เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 8
  พิมพ์  
อ่าน: 26048 ทำไมละครไทยหลังข่าวมีแต่เรื่องรักใคร่ อิจฉาริษยา
Karine!!
ชมพูพาน
***
ตอบ: 130

กำลังค้นหาทางสว่างของชีวิต


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 05 ม.ค. 06, 23:15

 การีน เคยทราบมาว่าการนำนิยายไปสร้างเป็นละคร ส่วนใหญ่ถ้าผู้แต่งเรื่องยังอยู่ แน่นอนว่าผู้แต่งจะต้องทราบเรื่องของตนเอง ว่ากำลังจะกลายเป็นละคร และการดัดแปลงที่เกิดขึ้นเมื่อจะทำเป็นละครนั้น เจ้าของเรื่องดั้งเดิมก็จะได้รับทราบเรื่องที่ถูกเปลี่ยนแปลงนั้นๆก่อนที่จะมีการถ่ายทำจริงๆ เมื่อการดัดแปลงนั้นๆไม่ได้รับการยอมรับจากผู้แต่งเดิม ก็ต้องนำไปแก้ไขกันใหม่  เป็นเรื่องของการให้เกียรติซึ่งกันและกัน
...แต่ก็มีกรณีที่ว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นๆมีการแจ้งผู้แต่งจริง แต่ไม่สามารถเปลี่ยนเนื้อเรื่องได้ เนื่องจากมีการถ่ายทำละครไปแล้ว ผู้จัดละครจะอ้างเรื่องเวลาและเงินตราที่เสียไปจนไม่สามารถจะเปลี่ยนอะไรได้อีก...แม้เรื่องที่เอามาดัดแปลงนั้น จะกลายเป็นนิยายคนละเรื่องแล้วก็ตาม

***การีนว่านิยายน้ำเน่าจะอย่างไร ก็ล้วนเป็นเรื่องจริงที่อาจเกิดขึ้นได้ อาจเป็นมุมมองแคบๆนะค่ะ แต่บางสิ่งบางอย่างก็ล้วนเอาจากชีวิตจริงอยู่แล้ว***

***ละครบางเรื่องสนองความต้องการที่อยากระบาย คลายเครียด บางเรื่องก็สนองความสุขสมบูรณ(ในชีวิต อย่างเรื่องที่จบอย่างมีความสุข ก็ตอบสนองชีวิตชาวบ้านที่ไม่อาจมีเรื่องราวต่างๆที่สุขสมบูรณ์ไปทุกเรื่อง***

***อยากให้มีเรื่องดีๆเหมือนกันค่ะ แต่บางทีมันก็ไม่ช่วยให้ละครดัง (จริงๆแล้วคนจะสนใจ หรือไม่สนใจละคร มันก็อยู่ทีการโปรโมตด้วยนะค่ะ) หรือบางครั้งมันไม่เพียงพอที่ผู้จัดทำละครจะได้กำไร***

จะว่าไปแล้วมันเป็นเหตุผลที่ทุกๆคนบอกมาแล้วล่ะเนอะ
บันทึกการเข้า

การศึกษาก้าวไกล ประเทศไทยรุ่งเรือง (แต่ตอนนี้ตูรุ่งริ่งชอบกล)
เนยสด
ชมพูพาน
***
ตอบ: 153



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 05 ม.ค. 06, 23:39

 ฟังแล้ว อยากไปเที่ยวเมืองนอกจังเลยครับ
ตอบอย่างง่ายๆ เลยครับ คนไทยไม่ชอบเรื่องที่ต้องคิดตาม มันปวดหัว
หนังที่มี ถ้าไม่รักน้ำเน่า ก็พวกบู้หั่นแหลกครับ

