เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 5
  พิมพ์  
อ่าน: 24537 อารยัน ต้นตอของสันสกฤต
sound engineer
อสุรผัด
*
ตอบ: 37

ทำงาน บ.ทอป ออดิโอ จก.


 เมื่อ 04 ม.ค. 06, 11:16

 อารยัน ต้นตอของสันสกฤต ภาษาที่ชำแรกตัวอยู่คู่กับภาษาไทยแทบแยกไม่ออก อันที่จริงอารยัน หมายถึงเผ่าที่อาศัยอยู่บริเวณเปอร์เซีย หรือ ปัจจุบันคือ อิหร่าน (IRAN = Aryan) พวกนี้พูดภาษาตระกูลอินโด-ยุโรเปียน ต่อมาคนกลุ่มนี้ก็ย้ายถิ่นเข้ามาตั้งถิ่นฐานในทางภาคเหนือของอินเดีย ดังนั้น อินเดียก็เป็นแขนงหนึ่งของเผ่าอารยันไปด้วย ส่วนอีกสายเชื่อว่าได้เข้าไปในยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นก็คงจะเป็นตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์
 ใครที่ชื่อเพราะ ชื่อยาว อาจจะสงสัยว่าทำไมบางทีไปพ้องกันกับชื่อคนอินเดีย ว่าแต่ว่า ทำไมการถอดความจากจดหมายเหตุ ต้องถอดความให้เป็นสันสกฤต แล้ว มานั่งถกเถียงกันถึงความหมายที่แท้จริง
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 04 ม.ค. 06, 16:40

 คุณ sound engineer เวลาจะตั้งกระทู้ ช่วยกรุณาทำให้ชัดเจนว่าคุณต้องการสื่ออะไร เช่น
เพื่อบอกเล่า
เพื่อถาม
เพื่อตัดพ้อต่อว่า หรือรำพึงรำพัน
ครั้งนี้พอจะจับใจความได้ว่าคุณเปรยๆอยากทราบเหตุผลการถอดความจากจดหมายเหตุเป็นสันสกฤต
จดหมายเหตุอะไรหรือค่ะ?
เวลาถาม คงไม่ต้องชัดเจนถึงขั้นเป็น interrogative sentence เป๊ะๆ

สำหรับดิฉัน จดหมายเหตุในหัวมีอยู่แค่ 2 เรื่องค่ะ ของ หม่อมราโชทัย และเจ้าฟ้าวชิรุณหิศ
ผู้อ่านมีปูมหลังต่างกัน ถ้าชัดเจนได้ก็จะช่วยให้สื่อสารฉับไวขึ้นค่ะ

 http://www.indhistory.com/aryan.html

One Model of Indo-European ("Aryan") Migration
.
บันทึกการเข้า
sound engineer
อสุรผัด
*
ตอบ: 37

ทำงาน บ.ทอป ออดิโอ จก.


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 04 ม.ค. 06, 17:17

 ทุกอย่างเลยครับ คือผมอยากให้ทุกคนที่รู้เรืองนี้ ไม่ว่าอะไรก็ตาม เล่าในแง่มุมของตนเองที่มีต่อกระทู้ครับ ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 04 ม.ค. 06, 21:12

 วันก่อนที่กระทู้กามนิต อาจารย์ได้เกริ่นว่าภาษาตะวันออกและตะวันตกมีราก
มาจากตระกูลเดียวกัน ดิฉันนึกไม่ออกถึงความเชื่อมโยง ซึ่งอาจารย์ได้กรุณา
ขยายความเพิ่มเติมว่าเกิดจากการแผ่อิทธิพลของอารยันเข้าไปในอินเดีย

เมื่อค้นเพิ่มเติมจึงทราบว่าชนเผ่าอารยันที่อาศัยอยู่ในอิหร่านได้เคลื่อนตัวไปอยู่ทาง
ทิศเหนือของอินเดีย ดังนั้น อินเดียจึงได้รับอิทธิพลทางภาษาจากเผ่าอารยันด้วย
ภาษาสันสกฤต ซึ่งปัจจุบันเป็นภาษาที่ตายแล้ว ถือว่าเป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งใน
ภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป)  สาขาย่อยอินเดีย-อิหร่าน (อินโด-อิเรเนียน)
มีแหล่งกำเนิดแถวอิหร่าน ซึ่งติดกับที่ราบเมโสโปรเตเมียและเอเชียไมเนอร์ (บริเวณทะเลดำ
และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน = เตริ์ก)

