เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 8
  พิมพ์  
อ่าน: 26029 ทำไมละครไทยหลังข่าวมีแต่เรื่องรักใคร่ อิจฉาริษยา
แพร
อสุรผัด
*
ตอบ: 33

doing MSc @ LSE, London


เว็บไซต์
 เมื่อ 04 ม.ค. 06, 22:57

ทำไมละครไทยหลังข่าวมีแต่เรื่องรักใคร่ อิจฉาริษยา

เมื่อก่อนไม่แพรไม่เคยสนใจละครหลังข่าว เพราะไม่มีเวลาได้นั่งดู แต่ซักปี 2 ปีที่ผ่านมาพอเริ่มได้อ่านนิยายไทย (2-3 เรื่อง) และฝรั่ง (รวมทั้ง Harry Potter เล่ม 6    ด้วยนะพี่ paganini) ก็เริ่มรู้สึกว่าศิลปะด้านตัวหนังสือแขนงนี้ก็สวยงาม และก็สวยงามไม่แพ้งานดนตรีด้วย

แต่พอเริ่มดูละครหลังข่าวเมืองไทย ก็เริ่มรู้สึกทำให้เริ่มหมดความศรัทธาอีกครั้ง และมันก็ไม่ได้สวยงามเหมือนตัวหนังสือ เนื้อเรื่องมีแต่แก่งแย่ง ชิงดีเด่นทางด้านอารมณ์และความรัก บทละคร ก็บรรยายแต่ด้านอารมณ์และความต้องการทางวัตถุ ต้องมีนางอิจฉา แว๊ดๆ และ ตัวตลกปัญญานิ่ม เป็นตัวชูโรง และเป็นแนวซ้ำๆกันทุกช่อง จำได้ว่ากลับมาบ้าน สองปีก่อนยังได้ดูเรื่อง เส้นไหมสีเงิน ยังให้ความรู้สึกดี ที่แตกต่างบ้าง แม้จะไม่สิ้นเชิง

ทำไมเมืองไทยไม่มีละครหลังข่าว แบบ เรื่อง CSI ที่ตัวเอกเป็นนักสืบสวนอาชญากรรม หรือ เรื่อง PRIME ที่ตัวเอกเป็นนักคณิตศาสตร์ คอยใช้คณิตศาสตร์แก้ปัญหา ถามพี่ชาย เค้าบอกว่า ตั้งแต่จำความได้ ไม่เคยเห็นละครหลังข่าวที่มีตัวเอกเป็นนักวิทยาศาสตร์ (แบบ Mc Guyver) ถามแม่ซึ่งเป็นแฟนละครหลังข่าว ก็บอกว่าไม่เคยเห็นเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
แพร
อสุรผัด
*
ตอบ: 33

doing MSc @ LSE, London


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 04 ม.ค. 06, 22:58

อยากให้มีเรื่องราวประเภท ที่ได้แสดงให้เห็นความสามารถ ของตัวละครในบท ถ้าจะให้คิดใกล้ตัว ก็เช่น ตัวเอกเป็นนักเศรษฐศาสตร์ ที่อาจทำงานที่กระทรวง และต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจต่างๆของประเทศไทย ที่แต่ละตอนต้องตัวเอกของเราต้องพบกับปัญหาซับซ้อน ต้องใช้ความสามารถที่เรียนมา แก้ปัญหาทีละเปราะ (แน่นอน คงต้องมีเรื่องความรักระหว่างนางเอก กับพระเอกเจ้าของบริษัทใหญ่ เข้ามาเพิ่มความซับซ้อนและสีสัน)