ปล.อยากดู PRIME มากๆ ครับ
บันทึกการเข้า

คำฝอย
มัจฉานุ
**
ตอบ: 64

เรียน


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 06 ม.ค. 06, 03:52

 ประเด็นน่าคิดนะคะ แต่อันที่จริงดิฉันก็ชอบดูเหมือนกันล่ะค่ะ ละครน้ำเน่าหลังข่าว เพราะว่ามันดูแล้วก็เพลินๆ ดีค่ะ ไม่ต้องคิดตาม (เราสมองกลวงหรือเปล่าเนี่ย ท่าจะจริงแฮะ) ทั้งที่รู้อ่ะนะคะ ว่ามันสูตรเดิม ต้องแบบว่าพระเอกรวยล้นฟ้า ที่บ้านทำธุรกิจอะไรซักอย่างแต่ว่านั่งเฉยๆ แล้วมีเวลาตามก่อกวนนางเอก ส่วนตัวอิจฉาก็วันวันไม่ทำงานค่ะ เอาแต่ร้องกรี๊ดๆ แต่ดิฉันว่านะคะ ถ้าจะคิดว่าดูละครน้ำเน่า ดูน้ำเน่าแบบโบราณจะดีกว่า ที่นางเอกติ๋มๆ เรียบร้อยน่ะค่ะ แล้วก็สุดท้ายมีความสุขเพราะเธอเป็นคนดี เดี๋ยวนี้นะคะ ตัวอิจฉากะนางเอกแทบจะแยกกันไม่ออก กระโปรงก็ยาวแค่คืบเหมือนกัน ปากร้ายเหมือนกัน ดูได้ว่าใครเป็นนางเอกก็ต่อเมื่อตอนจบที่คุณเธอสมหวังกะพระเอก แค่นั้นล่ะค่ะ อีกอย่างหนึ่งที่ไม่ชอบคือ พวกข่าวบันเทิงงประโคมมาก เรื่องฉากรักๆ ใคร่ๆ อย่าว่าแต่ชนชั้นกลางถึงต่ำเลยค่ะ นักศึกษาป. โท ป. เอก วันไหนพระเอกจะปล้ำนางเอกต้องรีบกลับบ้านไปดู รู้สึกว่าเขาจะเอาเรื่องแบบนี้มาเป็นจุดขายมากไป ดิฉันว่าไม่ดีอ่ะค่ะ
บันทึกการเข้า
อ๊อฟ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 167

SIIT, TU


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 06 ม.ค. 06, 09:22

สงสัยน้องแพรคงไม่ได้ดูเรื่อง แด จัง กึม นะครับ ละครน้ำดีๆ ที่ขายได้ก็มี สื่อมวลชนโหวตให้เป็น ละครแห่งปี ครับ คนติดทั้งเมือง อีกเรื่องคือ F4 ที่แม้ว่าน้ำจะไม่ดีเท่า แต่ก็ทำเอาสาวไทยทั้งประเทศ คลั่งอยู่พักใหญ่ ยอดขายโฆษณากระฉูดอีกเรื่องครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 06 ม.ค. 06, 09:43

 ฟังคุณอ๊อฟออกคำรับรองแล้วยิ่งช้ำใจแทนน้องแพร  
แม่นางแดเธอก็เป็นสาวเกาหลี   ส่วนเจ้าหนุ่มสี่คนก็เมดอินไต้หวัน
ไม่มีละครไทยติดอันดับเลย

ส่วนคห. ๑๕ ของคุณการีน   ขอตอบว่าไม่ใช่
นักเขียนส่วนใหญ่ไม่สามารถทำได้อย่างที่คุณว่า   การทำสัญญาลิขสิทธิ์  ทางช่องมีแบบฟอร์มให้เสร็จสรรพ   และไม่ได้ให้สิทธิ์นักเขียนถึงขนาดนั้น
นักเขียนที่ต่อรองได้ขนาดนั้นเมืองไทยมีไม่กี่คน
บันทึกการเข้า
125 66
อสุรผัด
*
ตอบ: 2

ศึกษาอยู่ ม.6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รุ่น 66 (จะเรียนจบในปี 48 และเข้ามหาลัยปี 49 คับป๋ม)


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 06 ม.ค. 06, 21:01

 อาจจะเป็นเพราะละครแบบนี้สนองตอบสังคมที่เร่งรีบได้ดี
พลอตเรื่องเดิมๆ
พลาดไป 2-3 ตอน มาดูใหม่ก็ยังปะติดปะต่อเรื่องได้
ไม่ต้องจดจ่อทุกวัน สะดวกดี
บันทึกการเข้า
WHAt_LOvE
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 06 ม.ค. 06, 22:26

