เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 25790 คำว่า "เนย" มาจากภาษาอะไร ???
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 01 ก.พ. 06, 14:43

กระทู้นี้สนุกดีครับ

ผมเชื่อเช่นกันว่า ไทยเรารับเนยมาจากแขกก่อนแน่นอน ก่อนจะรู้จักคุ้นเคยกับฝรั่ง ซึ่งกินเนยเหมือนกัน

ที่สันนิษฐานว่า "เนย" มาจากคำภาษาบาลี ซึ่งมาทางอนุทวีปอินเดียนั้นก็น่าคิด

แต่ผมก็เห็นด้วยกับคุณเทาชมพูว่า แขกเพื่อนเราอีกเผ่าหนึ่ง หรือสองเผ่า ซึ่งคบค้ากับไทยเรากันมานานเหมือนที่เราคบกับอินเดีย คืออาหรับและเปอร์เซีย (อิหร่าน) ดังนั้น น่าจะเช็คว่าคนอิหร่านเขากินเนยหรือไขสัตว์ชนิดคล้ายๆ กันนี้บ้างไหม ถ้ากิน เขาเรียกว่าอะไรในภาษาอารบิกหรือเปอร์เซีย ใจผมนึกว่าถ้าลองค้นว่า คนอิหร่านเรียกเนยว่ายังไงในภาษาเปอร์เซียด้วย อาจจะเจออะไรสนุกๆ
แต่ทั้งนี้ ตัวผมก็ไม่รู้ภาษาเปอร์เซียเหมือนกันแหละครับ แฮ่ะๆ- รู้แต่ว่า คำว่า กุหลาบ และ องุ่น มาจากภาษาเปอร์เซีย เท่านั้นแหละครับ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 01 ก.พ. 06, 19:01

 พวกเราก็เก่งกันพอดูนะคะ ที่สามารถช่วยกัน nail down ลงมา จนคลำพบต้นตอของคำว่าเนยได้
ลองดูภาษาฟาร์สิ (Farsi language) ที่เป็นภาษาหลักของชาวเปอร์เซีย    เรียกเนยได้ใกล้เคียง
กับภาษาอินตาละเดียและภาษาไทยมาก

ฟาร์สิ.........panir
อินเดีย.......paneer

ดังนั้น เนย ที่ใช้ในภาษาไทยคงมาจากสองภาษานี้แน่ๆ ถึงไม่ใช่ก็น่าจะใกล้เคียง
(แล้วทำไม pa ที่พยางค์แรกจึงถูกลดรูปลงล่ะคะ)
บันทึกการเข้า
Its me
อสุรผัด
*
ตอบ: 7

Chief engineer at Mueller Engineering, Inc. in Wisconsin, USA.


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 01 ก.พ. 06, 23:05

 It does not surprise me if "nei" comes from "paneer".
We have "in-ta nia" from engineer, "ta-lab-gab" from telegragh, "sa-gru-rai" from screw driver, "sa-yun"(evening) from sergeant and "ma-yer" (pulling dog) from major.
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 01 ก.พ. 06, 23:48

 ...Paneer (sometimes spelled Panir or Paner), is the Persian word for "cheese".
Paneer is known in North India and Pakistan by the same name; however, in Bengal
it is known by the name "Chhena" and in south India, by names derived from "Panneer" and "Channa".
***
นี่แสดงว่า Panir and Paneer ใช้ทดแทนกันได้ แสดงว่าทั้งภาษาอินเดียและฟาร์สี ละม้ายกันมาก
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 08 ก.พ. 06, 02:16

 แขกเปอร์เซียพูดถึง "เนย" ในสมัยพระนารายณ์ไว้ดังนี้ครับ

"... แปลกที่ว่า ตลอดชีวิตของชาวสยาม ไม่กินน้ำมัน ไม่รีดนม ไม่ทำเนย เขาถือว่าอาหารเหล่านี้เป็นบาป ชาวสยามจึงไม่รู้ว่าต้นไม้อะไรให้น้ำมัน หรือสัตว์อะไรให้เนย ชาวอิหร่านต้องสั่งเนยมาจากอินเดีย

