เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 5
  พิมพ์  
อ่าน: 24532 อารยัน ต้นตอของสันสกฤต
sound engineer
อสุรผัด
*
ตอบ: 37

ทำงาน บ.ทอป ออดิโอ จก.


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 05 ม.ค. 06, 11:01

 ค่ายแกรมมี่ กับอาร์เอส ห้ำหั่นกันทางเนื้อเพลง ใครเขียนเพลงกำกวมสองแง่สองง่ามเก่งกว่าคนนั้น ขายได้ เหมือนหนังสือพิมพ์เลยครับใครพาดหัวได้เลือดสาดที่สุด วาบหวิวที่สุดก็รวยครับ แล้วนักแต่งเพลงอย่างผมดันมาสนใจประวัติศาสตร์ภาษา แต่ผมไม่ยักอยากแต่งเพลงสองแง่สองง่าม อิอิ ผมต้อง....ใต้ดินครับ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 08 ม.ค. 06, 00:53

 1) หน้าตาของตัวอักษรสันสกฤตเป็นอย่างไรค่ะ (คล้ายๆกับในหลักศิลาจารึกหรือเปล่าคะ)
พอไทยรับมาจึงมีหลักสังเกตว่าต้อง ษ ไม่ใช่ ศ นะ จึงจะเป็นสันสกฤต

2) ภาษาเขมรเก่ากว่าภาษาไทยมากหรือค่ะ เราจึงรับคำเขมรมาใช้มาก หรือว่าขะแมรับสันสกฤต
มาก่อน แล้วไทยจึงมายืมอีกทอดหนึ่ง ถ้าเป็นเช่นนี้ในย่านนี้แสดงว่าแถบเขมรอาจเคยเป็น
แหล่งอารยธรรมเก่าแก่กว่าตรงสุวรรณภูมิมังคะ

3) ภาษามาเลย์และอินโด ใหม่มากใช่ไหมค่ะจึงใช้ตัวอักษรอังกฤษไปแทน เช่นเดียวกับ
เวียดนามมีสที่ใช้ English letter ใส่หมวกด้านบน

4) ตัวหนังสือพม่า หน้าตาคล้ายภาษาอาหรับมาก ทั้งสองมีคอนเนคชันบ้างไหมค่ะ
ดิฉันชอบสะสมของเก่าของพม่า เวลาซื้อมาจึงเห็นตัวหนังสือพม่าติดอยู่บนเครื่องเรือน ยึกยือ
เหมือนกัน หรือว่าเราไปจับเอาประตูของพม่าที่เป็นแขก?

5) ตอนสอบวิชา Linguistics ข้อสอบถามว่าภาษาคู่ใดมีต้นกำเนิดเดียวกัน a) มาเลย์-อินโด  b) ฮินดี-อูดูร์
เคยเห็นนักเรียนมาเลย์คุยกับอินโดรู้เรื่องจึงตอบข้อ a แต่เฉลย b ว่าไปแล้วมันน่าจะถูกทั้งสองนะคะ
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 09 ม.ค. 06, 01:10

 มาเป็นชุดเลยนะครับคุณ Nuchan อิอิ

ก็ขอตอบเป็นข้อๆ เลยนะครับ

๑. หน้าตาของตัวอักษรสันสกฤตเป็นอย่างไรค่ะ (คล้ายๆกับในหลักศิลาจารึกหรือเปล่าคะ)
พอไทยรับมาจึงมีหลักสังเกตว่าต้อง ษ ไม่ใช่ ศ นะ จึงจะเป็นสันสกฤต


จริงๆ แล้ว สันสกฤต เป็นภาษาครับ แต่เดิมใช้อักษรที่เรียกว่า พราหมี (อย่างในจารึกของพระเจ้าอโศก ราวพุทธศตวรรษที่ ๓)
อักษรพราหมี : http://www.omniglot.com/writing/brahmi.htm