ขณะเดียวกันทางซีกโลกตะวันตก กระบวนการการถ่ายทอดทางภาษา ได้แพร่กระจายเข้าไปใน
ยุโรปใต้ คือ กรีซ ซึ่งได้แก่ภาษากรีก และค่อยๆแพร่ไปสู่ละติน ต่อมากรีซก็ได้ถ่ายทอด
วัฒนธรรมทางภาษาให้แก่ประเทศอื่นๆในยุโรป ดังนั้น คำต่างๆ ของภาษาในยุโรป จึงมี
ความคล้ายคลึงกับคำของอิหร่านและอินเดีย ดังนั้นนักวิชาการจึงจัดภาษาเหล่านี้เป็น
ตระกูลอินโด-ยูโรเปียน

ตอนเรียนวิชาประวัติศาสตร์ภาษาอังกฤษ ได้ทราบว่าภาษาฝรั่งเศสรับอิทธิพลมาจากภาษาละติน
และกรีกอย่างมาก และภาษาอังกฤษรับมาจากภาษาฝรั่งเศสอีกต่อหนึ่ง สรุปว่าภาษาอังกฤษ
มีรากมาจากกรีกและละตินทางอ้อมนั่นเอง (ดูชาร์ทประกอบ)

รอคุณ Hotacunus และผู้รู้ท่านอื่นมาช่วยต่อค่ะ
.
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 04 ม.ค. 06, 22:06

 หลังจากลองค้นคำว่า Aryan ในพจนานุกรมของ Merriam-Webster ไปแล้ว ผมถึงได้เจอว่า ทางพจนานุกรมให้ความหมายกับคำว่า Aryan ที่หมายถึงกลุ่มชนในเขตสแกนดิเนเวียน (Nordic) และชาวยุโรปที่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายพวกนอร์ดิกซึ่งถูกนาซีเรียกว่า Aryan มากกว่าความหายของคำว่า Indo-European ด้วยซ้ำไป


ปล. ถามต่อไปอีกนะครับ เท่าที่ผมเข้าใจ พระพุทธเจ้าเป็นชาวอารยัน หรือเปล่าครับ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 04 ม.ค. 06, 22:59

 คุณติบอ Dictionary บางทีตอบสั้นๆ หรือ เราเลือก meaning ที่ไม่ถูกต้องกับสถานการณ์มาใช้
กรณีนี้ ถ้าจะให้พอรู้เรื่อง คุณต้องดู word history ด้วยคะ (ท่อนล่างที่ยกมา)

Arayan (n)
1) Indo-Iranian. No longer in technical use.
2) A member of the people who spoke the parent language of the
Indo-European languages. No longer in technical use.
3) A member of any people speaking an Indo-European language.
No longer in technical use.
4)In Nazism and neo-Nazism, a non-Jewish Caucasian, especially one of
Nordic type, supposed to be part of a master race.

[From Sanskrit arya-, noble, Aryan.]


The variant *arya– is found unchanged in Sanskrit, where it referred to
the upper crust of ancient Indian society.

These words became known to European scholars in the 18th century.
The shifting of meaning that eventually led to the present-day sense
started in the 1830s, when Friedrich Schlegel, a German scholar
who was an important early Indo-Europeanist, came up with a theory
that linked the Indo-Iranian words with the German word Ehre, “honor,” ...

 http://www.answers.com/topic/aryan?method=8  
บันทึกการเข้า
pharmaceutical scientist
มัจฉานุ
**
ตอบ: 70


