เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 9156 ภาษาหนัง ภาษาละคร (ต่างชาติ)
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
 เมื่อ 15 ม.ค. 06, 18:11

ช่วงนี้ละครเกาหลีกำลังดัง ถึงผมจะไม่ได้เป็นแฟนซีรี่ของเกาหลี แต่ก็ต้องรับชมบ้างเป็นครั้งคราว เพราะสมาชิกในครอบครัวชื่นชอบมากๆ

เรื่องของเรื่องคือว่า เท่าที่สังเกตดู ภาพยนตร์ หรือละครต่างชาติ จะพากย์ไทยโดยใช้คำบางคำที่ฟังแล้วขำๆ ดี คือเป็นคำที่คนไทยไม่ใช้กันในชีวิตประจำวัน หรือไม่น่าจะถูกต้อง ผมก็สงสัยอยู่เหมือนกันว่าทำไมไม่พากย์ไทยโดยใช้ศัพท์ใช้คำที่คนไทยพูดๆกัน?

อย่างในสมัยก่อนภาพยนตร์กำลังภายในจะใช้คำแปลกๆ เรียกตัวละครผู้หญิงว่า “แม่นาง” แทนที่จะใช้ คุณ หรือ เธอ เช่น แม่นางอึ้ง แทนที่จะเรียกนางอึ้ง หรือคุณอึ้ง ก็ว่าไป, แม่นางน้อย = สาวน้อย,  ลูกเขยของฮ่องเต้ เรียก ราชบุตรเขย อันนี้ผมไม่แน่ใจว่าคำราชาศัพท์ภาษาไทยเรียกว่าอะไร แต่ไม่น่าจะใช้ว่า ราชบุตรเขย  หรือ คำอื่นๆที่ฟังแล้วไม่ต้องดูก็รู้ว่ากำลังดูหนังกำลังภายในอยู่ เช่น คำว่าไขสือ จนบางครั้งก็ยังงงว่า ไขสือ มันแปลว่าอะไรแน่

ในสมัยนี้เป็นยุคหนังเกาหลีฟีเวอร์ อีกคำที่ได้ยินบ่อยคือคำว่า “นายหญิง “ ได้ฟังทีไรก็งงๆ เพราะไม่แน่ใจว่าในสมัยโบราณเราใช้คำพวกนี้กันหรือไม่ เช่น บ่าวไพร่ในเรือน จะใช้คำเรียกเจ้านายผู้หญิงว่าอย่างไร แต่ไม่น่าจะเรียกว่านายหญิงนะครับ

ใครมีคำอื่นจะส่งเข้าประกวดมั้ยครับ  
บันทึกการเข้า
เนยสด
ชมพูพาน
***
ตอบ: 153



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 15 ม.ค. 06, 19:53

 ไม่มีครับ (คิดไม่ออก)
ผมว่า คำพวกนี้น่าจะได้รับอิทธิพลจากการแปลวรรณกรรมจีนในสมัยก่อนครับ
ผมอ่านสามก๊ก รู้สึกว่าตัวละครพูดกันแทบไม่มีอารมณ์ออกจากปากเลย

...รอฟังความเห็นเพิ่มเติม...
บันทึกการเข้า

นทีสีทันดร
ชมพูพาน
***
ตอบ: 165

นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 15 ม.ค. 06, 20:06

 ลูกเขยคำราชาศัพท์เรียกว่า "พระชามาดา" ครับ
ที่ใช้ว่า "ราชบุตรเขย" นี่ถ้าจำไม่ผิดน่าจะมาจากเรื่องเปาบุ้นจิ้นนะครับ
ยังมีคำอื่นๆอีกเหมือนกันนะครับ :
- ข้าน้อย (ไปค้นมาจากพจนานุกรม คนไทยก็ใช้ครับเป็นภาษาถิ่นของอีสาน)
- ศิษย์พี่, ศิษย์น้อง (เหมือนในโฆษณา 7-11)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 15 ม.ค. 06, 20:22

 มันเป็นภาษาเฉพาะของหนังจีนน่ะค่ะ   เข้าใจว่าได้อิทธิพลของนิยายจีนกำลังภายในด้วย
เนื้อเรื่องในหนังจีนพวกนี้  เป็นเหตุการณ์ในอดีตย้อนหลังไปนานมาก  อย่างสมัยเจงกิสข่าน  จะให้ก๊วยเจ๋งเรียกอึ้งย้งว่า"คุณอึ้ง" ก็ฟังไม่เข้ากับยุคเสียเลย

ศัพท์ที่ฟังแปร่งๆพวกนี้   แพร่หลายจนเป็นภาษาเฉพาะของหนังไปแล้ว
เหมือนสมัยโบราณเรามีภาษาเฉพาะของลิเก
ราชาศัพท์ของลิเก  ก็สร้างขึ้นเฉพาะตัว ไม่เหมือนราชาศัพท์ของจริง
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 16 ม.ค. 06, 11:28