หรือ แม้แต่ ตัวเอกเป็นทนายความ ที่ต้องว่าความในคดีที่น่าสนใจ และตื่นเต้นทุกๆคืน (คล้ายๆกับเรื่อง Ally McBeal นั่นสินะ ทำไมเรื่อง Ally McBeal ถึงได้ถ่ายทอดเรื่องราวของทนายความสาวโสด ออกมาได้อย่างสนุกและน่าติดตาม และสวยงาม บางตอนสนุกบางตอนเศร้าจนน้ำตาซึม แถมแทรกเรื่องราวของความเป็นทนาย และไม่ต้องมีตัวอิจฉา แว๊ดๆ)
บันทึกการเข้า
แพร
อสุรผัด
*
ตอบ: 33

doing MSc @ LSE, London


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 04 ม.ค. 06, 22:59

 พี่ชายมีสมมติฐานว่า คนที่จบด้านนิเทศ วารสาร ที่เป็นส่วนสำคัญในวงการสื่อบ้านเรา มักจะไม่คุ้นเคยกับงานนอกอาชีพตัวเอง เวลาเขียนเรื่องราวก็เป็นเรื่องใกล้ตัว จะออกไปบ้างก็ไม่ไกลตัวนัก ส่วนนักวิทยาศาสตร์ก็ไม่ค่อยอยากจะเขียน หรือ เขียนแล้วถ่ายทอดได้ไม่สวยงามน่าอ่าน ซึ่งพิสูจน์ได้ง่ายๆจากแผงหนังสือ หนังสือ Top 10 จะเป็นเรื่องราวชีวิตดารา
บันทึกการเข้า
แพร
อสุรผัด
*
ตอบ: 33

doing MSc @ LSE, London


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 04 ม.ค. 06, 23:01

 ทำไมบ้านเราไม่มีคนแบบ Micheal Chrichton หรือ John Grisham หรือมีแต่ไม่ได้เกิด(ในวงการ)

ขออภัยคุณเทาชมพู ที่มาใช้เนื้อที่บนเรือนมาบ่นเรื่อยเปื่อย พรุ่งนี้จะกลับไปเรียนแล้ว คงห่างละครไทยไปอีกสักพัก พอให้หายเอือม    
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 05 ม.ค. 06, 00:06

 ดีใจครับที่เยาวชนไทยอย่างน้องแพรยังมีอยู่

ทีนี้การละครหลังข่าวมันเป็นเช่นไรก็เพราะว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเช่นนั้นไงครับ อาจจเป็นเรื่องที่น่าเศร้าเพราะว่าสังคมไทยส่วนใหญ่เป็นยังงั้นจริงๆ

