เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 9135 ภาษาหนัง ภาษาละคร (ต่างชาติ)
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 24 ม.ค. 06, 14:42

 โกว หรือ กู (ไม่ใช่ กู่) ถ้าอยู่โดดๆ คนแต้จิ๋วจะคุ้นเคยในความหมายว่า พี่สาวหรือน้องสาวของพ่อครับ แต่ dictionary จะแปลได้อีกว่า แม่สามี (ซึ่งผมไม่เคยได้ยินคนแต้จิ๋วใช้ แต่จะมีใช้กันหรือไม่ไม่ทราบได้)

ตัวอักษรนี้ซีกซ้ายเป็นตัว หนวี่ ที่แปลว่าผู้หญิง ส่วนซีกขวาเป็นตัว กู่ ที่แปลว่า เก่า

สาวๆรู้อย่างนี้แล้วคงไม่อยากเป็นอาโกวเลย  

ส่วนตัว เหนียง นั้น แปลได้ว่า ผู้หญิง, เด็กผู้หญิง หรือ ภรรยา ครับ
ซีกซ้ายเป็นตัว หนวี่ คือผู้หญิง ซีกขวาเป็นตัว เหลียง มีนัยยะว่า ดี
นอกจากคำว่า โกวเนี้ย(กูเหนียง) แล้ว คนแต้จิ๋วเองจะคุ้นกับ ซิงเนี้ย(ซินเหนียง) แปลว่าเจ้าสาว(ซิน แปลว่า ใหม่) ถ้าเป็นแฟนหนังสือกำลังภายในก็จะมี ซือเนี้ย(ซือเหนียง) ที่แปลว่า อาจารย์หญิง(ซือ แปลว่า อาจารย์) อีกคำหนึ่งครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
ภูมิ
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 196


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 25 ม.ค. 06, 00:14

 姑娘
ทดลองส่งอังษรจีน (ญี่ปุ่น)
บันทึกการเข้า
ภูมิ
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 196


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 25 ม.ค. 06, 00:15

 ทำไมตอน preview ขึ้นหว่า ลองอีกที
姑娘
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 02 ก.พ. 06, 03:04

 เพิ่งอ่านเจอครับ

ชื่อคนไทยสมัยอยุธยา จารึกเจ้าเถรศรีเทพคิริมานนท์ ๑ (ชัยนาท)
อักษรไทยอยุธยา ภาษาไทย พ.ศ.๑๙๕๖

แม่นางสร้อยทอง
ย่าออกศรี
แม่อาม
แม่น้อย
พ่องั่ว

ชื่อคนจาก จารึกเจ้าเถรศรีเทพคิริมานนท์ ๒ (ชัยนาท)
อักษรไทยอยุธยา ภาษาไทย พ.ศ.๑๙๕๖
ปู่สิงหนท
แม่วัง
ปู่ญิ
พ่อไสย
แม่เพง

------

สังเกตว่า "แม่นาง" มีใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้วครับ คือ "แม่นางสร้อยทอง" มิได้แปลมาจากหนังจีนกำลังภายใน แต่ประการใด
บันทึกการเข้า
ภูมิ
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 196


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 02 ก.พ. 06, 10:27

 ถ้ามีจริงก็อาจใช่ครับ
แต่ก็ยังสงสัยว่าคนนำมาใช้ เป็นการพ้องโดยไม่ตั้งใจหรือ ศึกษาทาแล้ว ว่าเป็นอย่างไร

อีกอย่าง แม่นางสร้อยทอง  หมายถึง แม่นาง สร้อยทอง
หรือ แม่ นางสร้อยทอง  ครับ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 02 ก.พ. 06, 10:58

 1.ต่อให้เป็นแม่ของนางสร้อยทองก็ต้องมีชื่อครับ
2.ย่าออกศรี จะกลายเป็นย่าของออกศรีไปด้วยหรือเปล่าครับ

แม่นางน่าจะแสดงสถานะทางสังคมอย่างใดอย่างหนึ่ง

แต่ไม่น่าจะพ้องกับแม่นางในสำนวนกำลังภายในนะครับ    
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 02 ก.พ. 06, 17:38

