เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8]
  พิมพ์  
อ่าน: 26010 ทำไมละครไทยหลังข่าวมีแต่เรื่องรักใคร่ อิจฉาริษยา
วรรณวรรธน์
อสุรผัด
*
ตอบ: 12


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 19 ก.พ. 06, 20:04

 มาแอบอ่านด้วยคนค่ะ

ปัญหาอย่างที่เคยบอกไปแล้วว่า  การสร้างละครทีวีแต่ละเรื่องมีปัญหามากค่ะ  มีเรื่องต้องเคาะกันเยอะ  ที่สำคัญ ไม่ใช่ว่า   นิยายดีๆมาทำละครแล้วละครจะดีไปด้วยเสมอไป   หลายเรื่องเป็นนิยายดีมากๆๆ  แต่กลับแป้กเมื่อมาปรากฏในจอทีวี    แต่บางเรื่องเป็นนิยายก็อ่านธรรมดา   แต่พอเป็นละครทีวีกลับเรียกความนิยมได้สูง  

ปัญหา ของแดจังกึม   เรื่องแรกเลย ถ้ามองกันจริงๆ  คนแต่งเรื่องนี้ จบวรรณคดีมาแล้วเขียนเล่าเรื่องนี้โดยค้นข้อมูลจำนวนมาก   อาจจะใช้เวลานานในการเขียน   ถามว่า นักเขียนบ้านเราปัจจุบันนี้ ทำงานอยู่ที่คนหนึ่งมีไม่ต่ำกว่าปกสองปก นิตยสารที่ต้องส่งต้นฉบับให้ทัน  จะมีใครมีเวลาค้นข้อมูลมาเขียนได้   ค่าเท่ากัน  นิตยสารตีราคานักเขียนเท่ากับหน้ากระดาษ    ถ้านักเขียนทำงานค้นข้อมูลเชิง Research เพื่อทำงานนิยาย ก็ได้ค่าตอบแทนตอนละ สองพันบาท  แต่คนอ่าน อาจมีเสียงตอบกลับว่า เขียนผิดบ้าง ข้อมูลไม่ถูกต้อง  หรือ ยืดเยื้อน่าเบื่อหน่าย     เทียบกับนักเขียนอีกท่านหนึ่งเขียนแต่นิยายรักหวานๆตลกๆ แต่มีคนติดตาม คนอ่านพูดถึงในหน้าจดหมายถามตอบมากกว่า  ราคาต่อตอนเท่ากัน   ยอดนิตยสารพุ่งเพราะมีนิยายรัก    

เงินเท่ากัน  คนเขียนงานส่วนใหญ่ถ้าไม่ติดเรื่องชื่อเสียงหรือรายได้แล้ว....จะเขียนงานแบบอย่างที่อยากจะเขียนค่ะ  แต่ถ้ายังเขียนเพื่อหาเลี้ยงตัวเองอยู่  ก็คงต้องเขียนแนวรักๆใคร่ เพราะยังไง ก็มีคนอ่านแน่นอน


ดังนั้นคนที่ตั้งใจจะเขียนงานให้ดี  แล้วก็อยากให้คนอ่านด้วย  ต้องใจแข็งกับยอดรายได้ค่ะ     เขียนไปเขียนมา  ถ้าไม่ตั้งใจแน่วแน่  ไขว้เขว มีหวังได้ไปเขียนนิยายพรานราตรีก็เป็นได้ค่ะ

แต่ละครทีวีเป็นปลายทางเท่านั้น  ซีรีส์ฝรั่งที่สนุกๆหลายเรื่อง  CSI ,The West Wing, ER  หรือ Friends     รู้สึกว่าไม่ได้เริ่มจากนิยายก่อน  บางทีอาจจะถึงเวลาที่ให้เขาเริ่มต้นเขียนละครโทรทัศน์ต้นฉบับกันเองก็คงจะได้แล้วมั๊งคะ   เพราะหลายเรื่อง  เขาเอานิยายไปทำ  ก็เปลี่ยนชื่อเรียงเสียงเรื่องจนคนเขียนยังจำนิยายตัวเองไม่ได้เลย

เรื่องแบ่งเกรดนิยายนิตยสาร...อย่าว่าอะไรเลยนะคะ  ช่วงหลังๆมานี่...อยากบอกว่า นิยายที่ไม่ผ่านนิตยสาร แต่เป็นนิยาย ดีๆ ก็มีอยู่ไม่น้อยค่ะ...แต่คนอ่านยังติดอยู่ว่านักเขียนกลุ่มนั้นไม่ผ่านนิตยสาร  ฝีมือไม่เข้าขั้น  ก็จะไม่ได้ให้ความสนใจ  หรือสนพ.ใหม่ไม่คุ้นชื่อ  ก็เลยไม่ซื้อมาอ่าน หรือพูดถึงกันมากนัก     แต่บอกได้เลยค่ะ ว่านิยายรุ่นใหม่ๆ ดีๆ  มีเยอะค่ะ  โดยเฉพาะช่วงปีสองปีที่ผ่านมา  