ทฤษฎีหนึ่งที่ผมมักจะพูดกับเพื่อนๆประจำคือ แฟนละครน้ำเน่าส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลางค่อนไปทางล่าง จนถึงชั้นล่าง ซึ่งกลุ่มนี้มักจะทำงานหนัก หรือทำงานอะไรที่ค่อนข้างเครียดมากๆ พอถึงเวลาพักผ่อน ก็อยากจะปลดปล่อยความเครียดเหล่านั้นที่เจอมาจากที่ทำงานเช่นโดนหัวหน้าด่า โดนลูกค้าโวย หรือดูถูก เครียดจัด เลยมาหาเอาจากละคร จะเห็นว่าตัวร้ายมักจะได้รับผลกรรมในที่สุด หรือมีการเชือดเฉือนทางคารมอย่างสะใจ ด้วยในชีวิตจริง บางคนหาคำเถียงให้ตัวเองไม่ได้เลยต้องมา นั่งสร้างความเครียดแล้วปลดปล่อยเอาจากละครประเภทนี้
ส่วนคนที่มีการศึกษาสูงและอยู่ในสังคมที่กดดันน้อยกว่าก็ไม่จำเป็นต้องพึ่งพา
จริงๆถ้าละครพวกนี้รับใช้ชนชั้นที่ผมกล่าวมาแต่อย่างเดียวมันคงไม่เป็นไรเท่าไหร่เพราะเราต้องยอมรับในความสุขของผู้อื่น ที่น่าห่วงคือ เยาวชนที่กำลังโตมา ได้ดูหนัง ละครแบบนี้เขาจะยึดถือว่าของเหล่านี้เป็นธรรมดา ความอิจฉาริษยาเป็นเรื่องปกติ ถ้าใครมาด่าเรา เราต้องด่ากลับ ถือว่าเป็นการโต้ตอบแบบธรรมดาของสังคม มันเละเทะไปหมด
อีกด้านหนึ่งผู้จัดละครทีวีของเราส่วนใหญ่มักจะเป็นนักแสดงอย่างเดียว เป็นนักธุรกิจ คือมันไม่ใช่มืออาชีพน่ะครับ อย่างที่ผมเคยโพสต์ไว้ว่า ละคร ภาพยนต์เป็นศิลปะที่ต้องอาศัยศิลปะหลากหลายมารวมกัน ผู้กำกับผู้ดูแลต้องมีความเข้าใจและความซาบซึ้งต่อศิลปะแขนงนี้เป็นอย่างสูงจึงจะสามารถนำวิวัฒนาการมาสู่ศิลปะละครทีวีที่ดีและนั่นคือ มีส่วนในการชี้นำสังคมด้วย
(เลี่ยงไม่ได้เลยที่จะพูดว่าละครทีวี หรือรายการทีวีโดยทั่วๆไปมีส่วนอย่างมากในการชี้นำให้สังคมคิดอย่างไร มันเป็นเครื่องมือในการ propaganda ไงครับ)
วันก่อนผ่านตาเห็นรายการมวยปล้ำน้าติง ธรรมดามวยปล้ำก็เป็นรายการที่ค่อนข้างรุนแรงก้าวร้าวอยู่แล้ว แต่รายการวันนั้นคือ มี 2 ฝ่าย ปล้ำกันแล้วฝ่ายหนึ่งโกงเอาพวกมารุม อีกฝ่ายก็ยกพวกมาสู้กัน เละเทะทั้งเวที ถ้าจะฉายให้ดูว่าเกิดเรื่อง ให้มีซักแว้ปก็พอว่า แต่นี่มันตีกันมั่วซั่วแบบนี้นานเป็น 10 นาที ผมเลยรู้สึกแย่ว่าเมื่อก่อนมี กบว. ที่มีหลักการทีดีใช้ได้ แต่เนื่องจากกลุ่มคนที่เป็นกรรมการกลับไร้วิจารณญานตัดแหลก เลยทำให้ชาวบ้านหมั่นไส้จนต้องยุบหน่วยไปเลย

ผมยังคิดเล่นๆเลยว่าถ้ามีตังค์ไปเช่าเวลาทีวี อยากจะเอาเวลามาแล้วเชิญผู้เชียวชาญ อาจารย์ นักศึกษาประชาชน มานั่งวิจารณ์รายการอื่นๆ ของทุกช่องว่า รายการไหน ดีแย่ยังไง แล้วให้ผู้ชมโหวตว่ารายการนี้ควรอยู่หรือไป เป็นการตรวจสอบสังคมทางหนึ่ง
แต่เพื่อนๆผมบอกว่า กลัวว่ารายการของเอ็งนั่นแหละจะโดนโหวตให้ออกไปก่อนเลย เหอๆๆๆ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 05 ม.ค. 06, 00:14

 คุณ paganini อย่าว่ามาก จริงๆด้วยค่ะ ทำงานมาเหนื่อยๆ พอถึงเวลาพักผ่อน ก็อยากจะปลดปล่อย
ความเครียดเหล่านั้น เหมือนอ่านนิยายสักเรื่อง ถ้าจบแบบ not happy ending ขี้เกียจอ่านค่ะ
เพราะรู้สึกว่าผู้แต่งทำลายจิตใจเกินไป อย่างคู่กรรม จบแล้วต้องตายจากกัน พอรู้อย่างนี้ใจก็ไม่จดจ่อ
เพราะเดี๋ยวต้องมานั่งซับน้ำตา

ขอดูเรื่องเน่าๆ มีความสุขดี แต่คนข้างๆชอบกระแนะกระแหน
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 05 ม.ค. 06, 00:33