ต่อมา อักษรพราหมี ก็ปรับเปลี่ยนรูปร่างไป ทางอินเดียเหนือ ที่ยังคงใช้ภาษาที่มีรากมาจากภาษาสันกฤต ก็กลายเป็นอักษร "เทวนาครี" ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงใช้ก็อยู่เป็นอักษรราชการของประเทศอินเดีย
อักษรเทวนาครี : http://www.omniglot.com/writing/devanagari.htm


ส่วนทางอินเดียใต้ที่ใช้ภาษาทมิฬ ก็ปรับปรุงรูปร่างให้เป็นอักษร"ปัลลวะ" ซึ่งปัจจุบันกลายมาเป็น อักษรทมิฬ ครับ
อักษรปัลลวะ : http://203.144.221.112/jaruk/engrave_character.php?wherescript=script_table/&script=table1_1.jpg
อักษรทมิฬ : http://www.omniglot.com/writing/tamil.htm

ส่วนอักษรไทย เช่น ในศิลาจารึกของสุโขทัยนั้น เชื่อกันว่าพัฒนามาจากอักษรเขมรโบราณครับ แต่นักวิชาการบางท่านก็เชื่อว่าน่าจะมีอิทธิพลของอักษรมอญโบราณด้วยเช่นกัน

ทั้งอักษรเขมรโบราณ และ มอญโบราณ ต่างก็พัฒนามาจากอักษรปัลลวะของทางอินเดียใต้ครับ

---------------------------

อันที่จริง ทั้งภาษาสันสกฤต และ ภาษาบาลี ต่างก็เป็น "ภาษา" ครับ ไม่ได้มีอักษรจำเจาะ แต่ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาการระบบการเขียนขึ้น ภาษาสันสกฤตจึงนิยมเขียนด้วยตัวพราหมี และ เทวนาครี จนปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันโดยกว้างว่า ถ้าเป็นภาษาสันสกฤต ก็เขียนด้วยตัวเทวนาครี (แต่ปัจจุบันก็มีการประดิษฐ์ อักษรโรมันให้ถอดคำสันสกฤตเหมือนกันครับ)

แต่กรณีของ บาลี ต่างออกไป คือ บาลีเป็นภาษาทางศาสนาครับ พอเข้าไปประเทศไหน ประเทศนั้นก็เอาตัวอักษรของตนเขียนภาษาบาลี ดังนั้น ภาษาบาลีจึงไม่มีตัวอักษรตายตัว มีเขียนกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นอักษรไทย ลาว เขมร สิงหล ฯ

ส่วนเรื่อง ส ษ ศ นั้น อธิบายได้ว่า เสียง ส ษ ศ เป็นเสียงดั่งเดิม ของภาษาสันสกฤต แต่ภาษาบาลี ซึ่งเป็นภาษาถิ่นของแคว้นมคธ ไม่มี เสียง ษ กับ ศ มีแต่เสียง ส อย่างเดียว

อย่างสันสกฤตเขียน จกฺษุ (จักษุ) บาลีจะเขียน จกฺขุ (จักขุ) คือ เปลี่ยนเสียง ษ เป็น ข

สันสกฤตเขียน นเรศฺวร บาลีจะเขียน นเรสฺสร เป็นต้น

ดังนั้นจึงสังเกตได้ง่ายๆ ว่า ถ้า มี ษ และ ศ เป็นคำสันสกฤตครับ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 09 ม.ค. 06, 01:31

 ขอบคุณมากค่ะ รอคุณ H มาตอบโดยเฉพาะ คอยฟังต่อค่ะ
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 09 ม.ค. 06, 01:32

 2) ภาษาเขมรเก่ากว่าภาษาไทยมากหรือค่ะ เราจึงรับคำเขมรมาใช้มาก หรือว่าขะแมรับสันสกฤต
มาก่อน แล้วไทยจึงมายืมอีกทอดหนึ่ง ถ้าเป็นเช่นนี้ในย่านนี้แสดงว่าแถบเขมรอาจเคยเป็น
แหล่งอารยธรรมเก่าแก่กว่าตรงสุวรรณภูมิมังคะ