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 04 ม.ค. 06, 23:17

 ใช่แล้วครับน้องติบอ
พระพุทธเจ้านั้นทรงมีวรรณะกษัตริย์
ซึ่งวรรณะกษัตริย์ในอินเดียเป็นชาวอารยันแทบทั้งสิ้น
(ยังไม่อยากเหมาทั้งหมด เพราะคาดว่าอาจมีวรรณะกษัตริย์ที่ไม่ใช่ชาวอารยันด้วย)
แต่เดิมนั้นดินแดนชมพูทวีป มีชาวพื้นเมืองดั้งเิดิมคือ ชาว Dravidian ซึ่งมีรูปพรรณสัณฐาน รูปร่างเล็ก ผิวคล้ำ
ต่อมามีการอพยพของชาวอารยันเข้ามาทางตอนเหนือ
อาจเข้ามาในลักษณะที่เป็นผู้รุกราน ทำให้ชาวพื้นเมืองส่วนหนึ่ง
ตกอยู่ภายใต้การปกครอง (ซึ่งอาจเป็นที่มาของการแบ่งวรรณะ)
ชาว Dravidian ส่วนหนึ่งจึงได้ถอยร่นมาทางตอนใต้
ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ของชมพูทวีปถูกครอบครองโดยชาวอารยัน
และกลายเป็นคนส่วนใหญ่คิดเป็น 72%
ส่วนชาว Dravidian มีเพียงประมาณ 25%

ปล. ชาวอารยันดูแล้วน่าจะมีชาติพันธุ์เป็น Caucasian เพราะฉะนั้นชาวยุโรปกับชาวอินเดียที่มีเชื้อสายอารยัน ก็น่าจะมีถิ่นกำเนิดมาจากที่เดียวกัน จึงน่าจะเป็นที่มาของคำว่า Indo-european (เชื้อสายยุโรปที่อยู่ในอินเดีย) นะครับ

ร่วมแชร์ความรู้ได้แค่นี้แหละครับ ใครพอช่วยขยายความได้ หรือมีอะไรแก้ไขก็ช่วยหน่อยนะครับ
บันทึกการเข้า
pharmaceutical scientist
มัจฉานุ
**
ตอบ: 70


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 04 ม.ค. 06, 23:33

 อ้อ มีข้อสงสัยอยู่สองประเด็นครับ
ในเมื่อสันสกฤตมีความเกี่ยวพันธ์กับชาวอารยัน
1) แล้วบาลีเกี่ยวข้องกันอย่างไรกับสันสฤต
พอพูดถึง Indo-european เห็นจะพูดถึงแต่สันสกฤต
หรือ บาลี-สันสกฤต เค้าเหมารวมไว้ด้วยกัน
2) ทางฝั่งยุโรปก็มีลาตินถือกำเนิดขึ้นมาไม่ทราบว่ามาพร้อมกับชาวอารยันหรือไม่ เพราะก็เห็นว่า ลาติน ก็จัดอยู่ใน Indo-european เหมือนกัน

ปล. ที่ถามนี้ไม่ได้เอาไปทำรายงาน ไม่ต้องละเอียดมากก็ได้ครับ อิอิ
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 05 ม.ค. 06, 00:15

 ตอบคุณ pharmaceutical scientist ก่อนแล้วกันครับ

๑.ภาษาบาลี เกี่ยวข้องอย่างไรกับ ภาษาสันสกฤต ?

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนครับว่าในสมัยโบราณที่พวกอารยันเข้ามายัง ดินแดนที่เป็นประเทศอินเดียนั้น มีภาษาพูดกัน ๒ ตระกูลใหญ่ๆ คือ ภาคเหนือพูด "อินโด-ยุโรเปียน" ภาคใต้พูด "ทมิฬ"

คำว่า "อินโด-ยุโรเปียน" ไม่ได้หมายถึงภาษาใดภาษาหนึ่ง แ่ต่หมายถึงภาษาต่างๆ หลายภาษาที่มีลักษณะบางประการร่วมกัน

ในอินเดียเหนือ มีภาษาถิ่นสำเนียงต่างๆ มากมายครับ แต่ที่เราคนไทยรู้จักกันดี มี ๒ ภาษา คือ สันกฤต กับ บาลี (มีปรากิต ด้วยนะครับ แต่คนไทยไม่ค่อยรู้ เพราะเป็นภาษาถิ่นที่กลายมาจากสันกฤตอีกต่อหนึ่ง จริงๆ มีหลายภาษาเลยครับ ที่เป็นภาษาถิ่นที่กลายมาจากภาษาสันสกฤต)