 เป็นเรื่องไม่ตลกของละคร(ที่พยายามตลก) ของคนไทยครับ
สังเกตได้ว่าถ้าไม่ใช่เรื่องที่เกินอาจเอื้อมแล้ว ตัวตลกที่บางครั้งบทไม่ควรจะมีอยู่ หรือเอนเอียงไปทางนั้นก็มักจะต้องมีอยู่ หรือถูกยัดเยียดให้มีบทจนได้

ผมไม่ปฏิเสธอ่ะ ว่าบางครั้งละครแบบนี้ก็ดูสนุกสนานดีอยู่นะ (ถ้าไม่ได้คิดอะไร) เพราะเนื้อเรื่องมันก็ถูกผู้กำกับ ถูกคนเขียนบทปรุงแต่งจากบทละครเดิมให้เอนเอียงไปทางนั้นๆอยู่แล้ว... แต่คิดอีกที เหมือนดูถูกคนดูโทรทัศน์หรือเปล่า ที่พลอตเรื่องของละครในตลาดไม่ว่าจะแนวไหนก็ต้องออกมาเป็นแบบเดิมๆ (แม้กระทั่งละครชีวตที่ไม่ใช่เรื่องอะไรตลกเลย คนไทยก็ยังต้องมีตัวตลกที่เล่นมุขไม่เข้ากับเนื้อเรื่อง - เชื่อเขาเลย)

ละครอีกหลายเรื่อง ที่เล่นพาดพิงถึงพระราชวงศ์ พระราชนิกูล ก็เขียนให้นางร้ายซึ่งเป็นพระราชนิกูล หรือหม่อมห้ามประพฤติตัวไปในทางที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่นัก (ถึงจะไม่มีใครกล้าปฏิเสธ ว่าไม่มีพระราชนิกูลที่ประพฤติตัวแบบนี้จริง) แต่การเขียนในลักษณะนี้เองก็เหมือนการ "แหย่" อยู่หรือเปล่า (ผมก็ไม่แน่ใจนะครับ)

และที่ผมไม่ค่อยชอบที่สุด บ่อยครั้งที่มีการนำละคร "อิง" ประวัติศาสตร์มาเล่นโดยการเติมแต่งบทให้ออกไปในทางละครตลาด นักแสดงซึ่งแสดงเป็นพระบรมวงศ์ในอดีตหลายพระองค์ก็ต้องพูดบท หรือแสดงท่าทางที่คนธรรมดาในปัจจุบันจำนวนมากก็ยังไม่กล้าพูด ไม่กล้าทำ (ไม่รู้จะทำไปทำไม เอาใจคนเล่นหรือคนดูก็ไม่รู้ แต่เจ้านายหลายพระองค์ที่ต้องมีภาพลักษณ์ที่ไม่ดีในสายตาคนในชาติ ทั้งๆที่แทบจะไม่ได้มีพงศาวดารบันทึกถึงหนะ ลุกขึ้นมากอบกู้พระเกียรติที่เสียไปจากฝีมือผู้กำกับหรือคนเขียนบทไม่ได้แน่ๆ)



น้อง ป. 5 คนหนึ่งเคยเอาหัวข้อโต้วาทีมาให้ผมช่วยดูบทที่เขาจะขึ้นพูดในหัวข้อที่ว่า "ยอมเสียเงินติด UBC ดีกว่าปล่อยให้ลูกของท่านดูละครไทย" คุณๆว่ามันจริงมั้ยเนี่ยะ หิหิ
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 05 ม.ค. 06, 00:37

 พี่ Nuchan ครับ สำหรับผมงานศิลป์ที่ดีมันมีวิธีที่จะซาบซึ้งได้หลายระดับ หลายแบบ คนที่อยากดูเอามันส์ก็ดูได้ คนที่ดูแล้วขบคิดปรัชญาชีวิตก็ดูได้  ไรเงี้ยครับ เพราะฉะนั้นผมก็ไม่ว่าหรอกครับ แต่ทำอย่างไรที่จะควบคุมมันได้ โดยพิจารณาผลพวงที่จะเกิดแก่เยาวชนเป็นหลัก