แต่ตอนนี้ตลาดหนังสือเปิดกว้างมากขึ้นนะคะ   มีคนเขียนนิยายรุ่นใหม่เกิดขึ้นมา  แม้ไม่ผ่านหน้านิตยสารแต่ก็มีผลงานดีๆ จากฝีมือบรรณาธิการทั้งหลายหลั่งไหลสู่แผงท้องตลาด   ต่อสู้กับกระแส นิยายต่างประเทศ   นิยายรักเกาหลี หรือนิยายโรมานซ์ต่างประเทศอยู่....ลองหาอ่านได้ค่ะ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 19 ก.พ. 06, 23:32

 กระทู้นี้เป็นเรื่องของ A matter of opinion/สองคนยลตามช่อง/ลางเนื้อชอบลางยา โดยแต้


1) การแบ่งสิ่งของให้เป็นหมวดหมู่ (Classification) นั้นเราอาจทำได้หลายวิธี

1.1) ถ้าใช้ความถี่เป็นเกณฑ์ อาจแบ่งได้เป็น

-รายสัปดาห์ (Weekly) กำหนดออกสัปดาห์ละครั้ง ปีละ 52 ฉบับ
-รายปักษ์ (Fortnightly) กำหนดออกทุก 2 สัปดาห์ ปีละ 26 ฉบับ
-รายครึ่งเดือน (Semimonthly) กำหนดออกเดือนละ 2 ครั้ง ปีละ 24 ฉบับ
-รายเดือน (monthly) กำหนดออกปีละ 12 ฉบับ


1.2)   ถ้าใช้ราคาของหนังสือวารสารเป็นเกณฑ์ หนังสือที่ราคาแพง แน่นอนว่าจะต้องเจาะ
target market กลุ่มที่มีรายได้สูง และกลุ่มนี้มักจะมีการศึกษาสูง และสถานภาพทางสังคมสูงด้วย
ดิฉันจะลองจัดกลุ่มตามความคิดของตัวเอง (จัดแบบหยาบๆ) ดังนี้
   
นิตยสารกลุ่มแพง (100 บาทต่อเดือน++) ขวัญเรือน กุลสตรี สกุลไทย แพรว ลลนา
นิตยสารกลุ่มถูก   (100 บาทต่อเดือน--)   ดาราภาพยนต์ คู่สร้าง-คู่สม


นักเขียนนิยายที่มีชื่อ เช่น กฤษณา อโศกสิน หรือโสภาค สุวรรณ ค่าเขียนต่อตอน
น่าจะได้มากกว่านักเขียนโนเนม (แต่ไม่ได้หมายความว่านักเขียนชื่อดังอาจจะจะเขียนสนุก
กว่าเสมอไป) ถึงตรงนี้เราต้องพูดถึงความน่าจะเป็น หรือแนวโน้ม อย่าพูดถึงกรณียกเว้น
(rare case)  กฤษณา อโศกสิน ก็คงไม่ไปเขียนนิยายลงในกลุ่มถูก เหมือนกับนักมวย
ค่าตัวแพงในอดีต เช่น พุฒ ล้อเหล็ก ย่อมไม่ไปต่อยวิกสังกะสี นอกจากราชดำเนิน และลุมพินี เป็นต้น

ดังนั้น ตัวละครของนักเขียนชื่อดังก็ต้อง of noble quality มากกว่า (ไม่งั้นใครจะมาอ่านเล่า)
แต่นิยายที่ถ่ายทอดเรื่องราวของคนระดับกลางหรือชาวบ้าน เช่น แคนลำโขง สามารถสร้างให้
สนุก เบาสมอง ตลกโปกฮา คือเป็นที่นิยมของตลาดน่ะค่ะ


2)ที่คุณ paganini มองว่าเพชรพระอุมามี....คุณค่าทางวรรณศิลป์แย่มาก นั้น
ดิฉันมองกลับกันค่ะ   ดิฉันว่าเรื่องนี้มีคุณค่าทางวรรณศิลป์ที่ยอดเยี่ยมมากๆๆ
พนมเทียนใช้ภาษาได้เห็นภาพพจน์เหลือเกิน เวลาเขาบรรยายว่าลมพัดจนป่าป่วน
ฝุ่นคละคลุ้ง ต้นไม้ไหวยวบ ผู้อ่านสามารถนึกภาพตามเกิดจินตนาการว่าป่าแตก
สัตว์ป่าวิ่งหนีกันจ้าละหวั่น หัวซุกหัวซุน เกิดความน่ากลัวตามคำบรรยายได้

