|
นทีสีทันดร
ชมพูพาน
  
ตอบ: 165
นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 15 ม.ค. 06, 18:59
|
|
มีอีกชื่อที่ทึกทักเอาเองเหมือนกันคือ "ต้นหนวดปลาหมึก" เมื่อก่อนเคยเจอแต่ต้นกับใบก็สงสัยทำไมเรียกว่า ต้นหนวดปลาหมึกหว่า พอไปเห็นตอนออกดอกถึงร้องอ้อน่าจะเป็นจากสาเหตุนี้ละมั้ง แต่ก็ทึกทักเอาเองยังไม่ได้หาหลักฐานสนับสนุน พี่ๆน้องๆคนไหนมีความรู้ช่วยบอกหน่อยนะครับว่าผมเดาถูกอีกรึเปล่า
 |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นทีสีทันดร
ชมพูพาน
  
ตอบ: 165
นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 15 ม.ค. 06, 19:02
|
|
 "ทาบฟ้าหนวดปลาหมึก เพิ่งรู้สึกนึกเหมือนจริง หลายเส้นเด่นดูยิ่ง มากปุ่มป่ำล้ำเรียงราย..." รูปและข้อความในกระทู้นี้เอามาจากเวบนี้คับhttp://www.tourthai.com/gallery/flower/pic08540.shtml |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ออกญาธรรมาธิกรณ์
อสุรผัด

ตอบ: 24
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 15 ม.ค. 06, 20:25
|
|
หนวดปลาหมึกจริงๆด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 15 ม.ค. 06, 21:05
|
|
ที่จริง คนไทยเรียกชื่อของตามอะไรที่เห็นแล้วจำได้ง่ายซะจนชินแล้วล่ะครับ
ผมเคยงงว่า ผ้า 2 ชนิดที่กรรมวิธีการผลิตต่างกันโดยสิ้นเชิง ทำไมถึงมีชื่อเรียกที่พ้องกัน
อย่างแรก คือแพรเกี้ยวหนาม-ขนุน ซึ่งมีวิธีทำคือการนำผ้าแพรหนังไก่ไปมัด แล้วย้อมสี ซึ่งการมัดและอุณหภูมิขณะย้อมจะทำให้ลักษณะของผ้าดูเป็นหนามๆคล้ายๆกับลูกขนุน
ส่วนอย่างที่สอง คือผ้านมสาว หรือผ้าตาดเงินหนามขนุนซึ่งใช้แล่งโลหะ (หรือกระดาษตะกั่ว) มาไขว้กันเหมือนเวลาจะเริ่มสานตะกร้อจากใบมะพร้าวเรียกว่าทำนมสาว แล้วเอานมสาวเป็นสายๆมาสอยติดลงไปบนผ้า ก็ถูกเรียกว่า "ผ้าตาดเงินหนามขนุน" เหมือนกัน
ผมเลยสงสัยว่าทำไมถึงเรียกว่า "หนามขนุน" เหมือนกัน ทั้งๆที่กรรมวิธีการผลิตไม่เห็นจะเหมือนกันเลย จนกระทั่งได้ความรู้มาว่า "คนสยามเป็นพวกซื้อของมาใช้ ถ้าไม่เรียกตามชื่อเดิม(ให้ภาษามันเพี้ยนๆไป)ก็เรียกใหม่ตามที่เห็นแหละ" ถึงได้ถึงบางอ้อครับ ว่าที่เรียกแบบนี้เพราะผ้าทั้ง2 ชนิดมีลักษณะเป็นหนามทู่ๆ ละเอียดๆ เหมือนหนามของลูกขนุนไงครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
นทีสีทันดร
ชมพูพาน
  
ตอบ: 165
นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 16 ม.ค. 06, 23:20
|
|
 ต้นกระถินณรงค์ครับ นำเข้ามาในประเทศไทยโดยขุนณรงค์ชวนกิจ (ชวน ณรงค์ชวนะ) ที่เรียกว่ากระถิน คงเป็นเพราะว่า(สันนิษฐานเองเหมือนเดิม)ตอนต้นเล็กๆมีใบจริงเป็นใบประกอบลักษณะคล้ายใบกระถิน ต่อมามีก้านใบซึ่งมีขนาดใหญ่ขึ้นและทำหน้าที่แทนใบประกอบที่หายไป |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 17 ม.ค. 06, 00:10
|
|
ที่จริง ชื่อต้นไม้แนวนี้มีอีกหลายอย่างเลยนะครับ
เท่าที่นึกออกก็ ศรีตรัง ชมพูพันทิพย์ ล่ะ (แต่ที่เหลือลืมหมดแล้วล่ะครับ ต้องขอเวลานึกอีกชาติเศษๆได้ 555+)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 17 ม.ค. 06, 11:20
|
|
อวัยวะส่วนที่เรียกว่า "กระเบนเหน็บ" ไงคะ อยู่บริเวณบั้นเอวด้านหลัง ถ้าปวดตรงนี้อาจเป็นโรคไซอาติคา (Sciatica) เกิดจากเส้นประสาทไขสันหลัง บริเวณกระดูกสันหลังบั้นเอวกระเบนเหน็บที่ไปเลี้ยงขา ถูกหมอนรอง กระดูกสันหลังหรือกระดูกเลื่อนไปกดทับ ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดขึ้น
ที่เรียกว่ากระเบนเหน็บ เพราะเมื่อก่อนคนไทยนุ่งโจงกระเบน ชายกระเบนที่โจงแล้วเหน็บอยู่ตรงบั้นเอวด้านหลัง ตรงนั้นพอดี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นทีสีทันดร
ชมพูพาน
  