- ภาษาเขมรเก่า กว่าภาษาไทย หรือไม่
ถ้าเป็น ภาษาไทย ที่มี "ย" ภาษาเขมรเก่ากว่าแน่นอนครับ เพราะว่า ภาษาไทยที่เราพูดกันอยู่ในปัจจุบันได้รับอิทธิพลทางภาษามาจากภาษาเขมร-มอญ และบาลี อย่างน้อยก็ราวๆ พุทธศตวรรษที่ ๑๘ เป็นต้นมาครับ โดย "ภาษาไท" หลายกลุ่ม เช่น กลุ่มไทสุโขทัย ไทสุพรรณภูมิ ไทอีสาน ไทลพบุรี และไทนครศรีธรรมราช เป็นต้น แต่มาพัฒนาเป็น "ภาษาไทยต้นแบบ" ที่ "กรุงศรีอยุธยา" ครับ ปัจจุบันเราก็ใช้ไทยภาษาราชการที่สืบต่อมาจากกรุงศรีอยุธยา

แต่ถ้าพูดถึง "ภาษาไท" ซึ่งเป็นบรรบุรุษของ "ภาษาไทย" ก็ตอบได้ว่า ก็เก่าแก่พอๆ กับภาษาเขมรครับ แต่ ภาษาไท มีพูดกันอยู่ทางใต้ของจีน ถึงตอนเหนือของเวียดนาม มาแต่เดิม จนต่อมาค่อยๆ แพร่ไปยัง รัฐอัสสัม รัฐฉาน ลาว และ ไทย

-------------------

เรื่องรับคำสันสกฤต ก็มีความเป็นไปได้สูงครับ ที่ภาษาไทยปัจจุบันรับคำสันสกฤต โดยผ่านเขมร

จริงๆ คิดให้คล้ายๆ กรณีการรับภาษาละติน และภาษาฝรั่งเศสของภาษาอังกฤษก็ได้นะครับ

ละติน - ฝรั่งเศส - อังกฤษ
สันสกฤต - เขมร - ไทย

ถ้าเทียบกันแบบนี้ ก็คงพอเห็นภาพนะครับ

-------------------------------

เรื่องความเก่าแก่ทางวัฒนธรรม (ยุคกึ่งประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ นะครับ) ในดินแดนของเขมรกับไทย

ถ้าอิงตามหลักฐานทางโบราณคดี และความเจริญทางเทคโนโลยี เขมรเก่าแก่กว่าแน่นอนครับ มีร่องรอยความเป็นเมืองก่ออิฐก่อหินมากกว่า แต่ในแถบประเทศไทย ไม่มีร่องรอยเก่าแก่เท่าในเขมร แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าพูดถึงด้านการรวมตัวกันเป็นชุมชนค้าขายกับจีน และอินเดียแล้ว ก็เกิดขึ้นพร้อมๆ กันครับ เพราะในจดหมายเหตุจีน มักจะบรรยายบ้านเมืองต่างๆ ทั้งแถบๆ แม่น้ำโขง และ แหลมทอง แต่ดูเหมือนว่าบ้านเมืองแถบแหลมทองจะสร้างด้วยไม้ ร่องรอยจึงไม่เหลือเหมือนกับในเขมรที่สร้างด้วยอิฐด้วยหิน อย่างเช่นที่ เมืองออกแก้ว ซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญของฝูหนาน (ฟูนัน)
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 09 ม.ค. 06, 01:38

 ข้อนี้ไว้ตอบทีหลังก็ได้ค่ะ แต่ขอโพสต์ก่อน ก่อนลืม
ไทยอาหมที่เคยเรียนสมัย ป. 2 นั้นมีจริงหรือเปล่าคะ ไม่น่าเชื่อว่าชนเผ่าไทยจะเคลื่อนลึก
เข้าไปใน inland ถึงรัฐอัสสัม แดนแขกมุสลิมโน่น
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 09 ม.ค. 06, 02:00

 3) ภาษามาเลย์และอินโด ใหม่มากใช่ไหมค่ะจึงใช้ตัวอักษรอังกฤษไปแทน เช่นเดียวกับ
เวียดนามมีสที่ใช้ English letter ใส่หมวกด้านบน