สำหรับบทอัศจรรย์ของรพินทร์กับมาเรีย พนมเทียนบรรยายได้ถึงพริกถึงขิง
ดีเหลือเกิน เขาใช้การอุปมาอุปไมย เพื่อไม่ให้กิจกรรมของตัวละครน่าเกลียด
จนเกินไป ผู้อ่านได้อรรถรส สามารถรับรู้ว่าตัวละครของเขากำลังอยู่ในอารมณ์เปลี่ยว
ขนาดไหน

บทต่อปากต่อคำระหว่างรพินทร์และดาริน พนมเทียนทำได้มันส์มาก ดิฉันสรุปว่าตัวเองได้
ความบันเทิงจากนวนิยายเรื่องนี้มากค่ะ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 20 ก.พ. 06, 00:33

 ต่อค่ะ

วันก่อนเราเปลี่ยนโทรทัศน์ในห้อง พี่มาบอกว่าจูนช่อง 3 ไม่เข้า ให้ไปจูนที ดิฉันตอบว่า
ดูช่องอื่นไปก่อน พอตกเย็นเขามาบ่นอีกแล้วให้ไปจูนโทรทัศน์อีก ก็ชักรำคาญ ที่ไหนได้
เขาจะดูละครหลังข่าวที่ช่อง 3 นั่นเองค่ะ ใครจะว่าเน่าอย่างไร ไม่สนใจ

กลับมาเรื่องหนังสืออีก วันก่อนไปพลิกดูหนังสือที่เขาอ่าน หมึกแดงพาเที่ยวหรือพาชิมทำนองนั้น
เลยถามว่าไม่มีอะไรจะอ่านแล้วหรือ คิดว่าเขาคงตอบว่า snoopy เขาตอบว่าอ่านจนหมดห้องสมุดแล้ว
เหลือเล่มนี้ ดีกว่าไม่มีอะไรจะอ่าน

ตัวอย่างสุดท้ายที่จะสนับสนุนว่าคนเรามีความคิดเห็นต่างกันในเรื่อง taste/preference
พี่เล่าว่าแม่ค้าข้าวแกงพูดว่า เห็นซื้อแต่กับข้าว ไม่เห็นซื้อข้าวเปล่าเลย อย่าไปหุงหาให้ลำบาก
ถุงละ 5 บาท ป้าตักให้ตั้งเยอะ พี่เขาบอกกับดิฉันว่าซื้อให้โง่ เขาหุงเองลงทุน 5 บาท กินได้ตั้ง 3-4 มื้อ

***สรุปว่า ปรัชญาการดำเนินชีวิตของคนต่างจังหวัด แตกต่างจากคนกรุงมาก ดิฉันอยู่กรุงเทพฯ
5 วัน ตจว. 2 วัน บางครั้งยังเดาความคิดของเขาไม่ถูกเลยค่ะ***

********
เห็นด้วยกับคุณวรรณวรรธน์ ที่ว่านิยายดีๆบางครั้งไม่ต้องผ่านนิตยสาร พักหลังนิยายดีๆทางเน็ต
ได้รับการตีพิมพ์รวมเล่มหลายเรื่อง อ่านพบว่าข้อเขียนมันส์ๆของคุณ WIWANDA ทางเน็ต
นิตยสารหญิงไทย ก็ติดตอขอไปลงค่ะ
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 21 ก.พ. 06, 09:12

 อ่านความเห็นพี่นุชนาเกี่ยวกับเพชรพระอุมาแล้วเห้นทีต้องกลืนน้ำลายตัวเองลงไปครึ่งหยด
ใช่จริงๆครับตรงที่พนมเทียนเขียนหนังสือใช้ภาษาได้ยอดเยี่ยม ตอนผมเขียนความเห็นก่อนหน้านี้อาจจะวู่วามไปหน่อย ด้วยเหตุที่นิยายเรื่องนี้เขียนนานเกินไป(25ปี) และยาวเกินไป จนเนื้อหาขาดความเป็นเนื้อเดียวกัน(non-homogeneous) ช่วงแรกๆที่พนมเทียนเขียนตอนยังหนุ่มแน่น เต็มไปด้วยจินตนาการ และความตั้งอกตั้งใจในการเขียน แต่หลังๆกลับเขียนง่ายๆ ยืดเยื้อ เยิ่นเย้อ บางตอนสำนวนและลีลาการแต่งแตกต่างออกไปราวกันวานคนอื่นมาเขียนแทน เพียงเพื่อการทำมาหากินเป็นหลัก ผมจึงผิดหวังโจมตีรุนแรงอย่างนั้น