 ละคร ยังไงมันก็เป็นละครวันยังค่ำ ผู้ที่จัดทำก็พยามที่จะนำเสนอให้ถูกใจกลุ่มเป้าหมายเพียงเป้าเดียวหรือหลายๆเป้าหมายแต่จะให้ผู้จัดทำตรงตามเป้าหมายคุณคงไม่ได้หรือแม้แต่คนอื่น
ทางเลือกเขาก็มีให้เลือกตั้งหลายแนวหลายช่องหลายความสนใจ คุณสนใจอันไหนคุณก็ดูอย่างนั้นหากชีวิตวันๆมีแต่วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์โลกทั้งใบคงจะมีแต่ใบหน้าอันแสนบูดบึ้งของผู้คนไม่มีใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใสเหมือนอย่างทุกวันนี้
คุณรับได้หรอชีวิตที่แสนหนัก ใบหน้าที่อ่อนล้า นึกไม่ออกว่าละครน้ำเน่าที่คุณว่ามันดีอย่างไรลองวิธีนี้ดู
ลองนะทานอะไรก็ได้เข้าไปในกระเพาะที่คุณคิดว่ามันดีที่สุดสำหรับร่างกายคุณ แต่นะ แต่ไม่ต้องเข้าห้องน้ำไม่ต้อง ถ่าย ออกมาเลย คุณทำได้ไหมล่ะ
นั้นแหละ
สิ่งที่คุณทานก็คือนิยายฝรั่งที่ของคุณที่คุณซึ่งเป็นคนไทยยกย่องนักหนา
แล้วไอ้ห้องน้ำนี่แหละที่มันคือละครน้ำเน่าๆจากเมืองไทยที่คุณเหยียบ
(ไม่ได้ว่าใครผู้ใด แค่ความคิดเห็น"อยากได้ก็รับไป"ขอบคุณ)  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 06 ม.ค. 06, 23:03

อ่านตรรกะของค.ห. ๒๑ แล้วงงกับการให้เหตุผลและภาษาไทยที่ใช้จริงๆ
ขอทบทวนดูว่า เข้าใจตามนี้ถูกหรือไม่

๑) ผู้จัดละครพยายามนำเสนอให้ถูกใจกลุ่มเป้าหมาย เพียงเป้าเดียว หรือหลายๆเป้า

ตกลงว่าเขาพยายามทำให้ถูกใจ หนึ่ง หรือมากกว่าหนึ่งกันแน่  
คือถ้ามากกว่าหนึ่งก็บอกรวมไปเลยว่าหลายๆเป้า  ไม่ต้องยกคำว่า กลุ่มเป้าหมายเพียงเป้าเดียว   เพราะความจะค้านกันเอง

๒) แต่จะให้ผู้จัดทำตรงตามเป้าหมายคุณคงไม่ได้
ทำไมประชาชนไทยส่วนที่ตอบในบอร์ดนี้ถึงถูกประทับตราว่า "ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย"?ล่ะคะ
เขาไม่มีสิทธิ์รวมอยู่ใน "กลุ่มเป้าหมายเดียว"?บ้างหรือ

๓)ทางเลือกเขาก็มีให้เลือกตั้งหลายแนวหลายช่องหลายความสนใจ คุณสนใจอันไหนคุณก็ดูอย่างนั้น
เขาก็เลยหันไปดูหนังเกาหลี หนังไต้หวันกันไงคะ   ซึ่งไม่ได้เป็นผลดีกับละครไทย ไม่ได้ทำให้เรตติ้งดีขึ้น มีแต่เท่าเดิมหรือน้อยลง
อันที่จริงคำตอบทำนองว่า ไม่ชอบก็ไม่ต้องดู ไปดูอย่างอื่นเถอะ  มันไม่ได้ทำให้ละครไทยดีขึ้น

