เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 25829 คำว่า "เนย" มาจากภาษาอะไร ???
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


 เมื่อ 14 ม.ค. 06, 04:42

 ประโยชน์ของข้อเขียนนี้ขอมอบให้ "คุณเนยสด" ครับ เนื่องจาก ผมเกิดความสงสัยเกี่ยวกับคำนี้ ตอนได้อ่านที่มาที่ไปของนามแฝง "เนยสด"  

-----------------------------------

คำว่า "เนย" เพี้ยนมาจากภาษาอะไร ฮืม

ปัจจุบัน "เนย" เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี จัดเป็นเครื่องปรุงที่มาจากตะวันตก ที่ใช้ปรุงทั้งขนมหวาน อาหาร หรือ กินกับขนมปังต่างๆ

ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับ พ.ศ.๒๕๔๒ ให้ความหมายไว้ว่า "ไขมันหรือน้ำมันที่ทำจากน้ำนมสัตว์มีทั้งเหลวและแข็ง"

คำว่า "เนย" ไม่น่าที่จะเป็นคำไทยแท้แต่ดั่งเดิม เนื่องจาก อาหารพื้นถิ่นของบ้านเรา ถ้าต้องการความหอมมัน จะใช้กะทิจากมะพร้าว แต่ไม่เคยปรากฏว่ามีการใช้เนยประกอบอาหารเลย อีกประการหนึ่ง เนยทำมาจากไขมันสัตว์ ถ้าอยู่ในอุณหภูมิแบบบ้านเรา ก็จะละลายเหลว ไม่สามารถคงสภาพเป็นก้อนอย่างที่อยู่ในตู้เย็นได้เลย ดังนั้น คงต้องมามองหา "เนยที่เป็นของเหลว" ที่มีใช้กันมาแต่โบราณในบ้านเราเสียก่อน

ตั้งแต่โบราณมา บ้านเรารู้จักน้ำมันข้นที่ทำจากไขสัตว์ในชื่อว่า "น้ำมันเปรียง" ซึ่งเป็นเครื่องปรุงอย่างหนึ่งในการประกอบพิธีกรรมบูชาเทพเจ้าของทางศาสนาพราหมณ์ฮินดู

คำว่า "เปรียง" นี้ เป็นคำเขมรครับ ซึ่งก็น่าจะแปลมาจากคำสันกฤตอีกทีหนึ่ง จึงอาจทำให้ต้องมองย้อนกลับไปถึงคำสันกฤต-บาลี แต่ก่อนจะไปถึงนั้น ขอพูดถึง "เนย" ในภาษาต่างๆ ของยุโรปก่อนนะครับ

เนยที่เป็นก้อนๆ อย่างที่เรารู้จักกันในปัจจุบันนี้ เรารับมาจากตะวันตกอย่างแน่นอน โดยทางตะวันตกก็เรียกชื่อต่างๆ กันไปดังนี้
กรีกโบราณ เรียกว่า Bouturon (โบติวรอน)
กรีกปัจจุบัน เรียกว่า Bouturo (โบติวรอ)
ละติน เรียกว่า Buturum (บูตูรุม)
เยอรมัน เรียกว่า Butter (บุ๊ทเทอร์)
อังกฤษ เรียกว่า Butter (บัทเทอร์)
ดัทช์ เรียกว่า Boter (บอเทอร์)

อิตาลี เรียกว่า burro (บูร์โร)
ฝรั่งเศส เรียกว่า Beurre (เบอรฺร์)

โปรตุเกส เรียกว่า manteiga (มันเตก้า)

สเปน เรียกว่า mantequilla (มันเตกิลล่า)

ที่มา : Babel Fish http://world.altavista.com/

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า คำว่า "เนย" ไม่ได้เพี้ยนมาจากภาษาต่างๆ ในยุโรปอย่างแน่นอน