ถ้าเปรียบเพชรพระอุมาเป็นเพชรก็เป็นเพชรเม็ดใหญ่ทีเดียวแต่เสียดายที่ร้าวใน และมีตำหนิ
บันทึกการเข้า
อ๊อฟ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 167

SIIT, TU


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 21 ก.พ. 06, 15:07

ตามข้อมูลของคุณเทาชมพู คห. 98 ผมขอถามเพิ่มเติมในฐานะนักวิทยาศาสตร์ผู้อยู่นอกวงการบันเทิง (พูดง่ายๆว่าถามเพราะไม่รู้) นิดนึงครับ

ที่ผมเคยได้ยิน (จาก Nielsen Media Research - http://www.nielsenmedia.com/whatratingsmean/)  ก็คือเค้าจะใช้ set-top-box เป็นเครื่องมือเล็กๆไปติดไว้กับทีวีของบ้านของกลุ่มตัวอย่าง แล้วก็นับจำนวนเอาว่าในกลุ่มตัวอย่างนี้ ที่เวลา 21:00 มีกี่บ้านดูช่อง 3 มีกี่บ้านดูช่อง 5 แล้วก็ประมาณขึ้นไปเป็นจำนวนคนเทียบกับกลุ่มตัวอย่างโดยกประมาณตามสัดส่วน (คล้ายๆกับที่คุณเทาชมพูยกมาเป็นตัวอย่าง)

คำถามคือว่า สำหรับบ้านเรา มีใครเคยตั้งข้อสงสัยกับ rating พวกนี้หรือปล่าวครับ ว่าเรตติ้งพวกนี้เท็จจริงประการใด น่าเชื่อถือได้ขนาดไหน กลุ่มตัวอย่างที่เค้าเอากล่องไปวาง เป็นตัวแทนของความจริงที่ต้องการวัดแค่ไหน (เช่น เอาไปวางไว้แถวหมู่บ้านในภาคอีสาน มากกว่าใน กทม กี่เปอร์เซ็นต์)

อยากถามคนวงในครับ ว่า
1. ปัจจุบันบริษัทที่ทำหน้าทีวัดเรทติ้งให้กับสถานีโทรทัศน์ในเมืองไทยมีบริษัทอะไรกันบ้างครับ
2. แล้วกลุ่มตัวอย่างที่เค้าเก็บนี่มีซักกี่เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับจำนวนครัวเรือน
3. ไม่ทราบว่าบ้านใครใน กทม. เคยเป็นหนึ่งในกลุ่มตัวอย่างหรือปล่าวครับ ?

หรือว่าวิธีวัดแบบที่ผมได้ยินมามันเชยมากแล้ว ถ้ามีใครรู้วิธีที่ใช้วัดในปัจจุบัน ช่วยแนะนำด้วยครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 21 ก.พ. 06, 15:18

 เท่าที่รู้นะคะคุณอ๊อฟ   คือบริษัทดีมาร์  เขาวางกล่องเครื่องรับแบบนี้ตามบ้านที่สุ่มเป็นตัวอย่าง
เอาเฉพาะในกรุงเทพมหานครค่ะ
ส่วนตจว.มีหรือเปล่าไม่ทราบ

ตอนนี้ก็มีอีกหลายบริษัทที่สำรวจเรตติ้ง

การทำวิจัยแบบนี้ลูกค้าจะต้องมาตรวจสอบวิธีการวัดผล
สอบถามรายละเอียด และติดตามการวัด
ไม่ใช่ว่าสุ่มเสี่ยงไปว่าวัดกันยังไงก็เอายังงั้น
หมายถึงว่าเขาต้องมีการตรวจสอบถึงความน่าเชื่อถือของผลการวิจัย มากพอพอสมควร
เพราะค่าสมาชิกมันแพงมากๆ

แต่...