๔)หากชีวิตวันๆมีแต่วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์โลกทั้งใบคงจะมีแต่ใบหน้าอันแสนบูดบึ้งของผู้คนไม่มีใบหน้าที่ยิ้มแย้มอย่างทุกวันนี้
คุณคงตีึความว่าวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์คือวิชาที่ต้องเรียนในห้องเรียน    ออกจากห้องเรียนแล้วไม่มีอะไรเป็นวิทยาศาสตร์  ดูละครก็ไม่ใช่วิทยาศาสตร์
เอ เทคโนโลยี่ทั้งหลายที่อยู่เบื้องหลังการทำละคร มันไม่ใช่วิทยาศาสตร์หรอกหรือ
วิทยาศาสตร์ไม่ได้ทำให้คุณได้ยินเพลงประกอบละครที่ไพเราะ  ไม่ได้เห็นสีสันของฉากและเสื้อผ้าผ่านออกมาทางจอทีวี    ไม่ได้เห็นหน้าตานักแสดงที่ส่งมาตามสัญญาณหรอกหรือ  
คุณจะยิ้มแย้มได้อยู่หน้าจอ   ก็อาศัยวิทยาศาสตร์เป็นแรงดลบันดาลอยู่หลังฉากทั้งนั้น
วิธีคิดแบบแยกส่วนอย่างนี้ ไม่ได้นำไปสู่ความเข้าใจประเด็น

๕) เรื่องกินนิยายฝรั่งถ่ายเป็นละครไทยเนี่ย   เหมือนคุณบอกว่ากินเนื้อแล้วถ่ายออกมาเป็นผัก  มันไม่ค่อยจะถูกต้องทั้งหลักโภชนาการและการให้เหตุผล
แล้วทำไมจะต้องไปหมั่นไส้นิยายฝรั่ง      ละครไทยตั้งกี่เรื่องก็เอาพล็อตมาจากนิยายฝรั่ง    สิ่งที่เขาพูดกันในกระทู้นี้คือเนื้อหาที่ไม่ชักจูงใจให้อยากดู  แต่ก็มีคนค้านว่าดูแล้วเพลิดเพลินไม่ซีเรียส    ไม่ใช่เรื่องจะมาโมโหโทโสด่ากราดเหน็บแนมกัน
เมื่อไรคุณออกจากประเด็นละครมาว่าคนดู    กระทู้นี้ก็คงออกนอกเส้นทางไปกู่ไม่กลับ
ที่จำเป็นต้องพูดถึงคุณ ก็เพราะว่าไม่อยากรับ ค่ะ
ประโยคนี้ก็ประหลาด "อยากได้ก็รับไป "? ความคิดเห็นต่างๆเราก็ต้องเลือกรับเหมือนกัน   ไม่ใช่สาดโครมอะไรมาก็ต้องรับหมด  ถ้อยคำของคุณกระด้างมากเลยรู้ตัวหรือเปล่า
บันทึกการเข้า
patsakorn
อสุรผัด
*
ตอบ: 4

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 07 ม.ค. 06, 13:33

 ละครโทรทัศน์ปัจจุบันเป็นพาณิชยศิลป์แล้วครับ  เรื่องหนึ่งใช้ทุนไม่ตำกว่า 10 ล้านบาทขึ้นไป  ยิ่งถ้าเป็นละครที่ฟอร์มใหญ่ๆ ก็ใช้ทุนมากกว่า 30 ล้าน  เหตุนี้เองผู้ผลิตจึงต้องพึ่งพาระบบโฆษณา อีกอย่างคือละครโทรทัศน์ไทยจะไม่มีวันพัฒนาไปมากกว่านี้หรอกครับ  ถ้าหากยังเชื่อมั่นในระบบการวัดเรตติ้ง  ซึ่งเอาเข้าจริงก็ไม่มีใครตอบได้ว่าวัดด้วยวิธีอะไร  ใช้การวิจัยแบบไหน  ได้กลุ่มตัวอย่างมาได้อย่างไร  แต่คนในวงการนี้ก็เชื่อกัน

ผมเห็นด้วยทุกอย่าง  กับความเห็นข้างต้นที่ว่าละครไทยไม่พัฒนาเนื้อหาให้ดีกว่าที่เป็นอยู่ แต่อย่าลืมนะครับ การผลิตซ้ำอะไรสักอย่างในสังคม  ย่อมแสดงความหมายบางประการอยู่  ถ้าสังคมไม่ต้องการแล้ว  การผลิตซ้ำก็คงไม่มีความหมาย แต่เมื่อคนในสังคมยังต้องการดูละครแนวนี้อยู่ การผลิตซ้ำจึงเกิดขึ้น  ถ้าดูละครบางเรื่อง ผู้สร้างตั้งใจให้แหวกขนบจากละครน้ำเน่าไทย ปรากฏว่าไม่มีคนดู  โทษใครล่ะครับ  ต้องโทษพวกเรากันเอง ไม่สนับสนุนละครดีๆ  พอเรตติ้งไม่มี  ก็ไม่มีนายทุนคนไหนให้ผลิตอีก  มันก็ต้องกลับไปผลิตซ้ำเหมือนเดิม