เมื่อเร็วๆ นี้ ตอนที่ทางนี้เตรียมเสบียงไว้ต้อนรับเรานั้น พระเจ้ากรุงสยามเองก็ทรงแปลกพระทัย เพราะหาเนยให้เราได้ไม่พอ พระองค์ทรงมีรับสั่งให้ชาวเมืองรีดนมวัวนมควาย และทำเนย พวกชาวพื้นเมืองถึงกับตะลึงร้องว่า ไม่เคยมีในประวัติศาสตร์ของพระเจ้าแผ่นดินองค์ใด ที่เกิดมีความทารุณและกดขี่เช่นนี้ เพราะเท่ากับริบน้ำนมสำหรับลูกวัว"


จาก : สำเภากษัตริย์สุลัยมาน
แปลโดย ดิเรก กุลสิริสวัสดิ์

คนสยามในเรื่องนี้หมายถึงคนในกรุงศรีอยุธยา ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ชุมชนชาวอิหร่านในอยุธยา ยังต้องสั่งเนยมาจากอินเดีย เพราะคนอยุธยาไม่รู้จักทำเนย นั่นคือ ไม่เคยใช้เนยประกอบอาหารเลย และการรีดนมวัวก็เป็นบาปเพราะเป็นการแย้งนมของลูกวัว นั่นก็แสดงให้เห็นว่า การบริโภคนมวัว ไม่ใช่วัฒนธรรมบริโภคของคนไทยอยุธยา แต่ที่ปัจจุบันบ้านเราส่งเสริมกันเพราะเป็นอิทธิพลจากตะวันตก และความก้าวหน้าทางโภชนาการที่เราค้นพบจากนมวัว
บันทึกการเข้า
ครูไผ่
มัจฉานุ
**
ตอบ: 55

ศึกษานิเทศก์


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 11 ก.พ. 06, 15:55

 

ที่คุณ Nuchana ตั้งข้อสังเกตในความเห็นที่ 16

แล้วสงสัยว่า

"ทำไม pa ที่พยางค์แรกของ panir หรือ paneer จึงถูกลดรูปลงล่ะคะ"



ดิฉันขอสันนิษฐานต่อไปว่า

คำนี้อาจจะเข้ามาในประเทศไทย โดยเข้ามาทางตอนใต้ของประเทศไทยก็ได้  เพราะทางใต้ของไทยมีแขกเยอะ  

อาหารแขกใช้เนย เช่น "โรตี"

และภาษาพูดของคนไทยใต้มักลดพยางค์หน้า เช่น

ขนม ลดเหลือ หนม  

ตะวัน ลดเหลือ วัน

ตลาด ลดเหลือ หลาด

ทุเรียน ลดเหลือ เรียน

มะพร้าว ลดเหลือ พร้าว

สนุก  ลดเหลือ หนุก

สบาย ลดเหลือ บาย

ฯลฯ



ส่วนภาษาจีนเรียก "นม" ว่า หน่าย (ภาษาจีนกลาง)

และเรียก "เนย" ว่า หน่ายอิ๋ว (อิ๋ว แปลว่า น้ำมัน)

เขียนดังนี้

คำทางซ้ายอ่านว่า หน่าย  คำทางขวา อ่านว่า อิ๋ว

บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 11 ก.พ. 06, 16:37

ที่คุณครูไผ่ว่ามา ก็น่าคิดครับ

ทั้งสมมติฐานว่าด้วยการตัดพยางค์หน้าของคนปักษ์ใต้ และอีกอัน ซึ่งคุณครูไม่ได้ว่าเองแต่ผมขอตั้งให้เป็นสมมติฐานที่สอง คือ คำเรียกชื่อเนยในภาษาจีนกลาง

ภาษาจีนกลางเรียกชื่อเนยว่า "น้ำมันนม" ซึ่งผมเองออกเสียง อาจจะเพี้ยนสำเนียงไปจากคุณครูบ้างเล็กน้อย แต่คือคำเดียวกันกับคุณครูไผ่แหละ ว่า ไหน่โหยว
ผมเลยสงสัยว่า ไหน่โหยว หรือ ไหน่ อิ๋ว นี่ จะกลายมาเป็น เนย ได้ไหม?

ภาษาแต้จิ๋วผมไม่สันทัด แต่เข้าใจว่าเรียกว่า หนีอิ้ว ? แล้วหนีอิ้วหรือคำอะไรก็แล้วแต่ที่เป็นภาษาแต้จิ๋วเรียกเนยนั้น จะกลายมาเป็นคำว่า "เนย" ได้ไหม?

ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงๆ ก็แปลกดี คือ ตัวสิ่งของ คือเนยนั้น ไทยเราได้มาจากแขก (ก่อนจะได้จากฝรั่ง) แต่ชื่อของมัน เรากลับได้จากจีน

เป็นเพียงสมมติฐานคิดกันเล่นๆ ครับ
บันทึกการเข้า
ครูไผ่
มัจฉานุ
**
ตอบ: 55

ศึกษานิเทศก์


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 11 ก.พ. 06, 18:18

คนจีนบางคน (น่าจะเป็นไหหลำและแต้จิ๋ว) เรียกแม่หรือยายโดยใช้คำที่มีความหมายว่า "นม"  ซึ่งออกเสียงตามภาษาของเขาว่า "แน"

มีคำใช้เรียกหญิงที่มีครอบครัวแล้ว (ซึ่งหมายถึงมีนมให้ลูกกิน) ว่า "ไหนไหน่"  (ภาษาจีนกลาง) หรือ "ไน่" (ภาษาจีนแต้จิ๋ว) ในความหมายที่ยกย่องให้เป็น "คุณนาย"  

ยิ่งคิด ก็ยิ่งรู้สึกว่า "เนย" ออกเสียงใกล้เคียงกับคำในภาษาจีนที่มีความหมายว่า "นม" หรือ "น้ำมันนม" นะคะ
บันทึกการเข้า
ครูไผ่
มัจฉานุ
**
ตอบ: 55

ศึกษานิเทศก์


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 11 ก.พ. 06, 18:35

 หรืออาจจะเป็นภูมิปัญญาไทยเอง ในเมื่อทราบว่า "เนย" คือ "น้ำมันนม" ได้มาจาก "นม" ก็ใช้พยัญชนะต้นตัวเดิม เปลี่ยนสระเสียหน่อย ฟังและพูดได้ลื่นหูลื่นปากดี เช่น "ขนมนมเนย"
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 11 ก.พ. 06, 20:07



  เพิ่มเติมจากอีกหลายแหล่ง กล่าวพ้องกันว่าคำว่า “butter” ชาวกรีก รับมาจากพวก

เผ่า Scythian ( ซิเหรี่ยน) ซึ่งเป็นเผ่าเร่ร่อนในเอเซียต่อยุโรป และพูดภาษาตระกูลอินโดอารยัน

ชนเผ่านี้เดิมดื่มนมแกะ นมแพะ และนมจามรี จากการเลี้ยงสัตว์แบบเร่ร่อน รู้จักทำเนยและชีสมา

ตั้งแต่ 2000 ปีก่อนคริตกาล ต่อมาในช่วง 700 ปี ก่อนคริสตกาล ได้ติดต่อค้าขายกับกรีก

 จึงได้ถ่ายทอดการทำเนยให้กับชาวกรีก



What is the history of the English word butter?

Old English took the word as butere from Latin butyrum.  The Romans adopted

 their word from Greek bouturon, and other German languages have very similar

 cognates (German butter and Dutch boter, to name two).  For some time etymologists

 suggested that bouturon came from bous "cow" (related to English cow)

and turos "cheese".   However, now many scholars are suggesting that the Greek word

 is not so easily dissected and that it may have been a  borrowed word from the Scythians.

 Apparently, early forms of the word in Greek don't match the bous + turos formula.



The Scythians were a nomadic people who wandered through Asia and eastern Europe,

and the Greek historian Herodotus wrote that the Scythians so loved butter that

they had blind slaves churn it so that they would not be distracted from their important work.

  It may have been the Scythians who introduced butter to the Greeks; hence the suggestion that

 the Greek word was borrowed from these nomads.



One etymologist notes that the previous Old English word for butter was smeoru,

 which gave English smear.  However, smeoru actually appears to have referred more to

 "oil", "grease", or "lard".



Another related word, via Danish, is smorgasbord.  In modern Greek turos turns up

 in tiropita "cheese bread" and English has borrowed it to form tyrosine, a substance found

 in cheese.  Another English word that is related to bouturos is butyric as in butyric acid,

 the chemical that makes old socks smell so bad and rind-washed cheeses taste so good.


 http://www.takeourword.com/TOW122/page2.html



-Traditional butter making in the Paletine, from March 1914 National Geographic Magazine

.