ดิฉันก็ไม่ทราบว่ามันแม่นยำมากน้อยแค่ไหน    รู้แต่ว่าเขาเชื่อถือกันว่ากระบวนการตรวจสอบและวัดผล นี่แหละ
ว่า OK
อย่างหนึ่งอาจเป็นได้ว่ายังไม่มีใครค้นคิดกระบวนการที่น่าเชื่อถือมากกว่านี้ออกมาได้สำเร็จ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 21 ก.พ. 06, 21:39

 ตอบ ค.ห. 108
จะฟันธงว่าเพชรพระอุมา non-homogenious ก็อาจไม่แฟร์ ในเมื่อภาคหลักของเพชรพระอุมา
ถึงตอนที่คณะคุณชายเชษฐากลับกรุงแล้ว และดารินย้อนกลับมานอนที่หนองน้ำแห้ง 1 คืน
เป็นภาคหลักของเพชรพระอุมา ถ้าหลักใหญ่ทำได้ดี แต่ภาคที่มีฝรั่งมาหาหัวนิวเคลียร์ พนมเทียนเขียนไม่ดี
ก็ไม่ควรฟันธงว่าทั้งหมดมันไม่ดี ทำไมไม่นับว่า ภาค 1  เป็น representative ของทั้งหมดล่ะคะ

คุณ paganini จำวิชา statistics in which we treat data by applying moving average technic to alleviate
(too extreme) deviation ได้ไหม ตรงไหนที่มันสุดโต่งและมีเค้าว่ามันจะไปทำให้ "norm" ของทั้งหมดสูญเสียไป
ก็ไม่ควรไปนับมัน เหมือนการจับเวลาในการแข่งขันกีฬา 4 ครั้ง เราตัดทิ้งเวลาที่แย่ที่สุด แล้วเอา 3 best มาหาค่าเฉลี่ย

ที่เขียนมานี้ไม่ได้ต้องการเอาใจช่วยพนมเทียนมากเกินเหตุ แต่เห็นว่าส่วนดีๆของเรื่องนี้ดีพอที่
จะทำให้เพชรพระอุมา เป็นยอดวรรณกรรมเรื่องหนึ่ง ก็ไม่ควรไปเอาตอนอื่นมาหักล้าง

ที่คุณว่านักเขียนมุ่งเชิงพาณิชย์มากเกินไป เอ...เรื่องไหนๆก็มุ่งทั้งนั้นแหละค่ะ ขึ้นอยู่กับว่าเรื่องไหน
จะกลบเกลื่อนได้มิดชิดกว่ากัน
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 22 ก.พ. 06, 02:17

 โหย มีเทพีประจำกายแล้วเรา แต่ Isis นี่เป็นเทพีของอียิปต์ไม่ใช่เหรอ เอมารวมกะกรีกได้ไง ทำไมไม่เอานางเมขลา มั่งอ่ะ อิอิอิ  (กวนเล่นๆ) ถ้าจำไม่ผิด Isis เป็นเมียโอสิริส ใช่มั้ยครับ (ตามความรู้ศิษย์เก่า ต่วยตูนพิเศษ)

คุณพี่นุชนาครับ ผมขอตอบยังงี้

ถ้าพี่จะชม และถ้าพี่แสดงตัวว่าเป็นนักวิชาการซะขนาดนั้น เวลาพี่ชมพี่ต้องกำหนดให้แน่นอนลงไป("to be more specific" - if english is easier for you) สิครับ ว่า เพชรพระอุมาภาคหนึ่ง ดีมาก คุณค่าทางวรรณกรรมสูงส่ง

ที่ไม่สามารถนับรวมภาค 1 เป็น representative ได้เพราะผมว่าเราต้องมีรสนิยมทางศิลปะที่จริงใจ และซื่อสัตย์ต่อตัวเราเอง ตรงไหนไม่ดีก็บอกไม่ดี ไม่ใช่เพราะด้วยความนิยมส่วนตัว เลยไปบอกว่าไหนๆอันแรกดีแล้ว อันสองก็หยวนๆให้ดีไปด้วยเหอะ

การที่พี่พยายามบอกว่าต้องมีการหามูฟวิ่งอเวเรจ นี่มันเสมือนจับอูฐมาชนลาได้สนั่นมากเลยครับ

ที่พี่บอกว่านักเขียน สร้างงานเพื่อการค้าทุกคนนั้นผมว่าไม่แน่เสมอไปนะ  แหมพี่ก็ชอบเหมาเอาหมดเหมือนกันนั่นแหละ
นักเขียนบางคนรวยล้นฟ้าแล้ว ไม่ได้ต้องการเงินแล้ว แต่ก็ยังเขียน เพราะว่ามันยังมีอะไรอีกมากที่เขายังไม่ได้เขียน นักเขียนประเภทนี้ต้องการทิ้งมรดกไว้ให้แก่โลก
ถ้าให้ยกตัวอย่างนักเขียนซํกคนที่เป็นแบบนี้ผมคงยกได้ไม่ดีเท่าอาจารย์เทาชมพู แต่จะยกตัวอย่างนักแต่งเพลงดีกว่า