ถ้าเราไม่ใช้อารมณ์คุยกันนะครับ แต่คุยกันด้วยเหตุผล ผมเชื่อว่าละครไทยต้องเปลี่ยนแปลง  แต่คนดูต้องพัฒนา และร่วมมือกันไม่ดูละครไทยแนวเดิมๆ (ที่หลายท่านในบอร์ดนี้ไม่ชอบน่ะครับ) เมื่อไม่มีคนดู ก็ไม่มีคนผลิตอีกต่อไป เชื่อสิ

แต่อย่าลืมนะครับ คนไทยส่วนใหญ่ของประเทศยังต้องการบริโภคละครแนวนี้อยู่ ผมไม่ได้มองละครไทยสูงส่งไปเท่าไหร่เลยครับ   เพราะความจริงแล้วละครไทยก็คือการปรับประยุกต์ของนิทานจักรๆวงศ์ๆ สมัยเก่า  แต่เปลี่ยนรายละเอียด แล้วปรับเนื้อหาให้เข้ากับยุคสมัย แต่อุดมการณ์หลายๆอย่างในเรื่อง ยังคงเดิม  เพราะอะไร  เพราะสังคมไทยไม่ได้เปลี่ยนแปลงใช่หรือเปล่า  หรือพูดอีกทีก็คือเปลี่ยนแต่วัตถุ แต่จิตสำนึกหรือวิธีคิดของคนไทยไม่ได้เปลี่ยนไปด้วย

ด้วยเหตุนี้  นักเขียนบทละครส่วนใหญ่ เขาจึงไม่ได้นึกถึงพวกเราในบอร์ดนี้หรอกครับ  เขาคิดถึงคนในต่างจังหวัด ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงของเขา

อ้อ  อีกอย่างนะครับ  เห็นใครพูดข้างต้นไม่ทราบว่าคนเขียนบทและทีมงาน ไม่ค่อยพัฒนาน่ะ  ไม่จริงนะครับ มีความรู้ทั้งนั้น อยากบอกว่าเท่าที่ทราบ ครึ่งวงการมั้ง จบจากสำนักเทาชมพู เอกการละครนั่นแหละครับ

ผ่านมาเลยเข้ามาตอบ  ไม่ทราบว่าพอจะรับผมเป็นสมาชิกบ้านเรือนไทยสักคนได้ไหมครับ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 07 ม.ค. 06, 18:33

 "ผมเชื่อว่าละครไทยต้องเปลี่ยนแปลง แต่คนดูต้องพัฒนา และร่วมมือกันไม่ดูละครไทยแนวเดิมๆ"

ใครที่เคยเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ คงจะรู้จักทฤษฎีความพึงพอใจ ที่เรียกว่า Utility Theory
แนวคิดทฤษฎีนี้ให้น้ำหนักที่ความพอใจของคน สุดแล้วแต่ว่าใครจะพึงพอใจอะไร
ยกตัวอย่างว่าภาพเขียนชิ้นหนึ่ง บางคนดูไม่ออกว่าเป็นรูปอะไร ให้ฟรียังไม่เอาเลย แต่บางคนกลับชอบ
ยินดีจ่ายเงินซื้อหามาประดับบ้าน

บังเอิญดิฉันไม่ติดโทรทัศน์ จึงไม่เคยติดตามละครหลังข่าว แต่ไม่เห็นด้วยที่ว่าคนดูต้อง
พัฒนา และร่วมมือกันไม่ดูละครไทยแนวเดิมๆ ลางเนื้อ ชอบลางยา คุณจะไปโน้มน้าว
ให้เขาชอบไม่ได้เลย มันเป็นสิทธิ์ส่วนตัวของแต่ละคนค่ะ