เรื่อง "ภาษา" กับ "ตัวอักษร" บางทีก็ต้องมองแยกกันครับ กล่าวคือ ภาษา เป็นนามธรรม มีใช้กันมานานเป็นพันปีในพื้นที่ต่างๆ ของโลก อย่างกรณีของ ภาษามาเลย์-อินโด (รวมไปถึง ภาษาตากาล๊อกของฟิลิปปินส์ด้วย) ซึ่งทางวิชาการจัดเป็นภาษากลุ่มเดียวกันนั้น ก็มีพูดกันในแถบหมู่เกาะทะเลใต้มานานแล้วครับ พอๆ กับภาษาเขมร-มอญ และภาษาไท-ลาว

แต่ "ตัวอักษร" ถือว่าเป็น นวตกรรม ที่ใช้ถ่ายทอด "นามธรรม" ให้เป็น "รูปธรรม" ได้ ซึ่งในแต่ละพื้นที่ จะใช้อักษรใด ก็ขึ้นอยู่กับอิทธิพลทางวัฒนธรรมและการเมืองที่พื้นที่นั่นๆ ได้รับครับ

อย่างในมาเลเซีย สุมาตรา และ ชวา จารึกรุ่นแรกๆ ก็มีอักษรปัลลวะ ครับ ซึ่งต่อมาพัฒนาไปเป็นอักษรชวาโบราณ อักษรพวกนี้ก็ใช้เขียนภาษาชวาโบราณ (ซึ่งก็ถือเป็นภาษากลุ่มเดียวกับ มาเลย์-อินโด ครับ) ทั้งนี้เพราะช่วงนั้นพื้นที่บริเวณนี้ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดียใต้

ต่อมาเมื่อวัฒนธรรมอิสลามเข้ามาเป็นวัฒนธรรมสำคัญในภูมิภาคนี้ ก็ทำให้ต้องเปลี่ยนจากเดิมที่ใช้อักษรตระกูลอินเดียใต้ มาเป็น "อักษรอาหรับ" แทน ทั้งนี้ ก็เพื่อให้สอดคล้องกับอักษรที่ใช้เขียนพระคัมภีร์ครับ

ต่อมา เมื่อทั้งมาเลเซียและอินโดเนเซีย ตกเป็นอาณานิคมของ อังกฤษ และเนเธอร์แลนด์ ตามลำดับ ก็มีการปฏิวัติระบบการเขียนให้สื่อสารกันง่ายขึ้น โดยเปลี่ยนมาใช้อักษรโรมันแทน

อย่างกรณีที่คุณ Nuchan ยกอักษรเวียดนามมา ก็เช่นเดียวกันครับ

คือ แต่เดิมเวียดนามอักษรที่ดัดแปลงมาจากอักษรจีน ซึ่งมีวิธีการเขียน และจำที่ยุ่งยาก อักษรบางตัว สร้างขึ้นแบบเวียดนามเอง ซึ่งคนจีนก็อ่านไม่ออก ดังนั้น เมื่อถึงยุคอาณานิคม ก็เลยมีการเปลี่ยนมาใช้ตัวโรมันแทนครับ

พวกที่ไม่ได้เป็นอาณานิคม แต่เห็นว่าอักษรที่ใช้แต่โบราณยุ่งยาก เป็นปัญหาต่อการขยายระบบการศึกษา ก็มีครับ เช่น

ชาวจ้วง ในมณฑลกวางสี ซึ่งแต่เดิมก็คล้ายๆ เวียดนาม คือ เอาอักษรจีนมาดัดแปลงออกเสียงแบบภาษาตัวเองบ้าง ประดิษฐ์ขึ้นใหม่บ้าง ต่อมา ก็พบว่ามันยุ่งยาก สับสน เพราะดูเหมือนอักษรจีน แต่ถ้าให้คนจีนอ่านก็อ่านไม่ออก จึงมีการเปลี่ยนเป็นตัวโรมันเช่นกัน