รู้จักมั้ยครับ Ludwig van Beethoven ตอนอายุ 30 ต้นๆ หูหนวกสนิท คิดดูคนที่เติบโตมากับดนตรี ทำมาหากินกับดนตรี เบโธเฟน ที่ชีวิตเขามีค่ามีความสุขก็เพราะดนตรีแต่พระเจ้ากลั่นแกล้งเขาทำให้เขาไม่ได้ยินเสียนี่ ไม่ได้ยินแม้กระทั่งดนตรีที่เขาแต่ง

ด้วยความทุกข์นี้ เบโธเฟนปลงใจที่จะปลงชีพตัวเอง
แต่สุดท้าย อะไรทราบมั้ยครับที่ทำให้เบโธเฟนเปลี่ยนใจ
ท่านเขียนบันทึกไว้ว่า  "ในหัวท่านยังมีดนตรีดีๆอีกเยอะ ที่ยังไม่ได้เขียนออกมา ฉะนั้นถ้าท่านตายไปซะโลกก็จะพลาดดนตรีอันยิ่งใหญ่นี้ไปอย่างน่าเสียดาย" ดังนั้นท่านจึงอยู่ต่อเพื่อชาวโลก

สำหรับใครๆที่อ่านข้อความนี้คงคิดว่าเบโธเฟนโอหัง อหังการและหลงตัวเองชะมัด แต่สำหรับผม ผมเข้าใจว่าถึงขั้นนี้ท่านมีแต่ความบริสุทธิ์ใจ มีแต่ดนตรีเท่านั้น ไม่มี "ตัวตน" ของท่านอีกต่อไปแล้ว

การที่ท่านไม่ตายก็เพื่อจะทิ้งมรดกอันยิ่งใหญ่ไว้แก่โลก ไว้เป็นแรงบันดาลใจให้คนหลายรุ่น หลายเผ่าพันธุ์ ให้ได้รับทราบถึงพลังของชีวิต  ชีวิตที่เบโธเฟนเคยดำเนินมาก่อน นั้น ผมถือว่าเบโธเฟนมีบุญคุณ มีคุณูปการต่อโลกเราอย่างใหญ่หลวง
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 22 ก.พ. 06, 09:28

 พูดเรื่องโขน ไยกระโจนเรื่องหนัง ซะแล้ว!
บันทึกการเข้า
HotChoc
มัจฉานุ
**
ตอบ: 62


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 22 ก.พ. 06, 19:42

 ผมไม่เห็นมีเทพีประจำกายเลย    ต้องสะสมบุญบารมียังไงก่อนหรือครับ

ผมอยากทราบเรื่องโพลด้วยน่ะครับ ส่วนตัวแล้วไม่ค่อยจะเชื่อพวกโพลนี่เท่าไหร่เลย

ส่วนเรื่อง Beethoven เขาอาจจะไม่ยิ่งใหญ่ขนาดนี้ถ้าเขาหูไม่หนวกนะครับ ไม่ใช่เพราะคะแนนสงสารหรืออะไรนะครับ เพลงที่ Beethoven แต่งตอนหูหนวกสนิทไปแล้ว เช่น Symphony #9 นี่สุดยอดมากๆ เขาคงใช้ความหูหนวกนี่เป็นแรงบันดาลใจ เป็น Triumph after struggle จริงๆครับ
บันทึกการเข้า
อ๊อฟ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 167

SIIT, TU


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 26 ก.พ. 06, 20:27

 วันนี้ได้ดู แดจังกึม แบบเต็มๆ 2 ชั่วโมงอีกแล้ว (พักหลังเริ่มรู้สึกว่าไม่อยากพลาดเรื่องนี้ เหมือนกับเข้าข่ายว่าจะติด)

เพอร์เฟ็ค สมบูรณ์แบบไร้ที่ติ ผมให้ 100 เต็ม 100 เลย (จากมุมมองของคนนอกวงการ)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 27 ก.พ. 06, 09:02

 มีข่าวดีค่ะ

คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม มีโครงการจะสร้างละครทีวีแล้วละค่ะ
ทั้งนี้เพื่อให้เยาวชนไทยได้ดูอะไรที่ส่งเสริมวัฒนธรรมไทย เกิดความภูมิใจในความเป็นไทย   ไม่ต้องไปปลื้มหนังทีวีเกาหลี จนไปภูมิใจวัฒนธรรมเกาหลี
ท่านขอ งบประมาณทำละครไว้แล้ว   ขั้นต่อมาคือขอความร่วมมือจากศิลปินแห่งชาติที่มีผลงานด้านวรรณกรรม และละครทีวี

ถึงยุบสภาหรือเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ก็ไม่มีผลกระทบกับโครงการนี้  
ดิฉันเดาว่าคงจะต้องรีบทำ  เพราะคุณหญิงจะเกษียณราชการต้นตุลาคมนี้  