 ผมคิดว่าคำว่า ราชบุตรเขย มีใช้นานกว่านั้นครับ เช่นในนิทานโบราณคดี นิทานเรื่องสยามมีพระเจ้าแผ่นดิน ๒ พระองค์ครับ
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
ภูมิ
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 196


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 18 ม.ค. 06, 20:08

 ราชบุตรเขย เคยเห็นในนิยายของ ลพบุรี
ส่วนแม่นางน่าจะเป็นการพยายามแปลคำว่ากู่เนี้ย
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 19 ม.ค. 06, 04:37

 แล้วคำว่ากู่เนี้ยแปลว่าอะไรครับคุณภูมิ      
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 19 ม.ค. 06, 06:42

 โกวเนี้ย ค่ะ
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 19 ม.ค. 06, 06:55

 ประมวลที่กล่าวถึงไปแล้วครับ
แม่นาง
ราชบุตรเขย
นายหญิง
ข้าน้อย
ศิษย์พี่
ศิษย์น้อง

------------------
ที่ผมนึกออกคือ

นายท่าน
น้องสอง น้องสาม (กรณีมีพี่น้องหลายคน)
พี่ท่าน
ท่านพี่
น้องข้า
องค์ชาย ๔

บังอาจ !
เจ้านี่โอหังนัก !
ยุทธภพ
เยี่ยมวรยุทธ
ไร้เทียมทาน
กำลังภายใน
ฯลฯ

นึกออกแต่ที่มาจากหนังจีนครับ อิอิ

หนังญีุ่ปุ่นย้อนยุค ปัจจุบันบ้านเราไม่เอามาฉาย
หนังฝรั่งย้อนยุคบ้านเราก็แปลสำนวนธรรมดา ถ้าแปลด้วยสำนวนหนังจีนคงตลกดี อิอิ

"โอ้ แฮร์รี่ พอตเตอร์ พลังเวทของเจ้า ช่างไร้เทียมทานอะไรเช่นนี้"
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 20 ม.ค. 06, 00:33

 โกวเนี้ย เป็นสำเนียงจีนแต้จิ๋ว ความจริงแล้วจะออกเสียงคล้าย โกวนิ-อ๊อมากกว่า

จีนกลางจะว่า กูเหนียง แปลคล้ายๆ lady ครับ แต่จะไม่นิยมใช้กับคนอายุมากนะครับ

ภาษาไทยไม่มีคำแปลตรง ก็เลยบัญญัติว่า แม่นาง ซะเลย

ถ้าสังเกตให้ดี แม้แต่ภาษานิยายกำลังภายในก็มีพลวัตรของตัวเองเหมือนกันนะครับ

คำว่า ยุทธภพ นี่สมัยผมเด็กๆไม่ใช้ จะใช้ก็แต่ ยุทธจักร

ทุกวันนี้ไม่นิยมใช้ยุทธจักรกันแล้ว
ที่ยังเห็นก็ค้างอยู่ในนามสกุล "หนึ่งในยุทธจักร" นี่แหละครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
ชื่นใจ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 136

นักศึกษาปริญญาเอก University of East Anglia England


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 21 ม.ค. 06, 07:49

 สวัสดีทุกท่านค่ะ ขอแนะนำตัวเป็นครั้งแรก หลังจากที่แอบเมียงมองที่หน้าบ้านมานานหลายเดือน แล้วก็มัวแต่อายไม่กล้าเดินผ่านประตูเข้ามาซักที

วันนี้กระทู้ที่คุณจ้อตั้งขึ้นมา สะกิดความอยากเล่าของฉันได้สำเร็จแล้วค่ะ ศัพท์คำอื่นๆ มีที่มาอย่างไรก็ไม่ทราบแน่ชัดนะคะ แต่กรณีของการลำดับศักดิ์ในเครือญาติ เช่น "น้องสอง, น้องสาม, น้องข้า, องค์ชายสี่" นั้น คิดว่าผู้แปลไม่ได้คิดขึ้นเองแน่นอน แต่แปลมาจากคำสรรพนามที่ใช้จริงตามขนบของคนจีน

ฉันเป็นลูกหลานชาวจีนแต้จิ๋วที่เกิดในเมืองไทยค่ะ พูดได้เต็มปากว่าตัวเองเป็นคนไทยที่โตมาท่ามกลางวัฒนธรรมผสมผสาน ขอยกตัวอย่างจากครอบครัวของตัวเองมาอธิบายเรื่องการลำดับศักดิ์นะคะ

