เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 14179 นักการทูตในชีวิตจริง กับภาพฝันของนักเขียนในนิยาย
ทิด
บุคคลทั่วไป
 เมื่อ 16 ธ.ค. 00, 09:00

สืบเนื่องมาจากกระทู้ ๑๖๒ เรื่องควันหลงลอยกระทงของคุณนิลกังขานะครับ
ตอนแรกกระเซ้ากันเรื่องนักการทูตหนุ่มไทยหัวใจสะออนกันเล่นๆ พอได้เฮฮา
แต่คุณนิลกังขาเกิดจุดประกายในประเด็นนี้ขึ้นมา เห็นว่าน่าสนใจอยู่ไม่น้อย
ยิ่งมีคนวงในตัวจริงเสียงจริงมาให้รายละเอียดด้วยแล้ว ยิ่งน่าสนใจเข้าไปใหญ่
เผื่อว่าจะมีน้องๆ ที่เข้ามาอ่านหลายคนที่กำลังมีความใฝ่ฝันจะเป็นนักการทูตกัน
น่าจะเป็นการให้ข้อมูลในภาพจริงของการทำงานในสายวิชาชีพนี้ได้เป็นอย่างดีนะครับ
นอกจากนี้ยังมีเกล็ด (เกร็ด?) เกี่ยวกับเรื่องราชทินนามของข้าราชการในอดีต
ที่นักเขียนมักจะเอาไปตั้งเสียสวยหรูแต่ผิดจากข้อเท็จจริงไปมากมาฝากกันด้วย
ส่วนถ้าจะมีตำนานกุ๊กกิ๊กของนักการทูตหนุ่มไทยคารมกล้ามาเล่าแถมเสียหน่อย
ก็คงจะทำให้บรรยากาศร้อนๆ ตอนนี้เย็นลงได้บ้างนะครับ ^_________^
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 11 พ.ย. 00, 11:38

เข้ามานั่งรอคนเล่าแล้วค่ะ
ไม่ต้องเปิดพัดลม  มุมนี้ของเรือนไทยที่คุณทิดเลือกตั้งวง  บรรยากาศเย็นสบายดีค่ะ
เดี๋ยวจะไปค้นสมุดข่อย  หารายชื่อทูตไทยคนแรกในอังกฤษมาให้นะคะ    แต่ขอเชิญคุณนิลกังขาก่อนค่ะ
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 11 พ.ย. 00, 15:38

ผมไม่นึกว่าคุณทิดจะเอาจริง...
เขินครับ
ขออภัยท่านอื่นที่อาจจะหมั่นไส้ผมด้วย ตัวผมเองยังเกือบๆ จะหมั่นไส้ตัวเองเลย แต่นึกเสียว่าไม่ได้ตั้งกระทู้เอง พ่อทิดเขาถาม ก็จะเล่าเท่าที่พอมีความรู้ความคิดอยู่บ้าง ไม่ทราบจะเกี่ยวกับเรือนไทยแค่ไหนครับ