จุดสำคัญคือผู้จัดทำละครหรือคนเขียนเรื่องและบทในบ้านเราเป็น คือทำงานสนองความนิยมของคนดูมากเกินไป  แทนที่จะเป็นตัวของตัวเอง สร้างสรรค์ในสิ่งที่ตัวเองคิดแล้วนำเสนอให้ประชาชนเลือกเสพ กลับกลายเป็นว่าทำตามรสนิยมผู้เสพ ทั้งนี้เนื่องจากทุกคนอยากได้เงินนั่นแหละครับ
Point ที่น้องแพรชี้ไว้ก็น่าคิดครับ เรียกว่าคนทำหนังละครนั้นแคบเกินไปไม่มีความรู้กว้างขวาง (ซึ่งเป็นลักษณะของเยาวชนไทยสมัยนี้ทั้งหลาย ที่แย่ที่สุดคือไม่ค่อยจะสนใจใฝ่รู้ จากประสบการณ์ส่วนตัวผมว่าเยาวชนในประเทศแถบยุโรปนั่นใฝ่รู้รอบรู้อย่างน่าชื่นชม)
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 05 ม.ค. 06, 00:39

 ติด UBC ก็ดูแค่ช่อง 23, 24, 25, 26, 39, 40 ไม่คุ้มเดือนละ 1,500 บาทค่ะ
ติด Astro ดูได้เหมือนกัน เดือนละ 700 บาท คุ้มกว่าแฮะ แต่ไม่มีภาษาไทยเท่านั้นเอง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 05 ม.ค. 06, 01:06

ละครทีวี เป็นธุรกิจบันเทิง  ไม่ใช่งานที่มุ่งทางด้านศิลปะ  ซึ่งเสพเพื่อความอิ่มใจในความงามอย่างเดียว ไร้ผลประโยชน์เกี่ยวข้อง
ละครทีวีเป็นสินค้าผลิตโดยผู้จัดละครซึ่งทำในรูปของบริษัท   เช่นเดียวกับสินค้าทั้งหลาย  ถ้าจะอยู่ยงคงกระพันได้ก็ต้อง "ขายออก"  มีกลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มผู้บริโภคที่บริษัทจะต้องจับให้ได้ว่านิยมบริโภคสิ่งใดแบบไหน
เนื่องจากต้นทุนในการผลิตสูงมาก   จะผลิตเพื่อชนกลุ่มน้อยไม่ได้

กลุ่มผู้บริโภคส่วนใหญ่นิยมแบบไหน  สินค้าก็ออกมาในรูปแบบนั้นละค่ะ

อเมริกามี Soap Opera น้ำเน่าจะตายไป   ไม่ได้ดีวิเศษไปกว่าไทยหรอกค่ะ  
ผู้บริโภคที่มีืทางเลือกก็ดูยูบีซี
บันทึกการเข้า
แพร
อสุรผัด
*
ตอบ: 33

doing MSc @ LSE, London


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 05 ม.ค. 06, 10:51

อย่าเข้าใจผิดนะคะ ที่เขียนมาทั้งหมด เป็นเพียงคำถามที่ค้างในใจ ไม่ได้มีเจตนาจะตำหนิใคร หรือไม่ได้จะบอกว่าศิลปะชนิดไหนสูงส่งกว่าอันไหน แต่ละคนย่อมมีความสุขกับศิลปะที่ตัวเองชอบ ไม่จำเป็นว่าศิลปะนั้นจะสูงส่งหรือต่ำต้อยในสายตาคนอื่น

ตัวเองก็เริ่มอ่านนิยายไทยเรื่อง เรือนมยุรา เป็นเรื่องแรก ด้วยความบังเอิญ และก็เริ่มที่ชอบในความสวยงามของตัวอักษรและนิยายไทย การถ่ายทอดเรื่องราวผ่านตัวหนังสือให้งดงามทำได้ยาก และเป็นศิลปะขั้นสูง