ถ้ามีข่าวคืบหน้าจะกลับมาเล่าให้ฟังค่ะ
บันทึกการเข้า
เฟื่องแก้ว
พาลี
****
ตอบ: 327

เลขานุการ


ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 01 มี.ค. 06, 03:27

 อยากมีเทพีประจำกายมั่งค่ะ

บุญฉันมีแต่คงไม่ถึง.. อยากได้อะเธน่า เป็นเทพีประจำกาย อิอิ



ดิฉันไม่ค่อยได้ติดตามละครหลังข่าวมานานมากกกแล้วค่ะ

จำได้ว่า เคยดูปริศนารุ่นคุณหมิว ตอนดูจำได้ว่าน่ารักมากกก

ตอนมารีรัน ดิฉันดูแล้วขำปริศนา หัวเราะร่วนเป็นไข่เค็มเลย

แต่คุณลลิตา เล่นละครได้ดีค่ะ เหมาะำกับบทปริศนาที่สุดเลย



จำได้เลือนๆ อีกเหมือนกัน ผู้ชนะสิบทิศรุ่นสันติสุขเป็นจะเด็ด

รู้สึกว่า สันติสุขจะเล่นได้ดี จนไม่อยากดูอีกเลย

เพราะทนผู้ชายเจ้าชู้ไม่ไหว

แต่ที่ติดใจมาก คือ ไตรภพ ลิมปะพัทธ์

เล่นเป็นมังตราได้ดีมาก มีชีวิตชีวา มีอำนาจมาก



หลังๆ ดิฉันไม่ได้ดูละคร หรือหนังไทย

ไม่มีคนยอมดูเป็นเพื่อน เพราะดิฉันปากไม่ค่อยดี

อย่างเรื่องบ้านทรายทอง รุ่นพจมานหน้าบึ้ง

ดิฉันดูฉากเดียว ก็เลิก เพราะทนหญิงเล็กไม่ไหว

อาไร้ นั่งรถมาอาการก็ดี ๆ ลงรถกระฉับกระเฉง

แต่พอบทที่ "จะต้อง" เมา เธอก็ซวนเซ เมาดื้อๆ อย่างงั้นเอง



ดิฉันว่า หนัง-ละคร ไทยหรือเทศก็ตาม

สนุกหรือไม่ อยู่ที่บท แล้วก็การ Interprete ของนักแสดง

(และฝีมือผู้กำกับด้วย)

หนังละครไทย--ที่ดิฉันเคยดู-- มักจะเสียที่บท

บทพูดเรื่อยเปื่อย พูดด้วยเรื่องไม่สลักสำคัญ

มีคนรับใช้หลังบ้าน เป็นตัวเล่าเรื่อง

อีกอย่างคือ ดูเหมือนนักแสดงไม่ได้ฝึกฝนเรื่องการออกเสียงเท่าที่ควร

มีอยู่ยุคหนึ่ง ที่นางเอกล้วนแต่เป็นเด็กวัยรุ่น

นำมาเล่นเป็นผู้ใหญ่วัยทำงาน

แต่การออกเสียงยังแหงวๆ ไม่แสดงอารมณ์ของบทนัก

ดูพระเอกนางเอกเล่นเข้าฉากเดียวกันเมื่อไหร่

มักจะเสียอารมณ์เพราะดูทื่อกันไปหมด

แต่พอตัดฉากไปที่พวกผู้ร้าย ตัวประกอบร้ายๆ

(ตอนนั้น รู้สึกจะเป็นนักแสดงชื่อ อะไร ทองขาว สักอย่าง)

อยู่ในซ่องโจร กลับกลายเป็นว่า เล่นดีมาก

มีชีวิตชีวา ออกเสียง หน้าตา ท่าทางเป็นธรรมชาติมากกว่า

น่าเสียดาย

ล่าสุด ดิฉันดูเรื่อง โหมโรง หนังสวยมาก (เหมือนภาพยนตร์โฆษณา)

บทก็ใช้ได้ทีเดียว นักแสดงแสดงได้ดีพอใช้

ดิฉันดูทั้งเรื่อง ก็ชอบครูระนาดตัวร้ายมาก

คนแคสท์ ตาแหลมจริง ๆ เพราะเป็นคนมีคาแรคเตอร์

แต่พอแกพูดบท (มีอยู่ไม่กี่คำเอง) เท่านั้นแหละ

หายยยยยยยยย หมดเลยค่ะ เฮอ...