นักการทูตเป็นอาชีพที่ฟังดูฝันๆ อาชีพหนึ่งครับ จึงมีบทบาทโผล่ในนิยายไทยนิยายฝรั่งบ่อย เห็นในละครทีวีไทยก็บ่อย ภาพของนักการทูตในใจคน ผมว่ายังคงเป็นภาพชายหนุ่มรูปหล่อ อาจจะเชื้อพระวงศ์ นักเรียนนอก กิริยามารยาทนุ่มนวล ปากหวานพูดเก่ง  เผลอๆ ก็คาบไปป์ และต้องรวยพอที่จะควักสตางค์ส่วนตัวเพื่อหน้าตาของประเทศได้ ดูเหมือนในหังในนิยายก็ไม่เห็นค่อยต้องทำอะไรนัก ไปงานเลี้ยง ไปเที่ยวเมืองนอก (ยุโรปหรืออเมริกา) พาสาวเที่ยว ...
ภาพนั้นอาจจะมีเค้าความจริงอยู่บ้าง ในสมัยสักห้าสิบปีมานี้ ฝรั่งเองก็เคยมีภาพนั้น เอ่ยถึง an American diplomat in Paris ล่ะก็ฟังดูหรูหราเชียว แต่สมัยนี้ โดยเฉพาะนักการทูตไทย ภาพนี้จางไปเยอะแล้วครับ อาจจะไม่ถึงกับว่าหายไปหมด แต่มีความเป็นจริงอื่นๆ เกิดขึ้นคู่กับภาพพวกนี้หลายอย่างหลายประการ
ข้อแรก ไม่จำเป็นเลยที่นักการทูตต้องเป็นพระเอก เป็นนางเอกก็ได้ สมัยนี้ผู้หญิงเป็นนักการทูตออกเยอะไป มาดามอัลไบรต์รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐยังงี้เป็นต้น ที่เมืองไทย เรามีเอกอัครราชทูตหญิง อธิบดีหญิง หลายคนแล้วครับ มีมานานแล้วด้วย เดี๋ยวนี้ก็ยังมี  ในระดับเจ้าหน้าที่ก็มีนักการทูตสาวๆ เผลอๆ จะครึ่งกระทรวงต่างประเทศเข้าไปแล้ว (กระทรวงผมเล็กครับ มีเจ้าหน้าที่ประมาณ 1500 คนทั่วโลก) ยังไม่นับ "นักการทูตเฉพาะด้าน"  ที่มาจากกระทรวงอื่นอีกล่ะ เรามีข้าราชการที่ทำงานอยู่ในต่างประเทศ ที่ไม่ได้มาจากกระทรวงต่างประเทศแต่ดั้งเดิม เช่น กระทรวงพาณิชย์เป็นต้น ท่านเหล่านี้ก็ทำงานการทูตเหมือนกัน และในจำนวนนั้นก็เป็นผู้หญิงเยอะด้วย
เท่าที่ผมนึกออก นิยายไทยเก่าๆ ที่ให้ผู้หญิงทำงานทำการเป็นทูต ไม่มีเลย มีแต่จะเป็นคุณหญิงทูต ใหม่หน่อยก็เรื่อง รัฐมนตรีหญิง ของดวงใจละมั้ง เรื่องนั้น นางเอกเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศไทยสมัยอเมริกันถอนฐานทัพเชียวนะครับ ที่ใหม่ขึ้นมากว่านั้นก็คงจะมี เห็นแว็บๆ ว่ามีนักการทูตหญิงในนิยายใหม่ๆ ไทยบางเรื่องบ้างแล้ว
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 11 พ.ย. 00, 15:59