ตุรกี แต่เดิมใช้อักษรอาหรับครับ แต่ อาตาเติร์ก ผู้ก่อตั้งระบบสาธารณรัฐ ได้ปฏิรูประบบการศึกษา และเห็นว่า อักษรอาหรับ "ไม่เป็นสากล" จึงเป็นอักษรโรมัน ซึ่งทำให้เขียนง่าย อ่านง่าย และเป็นสากล เหมือนยุโรป

ภาษาไทยเราก็เคยมีหนิครับ อิอิ ที่ท่านผู้นำจะทำอักษรไทยให้ง่ายขึ้น ไม่รู้ไปเอาไอเดียกระฉูดแบบนี้มาจากไหนเหมือนกัน อิอิ

รัดถะบานไท  ไม่รู้เขียนแบบนี้หรือเปล่า ?

อืม ว่าแต่ว่า เดี๋ยวนี้ ก็มี "เด็กๆ" หลายคนจ้องจะเปลี่ยนกันอยู่เหมือนกันนะครับ

จริงหรือเปล่าครับ  (จิงอ่ะป่ะคับ)  

ผมว่าพิมพ์คุยกับเพื่อนฝูงได้ครับ ก็ฟังดูน่ารักน่าหมั่นไส้ดี แต่พูดกับคนที่ไม่รู้จักกันมาก่อน อ่านแล้วมันน่าถะ ..... อุ๊ย ขอโทษครับ น่าถามครับ ว่าทำไมไม่รู้จักกาลเทศะบ้างเลย
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 09 ม.ค. 06, 02:09

 ขอหัวเราะกิ๊กๆ สำนวนคุณ Hotacunus เพราะโดนใจเต็มแรง...

เปิดดูอักษรพราหมี หน้าตาคล้ายๆพวกอักษรกรีกจังเลยค่ะ แต่ก่อนเดินผ่าน Greek row
ที่เป็นบ้านหลังใหญ่ๆ ของพวก fraternity/sorority ของมหาวิทยาลัย จะมีอักษรกรีก
ประดับประดาหน้าบ้าน (อิจฉาเด็กพวกนี้ ปีหนึ่งเขาปาร์ตี้กันได้ 360 วัน)คล้ายพราหมีมากค่ะะ
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 09 ม.ค. 06, 02:12

 4) ตัวหนังสือพม่า หน้าตาคล้ายภาษาอาหรับมาก ทั้งสองมีคอนเนคชันบ้างไหมค่ะ
ดิฉันชอบสะสมของเก่าของพม่า เวลาซื้อมาจึงเห็นตัวหนังสือพม่าติดอยู่บนเครื่องเรือน ยึกยือ
เหมือนกัน หรือว่าเราไปจับเอาประตูของพม่าที่เป็นแขก?


ตัวอักษรพม่า ที่ดูคล้ายตัวอักษรอาหรับ คงเป็นเพราะดูเป็นเส้นๆ วงๆ ต่อกันมั้งครับ แต่จริงๆ ไม่ได้เกี่ยวข้องกันเลยครับ

อักษรพม่า : http://www.omniglot.com/writing/burmese.htm

อักษรอาหรับ : http://www.omniglot.com/writing/arabic.htm

อักขรวิธีพม่า เหมือนมอญครับ เพราะพม่าเองก็รับรูปอักษรไปจากอักษรมอญ ซึ่งอักษรมอญก็ดัดแปลงมาจากอักษรปัลลวะนั่นเอง

อักษรพม่าเขียนจากซ้าย ไปขวา เหมือนภาษาไทย ภาษาอังกฤษ แต่อักษรอาหรับเขียนจากขวา ไปซ้าย ครับ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 09 ม.ค. 06, 02:16

 จบคืนนี้ เราคง cover ภาษาย่านนี้ได้เกือบหมดเลยนะคะเนี่ย ขอบคุณอีกครั้งค่ะ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 09 ม.ค. 06, 02:24