ภาษาที่เชื่อว่าเก่าที่สุดของ "อินโด-ยุโรเปียน" ในอินเดียเหนือ เท่าที่มีหลักฐานคือ "สันกฤต" ครับ ส่วนภาษาบาลี ก็เป็นภาษาถิ่นของแคว้นมคธ หรือ ภาษาแขกจะเรียกภาษาบาลีว่า "มคธี" คือ แปลว่า "ภาษามคธ"

ดังนั้น ภาษาบาลี ก็เป็นภาษาถิ่นหนึ่ง ของภาษาสันสกฤตครับ ถ้าเปรียบเทียบง่ายๆ ก็คล้ายๆ กับ ภาษาไทยเราที่มีหลายสำเนียง เช่น กลาง อีสาน เหนือ ใต้ เป็นต้น ก็เช่นเดียวกันครับ

แล้วทำไม ไทยเราจึงรู้จักภาษาบาลี ดีกว่าภาษาถิ่นอื่นๆ นั่นก็เพราะ เรารับพุทธศาสนาที่ใช้ภาษาบาลีครับ

แล้วทำไม ไทยเราจึงมีคำ สันกฤต และ บาลี ใช้มาก นั่นก็เพราะ ช่วงแรกๆ เรารับวัฒนธรรมเขมร (ราชสำนัก และการศาสนา) ซึ่งเขมรโบราณเองก็รับภาษาสันกฤตมาจากอินเดีย เราจึงรับภาษาสันกฤตมาด้วย ถ้าเป็นปัจจุบัน การบัญญัติคำศัพท์ใหม่ๆ บางคำนิยมใช้คำสันสกฤตมากกว่าคำบาลี

ส่วน บาลี นั้น เราอาจรับผ่านมาจากวัฒนธรรมดั่งเดิมคือ ทวารวดี ที่ใช้ภาษาบาลีเช่นกัน แ่ต่ประเด็นนี้ยังไม่ชัดเจนนัก แต่ที่ชัดๆ ก็คือ ตั้งแต่ไทยเรารับพุทธศาสนามาจากลังกา ไม่ว่าจะเป็นที่ นครศรีธรรมราช สุโขทัย อยุธยา และ ล้านนา ก็มีผลทำให้ ภาษาบาลีแพร่หลายเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของภาษาไทยครับ

แล้วทำไมไทยเราเรียก "ภาษาบาลี" ไม่เรียก "ภาษามคธ" ?
นั่นก็เพราะว่า คำว่า บาลี เราเรียกกันมานานแล้วครับ เป็นคำเฉพาะที่ใช้เรียกภาษาที่ใช้เขียนพระไตรปิฎก มีความหมายเชิงยกย่อง เพราะว่า "บาลี" (ปาลี) มีรากศัพท์มาจาก "บาล" (ปาล) ซึ่งแปลว่า "รักษา" ครับ

โดยนัยแล้ว "ภาษาบาลี" หมายความว่า "ภาษาที่รักษาไว้ซึ่งพุทธจวนะ" ครับ

-----------------------------------

๒. ภาษาละติน เกิดมาพร้อมกับชาวอารยันหรือไม่?
เรื่องเกิดพร้อมไม่พร้อม ต้องแบ่งช่วงเวลาให้ถูกก่อนครับ ต้องมองอย่างมี "มิติของเวลา" ด้วยครับ

ชาวอารยัน มีกำเนิดมานานแล้ว อาจตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ก็เป็นได้ ส่วนภาษาละติน เป็นวิวัฒนาการหนึ่งทางภาษาครับ และนิยมใช้กันในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น ก็ชัดเจนครับว่า ภาษาละติน ไม่ได้เกิดมาพร้อมกับชาวอารยันแน่นอน แต่ภาษาละตินเป็นเพียงสายวิวัฒนาการหนึ่งของภาษาอินโด-ยุโรเปียนโบราณเท่านั้นครับ