ไม่ได้เรียบเรียงความคิดนะครับ นึกอะไรได้ก็ว่าส่งๆ ไป อาจจะวกวน
ข้อสอง - ขอขัดจังหวะนิดให้เข้ากับเรือนไทย ทูต สะกด ท.ทหารนะครับ ไม่ใช่ ฑ.มณโฑอย่างที่สะกดผิดกันมาก แม้แต่ป้ายหน้าที่ทำงานของผมในเจนีวาก็ผิด  ป้ายหน้าสถานทูตสหรัฐในกรุงเทพก็ผิด ... ทูต ท. ทหารครับ ท. ธรรมดาๆ เพราะนักการทูตเป็นคนธรรมดาครับ ไม่ต้องใช้ ฑ. วิลิศมาหราก็ได้
ข้อสอง - นักการทูต ไม่ได้ทำงานอยู่ในยุโรป อเมริกา เสมอไปครับ เรามีสถานทูตสถานกงสุล คณะทูตถาวรไทยอยู่ทั่วโลกประมาณ 70 กว่าแห่ง กว่าเท่าไหร่ผมก็ลืม ในแอฟริกาเราก็มี อเมริกาใต้ก็มี เอเชียก็มี เมืองแขกมี เมืองญวนมี พม่ามี ในยุโรปตะวันออกก็มี .. แล้วความเป็นอยู่ในที่เหล่านี้ ก็ไม่ถึงกับสบายมากเสมอไป มีตั้งแต่พอทนอยู่ได้ไปจนถึงทนลำบาก แต่ก็ต้องทนให้ได้ หรือทนอยู่ไม่ไหวต้องเผ่นหนีเหมือนกัน ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น ไซ่ง่อนหรือพนมเปญตอนจะแตก มีสถานทูตไทยนะครับ คูเวตก็มี ตอนนั้นต้องบริหารวิกฤตกันอุตลุด เบลเกรดก็เคยมีตอนอดีตยูโกสลาเวียจะแตก เดี๋ยวนี้ที่แบกแดดในอิรักที่ถูกมาตรการคว่ำบาตรอยู่ก็ยังมีสถานทูตไทยเปิดทำการอยู่ ผมไม่เคยลำบากเหมือนเพื่อนข้าราชการบางท่าน แต่หนแรกที่ออกประจำการผมไปอยู่เมืองจีน ที่ปักกิ่ง เมื่อหลายปีก่อน ไม่ถึงกับสบายแต่ก็ไม่ถึงกับลำบาก แต่ที่แน่ๆ ไม่เหมือนยุโรปในนิยายแน่ครับ
ข้อสาม - นักการทูตไทยสมัยนี้ ที่เป็นเชื้อพระวงศ์คงมีบ้าง แต่น้อยจะเกือบไม่มีแล้ว ที่ร่ำรวยก็พอจะมี แต่ที่เป็นคนชั้นกลางก็มี และเยอะขึ้นเรื่อยๆ ครับ (ผมก็บ้านไม่รวย - แหะๆ) อาจารย์ "ดวงใจ"  หรือคุณประภัสสร เสวิกุล เคยเขียนถึงนักการทูตพวกนี้ไว้ในนิยายไทยเหมือนกัน เช่น ฝันคว้าง หรือ เมเปิ้ลแดง ต่างจากพระเอกนักการทูตรุ่นเก่า (ซึ่งสะท้อนความจริงสมัยนั้น) ที่ต้องมีสมบัติเก่ามากพอที่จะมารับราชการเอาแต่เกียรติ แล้วแถมเผลอๆ ก็ควักเงินส่วนตัวจุนเจือหลวงอีก ความจริงสมัยนี้ก็ยังมีครับ บางกรณี ที่เราเห็นว่าค่าใช้จ่ายบางอย่างเบิกไม่ได้ก็หยวนๆ ไป ช่วยราชการเท่าที่เราพอจะมีกำลังทำได้ แต่ว่า ไม่ใช่ทุกคนแล้วครับที่จะมีคฤหาสน์บ้านทรายทองอยู่ที่กรุงเทพฯ เหมือนชายกลาง
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 11 พ.ย. 00, 16:25

อ้อ - ดวงใจ และ คุณประภัสสร นะครับ ผมใช้คำว่า หรือ เดี๋ยวจะเข้าใจว่าเป็นท่านเดียวกัน คนละคนกันครับ ขอโทษ