 เกือบลืมสิ่งที่คาใจอีกข้อหนึ่งค่ะ  ทุกสัปดาห์เวลากลับบ้านชอบขับรถทะลุเข้าไปทางลาดบัวหลวง
แถวนั้นดงแขกทั้งนั้นและมีมัสยิดมาก แต่มุสลิมแถวนั้นเขาไม่รู้จักยาวีและ "อุสต๊าซ"

ภาษายาวี กับบาฮาสามาเลเซีย นี่เกี่ยวกันบ้างไหมคะ
แล้วบรูไนใช้ภาษาอะไร

อย่าพึ่งสลบนะคะ วันนี้มาชุดใหญ่จริงๆด้วยค่ะ  
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 09 ม.ค. 06, 02:29

 5) ตอนสอบวิชา Linguistics ข้อสอบถามว่าภาษาคู่ใดมีต้นกำเนิดเดียวกัน a) มาเลย์-อินโด b) ฮินดี-อูดูร์
เคยเห็นนักเรียนมาเลย์คุยกับอินโดรู้เรื่องจึงตอบข้อ a แต่เฉลย b ว่าไปแล้วมันน่าจะถูกทั้งสองนะคะ


คำเฉลยดูแปลกๆ นะครับ อิอิ

เท่าที่ผมทราบ ภาษามาเลย์ กับ อินโดเนเซีย เป็นตระกูลเดียวกันครับ ก็เหมือน ภาษาไทย กับ ภาษาลาว

"แต่" ฮินดี กับ อูร์ดู มีกำเนิดต่างกันครับ ฮินดี เป็นภาษาราชการของอินเดียปัจจุบัน ส่วน อูร์ดู เป็นภาษาราชการหนึ่งใน ๒๔ ภาษาของอินเดีย และเป็นภาษาราชการของปากีสถาน

ในมุมมองของผมนะครับ จริงอยู่ที่ภาษาทั้ง ๒ ต่างก็เป็นภาษาตระกูลอินโด-ยุโรเปียน เหมือนกัน แต่ภาษาฮินดี จะเป็นภาษาที่พัฒนาอยู่ในกลุ่มของอินโด-ยุโรเปียนในพื้นที่อินเดีย แต่ภาษาอูร์ดูเป็นภาษาที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาอิหร่านและอาหรับ (บางท่านว่ามีภาษาตระกูลเดียวกับภาษาเติร์กด้วย) มากกว่าฮินดี จึงดูเหมือนว่า ภาษาอูร์ดูเป็นภาษาใหม่

หรือ จะเป็นอย่างนี้หรือเปล่า

ข้อสอบอาจมองว่า "มาเลย์-อินโด" เป็นภาษาเดียวกันอยู่แล้ว จึงไม่มี "ต้นกำเนิด" ในขณะที่ "ฮินดี-อูร์ดู" มีต้นกำเนิดเดียวกัน คือ "สันสกฤตท้องถิ่นของอินเดียภาคตะวันตกเฉียงเหนือ" ซึ่งต่อมา เมื่ออิทธิพลมุสลิมจากอิหร่านเข้ามา จึงมีภาษาอิหร่านเข้ามาปนมาก รวมไปถึงภาษาอาหรับด้วย แต่ความเข้มข้นของคำอิหร่านจะมีมากในดินแดนที่ปากีสถาน เมื่อนานเข้า จึงทำให้มีคำศัพท์ต่างๆ แตกต่างกันมากขึ้นระหว่าง ฮินดูสถาน กับ ปากีสถาน จึงกลายมาเป็นที่มาของการแยกเป็นภาษาฮินดี กับ ภาษาอูร์ดู

ถ้าตามนี้ ก็มองได้ว่า ข้อ b ถูกครับ
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 09 ม.ค. 06, 02:42

 ไทยอาหมมีจริงหรือเปล่า ?