แต่ถ้ามองในแง่เศรษฐศาสตร์ประกอบด้วย การถ่ายทอดเรื่องราวบนแผ่นฟิล์ม ยิ่งยากกว่า (อย่างที่คุณเทาชมพูบอกค่ะ) นอกจากความงดงามทางศิลป์ขององค์ประกอบภาพ และ ความงดงามของบทละครแล้ว คนทำละครก็มีข้อผูกมัดเงื่อนไขของงบประมาณมามัดคอไว้อีกหนึ่งทอด

แม้จะฟังเหมือนบ่น แต่แค่อยากวิงวอน ให้ช่วยผลักดัน ให้ค่อยๆเปลี่ยน หรือ แทรกเรื่องราวมุมมองด้านอื่นๆ เข้าไปในนิยาย เช่น (ด้วยมุมมองแคบๆของตัวเอง) เรื่อง Ally McBeal ที่โครงเรื่องหลักก็เป็นการค้นหาความรักที่แท้จริงของ Ally เพียงแต่ตลอดทั้งเรื่องมีการแทรกเรื่องราวของทนายความ มาเป็นจุดเด่นของเรื่อง มีการว่าความจริงๆ มีปัญหาจริงๆ มีการแก้ปัญหา ได้ทั้งความรู้และความบันเทิงไปพร้อมกัน

บ้านเรามีคนเก่งก็ไม่น้อย น่าจะทำเรื่องราวที่ดีๆและถูกใจตลาดไปในคราวเดียวกันได้ รู้ค่ะว่ายาก แต่ไม่น่าจะเหลือบ่ากว่าแรงนะคะ
บันทึกการเข้า
sound engineer
อสุรผัด
*
ตอบ: 37

ทำงาน บ.ทอป ออดิโอ จก.


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 05 ม.ค. 06, 11:31

 เกมโชว์ ละครน้ำเน่า รายได้ดีจะตายครับผมเห็นตรงข้ามoffice เขาเปลี่ยนรถขับเป็นว่าเล่น ทั้งที่เวลาดูออกอากาศ ไม่เห็นมีสาระอะไร เอาตลกมาตบหัว เล่นคำหยาบคาย หรือ เชิญดารานุ่งน้อยห่มน้อยมายั่วน้ำลายชาวบ้าน แต่ก็มีบางเจ้านะครับ ลงทุนทำอะไรเพื่อสังคมจริงๆ ไม่ใช่แค่หวังเงินsponser
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 05 ม.ค. 06, 13:56

 จริงๆแล้ว point ของผมไม่ได้อยู่ที่ว่าจำเป็นต้องเป็นศิลปะหรือไม่หรอกครับ แต่คิดว่าคนทำต้องตระหนักว่างานของตัวเอง มีอิทธิพลต่อสังคม ดังนั้นควรจะมีความรับผิดชอบ
แน่นอนละครับ ทั้งหลายทั้งมวลของละครที่ออกมามีทั้งดีและไม่ดี ที่ดีเราไม่พูดถึง เราสนใจแต่เนื้อร้ายมากกว่าครับ ละครช่อง 3 ช่อง 7 ที่ดีๆก็มีแต่น้อยครับ มักจะไม่ค่อยฮิตเสียด้วยสิ

ละครน้ำเน่า หลายต่อหลายครั้งแสดงถึงธรรมชาติฝ่ายต่ำของมนุษย์ ปลดปล่อยออกมาให้เห็นเป็นเรื่องธรรมดา แทนที่จะแนะนำวิธีที่จะควบคุมไว้ อย่างที่คุณ sound ว่าไว้ ในเมื่อคุณทำงานแล้วได้รายได้ดีอย่างยิ่ง  สมควรมากๆที่จะทำด้วยจิตสำนึกมากกว่านี้

