นอกจากประเด็นเรื่องอุปสรรคการทำละครให้ได้ดังใจแล้วผมอยากจะพูดถึงประเด็นที่วิกฤติกว่า นั่นคือ
คิดมั้ยครับว่า คนทำสื่อละครถืออาวุธในมือโดยไม่รู้ตัว เหมือนนักข่าวแหละครับ นักข่าวมีอิทธิพลต่อผู้ฟังฉันใด ละครไม่ว่าเน่าหรือไม่ก็มีผลต่อผู้ชมฉันนั้น
อย่าบอกว่าผู้ชมย่อมมีสติปัญญา เลือกเองได้ คิดเองเป็น ผมว่าไม่ทั้งหมดนะ ส่วนน้อยด้วย
ทำไมต้องมีสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคล่ะครับ เพราะทุกคนเวลาจะซื้อปลากระป๋องซักกระป๋อง จะมีหรือไม่ที่ไปสำรวจว่าโรงงานทำด้วยความสะอาดถูกสุขลักษณะ มีสารตะกั่วปนเปื้อนมั้ย มีความอันตรายทางโภชนาการมั้ย ไม่มีใช่มั้ยครับ เพราะไม่ทุกคนที่สามารถจะเข้าถึงข้อมูลและการประเมินที่ถูกต้องได้เท่าเทียมกัน
คนดูละคร ด้วยความที่อยากจะพักผ่อน เพื่อคลายเหงา เพื่อฆ่าเวลาก็หลับหูหลับตาดูไป ละครน้ำเน่าเผ่ยแพร่ ค่านิยมที่ผิด ผ่านเข้าไปในจิตสำนึกโดยไม่รู้ตัว นี่ยังมินับถึงเยาวชนทีผ่านชีวิตมาไม่พอที่จะกรองเอาแต่สิ่งดีๆไว้ คนดูส่วนใหญ่ผมว่าอ่อนแอต่อการโฆษณาชวนเชื่อต่อการล้างสมอง
ผมก็มีทฤษฎีทางกระยาสารท (เลียนแบบพี่ Nuchan คิคิคิคิ) แต่มันยังไม่มีชื่ออ่ะ เช่นเวลาเราเดินไปตามถนนที่มีร้านอาหารเยอะๆในระดับเดียวกัน เห็นร้านนึงแต่งร้านสวย ดูสะอาด อาหารที่โชว์ดูน่ากิน แต่แทบจะไม่มีคนกินเลย แต่หันไปร้านข้างๆ ไม่ไกลกันนัก ร้านซอมซ่อ ไม่ตกแต่งเท่าไหร่ แต่คนเต็มร้านเลย ยังพอมีที่เหลือซํก 2-3 โต๊ะ เป็นคุณ คุณจะเลือกเข้าไปกินร้านไหนครับ มันเป็นลักษณะทางจิตวิทยาของคนครับที่จะเลือกในสิ่งที่ตัวเองไม่มีข้อมูลโดยอิงจากความนิยม เป็นหลัก
ทีนี้ถ้าร้านอาหารคือละครน้ำเน่า สาระที่มากับละครน้ำเน่า ถ้าทุกช่องมีแต่ละครน้ำเน่า ถ้าละครน้ำเน่าเท่านั้นที่มีเรตติ้งสูง
คุณว่า ค่านิยม ศีลธรรม จริยธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ของสังคมไทยจะบิดเบี้ยวไปได้ตามละครพวกนี้หรือเปล่า?

เพราะอิงตามทฤษฎีกระยาสารทของกระผม(ซึ่งยังไม่เป็นที่ยอมรับของชาวเรือนไทย)แล้ว คนส่วนใหญ่ก็จะเชื่อในสิ่งที่ตัวเองถูกป้อนบ่อยๆซ้ำๆและ มากๆ
นี่แหละครับที่ผมเชื่อว่าน่ากลัว ในระยะยาว