ลากให้เข้าเรือนไทยอีกหน่อย และเป็นประเด็นที่คุณทิดเปิดประเด็นไว้ เรื่องราชทินนาม ผมขออภัยแฟนๆ ทมยันตีที่จะมีในห้องนี้ด้วย แต่ใครๆ ที่ห้องมองอดีตน่ะเขารู้กันมานานแล้ว ว่าผมติดตามอ่านงานของป้าทมด้วยความนับถือระคนหมั่นไส้เล็กๆ อยู่นานแล้ว เรื่อง ทวิภพ น่ะ อ่านเล่นๆ สบายๆ ก็เพลินดีหรอกครับ แต่ถ้าจะอ่านเอาจริง พระเอกนักการทูตของป้าทม ท่านเจ้าคุณอัครเทพฯ หรือที่ตอนแรกเป็นคุณหลวงอัครเทพวราทร ขวัญใจแม่มณีน่ะครับ ผมว่า ผิดประวัติศาสตร์ไปนิด ประการแรก ราชทินนามนัการทูตสมัยก่อน ท่านตั้งให้ฟังรู้เลยครับว่าเป็นทูต (ในงานด้านอื่นๆ เช่น เป็นหมอ ทหาร ครู ท่านก็ตั้งให้รู้เลยเหมือนกัน) เฉพาะในวงการทูตมีราชทินนาม เช่น อนุรักษ์ราชไมตรี กัลยาณไมตรี วิจิตรวาทการ (พูดเพราะ) ภัทรวาที ท่องสื่ออักษร ไพรัชราชกิจ (ราชการด้านต่างประเทศ) ฯลฯ แต่ อัครเทพวราทร ของคุณหลวงนี่ ฟังยังไงๆ ก็ไม่เป็นทูตครับ "เทวดาที่หนึ่งที่เอื้ออาทรเหลือเกิน" ราชทินนามนี้จะไปอยู่กระทรวงไหนได้ครับ ไม่ได้หรอก เป็นได้แต่พระเอกนิยายป้าทมอย่างเดียว ...
ประการสอง ท่านเจ้าคุณของคุณหญิงมณี ถ้าผมจำไม่ผิด ตามเรื่องต่อไปจะได้เป็นเอกอัครราชทูตสยามคนแรกประจำสหรัฐ อันนี้ ฝากคุณเทาชมพูเช็คด้วยครับ ว่าทูตไทยประจำอเมริกาคนแรก จริงๆ เป็นใคร แต่ที่แน่ๆ ตัวแทนทางการทูตของสยามคนแรก หรือองค์แรก (ผมเข้าใจว่าน่าจะเป็นเจ้านาย) ประจำสหรัฐ ไม่ใช่เอกอัครราชทูตแน่ๆ ครับ อย่างมากเป็นได้แต่อัครราชทูตสยาม ในสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 มหาประเทศเขาตั้งข้อรังเกียจเดียดฉันท์ครับ ต้องเป็นมหาประเทศเท่านั้นจึงจะมีทูตระดับเอกอัครราชทูต (ambassador)ได้ และเขาจะตั้งเอกอัครราชทูตไปประจำมหาประเทศด้วยกันเท่านั้น ในกรุงเทพฯ ทูตทั้งหลายแหล่ที่มาประจำ เป็นอัครราชทูตเท่านั้นแหละ แล้วเขาก็รับทูตประเทศเล็กอย่าง เราแค่ระดับอัครราชทูตเหมือนกัน อเมริกาเองเมื่อได้เอกราชใหม่ๆ ส่งทูตไปประจำที่ปารีส ฝรั่งเศสเขายังรับแค่ระดับ Minister คืออัครราชทูต เลย (รู้สึกคนแรกจะเป็นลุงเบน แฟรงคลิน)
ที่ทำงานของอัครราชทูต ก็ไม่ใช่ Embassy หรือสถานเอกอัครราชทูต แต่เรียกว่า Legation สถานอัครราชทูต (จะเห็นคำนี้บ่อยในพระราชนิพนธ์ไกลบ้านของ ร.5)
ไทยเราเพิ่งจะส่งทูตและรรับทูตระดับเอกอัครราชทูตหนแรก สมัยร่วมวงศ์ไพบูลย์นี่เอง โดยส่งเอกอัครราชทูตไทยไปโตเกียวและรับทูตญี่ปุ่นชั้นเอกอัครราชทูต ต่อเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้วนั่นแหละครับ จึงมีความคิดใหม่ในวงการทูตว่า ประเทศใหญ่เล็กทั้งหลายเสมอหน้ากันในทางการทูต  และไทยก็เริ่มมีเอกอัครราชทูตไทย และรับเอกอัครราชทูตฝรั่งมาประจำเมืองไทยตั้งแต่นั้น
บันทึกการเข้า
B
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 11 พ.ย. 00, 16:40

I read some fictions about diplomat's lives from Kanasai Sunthorn's works ka. He was an ambassador, who passed away about a year. I cannot remember his real name na ka but his surname is "Suwannasarn." He is K. Sopark Suwan's father ka.