ด้วยเหตุนี้ ผมจึงสงสัยที่มาอยู่สามทางคือ คำเขมร คำมอญ และคำมาลายู (ซึ่งก็อาจรับมาจากคำสันกฤต-บาลี) แต่ขณะนี้ ด้วยคำจำกัดในเรื่องความรู้ภาษาดังกล่าว ผมจึงขอข้ามไปพิจารณาถึงคำบาลี เลยนะครับ (ถ้ามีโอกาสจะหาคำสันกฤตมาเพิ่มเติมครับ)

น้ำมันที่ได้จากไขมันสัตว์ ภาษาเขมรว่า "เปรียง" แต่ในภาษาบาลีจะเรียกดังนี้คือ
ฆตํ    (คะ-ตัง)      เนยใส หรือ เปรียง
ทธิมณฺฑํ   (ทะ-ทิ-มัน-ทัง)   เนยเหลว หรือ น้ำน้ำวัวข้น
นวนีตํ   (นะ-วะ-นี-ตัง)   เนยข้น หรือ น้ำมันเนยข้น
โนนีตํ   (โน-นี-ตัง)      เนยข้น หรือ น้ำมันเนยข้น
ที่มา: พจนานุกรม บาลี-ไทย และ ไทย-บาลี http://www.mahamodo.com/buddict/buddict_pali.asp

ตามคำเหล่านี้ ผมจึงเชื่อว่า "เนย" น่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า "โนนี (ตํ)" ของภาษาบาลีนั่นเองครับ โดยอาจเป็นคำที่ใช้เรียกไขมันเหลวกันอยู่แต่เดิม ซึ่งอาจเรียกด้วยสำเนียงท้องถิ่นว่า "เนย" กันอยู่ก่อนแล้ว ต่อมาพอมี BUTTER จากยุโรปเข้ามา ก็เลยเรียกว่า "เนย" ด้วยเช่นกัน โดยอาศัยว่าเป็นไขมันสัตว์เหลวเหมือนกัน (ซึ่งจะแข็งเป็นก้อนเมื่ออยู่ในตู้เย็น)

สรุปว่า ผมคิดว่า "เนย" เพี้ยนมาจาก "โนนี" ซึ่งมาจาคำบาลีคือ "โนนีตํ" ครับ
บันทึกการเข้า
GFK
อสุรผัด
*
ตอบ: 17

นักศึกษา ปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชา วิศวกรรมการบินและอวกาศ (Department of Aerospace Engineering) มหาวิทย


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 14 ม.ค. 06, 11:37

 น้อง เนยสด มาตอบด่วน    
บันทึกการเข้า
ครู...ชิต
อสุรผัด
*
ตอบ: 47

TEACHER IN SISAKET ,S AREA 2 EDUCATION OFFICE


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 14 ม.ค. 06, 13:22

 เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ
บันทึกการเข้า
เนยสด
ชมพูพาน
***
ตอบ: 153



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 14 ม.ค. 06, 19:29

 ลงชื่ออ่านครับ    
รู้สึกว่า ภาษาโปรตุเกสกับสเปนนี้ต่างจากพวกเลยนะครับ
บันทึกการเข้า

ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 14 ม.ค. 06, 20:27

 อยากรู้จัง ว่าถ้าคนไทยสมัยก่อนที่ไม่มี "ตู้เย็น" รู้จักเนย หน้าตามันจะเป็นยังไง
เพราะเนยที่เรารู้จักกันเดี๋ยวนี้ทั้งเนยสด เนยแข็งก็ต้องเก็บในตู้เย็นทั้งนั้น เอาออกมาเก็บไว้ด้านนอกไม่เสียก็ละลาย... แล้วเนยที่คนไทยรู้จักจะรู้จักผ่านคนชาติไหนอีก (ยิ่งอ่านยิ่งอยากรู้แฮะ)

รบกวนถามพี่Hotacunus ด้วยนะครับ (ส่วนผมจะลองไปหาข้อมูลเองมั่งครับ แล้วถ้าหาได้จะเอามาแบ่งกันอ่านนะครับ)