พี่ชายคนโตที่สุด น้องๆจะเรียกว่า ตั่วเฮีย, พี่สาวคนโตที่สุด น้องๆจะเรียกว่า ตั่วเจ้, ทั้งสองกรณีนี้หนังจีนเค้าแปลรวม (โดยไม่แบ่งเพศ)ว่า "พี่ใหญ่" (ถ้าแปลอย่างตรงจริงๆ คงต้องเป็นพี่ชายใหญ่ พี่สาวใหญ่ ทำนองนั้น)

น้องชายคนเล็กที่สุด พี่ๆจะเรียกว่า โส่ยตี๋, น้องสาวคนเล็กที่สุดพี่ๆจะเรียกว่า โส่ยหม่วย ซึ่งเราจะคุ้นกับคำว่า "น้องเล็ก" ในหนังจีน (นี่ก็แปลโดยไม่แบ่งเพศอีกแล้ว)

ส่วนคำเรียก พี่สาว/น้องสาว พี่ชาย/น้องชาย ในลำดับกลางๆ จะต้องมีลำดับเลขนำหน้าคำว่า เฮีย, เจ้, ตี๋, หมวย ด้วยเสมอ ลำดับเลขนั้นแสดงถึงลำดับความเป็นลูกผู้ชาย (หรือลูกผู้หญิง) คนที่เท่าไหร่ของพ่อแม่หนะค่ะ

ปู่ทวดฉันมีลูกสิบคน ชายหก  หญิงสี่ (เรียงเพศตามนี้นะคะ: 1ช 2ญ 3ช 4ช 5ช 6ญ 7ญ 8ช 9ช 10ญ) พี่น้องทั้งสิบคนนี้เค้าเรียกขานกันและกันดังนี้ค่ะ
1ช คือ ตั่วเฮียหรือพี่ (ชาย) ใหญ่ เพราะเป็นลูกผู้ชายคนแรก
2ญ คือ ตั่วเจ้หรือพี่ (สาว) ใหญ่ เพราะเป็นลูกผู้หญิงคนแรก
3ช คือ หยี่เฮีย หรือ หยี่ตี๋ (แล้วแต่กรณีว่าคนเรียกเป็นพี่หรือเป็นน้องของคนๆนี้) เพราะเป็นลูกผู้ชายลำดับที่สองของปู่ทวด (สังเกตว่าจะลำดับตามเพศนะคะ ไม่นับลำดับรวม เพราะถ้านับลำดับรวม คนๆนี้ต้องเป็นลูกคนที่สาม)
4ช คือ ซาเฮีย หรือ ซาตี๋ เพราะเป็นลูกผู้ชายลำดับที่สามของปู่ทวด
5ช คือ ซีเฮีย หรือ ซีตี๋ เพราะเป็นลูกผู้ชายลำดับที่สี่ของปู่ทวด
6ญ หยี่เจ้ หรือ หยี่หม่วย (แล้วแต่กรณีว่าคนเรียกเป็นพี่หรือเป็นน้องของคนๆนี้) เพราะเป็นลูกผู้หญิงลำดับที่สองของปู่ทวด (นี่ก็ลำดับตามเพศค่ะ ไม่นับลำดับรวม เพราะถ้านับลำดับรวม คนๆนี้ต้องเป็นลูกคนที่หก)
7ญ ซาเจ้ หรือ ซาหม่วย (เพราะเป็นลูกผู้หญิงลำดับที่สามของปู่ทวด
8ช คือ โหง่วเฮีย หรือ โหง่วตี๋ เพราะเป็นลูกผู้ชายลำดับที่ห้าของปู่ทวด
9ช คือ โส่ยตี๋หรือน้อง (ชาย) เล็ก เพราะเป็นลูกผู้ชายคนสุดท้าย
10ญ โส่ยหมวยหรือน้อง (สาว) เล็ก เพราะเป็นลูกผู้หญิงคนสุดท้าย

ยิ่งถ้ามีจำนวนลูก จำนวนพี่น้องเยอะ คำเรียกตามลำดับเลขก็จะมากตามจำนวนคนไปเรื่อยๆ

ครอบครัวคนจีนมีคำเรียกบุคคลในครอบครัวเป็นลำดับอย่างนี้อย่างเคร่งครัดเชียวค่ะ (อย่างน้อยก็ในครอบครัวฉัน แต่ความเคร่งครัดนี้มาลงที่รุ่นฉันนี่แหละ เรียกว่าทำขนบเสียหาย) ไม่ว่าจะเป็นลุง ป้า น้า อา มาจากข้างพ่อหรือข้างแม่ เป็นลำดับที่เท่าไหร่ ใครโตกว่าใคร ใครเล็กกว่าใคร ใครเกี่ยวดองด้วยความเป๋นเขยหรือสะใภ้-ลำดับที่เท่าไหร่ คำเรียกทุกคำแม้จะเป็นคำสั้นแต่แจกแจงรายละเอียดพวกนี้ไว้แจ่มแจ้ง ชนิดที่ว่าลูกหลานหรือคนอื่นๆสามารถระบุได้ทันทีว่าคนที่ถูกเรียกมาจากญาติสายไหน เป็นคนที่เท่าไหร่ เกี่ยวพันอะไรกัน ฯลฯ