ที่ประเทศไหนๆก็ตาม free tv มีตัวเลือกให้ไม่มาก  
pay tv จึงเข้ามาเป็นทางเลือก มีหลายแนวให้เลือก (tailor-made)
ขอเพียงแต่ท่านผู้ชมยอมจ่ายเงินเท่านั้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 07 ม.ค. 06, 21:56

 ขอต้อนรับคุณภาสกรด้วยความยินดีค่ะ
ดูเฉพาะที่อ่าน  ยังไม่ต้องดูชื่อ  ก็เดาได้ว่าคุณคงรู้เบื้ืองลึกในวงการละครไทยอยู่มาก เรียกว่าระดับมือโปร
ถ้าจะเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเรื่องนี้หรือเรื่องอื่นๆอีกก็จะยินดีมาก

ถ้าจะเอาทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มาพูดอีก ก็คือหลักอุปสงค์อุปทาน ง่ายๆ  ตราบใดดีมานด์ให้มีละครอย่างที่เป็นยังคงเข้มข้นอยู่  ซัพพลายคือการผลิตแนวเดิมๆก็ยังมีต่อไป

เรื่องเรตติ้งก็เป็นอีกเรื่องที่ดิฉันข้องใจ  เคยคุยกับนักวิจัยมืออาชีพ   เธอบอกว่าเอาเข้าจริง
การเช็คเรตติ้งที่เป็นอยู่ทุกวันนี้  มันก็ไม่ได้เจาะลึกลงไปถึงการเช็คในกลุ่มเป้าหมายผู้บริโภคอย่างตรงตัว
การติดกล่องสัญญาณนั้นก็ไม่ได้เลือกว่าเป็นบ้านผู้บริโภคสินค้านั้นๆตามเป้าหมายหรือไม่
แต่ที่ใช้อยู่ก็เพราะยังไม่มีใครทำอะไรได้มากกว่านี้  ก็เลยใช้อย่างที่เป็นอยู่ไปเรื่อยๆ

เมื่อไรเปลี่ยนวิธีเช็คเรตติ้งใหม่  เลือกกลุ่มผู้บริโภคจากชนชั้นกลางที่มีกำลังซื้อมาก  แทนจะเป็นกลุ่มระดับล่างที่จำนวนมากแต่กำลังซื้อน้อย
ละครทีวีอาจเปลี่ยนโฉมก็ได้

นี่คือความเห็นหนึ่งค่ะ

ส่วนนักเขียนบทละครชาวเทาชมพูเอกการละครนั้น  ได้ถอดใจออกจากวงการเขียนบทไปหลายคนแล้ว
เหตุผลหนึ่งคือทำสิ่งที่ขัดต่อการถูกปลูกฝังมาไม่ได้
แต่อีกหลายๆคนก็ยังทำงานอยู่  เพราะมันก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ใกล้เคียงกับสาขาที่เรียนมา  พวกอักษรฯเขาเรียนหนักไปทางละครเวที  
ถ้าเป็นหนังกับโทรทัศน์ น่าจะพวกจบนิเทศมากกว่าค่ะ

ดิฉันเข้าใจว่า ปัจจุบัน นักเขียนบทละครที่ไม่ได้จบทางนี้โดยตรงจะมีจำนวนมากกว่าที่จบมาโดยตรง
บันทึกการเข้า
แพร
อสุรผัด
*
ตอบ: 33

doing MSc @ LSE, London


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 07 ม.ค. 06, 23:05

ดีใจที่ได้ยินเหตุผลและเรื่องราวเบื้องหลังจากท่านมืออาชีพทั้งหลาย

หรือนี่จะเป็นปัญหา "ไก่" กับ "ไข่" คะ

"ไก่" ก็คือ คนเขียนสร้างสรรค์บทที่ดีๆออกมาได้โดยใช้สมองและปากกาเป็นหลัก แต่ถ้านายทุนไม่ยอมควักกระเป๋า 30 ล้าน สร้างเป็นละคร บทดีๆอันนั้นก็อยู่ได้แค่บนโต๊ะ และที่นายทุนไม่ยอมควัก ก็ไม่ใช่ว่าไม่เชื่อว่าเป็นบทนั้นเป็นบทละครที่ดี แต่ไม่กล้าเสี่ยงที่จะเปลี่ยนแนวตลาด.  30 ล้านนะคะไม่ใช่ 30 บาท. อันนี้เป็นหลักพื้นฐานของการลงทุนอยู่แล้วค่ะ ลงทุนในสิ่งที่เห็นอยู่แล้วว่าได้กำไร ไม่ลงทุนในสิ่งที่ยังไม่แน่ใจ