ไทอาหม (ผมชอบใช้ "ไท"อาหม มากกว่า "ไทย"อาหม เพราะ คนที่นั่นไม่ใช่คนไทย ครับ แต่เป็นคนไท (ไต)) มีจริงครับ ก็คือคนในรัฐอัสสัมครับ คือไทอาหมอยู่มาก่อนที่พวกมุสลิมจะรุกเข้าไปครับ ปัจจุบันมีพจนานุกรมแล้วนะครับ

Author ประเสริฐ ณ นคร.  
Title พจนานุกรม ไทยอาหม-ไทย / ประเสริฐ ณ นคร ผู้แปล.  
Publisher กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2534
Descript , 138 หน้า ; 21 ซม.
ISBN 974-606-417-4
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 09 ม.ค. 06, 02:54


Good nite, will read tomorrow ka.
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 09 ม.ค. 06, 03:15

 อักษรพราหมี คล้ายอักษรกรีก ?

ถ้าตามทฤษฎีนะครับ เค้าว่ากันว่า ทั้งพราหมี และกรีก ได้รับอิทธิพลมาจากอักษรฟีนีเชียนครับ ดังนั้นจึงมีหน้าตาคล้ายๆ กัน ทั้งนี้ก็คงเป็นเพราะอิทธิพลทางการค้าโพ้นทะเลครับ ที่นำเอาแนวคิดการประดิษฐ์ตัวอักษรเผยแพร่ไปยังดินแดนต่างๆ

-------------------------------------------

ภาษายาวี กับบาฮาสามาเลเซีย นี่เกี่ยวกันหรือไม่
และบรูไนใช้ภาษาอะไร


ตอบตามที่ผมทราบนะครับ ถูกผิดอย่างไร ท่านผู้รู้ท่านอื่นโปรดเสริมด้วยนะครับ
ภาษายาวี (Jawi) ผมเข้าใจว่าเรียกตามถิ่นที่พูดกันคือเกาะชวา (Java หรือ Jawa) คือ
เปลี่ยนรูปคำจาก Jawa (ชวา) เป็น Jawi (ชวี หรือ ยาวี)
เหมือน Hindu (ฮินดู) เป็น Hindi (ฮินดี)
หรือ Magadha (มคธ) เป็น Magadhi (มคธี)
หรือ Bengala (เบงกอล) เป็น Bengali (เบงกาลี)

ภาษาที่พูดกันบนเกาะชวา ก็คือภาษาราชการของอินโดเนเซียครับคือ ภาษาอินโดเนเซีย (bahasa Indonesia) ส่วนในประเทศมาเลเซียนั้น เค้าเรียกภาษาราชการของตัวเองว่า ภาษามาลายู (bahasa Melayu)

ส่วนในบรูไน ใช้ภาษามาลายู เป็นภาษาราชการครับ

สรุปได้ง่ายๆ ว่า แต่เดิมทั้ง มาเลเซีย อินโดเนเซีย และ บรูไน ต่างก็พูดภาษาตระกูลเดียวกันครับ คือ ภาษาตระกูล ออสโตรเนเซีย (มาลาโย-โพลีเนเชียน) ซึ่งก็มีคำศัพท์และสำเนียงแตกต่างไปกันตามแต่ละท้องถิ่น ต่อมาเมื่อมีอำนาจทางการเมืองเกี่ยวข้อง ก็ตั้งชื่อเรียกภาษาของตัวเองตามชื่อประเทศ หรือชื่อเผ่าพันธุ์ ทั้งๆ ที่ก็เป็นภาษาในกลุ่มเดียวกันครับ

อินโดเนเซีย ก็ตั้งชื่อภาษาตามชื่อประเทศ
มาเลเซีย ก็ตั้งชื่อภาษาตามชื่อเผ่าพันธุ์
ส่วนบรูไน ใช้ตามมาเลเซียก็เพราะว่าแต่เดิมบรูไนเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธ์รัฐมาเลเซียครับ แต่ต่อมามีปัญหาทางการเมืองจึงกลายมาเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษอยู่ระยะหนึ่ง และก็เพิ่งได้รับเอกราชมาไม่นานนี้เองครับ (เมื่อ ค.ศ.๑๙๘๔)


วันนี้ชุดใหญ่จริงๆ อิอิ ถ้ามีอะไรจะพูดคุยต่อก็เชิญได้นะครับ    
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.107 วินาที กับ 19 คำสั่ง