อันที่จริงแล้ว ภาษาละตินเองก็ได้รับอิทธิพลจากภาษากรีกโบราณมาก่อนครับ ตามตำนานเล่ากันว่า บรรพบุรุษของโรมัน คือพวกกรีกอพยพ

คนดั่งเดิมจริงๆ ในอิตาลีจะเป็นพวกอีทรัสกันครับ พวกที่ใช้ภาษาละตินมาที่หลัง แต่เหตุที่ทำให้ภาษาละตินแพร่หลายก็เพราะอิทธิพลทางการเมืองครับ โรมันเข้าไปครอบครองดินแดนมากมายในยุโรป เขียนตำรามากมายด้วยภาษาละติน ผลิตตำราศาสนาด้วยภาษาละติน ดังนั้น ประเทศที่ต้องการความเจริญก็ต้องรับภาษาละตินไปโดยปริยาย ก็เหมือนทุกวันนี้แหละครับ ที่ภาษาอังกฤษกลายเป็นภาษากลางของโลกไปโดยปริยาย นั่นก็เพราะอิทธิพลทางการเมืองและเทคโนโลยีของ "สหรัฐอเมริกา" ที่บังเอิญใช้ภาษาอังกฤษ ถ้าอเมริกาใช้ภาษาฝรั่งเศส ก็แ่น่นอนว่า ตอนนี้ภาษากลางของโลกคงเป็นภาษาฝรั่งเศสเป็นแน่
บันทึกการเข้า
pharmaceutical scientist
มัจฉานุ
**
ตอบ: 70


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 05 ม.ค. 06, 00:51

 โอ้โห อธิบายซะละเอียดเลยนะครับ
ขอบคุณมากครับ คุณ Hotacunus
สรุป บาลีเป็นภาษาที่แตกออกมาจากสันสกฤต
ส่วนลาตินนั้นพัฒนาขึ้นมาภายหลังที่ชาวอารยันอพยพเข้ามาในยุโรปแล้ว ซึ่งพัฒนามาจากภาษากรีกอีกทีหนึ่ง นั่นเอง

จะว่าไปไทยเองก็ไม่ใช่ชาวอารยัน แต่กลับได้รับอิทธิพลทางภาษาของเค้ามามากมาย
ยกตัวอย่างชื่อตัวเองเป็น สันสกฤต ส่วนนามสกุลเป็น บาลี
ไทยแท้ๆไม่มีปรากฎเลยแม้แต่ชื่อเล่น เหอๆ
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 05 ม.ค. 06, 01:02

 ตอบคุณ sound engineer ครับ

"ใครที่ชื่อเพราะ ชื่อยาว อาจจะสงสัยว่าทำไมบางทีไปพ้องกันกับชื่อคนอินเดีย ว่าแต่ว่า ทำไมการถอดความจากจดหมายเหตุ ต้องถอดความให้เป็นสันสกฤต แล้ว มานั่งถกเถียงกันถึงความหมายที่แท้จริง"

ตรงนี้ ผมก็งงๆ กับคำว่า "จดหมายเหตุ" เหมือนกัน อิอิ ยังดีที่คุณ Nuchan นึกออก ๒ ท่าน อิอิ

มีข้อสงสัยดังนี้ครับ

"การถอดความจากจดหมายเหตุ ต้องถอดความให้เป็นสันสกฤต" หมายความว่า "แปลจดหมายเหตุ จากภาษาหนึ่ง (ไทย หรือ อังกฤษ?) ให้เป็น ภาษาสันกฤต" หรือเปล่าครับ ฮืม

หรือ

ถอด "ชื่อที่ตั้งจากภาษาสันกฤต" ที่เขียนด้วยอักษรไทย โดยใช้ ตัวอักษรโรมันที่เขียนแบบรักษารากคำที่เป็นสันกฤตไว้ ฮืม

เช่น

ทักษิณ  ชินวัตร ถ้าเขียนแบบรักษารากคำสันกฤต ด้วยอักษรโรมันจะเป็น
"Daksina  Jinavatra" แต่ถ้าเขียนตามคำเสียงไทยจะได้ว่า
"Thaksin Chinnawat"