"ไข่" ก็คือ ก็เพราะไม่มีอะไรให้ดู เลยต้องดูแบบเดิมๆ นายทุนก็นึกว่าคนดูชอบแบบเดิมๆ ทึกทักหาเหตุผลสารพัดเหมือนกับเหตุผลที่หลายคนยกมาเป็นตัวอย่างในความเห็นข้างต้น แล้วสรุปว่าบ้านเราต้องการหนังแบบนี้แหล่ะ. แบบที่ดูกันอยู่ 30 ปีแล้ว. จริงๆถ้ามีเรื่องดีๆมาให้ดู คนก็ดูอยู่แล้วค่ะ

เท่าที่อ่านมาทั้งหมด คนดูชอบเรื่องที่สนุกหายเครียด ดูแล้วบันเทิง สมหวัง แต่ไม่เน่า. ทำไมจะทำไม่ได้. คงต้องรอละครคุณภาพระดับอย่างหนัง "แฟนฉัน" หรือ "สุริโยทัย" ออกมากอีกซัก 10-20 เรื่อง ช่วยผลักดันตลาด. เปลี่ยนแนวคิดนายทุนหน่อยค่ะ.
บันทึกการเข้า
แพร
อสุรผัด
*
ตอบ: 33

doing MSc @ LSE, London


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 07 ม.ค. 06, 23:39

ตอนที่เรียนเรื่อง "เศรษฐกิจภาครัฐ" อาจารย์ยกตัวอย่างเกี่ยวกับเรื่อง bureaucratic organization ซึ่งเกี่ยวกับองค์กรที่ "ไม่ยอมเปลี่ยนแนวคิดเดิมๆ" เรื่องนึงมาให้ฟัง สนุกมาก เห็นภาพพจน์ อยากจะมา share กันตรงนี้ค่ะ

เรื่องมีอยู่ว่า

นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดลอง โดยจับลิง 10 ตัวมาอยู่ด้วยกันในห้องปิด กลางห้องมีบันไดวางอยู่ ที่ยอดบันไดมีกล้วยกระจาดใหญ่ นักวิทยาศาสตร์ติดเซนเซอร์ที่บันไดว่าถ้ามีใครเหยียบ น้ำฝอยเย็นเจี๊ยบจะถูกฉีดทั่วห้อง

ลิงใจกล้าตัวแรก เหยียบบันได หวังจะกินกล้วย แต่ทันทีที่เท้าแตะบันได ฝอยน้ำเย็นก็ฉีดลงมา ลิงตัวอื่นหนาวสั่นและโวยวายดึงลิงใจกล้าตัวนั้นกลับลงมา หลายวันต่อมาก็มีลิงใจกล้าอีกหลายตัวก้าวขึ้นบันได แต่ก็เกิดเหตุการณ์เดิมทุกๆครั้ง จนไม่มีลิงได้กินกล้วย และ ลิงทั้ง 10 ตัวเชื่อสนิทใจว่ายังไงก็กินกล้วยไม่ได้ โดยไม่มีตัวไหนกล้าแตะบันไดอีกเลย

นักวิทยาศาสตร์ จึง ปิดเครื่องฉีดน้ำ (แปลว่าหลังจากนี้ ถ้าใครเหยียบบันได ก็ไม่มีใครเปียกแล้ว)

นักวิทยาศาสตร์ เริ่มเอาลิงเก่าออกจากห้อง 1 ตัว และ เอาลิงใหม่  (ที่ไม่เคยเห็นน้ำฉีด) เข้ามาแทนที่ 1 ตัว แน่นอน ลิงตัวใหม่เห็นกล้วยก็วิ่งรี่ไปที่บันได แต่ไม่ทันจะถึงบันได ลิงเก่า 9 ตัว จะตระครุบมันไว้แล้วก็โหวกเหวกโวยวาย เป็นอย่างนี้อยู่ซัก 3-4 ครั้งลิงใหม่ก็เลิกล้มความตั้งใจ และคงเชื่อว่ามีอะไรไม่ดีซักอย่างเกี่ยวกับบันได