สงสัยจะลืมโปรเจคท์เสียงก่อนเข้าฉาก



อย่างไรก็ตาม ดิฉันก็ยังไม่หมดหวังเสียทีเดียว

กับละคร และหนังไทย

กลับไปบ้านล่าสุด ดิฉันยังนั่งดู ราชินีหมอลำกับแม่ได้อย่างเรียบร้อย

เก็บปากเก็บคำได้สำเร็จ

ดารารุ่นใหม่ อย่างจอย ศิริลักษณ์เล่นได้ดี

(แม้ว่า บทมันจะทะแม่งๆ อยู่)

รัญญา ศิยานนท์ เล่นได้ดีเหมือนเดิม

ในขณะที่สันติสุข-จินตหรา จะใช้เทคนิคการแสดงเดิมๆ อยู่

(ในความคิดเห็นของดิฉัน จินตหราดังเป็นพลุเมื่อเริ่มแสดง

เพราะได้เสียงพากย์ของดวงดาว จารุจินดา)



นอกจากนั้นนักแสดงใหม่ๆ ที่มีฝีมือในการแสดงก็มีเยอะ

เท่าที่เคยผ่านตาคือ เจมี่ บูเฮอร์

เคยเห็นเธอเล่นเป็น รตี ในปริศนา แล้วก็ทึ่ง

เพราะแสดงออกทั้ง เสียง นัยน์ตา ท่าทาง

อ้น สราวุฒิ มาตรทอง เล่นละครได้ดีเช่นกันค่ะ



ตอนนี้ หนัง ต้มยำกุ้ง เข้าฉายในโรงที่ฝรั่งเศสอยู่นะคะ

เวลาดิฉันเห็นแผ่นป้ายโ็๋ํฺ๋ฆษณาก็ปลื้มไปมาทุกทีเลยค่ะ

ใช้ชื่อเป็นฝรั่งเศสว่า L'Honneur du Dragon, Tom-Yum-Goong

มีเพื่อนฝรั่งที่เคยติดใจองค์บากมาแล้ว ก็อดใจรอเรื่องนี้

ตั้งแต่หนังยังไม่เข้าโรงเลยค่ะ



ตอนนี้ ป่วยไอค้อกไอแค้ก เลยยังไม่กล้าไปดูหนัง

แล้วจะลองไปชิม ต้มยำกุ้ง ชามนี้ดู

ยังไม่สิ้นความหวังที่จะได้ดูหนัง-ละครไทยดีๆ ค่ะ
บันทึกการเข้า
อ๊อฟ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 167

SIIT, TU


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 06 มี.ค. 06, 08:58

 ขออนุญาตตัดแปะความเห็นดีๆ นี้มาจากกระทู้
แด จัง กึม (อีกแล้ว) กับความสำเร็จที่คาดไม่ถึง
 http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Cid=18&Pid=46589
โดย Dr Yu
--------------------------------------------------------------
ความเห็นเพิ่มเติมที่ 16

รัฐบาลเกาหลีนี่เขาเอาอุตสาหกรรมภาพยนต์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหัวหอกของประเทศเลยนะครับ กฎหมายของประเทศเค๊าคือหนังที่ฉายในโรงหนังต้องเป็นหนังเกาหลีอย่างย้อย 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งตอนอเมริกาจะเปิด FTA กับเกาหลีก็จะให้เกาหลีเปิดอุตสาหกรรมหนังด้วย ปรากฎว่าประชาชนทั่วไป ดาราสวยๆ หล่อๆ รวมทั้งผู้กำกับออกมาประท้วงกันยกใหญ่ แสดงถึงการพิทักษ์ผลประโยชน์ของคนในชาติ เพราะเค๊ารู้ว่าอุตสาหกรรมภาพยนต์ของประเทศอยู่ในช่วงกำลังเริ่มจะแข็งแรง ขืนเปิดตอนนี้ก็ลำบาก ต้องขอเวลาฟิตซ้อมอีกปีสองปีครับ

หนังเรื่องแดจังกึมก็คือการสร้าง content หรือเนื้อหา ซึ่งก็คือทรัพย์สินทางปัญญาที่ทำเงินได้มหาศาลทั้งทางตรง และทำเงินทางอ้อมเข้าประเทศคือการท่องเที่ยว

คุณผู้ชายบางบ้านยังจะเปลี่ยนมาใช้แอร์ยี่ห้อ LG เพราะนางเอกแดจังกึมคือ ลียองเอ เป็น presenter และทะเลาะกับคุณแม่บ้านก็เรื่องแอร์นี่แหละครับ

โดย: Dr Yu  [IP: 203.185.129.38,,]  
วันที่ 3 มี.ค. 2549 - 13:51:48
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 19 คำสั่ง