I think that one of Ajan Prathumporn or Duangjai works is very interesting ka. It is about a young girl, who is a diplomat in Romania. I am sorry that I cannot remember the title ka.
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 11 พ.ย. 00, 17:11

ท่านทูตสุนทรเป็นอดีตเอกอัครราชทูตครับ ท่านเกษียณไปนานแล้ว และได้ข่าวว่าเสียไปเมื่อไม่นานนี้ เป็นคุณพ่อของคุณโสภาค สุวรรณ ซึ่งเขียนนิยายให้พระเอกเป็นทูตหลายเรื่องเหมือนกัน มีเล่มหนึ่งชื่อ บัวแก้ว พระเอกชื่อคุณเขียว บัวแก้วเป็นสัญลักษณ์กระทรวงผมครับ มีอีกหลายเล่มที่จัดฉากให้เรื่องไปอยู่ทางตะวันออกกลาง เพราะคุณพ่อ คือ ท่านทูตสุนทรในชีวิตจริงเคยรับราชการอยู่ทางนั้น

ท่านทูตศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์ หรือเสนีย์ เสาวพงศ์ ก็เป็นนักเขียนอาวุโส ท่านเกษียณอายุราชการนานแล้วเหมือนกัน เวลานี้เข้าใจว่าท่านนั่งเป็นประธานที่ปรึกษาอยู่ที่สนพ. มติชน สมัยโน้น งานเขียนท่านถือว่าเป็นแนวคิดก้าวหน้ามากนะครับ เรื่องที่เกี่ยวกับตัวละครนักการทูตที่ท่านเขียน ก็มี ความรักของวัลยา ซึ่งไพจิตร นักการทูตในเรื่องไม่ใช่พระเอก แต่เป็นคนฉวยโอกาสธรรมดาๆ คนหนึ่ง

อาจารย์ "ดวงใจ" อาจารย์ผมเองครับ ท่านสอนวิชารัฐศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ชำนาญด้านยุโรปตะวันออกศึกษา ผมยังอ่านเรื่องที่นางเอกเป็นนักการทูตไทยในโรมาเนียค้างอยู่ไม่จบครับ กำลังว่าจะหาเวลาว่างๆ อ่านต่อ

คุณประภัสสร เสวิกุล ก็นักเขียนนักการทูตชื่อดัง ท่านนี้คงไม่ต้องบรรยาย ...

นิลกังขาเคยนึกสนุกอยากจะเป็นนักเขียนกับเขาเหมือนกัน เมื่อหลายปีมาแล้ว แต่ตอนนี้ Muses บินหายไปไหนหมดแล้วไม่ทราบ ...
บันทึกการเข้า
B
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 11 พ.ย. 00, 19:09

Khun Nil ka, I met Ajan Duangjai at the Department of Political Sciences sometimes na ka. But she never taught me ka because my major was Public Adm. ka.
บันทึกการเข้า
ชอบอ่านนิยาย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 11 พ.ย. 00, 22:25

ขออนุญาตแก้ชื่อพระเอกนิยายเรื่องบัวแก้วสักนิดค่ะ
ดิฉันจำได้ว่าพระเอกเรื่องนี้ชื่อ คุณเขม นะคะ ไม่ใช่คุณเขียว
ส่วนคุณเขียวนั่น...ถ้าดิฉันจำไม่ผิด
เค้าเป็นพระเอกเรื่องเคหาสน์สีแดงของวาณิช จรุงกิจอนันต์ค่ะ
บันทึกการเข้า
คุณพระนาย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 12 พ.ย. 00, 06:46

มาฟังยังไม่เห็นมีการพูดถึงช่วงชีวิตรักของนักการทูตเลยครับอิอิ
มีคำถาม มาขอถามครับ คือว่า บัวแก้วที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ของ กระทรวงต่างประเทศมีที่มาหรือเปล่าครับ แบบเรียกบัวแก้วแล้วมันดู ละมุนละไมหูดีจริง ๆ
บันทึกการเข้า
พิมพิลา
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 12 พ.ย. 00, 07:41