ไม่รู้จะตรงตามที่คุณ sound engineer หมายถึงหรือเปล่าครับ

ถ้าเป็นเรื่องการถอดชื่อนี้ ผมก็เห็นด้วยครับ ว่ามีสับสนกันอยู่บ้าง ยิ่งสมัยนี้ ถอดชื่อด้วยอักษรโรมันตามใจกันไปหมด ไม่ได้คำนึกการถอดตามหลักการ (ของราชบัณฑิตฯ) ซึ่งก็อาจเป็นเพราะ เดี๋ยวนี้ใครก็เรียนภาษาอังกฤษมา ดังนั้นถอดเองได้

ผมมองว่าเรื่องนี้มีกัน ๒ แนวครับ
๑. ถอดตามแบบรักษาคำสันกฤตเลย แต่ก็มีปรับอักษรบางตัวให้เสียงไปตามภาษาอังกฤษ

๒. ถอดตามเสียงไทยอ่าน

แต่การถอดตามราชบัญฑิตยสถาน ก็เยิ่นเย้อมากถ้าใครมี "พ" เยอะ เช่น
(ขออนุญาต "น้องแตงโม" นะครับ)

ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์
ถ้าถอดตามแบบรักษารากสันสกฤต จะเป็น
"Bhadradhita Bajravirabamsa" หรือ
"Bhadradhita Vajraviravamsa" อ่านแล้วคนละชื่อเลยนะครับ อิอิ

ถ้าถอดตามเสียงอ่านไทย ตามราชบัญฑิตยสถาน จะเป็น
"Phatharathida  Phacharawiraphong" อืม ยาวไหมหละครับ  ทั้ง Ph - Th - Ch

ดังนั้น บางคนจึงนิยมตามเสียงภาษาอังกฤษ ก็จะเป็น
"Pattaratida Patsharawirapong"

บางคนก็ถอด "พงษ์" เป็น "Pongse" ก็มี (ไม่รู้คนอังกฤษจะอ่านยังไง อิอิ)

บางคนก็นิยมถอด "ว" ด้วย "v" แทนที่จะเป็น "w" ซึ่งในภาษาไทยของเราแล้วเราไม่มีเสียง "v" นะครับ แต่เรามีเสียง "w"

อย่างชื่อวีระ ที่ถูกตามเสียงไทยคือ Wira แต่ดูเหมือนจะไม่มีใครนิยมเท่าไหร่ แต่นิยมถอดเป็น Vira แทน

บางคนก็ว่า "ถอดๆ ไปเถอะ ให้มันอ่านได้เป็นภาษาก็แล้วกัน" อิอิ
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 05 ม.ค. 06, 01:44

 ขอเสริมคุณ Nuchan ครับ

โดยภาพรวมก็เป็นอย่างที่คุณ Nuchan นำเสนอไปครับ แต่ว่าคำว่า ตะวันออก กับ ตะวันตก ในที่นี้คงจะจำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มยุโรป อิหร่าน อินเดีย เท่านั้น ครับ เพราะว่า พื้นที่นอกเหนือจากนี้ ก็จะพูดภาษาตระกูลอื่นๆ ที่ต่างไปจากตระกูลอินโดอารยัน

ส่วนภาษาไทยเราที่่ภาษาสันสกฤตกับบาลีมาเป็นส่วนหนึ่งของคำศัพท์ ก็เพราะอิทธิพลทางการเมืองกับศาสนาครับ

ความคล้ายคลึงกันระหว่างละตินกับ สันสกฤตมีอยู่หลายประการครับ ทั้งระบบไวยกรณ์ และคำศัทพ์ (ซึ่งจริงๆ แล้ว ภาษากรีกโบราณจะคล้ายมากกว่าเสียอีก) ผมขอยกศัพท์ ที่นึกออกตอนนี้ ๒ คำแล้วกันนะครับ

ละตินว่า Navigator (นะวิกาตอรฺ)
สันสกฤตว่า Navika (นาวิก)

ละตินว่า Juvenis (ญุเวนิส)
สันกฤตว่า Yauvajana (เยาวชน)