ตอบ: 165
นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 17 ม.ค. 06, 12:25
|
|
 มาเพิ่มเติมจากอาจารย์เทาชมพูนะครับ ส่วนที่เรียกว่า "ทัดดอกไม้" (pterion) ซึ่งเป็นบริเวณด้านข้างของกระโหลกศีรษะ ซึ่งตรงกับบริเวณที่ใช้ทัดดอกไม้เหนือหู บริเวณนี้จะมีเส้นเลือดอยู่ เมื่อบาดเจ็บบริเวณนี้อาจทำให้เกิดการฉีกขาดของเส้นเลือด ทำให้มีเลือดออกนอกเยื่อหุ้มสมอง(epidural hemorrhage)ได้ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Hotacunus
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 17 ม.ค. 06, 23:31
|
|
ขอเสนอคำว่า "หมวกกันน็อค" ครับ
คือ ในความเป็นจริงแล้ว ถึงจะใส่หมวกก็มีโอกาสได้ "น๊อค" (สลบ) ครับ ถ้ากระแทกพื้นแรงๆ (น่าจะเรียกว่า "หมวกกันสลบ" อิอิ)
ถึงแม้จะมีคำว่า "หมวกนิรภัย" มาก็ไม่ช่วยทำให้ความหมายตรงกับความจริงนัก
นิรภัย แปลว่า ไม่มีภัย คือ สวมใส่แล้วไม่มีภัย ซึ่งก็ไม่จริง เพราะถ้าประมาทก็เกิดภัยได้
อันที่จริง หมวกดังกล่าว "ลดความรุนแรง ที่อาจเกิดกับศีรษะ" เท่านั้นครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
นทีสีทันดร
ชมพูพาน
  
ตอบ: 165
นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 18 ม.ค. 06, 22:27
|
|
 มาเล่าเรื่องหลวงพ่อกลักฝิ่นดีกว่า เป็นพระพุทธรูปที่มีที่มาน่าสนใจและชื่อขององค์พระก็แปลกดีด้วยครับ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีประกาศห้ามสูบฝิ่นและมีการปรามปรามฝิ่น ซึ่งในการปราบปรามครั้งใหญ่เมื่อปีพ.ศ.๒๓๘๒ เป็นการกวาดล้างฝิ่นในภาคใต้ตั้งแต่เมืองปราณบุรี ถึงนครศรีธรรมราช และจากตะกั่วป่าถึงถลาง สามารถจับฝิ่นดิบและฝิ่นสุกมาได้มากมาย ตัวฝิ่นนั้นโปรดฯ ให้นำมาทำพิธีเผาที่หน้าพระที่นั่งสุทไธศวรรย์ เหลือกลักฝิ่นซึ่งทำด้วยทองเหลืองอยู่จำนวนมาก จึงโปรดฯ ให้นำมาหล่อพระพุทธรูปได้พระขนาดหน้าตักกว้าง 1 ศอก 1 คืบ 1 นิ้ว ประดิษฐานเป็นพระประธานในศาลาการเปรียญ วัดสุทัศนเทพวรารามฯ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานนามว่า “พระพุทธเสฏฐมุนี” ส่วนคนทั่วไปนิยมเรียกว่า “หลวงพ่อกลักฝิ่น” ผมว่าการสร้างพระพุทธรูปองค์นี้น่าจะเป็นแนวคิดเรื่อง recycle ครั้งแรกๆในเมืองไทยก็เป็นได้นะครับ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Hotacunus
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 19 ม.ค. 06, 07:14
|
|
มาอีกคำครับใกล้ตัวมากๆ
"หนังสือ"
หนัง คือ หนังของสัตว์ สือ คือ ตัวอักษร
หนังสือ คือ หนังสัตว์ที่มีตัวอักษร
ปัจจุบันหนังสือไม่ใช่หนัง แต่เป็น "กระดาษ" (จำได้ว่าเป็นคำเปอร์เซีย ?)
ุ-----------------
ตู้เย็น - ตัวตู้ไม่ได้เย็นเลยครับ ร้อน แต่ในตู้นั้น เย็น จริงๆคือ "เครื่องทำความเย็น" หรือ "ตู้ทำความเย็น"
----------------
รถไฟ - เมื่อก่อนวิ่งได้ด้วยไฟ แต่ปัจจุบันวิ่งด้วยน้ำมัน แต่ก็ยังเรียกรถไฟ
เรือบิน - เมื่อก่อน พาหนะไม่มีล้อคือ เรือ ดังนั้น เครื่องบิน บินไป ไม่ได้ใช้ล้อ มีลำยาวเหมือนเรืออีก เลยเรียกเรือบิน ปัจจุบันไม่ค่อยมีคนใช้แล้ว แต่ยังคงเหลือคำนี้ในตำแหน่งทหาร
"นาวาอากาศ" = เรือที่เคลื่อนที่ไปในอากาศ
----------------
มือถือ - โทรศัพท์ไร้สาย ขนาดเล็ก พกพาสะดวก ย่อมาจาก โทรศัพท์มือถือ เพราะเล็ก มือถือได้ ปัจจุบันเรียกกัน "มือถือ" ก็เป็นที่เข้าใจ ถ้าแปลเป็นภาษาอังกฤษแบบไทยๆ คือ "Hand Hold" อิอิ
ุ-----------------
อันนี้ไม่เกี่ยวครับ แต่แว๊บมาในหัว
"To son to man" มุขของเพื่อนผมสมัย ม.ปลาย เค้าบอกว่าแปลว่า "ถึงลูก(ชาย)ถึงคน" ... ทำไปได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|