หักคะแนนคุณ นกข. นะคะ
อัครเทพวรากร ไม่ใช่ อัครเทพวราทร ค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 12 พ.ย. 00, 08:24

ก็ยากเหมือนกันนะคะที่จะให้นักเขียน เขียนถึงอาชีพที่ตัวเองไม่ได้รู้จักใกล้ชิด    รายละเอียดหลายอย่างต้องคนอาชีพเดียวกันเท่านั้นที่รู้
อย่างเอกอัครราชทูต หรืออัครราชทูตที่คุณนกข.ยกตัวอย่างมา นั่นก็ข้อหนึ่ง
กเขียนก็ไม่ได้เป็นนักการทูต(เว้นได้บางท่านข้างบนนี้) นักการทูตรึก็ไม่ค่อยจะมาเป็นนักเขียน (อย่างคุณนกข. ) พระเอกนางเอกนักการทูตจึงไม่ค่อยจะได้มีให้เห็นกันกี่รายนักหรอกค่ะ

ทิวาหวาม จำได้รางๆ  พระเอกนักการทูตของเราลงเอยด้วยการมีเมีย ๒ คน อยู่กันรักใคร่ปรองดองดี  
ถ้าจำผิดช่วยบอกด้วยค่ะจะยินดีมากที่พระเอกไม่ได้ทำเช่นนั้น

เคยอ่านรัตนาวดี นานมากแล้วค่ะ   ปลื้มท่านชายดนัยสุดสุดในช่วงนั้น  ปลื้มการท่องเที่ยวในยุโรป จนคิดว่าชาตินี้ยังไงขอให้ได้ไปสักครั้ง
แต่พอมาถึงช่วงนี้เกิดสงสัยว่าข้าราชการสถานทูตอย่างท่านนี่ขอฮอลิเดย์ได้ทีตั้ง ๔ เดือนเชียวหรือ

การบ้านที่ให้มาเรื่องทูตไทยประจำสหรัฐ คนแรก  ขอเวลาหน่อยค่าาา
 ตอนนี้เพิ่มข้ามช่องแคบอังกฤษไปตามแกะรอยพระองค์เจ้า(หรือหม่อมเจ้า?)ปฤษฎางค์ ทูตอังกฤษองค์แรกเท่านั้นค่ะ  ยังหาท่านไม่พบเลย
บันทึกการเข้า
B
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 12 พ.ย. 00, 10:10

Pra-ong-chao ka.
บันทึกการเข้า
B
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 12 พ.ย. 00, 10:55

I think that I remember it correctly na ka. Because one of my professor at C.U. told students in a class that his name, Prid-sa-dang, is the same of the first Thai ambassdor of Saint James ka.
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 12 พ.ย. 00, 11:01

จำได้คร่าวๆนะคะ  พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ คิดว่าเป็นพระอนุชาของ ร๕  เมื่อทรงไปยุโรป  ก็มีทรงมีความคิดในการปฏิรูปทางการเมืองหลายประการ  
ร่วมกับกลุ่มนักเรียนไทยในอังกฤษ  เกี่ยวกับการปกครองด้วยระบบประชาธิปไตย  ไม่ทราบว่ารายละเอียดเป็นอย่างไร  แต่ทรงทูลถวายสารแต่ ร๕
แล้วก็ถูกกริ้ว  จนเป็นการดับอนาคตทางการเมืองของพระองค์ท่านไปเลย  ในท้ายที่สุดต้องกลับมาทรงผนวช  แต่ทรงมีพระชนม์ยืนนานมาก  
เคยอ่านผ่านๆตามาสามสี่ปีแล้วค่ะ  ถ้าคุณเทาชมพูฯหาข้อมูลไม่เจอ  ดิฉันจะไปค้นมาให้  แต่คงต้องเป็นวันจันทร์นะคะ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.076 วินาที กับ 19 คำสั่ง