วันถัดมานักวิทยาศาสตร์ก็เอาลิงเก่าออกอีก 1 ตัว และเอาตัวใหม่ เข้ามาอีก 1 ตัว เหตุการณ์ก็เกิดคล้ายเดิม ลิงใหม่ตัวที่ 2 โดน ลิง 9 ตัวในห้องตะครุบไว้ไม่ให้แตะบันได ลิงใหม่ตัวแรก ก็เข้าร่วมช่วยตะครุบด้วย

นักวิทยาศาสตร์ ทำอย่างนี้จนครบ 10 วัน ลิงใหม่ตัวที่ 10 ถูกนำเปลี่ยนกับลิงเก่าตัวสุดท้าย แน่นอนลิงใหม่พุ่งเข้าหาบันได แต่มันถูกตะครุบ ด้วยลิง 9 ตัว (ที่ไม่เคยเห็นน้ำฉีด แต่เชื่อว่ามีอะไรไม่ดีเกี่ยวกับบันได แม้มันทั้งหมดจะไม่เคยเห็นว่าสิ่งนั้นคืออะไร เหมือนกับคนที่ชอบใช้คำว่าไม่เชื่ออย่าลบหลู่) นักวิทยาศาสตร์ เปลี่ยนลิงต่อไปอีก 30 ตัว (30 วัน) ปรากฏว่าเกิดเหตุการณ์เดิม และไม่มีลิงตัวไหนได้กินกล้วยเลย

ก่อนเดินออกจากห้อง อาจารย์ถามว่า "... what if you were the 31st monkey........"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 07 ม.ค. 06, 23:44

 พูดกันอย่างยุติธรรม  ที่จริงแล้วนายทุนเขาก็คืนกำไรให้คนดูเหมือนกันค่ะ  ในรูปของละครชนิิดเอา"กล่อง"?มากกว่า "เงิน"    
คือเป็นละครที่สร้างขึ้นเพื่อให้เข้าขั้นการส่งเข้าประกวดรางวัลโทรทัศน์ต่างๆ
เช่นละครส่งเสริมสังคมดีเด่น ละครชีวิตดีเด่น ฯลฯ

ถ้าละครประเภทนี้  นายทุนยอมว่าเรตติ้งอาจไม่สูง   ดูกันแต่เฉพาะชาวเมืองหลวง
ต้่นทุนการผลิตก็อาจจะสูงตามไปด้วย  สปอนเซอร์สนใจน้อย
แต่ว่าเขาผลิตละครแบบนี้มากไม่ได้    ได้ปีละเรื่องสองเรื่อง ในแต่ละช่อง

คุณแพรลองสังเกตดูในเน็ต   ละครแบบนี้มักจะได้รับคำชมในเว็บบอร์ดต่างๆ แต่สักพักเดียวก็จะมีหนังสือพิมพ์หน้าบันเทิง แถลงว่าเรตติ้งไม่ดี
กับผู้ที่ทำงานเบื้องหลัง  รู้เรื่องเรตติ้ง ก็จะออกมายืนยันตรงกัน
เสียงชมก็จะแผ่วลงไป หรือไม่ก็เกิดการเถียงกัน
พอจบเรื่องแบบนี้ เรื่องต่อมาก็จะมีเสียงร้องยี้ว่าน้ำเน่า  แต่เรตติ้งก็จะตามมาว่าถล่มทลาย
วนเวียนกันเป็นวงกลมอยู่แบบนี

ในเมื่อรสนิยมคนดูยังไม่เปลี่ยน และกลุ่มเป้าหมายคือต่างจังหวัดอย่างที่คุณภาสกรบอก
คุณแพรคงต้องรออีกหลายๆๆๆปี
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 07 ม.ค. 06, 23:48

 เอ   เราเป็นลิงหมายเลขเท่าไรล่ะเนี่ย
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.072 วินาที กับ 19 คำสั่ง