Hotacunus
|
ความคิดเห็นที่ 30 เมื่อ 16 ก.พ. 06, 00:32
|
|
ตอนนี้ ข้อมูลใกล้มือครับ อิอิ หามาเพิ่มให้อีกครับ
เนย มอญ : กฺลอญซะวอ.ฮ (แปลว่า น้ำมันใส)
แต้จิ๋ว : หนีอิ๊ว, กวางตุ้ง : ไหนเหยา, จีนกลาง : ไหน่โหยว (คำจีน เทียบ น้ำมันนม หรือ ไขมันจากนม)
อันที่จริงถ้าเทียบเฉพาะเสียงว่า "เนย" กับ "ไหน่" ก็น่าสนใจเหมือนกันครับ แต่ติดอยู่ที่ว่า "ไหน่" นี้ เป็นสำเนียงจีนกลาง ซึ่งเป็นไปได้ยากครับว่า คำสำเนียงจีนกลางจะมีอิทธิพลในคำไทย เพราะว่าคำยืมที่มาจากภาษาจีนของเรานั้น ส่วนมากจะมาจากสำเนียง "แต้จิ๋ว" รองลงมาคงเป็น ฮกเกี้ยน และกวางตุ้ง เพราะคนจีนส่วนใหญ่ที่เข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่อยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ จะเป็นคนจีนทางใต้ ดังนั้น คำจีนในภาษาไทยจึงมาจากสำเนียงใต้ครับ (แต้จิ๋ว ฮกเกี้ยน กวางตุ้ง)
ถ้าเช่นนั้นคำว่า "หนีอิ๊ว" ซึ่งเป็นสำเนียงแต้จิ๋วก็น่าสนใจครับ ถ้าออกเร็วๆ ก็อาจได้ยินเป็น "หนิว" แต่อย่างไรก็ตาม อย่างคำว่า "ซีอิ๊ว" เราก็รักษาเสียงไว้ได้ ไม่ได้อ่านว่า "ซิ่ว" หรือ ตัดคำเป็น "ซี"
ผมก็คงเห็นคล้ายๆ คุณเทาชมพูครับ ว่าน่าจะกร่อนมาจากคำแขก แต่ตอนนี้ผมก็ยังไม่รู้ว่าแขกพวกไหน อิอิ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Hotacunus
|
ความคิดเห็นที่ 31 เมื่อ 24 ก.พ. 06, 03:13
|
|
ได้คำเขมรมาครับ แต่ดูเหมือนจะเป็นคำทับศัพท์จากภาษาฝรั่งเศสมากกว่าครับ
บัร (เบ็อะรฺ ? ไม่รู้อ่านถูกหรือเปล่า อิอิ) = เนย
ผมเข้าใจว่ามาจาก beurre (เบอรฺร์) ของภาษาฝรั่งเศสครับ
ส่วนน้ำมันนั้น เขมรว่า เบฺรง (ตรงกับคำไทยว่า เปรียง)
ไขมัน เขมรว่า ขฺลาญ่ (อ่าน คลัง) นม เขมรว่า เฎาะ (อ่าน เด็าะ)
ที่มา : พจนานุกรมไทย-เขมร โดย กาญจนา นาคสกุล
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
งอไห่ไทกอกหยั่น
อสุรผัด

ตอบ: 4
|
ความคิดเห็นที่ 32 เมื่อ 23 พ.ย. 06, 23:15
|
|
เนย เป็นสรรพนามบุรุษที่๒ ในภาษากวางตุ้งครับ
หึหึ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุรุกุลา
|
ความคิดเห็นที่ 33 เมื่อ 24 พ.ย. 06, 21:20
|
|
เคยเห็นคนเขมรชื่อเนยอะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
thawankesmala
อสุรผัด

ตอบ: 46
Khon Kaen University
|
ความคิดเห็นที่ 34 เมื่อ 01 ธ.ค. 06, 13:44
|
|
ขอ sit in ด้วยคน ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
nattoutataki
อสุรผัด

ตอบ: 27
|
ความคิดเห็นที่ 35 เมื่อ 10 ต.ค. 11, 14:23
|
|
หัวข้อนี้ห้าปีมาแล้ว ไม่ทราบว่าท่านที่สงสัยได้คำตอบกันหรือยัง ถ้ายังก็ขอเฉลยครับ คำวา เนย มาจากภาษาทมิฬครับ ออกเสียงเหมือนภาษาไทย ไม่ได้เพี้ยนกันนักหรอก ก็ดีนะครับที่หลายๆ คนพยายามลากเอาภาษาฮินดีบ้าง บาลีบ้าง จีนบ้าง มาเทียบเคียง แต่ลืมภาษาทมิฬไปภาษานึง ซึ่งภาษานี้เป็นที่มาของคำไทยเราหลายคำนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 36 เมื่อ 10 ต.ค. 11, 14:36
|
|
คิดว่าหัวข้อนี้ถูกลืมไปแล้ว เพราะตกไปหลายหน้า ขอบคุณที่มาเฉลยค่ะ ศัพท์ภาษาทมิฬ ในภาษาไทยมีคำอะไรอีกบ้างคะ ชาตรี?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
nattoutataki
อสุรผัด