ไปล่ะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 15 ม.ค. 06, 07:40

 กระทู้นี้สนุกมาก ทำเอาดิฉันเก็บไปคิดอยู่ครึ่งคืน ถึงเรื่องของเนยในวัฒนธรรมไทย

ก่อนอื่น  คิดว่าเนยในไทยมาจากเมืองแขกแน่นอน จะแขกอินเดียหรือแขกเปอร์เชียนั้นยังไม่ทราบ ว่าอย่างไหนมาถึงก่อน
เนยเป็นพื้นฐานการประกอบอาหารที่สำคัญของอินเดีย(และน่าจะรวมเปอร์เชียด้วย)  เหมือนกะทิสำหรับคนไทย และน้ำมันหมูสำหรับคนจีน

ในพระไตรปิฎก  ข้าวมธุปายาสที่นางสุชาดาถวายพระพุทธเจ้าก็มีส่วนประกอบของเนย   มีเนยใส  แต่เนยข้นด้วยหรือเปล่าจำไม่ได้

เนยมาถึงไทยในสมัยสุโขทัยหรือเปล่า ดิฉันยังนึกถึงหลักฐานไม่ออก
แต่อยุธยาน่าจะรู้จักเนยกันแล้ว จากชาวต่างชาติ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 15 ม.ค. 06, 07:45

 อาหารที่ทำจากเนย  เมื่อไปดูจากกาพย์เห่เครื่องคาวหวาน พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒
มี" ลุดตี่" แป้งทอดเป็นแผ่นกลม  ซึ่งวิธีทำเหมือนโรตี   อันนี้น่าจะใช้เนยทอด ไม่ใช้น้ำมันหมูหรือกะทิ

คนไทยโบราณ "เหม็นนมเหม็นเนย" ไม่หอมเหมือนคนรุ่นเรา
ท่านหญิงรัตน์ฯ ใน"รัตนาวดี" ทรงเล่าถึงป้าสร้อยพระพี่เลี้ยงที่ตามเสด็จไปยุโรปด้วยว่า
"หญิงดีใจเหลือเกินที่ป้าไม่เป็นคนโบราณเหม็นนมเหม็นเนยเหมือนบางคน"

มีศัพท์สำนวนว่า "ขนมนมเนย"  คงเคยได้ยินกันนะคะ  พ่อแม่ปรนเปรอลูกด้วยขนมนมเนยจนเด็กอ้วนเกินไป
แสดงว่า "นมเนย" ถูกจัดเข้าไปเป็นส่วนประกอบของขนม   ไม่ใช่ของคาว
นมเนยในสำนวนนี้น่าจะเป็นนมและเนยของฝรั่ง  ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเค้ก คุกกี้ ขนมปังหวาน ฯลฯ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 15 ม.ค. 06, 07:48

 คำถามของคุณติบอ  ดิฉันคิดว่าสมัยก่อนเขาเก็บเนยไว้ในหม้อ เพื่อปรุงอาหารค่ะ
และคงเป็นการปรุงกันแบบวันต่อวัน หรือมื้อต่อมื้อ  ไม่มีการเก็บรักษาไว้ในอากาศร้อนอย่างบ้านเรา

แต่ในวังมีตู้น้ำแข็งกันแล้วตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ ๕  ต่อตู้แล้วหล่อด้วยน้ำแข็ง  ถ้าทำอาหารฝรั่งก็คงเก็บเนยเอาไว้ในนั้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 15 ม.ค. 06, 14:59

 เอาเรื่อง "เนย" ในพระไตรปิฎก มาเสริมให้อีก

เนื้อความแห่งสิกขาบทที่ ๙ ในโภชนวรรค พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๒ เล่มว่า
สมัยหนึ่ง พระฉัพพัคคีย์(กลุ่มภิกษุ ๖ รูป)ออกปากขอโภชนะอันประณีตมาเพื่อตนแล้วฉัน
ความทราบถึงพระพุทธเจ้า ทรงตำหนิแล้วทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า

" ก็ภิกษุใดออกปากขอโภชนะอันประณีตเช่นนี้ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม มาเพื่อตนแล้วฉัน ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ "

 ต่อมามีกรณีภิกษุเป็นไข้ ไม่กล้าออกปากขอโภชนะอันประณีตมาเพื่อตนแล้วฉัน จึงไม่หายจากอาการไข้
ความทราบถึงพระพุทธเจ้า จึงทรงอนุญาตให้ออกปากขอโภชนะอันประณีตมาเพื่อตนแล้วฉันได้
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้เป็นอนุบัญญัติว่า
" อนึ่ง ภิกษุไม่เป็นไข้ ออกปากขอโภชนะอันประณีตเช่นนี้ คือ เนยใส เนย ข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย
ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม มาเพื่อตนแล้วฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ "

เนยใส เนยข้น คงถือกันว่าเป็นอาหารชั้นดี  บำรุงร่างกาย หรือมีประโยชน์ช่วยให้คลายเจ็บป่วยได้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 15 ม.ค. 06, 15:08

 ในพระไตรปิฎกเช่นกัน ระบุว่า
"เภสัช ยา, ยารักษาโรค,ยาแก้โรค เป็นอย่างหนึ่งในปัจจัย ๔,
เภสัช ๕ ที่เป็นสัตตาหกาลิก รับไว้ฉันได้ตลอด๗ วัน คือ

๑. สัปปิ เนยใส
๒. นวนีตะ เนยข้น
๓. เตละ น้ำมัน
๔.มธุ น้ำผึ้ง
๕. ผาณิต น้ำอ้อย

เกิดคำถามขึ้นมากับตัวเองค่ะ ว่า "เนยใส" ภาษาอังกฤษตรงกับคำว่าอะไร
รู้แต่ว่า ภาษาไทยในพระไตรปิฎก เรียกนมจากแม่โค ว่านมสด(ข้อนี้เข้าใจ)
นมสดเอามาทำนมส้ม - คำนี้เข้าใจว่าหมายถึงนมเปรี้ยว
จากนมส้ม หรือนมเปรี้ยว เอามาทำเนยใส
จากเนยใส มาทำเนยข้น
พอถึงเนยใสกับเนยข้น ไม่ทราบแล้วละค่ะว่าตรงกับอะไร
ใครทราบบ้าง
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 15 ม.ค. 06, 18:59


ไม่ทราบว่าเนยมาจากภาษาอะไร เลยเข้ามานั่งฟังด้วย แต่สำหรับคนที่เหม็นกลิ่นเนย ลองชิม moszarella สิครับ วางบนมะเขือเทศ หยอดด้วยน้ำมันมะกอก สูตรอิตาเลี่ยนอร่อยนักแล
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 19 ม.ค. 06, 05:46

 เห็นด้วยกับคุณเทาชมพูครับว่า สินค้าที่เราเรียกว่า "เนย" น่าจะมาจาก ไม่แขกอินเดีย ก็แขกเปอร์เซีย โดยในชั้นต้นมาในรูป "ของเหลว"

ต่อมาเมื่อฝรั่งเอา "เนยก้อน" เข้ามา ก็เลยถูกเรียกว่าเนยตามไปด้วย

ผมว่า "เนย" อย่างที่เรารู้จักกันในปัจจุบันนี้ น่าจะเข้ามายุคที่มีการสั่งน้ำแข็งเข้ามาแล้วครับ (สมัย ร.๔ หรือ ร.๕ ไม่แน่ใจครับ ทราบมาว่า สั่งมาจากสิงคโปร์) เพราะถ้าเก็บไว้อุณหภูมิบ้านเรา ไม่มีทางเป็นก้อนได้เลยครับ แล้วจะเสียเร็วอีกต่างหาก

แต่คำว่า "เนย" น่าจะมีใช้เรียก "ผลิตภัณฑ์ไขมันนม" มาแต่โบราณ ซึ่งไม่ใช่เนยแบบฝรั่ง แต่เป็น เนยแขกอินเดีย-อิหร่าน

ส่วน "เนยใส" "เนยข้น" ผมเองก็จนด้วยเกล้าครับ อิอิ

ก็ไปลองหามาครับ ได้ข้อมูลดังนี้

คำว่า Butter ตรงกับภาษาฮินดีว่า makhkhan (มัข-ขัน?)