บันทึกการเข้า
เฟื่องแก้ว
พาลี
****
ตอบ: 327

เลขานุการ


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 12 ก.พ. 06, 19:16

 มาเช็คชื่อเข้าห้องเรียนวิชา เนย ค่ะ

อ่าน ๆ แล้วชักเอนเอียงทางครูไผ่ กับครูนกข.
คำว่า เนยในภาษาจีน ฟังแล้วใกล้ เนยไทยค่ะ

ที่ได้ชื่อจากจีน อาจจะเป็นเพราะจีนเขาค้าขายกับต่างชาติมาก่อนไทย
(พี่ไทยได้ยินแต่ชื่อจากจีนมาก่อนเห็นของจริงจากแขก
เลยเรียกเพี้ยนไปหน่อย หรือเปล่านะ)

แต่พูดถึงเนยแขกแล้วนึกถึง ขนมบาเยีย ไม่รู้เป็นไงสิคะ
ยิ้ม  หิว
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 13 ก.พ. 06, 17:52

 เอ..เกิดอะไรขึ้นกับ ค.ห. 27 เหรอคะ
บันทึกการเข้า
Peking Man
ชมพูพาน
***
ตอบ: 142


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 14 ก.พ. 06, 10:34

 อืม...ประเด็นที่ว่า เนย มาจากภาษาจีน ผมว่าเราน่าจะคิดอีกนะครับ เพราะว่า ผมสงสัยว่า หน่ายโหยว(แมนดาริน) ของจีนก็ไม่น่าจะมีมานาน น่าจะมีการบัญญัติศัพท์คำนี้ขึ้นมาเมื่อไม่น่าจะมากกว่า ร้อยปีกว่า ๆ ในสมัยที่วัฒนธรรมตะวันตกไหลทะลักเข้ามานี้เองหล่ะครับ ซึ่งถ้าคนไทยมีการใช้คำนี้มานานกว่านั้นแล้ว ย่อมหมายความว่าคำว่า "เนย" ไม่ได้รับมาจากภาษาจีนครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 14 ก.พ. 06, 11:22

 ดิฉันเชื่อว่าเนยไม่ได้มาจากภาษาจีน  เพราะเห็นว่าของกินชนิดไหนใครนำเข้ามาในไทย  
ชื่อของของกินชนิดนั้นก็มีแนวโน้มเกือบจะเต็มร้อยว่า ออกเสียงตามภาษาของชนชาตินั้น
อย่างซีอิ๊ว เต้าเจี้ยว  ฟังแล้วก็ไม่มีข้อสงสัยเลยว่าชนชาติไหนนำเข้ามาในไทย
ซอส  อย่างที่เราใช้เรียก ketchup หรือ Worcester Sauce คำนี้ก็แน่นอนกว่ามาจากฝรั่งอังกฤษ

เนย ไม่ได้ใช้ในการปรุงอาหารโดยทั่วไปของคนจีน    ถ้าเป็นน้ำมันหมูละก็ว่าไม่ได้
แต่เนยใช้ในการปรุงอาหารของแขก  ในพระไตรปิฎกก็กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ ก็น่าจะเชื่อว่าแขกนำเข้ามาในไทย  
ชื่อนี้ก็น่าจะได้มาจากคำอะไรสักคำที่มีเค้ามาจากแขก
แต่จะเป็นเปอร์เชียหรืออินเดีย นั้นต้องค้นคว้าต่อไป
บันทึกการเข้า
ครูไผ่
มัจฉานุ
**
ตอบ: 55

ศึกษานิเทศก์


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 15 ก.พ. 06, 03:29

เสนอไว้หลาย ๆ สมมติฐานค่ะ เพื่อพิจารณาว่าสมมติฐานไหนมีน้ำหนัก สมเหตุสมผลมากกว่า

ถ้าพิจารณาตามเหตุผลในความเห็นที่ 30  ก็จะเห็นว่า  
สมมติฐานในความเห็นที่ 21 น่าจะมีน้ำหนักดี  
คือ น่าจะได้มาจากแขกโดยเข้ามาทางตอนใต้ของไทยที่มีแขกเยอะ  
และคนใต้ชอบลดเสียงพยางค์แรกของคำสองพยางค์ที่พยางค์แรกเสียงสั้น
ให้เหลือแต่เสียงของพยางค์หลัง ดังตัวอย่างที่ยกมาในความเห็นที่ 21
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.054 วินาที กับ 19 คำสั่ง