ทั้งหมดนี่คือความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติในครอบครัวของฉันเองค่ะ เขียนมาตั้งยาวก็แค่อยากจะบอกว่าเรื่องคำศัพท์เกี่ยวกับญาติพี่น้องที่เราใช้กันในหนังจีนนี่ ... มีที่มาค่ะ คนแปลคงไม่ได้ทึกทักเอง หากฉันตกหล่นตรงไหน ใครรู้ช่วยเล่าเพิ่มด้วยนะคะ
บันทึกการเข้า
ศนิ
มัจฉานุ
**
ตอบ: 95

- The Ultimate Aim of Education is the Development of Charactor -


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 22 ม.ค. 06, 11:57

 ขอส่งเข้าประกวดด้วยคนค่ะ

คำว่า "ฝ่าบาท" ใช้กับกษัตริย์
ส่วนคำว่า "ใต้เท้า"ใช้กับขุนนาง

เห็นว่าสองคำนี้มีความหมายเหมือนกันเลย
แต่เป็นคำคนละระดับกัน
บันทึกการเข้า
ภูมิ
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 196


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 24 ม.ค. 06, 03:05

 อีกคำหนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงก็คือคำว่า กำลังภายใน
สมัยก่อนเราเรียกหนังจีน(ย้อนยุค)ว่าเป็นหนังกำลังภายใน
เมื่อสัก6-7ปีที่แล้ว มีคำใหม่มาใช้คือคำว่าพลังวัฒน์  (ไม่รู้สะกดอย่างนี้ถูกหรือเปล่า)
แต่ช่วงนี้ก็เริ่มไม่ค่อยได้ยินแล้ว

อีกอย่างสมัยนี้ น.นพรัตน์แปลโดยใช้เสียงจีนกลางมากขึ้น
(จำไม่ค่อยได้เหมือนกันว่าเมื่อก่อนเขาใช้เสียงอะไร แต่คลับคลายคลับคลาว่าไม่ใช่)
แต่หนังสือเก่าๆส่วนใหญ่ เช่นของ ว.ณ.เมืองลุง มักจะเป็นเสียงอีกเสียงหนึ่ง (เข้าใจว่าไม่ใช่แต้จิวก็ฮกเกี่ยน)ซึ่งผมว่าเพราะกว่า (อาจเป็นว่าคุณเคยกว่าก็ได้) แต่ข้อเสียหนึ่งของจีนกลางคือเสียงควบกล้ำประหลาดประหลาดเยอะ


นี่ก็เป็นอีกวิวัฒนาการหนึ่ง
บันทึกการเข้า
ภูมิ
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 196


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 24 ม.ค. 06, 03:09

 โกว หรือ กู่  ถ้าอยู่เดี่ยวๆ แปลว่า แม่สามี หรือ แม่ภรรยา
เนี้ย ก็แปลว่า ลูกสาว
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 24 ม.ค. 06, 13:38

 คุณภูมิค่ะ

คำว่า.. โกวเนี้ย แต้จิ๋ว แปลว่า คุณหนู หากพ่อเป็นเถ้าแก่ เขาจะเรียกลูกสาวว่าโกวเนี้ย ลูกชายว่า เสี่ย

คำว่า...กูเหนียง จีนกลาง อาจเติมคำว่า เสี่ยว ที่แปลว่า 'เล็ก' ไปข้างหน้า

จำเพลงฮิตสมัยเด็กๆ 'เพลงเด็กขายดอกไม้' ทำนองเพลง

'มะละกอ' ได้ไหมคะ (usage ไม่เหมือนกันทีเดียวนะคะ)



เสี่ยว เสี่ยว กู เหนียง ชิง เจ่า ฉี่ ฉวง ถี่ เจอ ฮัว หลัน ซัง ซือ ชัง

ชวน กั้ว ต้า เจีย โจ้ว จิ้น เซี่ยว เสี่ยง ใหม่ ฮัว ไม่ ฮัว เซิง เซิง ชัง

ฮัว ไอ้ เจิน เม่ย ฮัว ไอ้ เจิน เซี่ยง เม่ย โหย่ว เหยิน ไหม เจิน เมอ ยั่ง



...สาวน้อย (เด็กน้อย) ตอนเช้าลุกขึ้นมา....
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.098 วินาที กับ 19 คำสั่ง