 คำว่า ทรงแท้ง ที่ถูกต้องน่าจะใช้คำว่าอะไรครับ(ไม่ต้องบอกว่าเอามาจากไหน
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 06 ก.พ. 06, 00:46

 แม่นางสร้อยทอง
ย่าออกศรี
แม่อาม
แม่น้อย
พ่องั่ว

ผมเข้าใจว่า "แม่นาง" ในที่นี้เป็นคำเรียกนำหน้าชื่อครับ ไม่ใช่ แม่ "ของ" นางสร้อยทอง แน่นอน

เนื่องจาก อันที่จริงแล้ว ก่อนกล่าวถึงชื่อนี้ จารึกได้กล่าวถึงเป็นอันดับแรกคือ "เจ้าเมือง" ชื่อต่อมาคือ "แม่นางสร้อยทอง" ต่อมา "ย่าออกศรี" จากนั้น ก็แม่อาม แม่น้อย พ่องั่ว

จารึกนี้เป็นเรื่องการทำบุญครับ ดังนั้นเป็นชื่อบุคคลแน่นอน เพราะถ้าจะแจ้งบอกแค่ว่า ตนเองเป็น "แม่" ของนางสร้อยทอง แล้วไม่บอกชื่อตัวเอง ก็ออกจะไร้เหตุผลครับ แล้วก็คงจะไม่ได้บุญด้วย อิอิ

ถ้าพิจารณาจากเนื้อหาแล้วก็แสดงว่า "แม่นาง" นี้อาจเป็นคำที่ใช้นำหน้า "หญิงผู้สูงศักดิ์" เช่น ในที่นี้ คือภริยาของเจ้าเมืองชัยนาท นั่นเอง

อันที่จริง คำว่า แม่นาง แม่ พ่อ เหล่านี้ น่าจะเป็นคำโบราณสามัญที่ใช้เรียกนำหน้าชื่อ แต่ปัจจุบันเราไม่ใช้กันแล้วเพราะเราได้เปลี่ยนเป็น นาย นาง นางสาว ดังนั้นเราจึงอาจจะรู้สึกไม่คุ้นเคยก็ได้ครับ

ส่วน "แม่นาง" จากหนังจีน นิยายจีนนั้น ผมคิดว่า ผู้แปลก็คงทำการบ้านมามั้งครับ คือพยายามหาคำเรียกของไทยโบราณมาใช้ เพื่อให้ได้กลิ่นอายโบราณๆ

ว่างๆ ผมจะลองไปค้นในพจนานุกรม เก่าๆ ดูครับ
บันทึกการเข้า
น่าน
อสุรผัด
*
ตอบ: 6

ทำธุรกิจส่วนตัว


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 06 ก.พ. 06, 14:29

 ถ้าหากพากย์ให้เหมือนกัับคำที่คนไทยใช้กันในชีวิตประจำวันมันก็รู้สึกเสียอรรถรสในการฟังหมดเพราะว่าเราจะรู้้สึกแปลกๆใหม?ถ้ามีคนแต่งตัวรุ่มร่าม เหาะได้ หรือว่าหน้าตาแปลกไปจากที่เคยเห็นแล้วพูดจาเหมือนที่เราพูดเนี่ย?
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 07 ก.พ. 06, 00:28

 ไปดูมาแล้วครับ พจนานุกรมสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ๒ เล่ม

๑. พจนานุกรมไทย - ไทย = A dictionary of the Siamese language by J. Caswell

๒. สัพะ พะจะนะ พาสา ไท.


แต่อย่างไรก็ตาม พจนานุกรมทั้ง ๒ ที่ผมไปค้นดูนี้ รวบรวมโดยฝรั่ง ก็อาจมีตกหล่นได้เช่นกัน
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 07 ก.พ. 06, 17:17

 มีอีกเล่มครับ คือ อภิธานศรัปภ์ ของหมอ-บรัดเลย์
พิเศษกว่าเล่มอื่นในสมัยนั้น ตรงที่มีครูสอนหนังสือชาวสยามร่วมกันเรียบเรียงด้วยครับ
และเป็นพจนานุกรมไทยเล่มแรกของสยาม
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.128 วินาที กับ 19 คำสั่ง