ตอบ: 27
|
ความคิดเห็นที่ 37 เมื่อ 11 ต.ค. 11, 19:08
|
|
ที่ผมทราบว่าคำ "เนย" มาจากภาษาทมิฬ เพราะเหตุที่ตอนนี้ผมกำลังศึกษาภาษาทมิฬขั้นต้น บังเอิญว่าผมจะไปหาน้ำมันเนยหรือที่แขกฮินดูเฃาเรียกว่า ฆี มาทำขนมอินเดียชนิดหนึ่ง ผมเปิดค้นหาดูพบว่า น้ำมันเนย หรือ ฆี นี้ภาษาทมิฬและภาษามลยาฬัม (ภาษาที่พูดกันในรัฐเกราละ) ใช้ศัพท์ว่า เนย ตรงๆ เลย แต่เวลาออกเสียงเฃาจะไปทาง เน็ย์ มากกว่า เนอย อย่างของไทย อย่างไรก็ตาม หลักฐานมันชัดเจนมากอยู่แล้วครับ อินเดียใต้มีอิทธิพลกับเรามาแต่ไหนแต่ไรครับ อย่างที่เรารับรามเกียรติ์เฃ้ามา เราก็ได้อิทธิพลมาจากอินเดียใต้เสียมาก สำเนียงชื่อยักษ์ชื่อลิงจึงค่อนไปทางภาษาทมิฬเสียหลายตัว เช่น ตรีบุรำ ตรีปักกัน มารัน ปักหลั่น อากาศตะไลย มหัทวิกัน ลัสเตียน กุเปรัน ฯลฯ แม้กระทั่งคำที่เราเรียกพระนารายณ์ เรายังเรียกตามทมิฬ เพราะคนอินเดียเหนือนิยมคำว่า วิษณุ มากกว่า ลองค้นดูในเน็ต มีข้อมูลบางคำที่มาจากภาษาทมิฬ ซึ่งถูกผิดอย่างไรไม่ทราบ เพราะยังเรียนไม่ถึงไหนมาก เฃาว่ามีคำว่า กะไหล่ กุลี กานพลู กำมะหยี่ จงกลนี ตรียัมปวาย ปะวะหล่ำ อาจาด กะละออม กะหรี่ ชื่อคนไทยบางคนก็ได้สำเนียงทมิฬ เช่น ประไพ วิไล เป็นต้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 38 เมื่อ 11 ต.ค. 11, 20:23
|
|
เนย อักษรทมิฬคือ நெய் ลองฟังเสียงในภาษาทมิฬได้ ที่นี่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
nattoutataki
อสุรผัด

ตอบ: 27
|
ความคิดเห็นที่ 39 เมื่อ 12 ต.ค. 11, 13:57
|
|
เทียบตามตัวเป๊ะๆ เลยครับ เ - น - ย (มีจุดข้างบนคือเป็นตัวสะกด) ภาษาทมิฬก็เขียนสระเอข้างหน้าเหมือนกับของเรา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 40 เมื่อ 12 ต.ค. 11, 14:27
|
|
ศึกษาจาก คุณวิกกี้நெய் ( கெ - เอะ ந - น ய - ย) = เน็ย 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
nattoutataki
อสุรผัด

ตอบ: 27
|
ความคิดเห็นที่ 41 เมื่อ 12 ต.ค. 11, 14:45
|
|
ก็ถ้า เนย ไม่มาจากคำนี้ แล้วจะมาจากคำไหน 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 42 เมื่อ 12 ต.ค. 11, 15:18
|
|
มีอีก ๒ ภาษาที่น่าสนใจ Malayalam നെയ്യ് ney Telugu నెయ్యి neyyi 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
nattoutataki
อสุรผัด

ตอบ: 27
|
ความคิดเห็นที่ 43 เมื่อ 12 ต.ค. 11, 15:23
|
|
สันนิษฐานว่าทมิฬ เพราะแขกมลยาฬัม กับ เตลุคุ น่าจะติดต่อกับพวกเราน้อยกว่าทมิฬ แต่ก็ไม่แน่ครับ เอาเป็นว่า มาจากภาษาอินเดียใต้ อันนี้ชัวร์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|