลลังก์ จะทรงหมายปองเจ้าหญิงองค์ไหน พระบิดามารดาก็ทรงรังเกียจไม่ยอมยกลูกสาวให้ราชาที่ไร้เงินทองและตำแหน่ง
เวลาผ่านไปหลายปี เงินทองที่ได้เล็กๆน้อยๆจากพระน้องนาง เจ้าฟ้าหญิงแมรี่ที่เป็นราชินีม่ายแห่งฮอลแลนด์ก็ขาดแคลนลงทุกที เพราะประชาชนชาวดัทช์พากันต่อต้านไม่ยอมให้ส่งเสีย เจ้าชายกับข้าราชบริพารผู้ภักดีไม่กี่คนอยู่ในฐานะยากจนเกือบเท่าขอทาน ของเสวยก็มีแต่กระหล่ำปลี และเนื้อจวนเน่า เอามาต้มกินประทังชีวิต เช่าห้องเช่าเล็กๆโทรมๆ ที่เจ้าของห้องทวงแล้วทวงอีก เป็นหนี้เป็นสินแม้แต่ค่าอาหาร
สิ่งเดียวที่ชะโลมพระทัยให้มีกำลังต่อสู้ชีวิตยากแค้นต่อไปได้ คือไม่ทรงท้อถอยปล่อยชีวิตไปตามบุญตามกรรม ที่สำคัญคือไม่ละทิ้งความใฝ่ฝันว่าจะทรงกลับไปครองบัลลังก์ในวันหนึ่ง ให้จงได้ ทำให้ทรงอดทนต่อชะตากรรม ไม่ปล่อยองค์ให้จมอยู่กับความสิ้นหวัง
ทั้งนี้ ประสบการณ์สร้างพระอุปนิสัยให้เป็นคนหนักแน่น มองโลกในแง่ดี ยิ้มรับอุปสรรคต่างๆที่เข้ามาในชีวิต ไม่ยอมหดหู่เศร้าซึม และทรงทำพระทัยอภัยให้ความผิดพลาดของผู้อื่นได้ เพื่อจะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
สิ่งเหล่านี้มีคุณค่าอย่างมหาศาลเมื่อได้ขึ้นครองบัลลังก์ ทำให้รัชสมัย Restoration แม้ว่าไม่ใช่สมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของอังกฤษ ก็เป็นสมัยที่มีการจดจำกันระดับแถวหน้าของประวัติศาสตร์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|