--------------------------------

ฆตํ (คะ-ตัง) เนยใส คำนี้ สันสกฤตว่า ฆฺฤต (ครึ-ตะ)

ปัจจุบันตรงกับคำฮินดีว่า "Ghee" (ฆี)

แต่พอไปอ่านคำอธิบายเกี่ยวกับ "ฆี" แล้ว เว็บต่างๆ อธิบายกันว่า

GHEE

1. a semifluid clarified butter made especially in India.

2. clarified butter used in Indian cooking — ORIGIN from Sanskrit, ‘sprinkled’.

3. A clarified semifluid butter used especially in Indian cooking.

--------------------------------

ถ้าดูจากคำแปล ดูเหมือนว่า "ฆี" จะเป็น "เนยข้น" ครับ ซึ่งจะดูขัดกับนิยามที่ผมนำมาข้างต้นว่า "ฆตํ" คือ "เนยใส"

หรือเวลาเปลี่ยน ความหมายคำเปลี่ยน ? หรือ แปลเป็นไทยผิด ?

ตอนนี้ผมเลย งง งง อยู่กับคำว่า "เนยใส" "น้ำมันเปรียง" "เนยข้น" และ "ฆี" เสียแล้วสิครับ

ปล. ว่างๆ สงสัยต้องหาโอกาสไป "วัดแขก" ไปสอบถามเกี่ยวกับ "น้ำมันเนย" ที่ใช้ประกอบพิธีกรรมเสียแล้วครับ เพราะได้ยินมาว่า "น้ำมันเนย" ดังกล่าวคือ "ฆี" หรือจะมีน้ำมันหลายชนิด ?
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 19 ม.ค. 06, 06:24


"ฆี" (เนยข้นของอินเดีย)

"ฆี" คือ เนยข้น ที่ผ่านกระบวนการสกัดเอาอนุภาคของนม ที่ไม่ว่าจะเป็นของแข็ง หรือน้ำออกไป ให้เหลือแต่ไขมันเนยบริสุทธิ์

"ฆี" มีใช้ปรุงอาหารกันโดยทั่วไปในชีวิตประจำวันของชาวอินเดียทุกภาค "ฆี" ชั้นดีเมื่อนำมาปรุงอาหารแล้ว จะทำให้อาหารมีกลิ่นหอมและรสอร่อย

"ฆี" เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการอาหารไขมันต่ำ เพราะใช้ "ฆี" เพียงจำนวนเล็กน้อย ก็สามารถปรุงอาหารได้หลายอย่าง เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้น้ำมันประเภทอื่นๆ ในคัมภีร์อายุรเวทนั้น กล่าวว่า การปรุงอาหารด้วย "ฆี" เป็นน้ำมันที่ใช้ปรุงอาหารที่ดีที่สุด ถ้าใช้ในขนาดที่เหมาะสม

"ฆี" สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายของชำอินเดียทั่วไป เมื่อคุณจะซื้อ "ฆี" ต้องแน่ใจว่า คุณซื้อ "ฆี" ที่ทำมาจากไขมันสัตว์ เช่น วัว อย่าซื้อ "ฆีเทียม" ซึ่งทำโดยการนำน้ำมันพืชมาผ่านกระบวนการไฮโดรเจเนต

ถ้าคุณหาซื้อไม่ได้ เรามีวิธีทำง่ายๆ มานำเสนอตามด้านล่างนี้


ทำ "ฆี" ได้ง่ายๆ ที่บ้านของคุณ

วัตถุดิบ : เนยบริสุทธิ์ก้อนรสจืด (ไม่ใช่ มาร์การีน)