ผมเองไม่ค่อยได้ดูละครทีวีเท่าไหร่ แต่เท่าที่เคยสัมผัสผมว่าละครของ ญี่ปุ่น จีน เกาหลี ทำได้ดีพอสมควรเลย คืออย่างเช่นหนังรักโรแมนติก  ไม่ได้มุ่งแค่เรื่องรักเศร้าโศกสมหวังอย่างเดียว แต่มันมีอะไรที่จะสื่อถึงผุ้ชมให้ผู้ชมได้คิดได้ไตร่ตรองกัน หรือหนังกำลังภายในก็มักจะมีข้อคิด หนังญี่ปุ่นบางทีซับซ้อน คนดูต้องคิดตาม(เดี๋ยวจะหาว่าเครียดอีก) แต่เมื่อคิดตามแล้วสนุก(การคิดไม่ได้นำไปสุ่ความเครียดซะทั้งหมด ใครที่คิดแล้วเครียดผมว่าพวกนั้นสมองกลวงแล้ว) หรือนังซับซ้อนซ่อนเงื่อน น่าติดตามตื่นต้น  แต่ละครไทยมันไม่ใช่เลยครับ  มันแทบจะไม่มีอะไรเลย ความซับซ้อนแยบยลในการดำเนินเรื่อง สารที่จะสื่อถึงผุ้ชม ฯลฯ เทียบแล้วแย่กว่าของเพื่อนบ้านไปหมดเลย

น้องแพรครับ
บ้านเราคนเก่งมีไม่น้อยแต่ไม่ได้แสดงฝีมือ ถ้าวงการไม่ก้าวหน้าเมื่อก่อนเขาบอกว่าเป็นเพราะคนเก่งถูกปิดโอกาส แต่ผมว่าปัจจุบันนี้ คนเก่งไม่กล้ามากกว่า เก่งแต่อยู่เฉย เก่งแต่ไม่กล้าแหวก เลยมีแต่คนไม่เก่งออกไปเต้นรำบนเวที
บันทึกการเข้า
paracetamol
อสุรผัด
*
ตอบ: 7

สกลนคร


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 05 ม.ค. 06, 14:23

น้อยครั้งที่เห็นผู้จัดละคร ดำเนินเรื่องตามบทประพันธ์ จะกระโดดไปมา บางครั้งกลายเป็นคนละเรื่องก็มี

ดูภาพยนตร์เรื่องนึง ชื่อเรื่องทวิภพ ติดตามอ่านตั้งแต่อยู่ในหนังสือสกุลไทย มาเป็นละครก็ OK เป็นภาพยนตร์หลายรอบก็คล้าย ๆ สุดท้ายล่าสุดทวิภพเวอรชั่นใหม่ เป็นคนละเรื่องไปเลย ไม่มีความงดงามของความรักความผูกพัน ความเรียบง่ายในวิถีไทยแบบเดิม ๆ แฟนคุณทมยันตีคงกลุ้มใจน่าดู

แต่ก็ยังขอเป็นกำลังใจให้ผู้จัดละครที่ดี ๆ ได้นำเสนอละครเพื่อสังคมบ้าง  แทรกให้ข้อคิดทีละบททีละตอนก็ได้ เป็นการคืนกำไรสู่ผู้ชม
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 05 ม.ค. 06, 20:34

 1) อยากทราบว่า ถ้าผู้กำกับซื้อลิขสิทธิ์นิยายไปสร้างละคร แล้วจำเป็นต้องดัดแปลง
จากเนื้อเรื่องเดิม เช่นในหนังสือพระเอกตาย แต่ในหนังไม่ตายหรือตายช้าหน่อย (พยายาม
จะนึกตัวอย่างค่ะ) อย่างนี้เขาต้องทำความตกลงกับเจ้าของนิยายก่อนไหมค่ะ

2) สำหรับงานวรรณกรรม สมมติว่า สนพ. ซื้อลิขสิทธิ์แฮรี พอตเตอร์ เพื่อพิมพ์ขาย 10,000 เล่ม
ในทางปฏิบัติ จะทราบได้อย่างไรค่ะว่าไม่ใช่ 20,000 เล่ม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.046 วินาที กับ 19 คำสั่ง