วิธีทำ
๑. อุ่นเนยกะทะแบน ด้วยความร้อน สูงถึงปานกลาง จนกระทั่งเนยเดือดปุดๆ

๒. ลดความร้อนลงมาให้อยู่ในระดับ ปานกลางถึงต่ำ อุ่นไปเรื่อยๆ โดยไม่ต้องปิดฝา จนกระทั่งเนยทั้งหมดเปลี่ยนเป็นสีทอง (ตอนแรกนั้น โดยปกติเนยจะเริ่มเดือดปุดๆ แต่เมื่อได้ที่แล้ว จะปรากฏฟองคล้ายโฟมอยู่ที่ผิวหน้า ซึ่งนั่นเป็นสัญญาณว่า "ฆี" เกือบจะได้ที่แล้ว)

๓. ทำให้ "ฆี" เย็น และเก็บไว้ในภาชนะที่แห้งและสะอาด จากนั้นก็สามารถใช้ "ฆี" ปรุงอาหารได้ตามต้องการ

เคล็ดลับในการดูว่า "ฆี" ใช้ได้หรือยัง
เนย จะกลายเป็น "ฆี" ก็ต่อเมื่อน้ำได้ระเหยออกไปจนหมด วิธีดูว่าน้ำออกไปหมดหรือยังนั้น ให้เทเนยที่อุ่นแล้วนั้น ลงบนกระดาษชิ้นเล็กๆ จากนั้นจุดไฟเผากระดาษ ถ้ามีเสียงเปาะแปะ ก็แสดงว่ายังมีน้ำเหลืออยู่ในเนย ก็ให้อุ่นเนยต่อไปอีกซักระยะ

เมื่อมีความชำนาญ ประสบการณ์จะบอกเองว่า "ฆี" ใช้ได้หรือไม่ โดยจะทราบได้จาก "กลิ่น" และ "สี"

เคล็ดลับการเก็บ

๑. "ฆี" ไม่จำเป็นต้องเก็บไว้ในตู้เย็น
๒. เพื่อรักษาให้ "ฆี" ใช้ได้นานๆ ต้องเก็บให้ห่างจากความชื้น เช่น ไม่ใช้ช้อนที่เปียกน้ำตัก "ฆี"

ที่มา แปลจาก : http://www.food-india.com/ingredients/i001_i025/i007.htm  
บันทึกการเข้า
ปุยฝ้าย
อสุรผัด
*
ตอบ: 22


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 26 ม.ค. 06, 21:35

 เอ...ทำไมถึงรู้สึกมาตลอดว่าคำนี้มาจากภาษาเขมรไม่รู้สินะ...เพิ่งมาเริ่มคิดตอนได้อ่านกระทู้นี้แหละค่ะ...ไม่มีความรู้ด้านภาษาซะด้วย...แหม่..จะติดตามผลการวิเคราห์ต่อไปนะคะ    
บันทึกการเข้า
Its me
อสุรผัด
*
ตอบ: 7

Chief engineer at Mueller Engineering, Inc. in Wisconsin, USA.


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 01 ก.พ. 06, 02:29

 I just watched an Indian movie "Asoka" in Indian with English sub-title. There were a few words that I recognized. Indian greeting is "Na-mas-ka" that sounded like what we use to greet Buddhist monks. When Indian "Wai" they say "Pra-nam", that is what we use to describe our hands when we "Wai".

Thai food has a lot of influences from India and China. Chinese do not use butter in thier cooking, Indian do.

I happen to visit Indian restaurants quite frequent and know the word for butter. It is "paneer". Could it be that Thai listen to "paneer" and make it "Nire" so it is easier to our ears?

Process to make butter is to churn milk. Milk fat will separate from milk when shaken and you will get butter. You can try to make butter yourself. The fresh milk in a bottle should make a lot of butter. Butter is comment #3's name.

Cheese is produced by different process. Culture is added to milk to get yogurt like substance. Liquid is sqeezed out from the substance with "cheese cloth" to get cheese curd. The diferent kinds of cheese are from diferent cultures. Cheese is what Thai call "hard butter".
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.054 วินาที กับ 19 คำสั่ง