---------------------------------

ส่วนเกี่ยวกับภาษาอังกฤษนั้น เคยได้ยินมาเหมือนกันครับว่า แต่เดิมอังกฤษเคยเป็นประเทศราชของฝรั่งเศสมาก่อน จึงรับเอาภาษาฝรั่งเศสไปมากในช่วงนั้น แต่ต่อมา เมื่อเป็นเอกราชก็ไม่ได้รับภาษาฝรั่งเศสอีก แต่หันไปรับความรู้โดยตรงจากภาษาละตินแทน (ซึ่งละตินก็รับมาจากจากกรีกโบราณอีกที)
อาจสรุปคราวๆ ได้ว่าอังกฤษ รับภาษาต่างๆ ดังนี้ครับ

๑. ภาษาอังกฤษดั่งเดิมตระกูลเยอรมัน (Germanic) พวกเดียวกับ กลุ่มสแกนดิเนเวีย เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี
๒. ภาษาเซลท์ เป็นภาษาพื้นเมืองของเกาะบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์
๓. ภาษาฝรั่งเศส รับสมัยเป็นเมืองขึ้น
๔. ภาษาละติน รับมาตั้งแต่สมัยโรมันเรืองอำนาจ ต่อมาก็รับผ่านทางศัพท์ฝรั่งเศสด้วย จากนั้นก็รับเรื่อยมาก็รับ โดยผ่านทางตำราวิชาการต่า่งๆ และการศาสนา
๕. ภาษากรีกโบราณ รับทางอ้อมโดยผ่านทางตำราภาษาละติน
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 05 ม.ค. 06, 01:50

 ตอบความเห็นเพิ่มเติมที่ 6 เรื่องพระพุทธเจ้าเป็นชาวอารยัน ?

เรื่องนี้ก็เคยได้ยินได้ฟังมาเหมือนกันครับ แต่เหมือนจะมีอยู่ ๒ สายที่เถียงกันอยู่ คือ

๑. ทรงมีเชื้อสายอารยัน ตามแบบคนอินเดียเหนือวรรณะกษัตริย์ทั่วไป
๒. ทรงมีเชื้อสายมองโกลอยด์ โดยอิงตามชนพื้นเมืองในเนปาลปัจจุบัน
๓. ทรงมีเชื้อสายผสมระหว่างอารยันกับชนพื้นเมืองในเนปาล

ก็หาข้อสรุปไม่ได้ครับ เพราะเป็นเรื่องเกินจะหยั่งรู้ได้

แต่ที่แน่ๆ พระองค์ไม่มีเชื้อสายไท แน่ๆ ครับ
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 05 ม.ค. 06, 02:09

 นั่นสิครับ คุณ pharmaceutical scientist

บ้านเรานิยมตั้งชื่อและนามสกุลจากภาษาสันสกฤต
ซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นธรรมเนียมกันไปแล้วครับ อย่างในยุโรป จะถือเป็น
"วัฒนธรรม" กับเลยทีเดียวเพราะจะตั้งจากชื่อนักบุญกันเป็นส่วนใหญ่
หรือเป็นชื่อที่นิยมตั้งตามๆ กันมา ดังนั้นฝรั่งชื่อไม่เยอะครับ
เค้าเลยต้องมาเน้นกันที่นามสกุลเป็นหลัก เพราะไม่ค่อยซ้ำกัน

อย่างเข้าไปนั่นรอคิวอะไรซักอย่าง เค้าก็จะเรียกนามสกุลครับ
เพราะถ้าเรียกชื่อเดี๋ยวยุ่ง เพราะถ้าเรียกไมเคิล ก็ไม่รู้ว่าจะมีกี่ไมเคิล
ลุกขึ้นมาพร้อมกัน อิอิ

เรื่องการตั้งชื่อของคนไทย ผมว่าเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งได้เลยนะครับ
โดยเฉพาะยุคนี้สมัยนี้ นอกจากชื่อจริงแ้ล้ว ก็ต้องมีชื่อเล่นกันด้วย
แล้วชื่อเล่นเดี๋ยวนี้ ก็มักจะเป็นคำกร่อนมาจากภาษาอังกฤษเสียอีก อิอิ

แอน เปิ้ล นิว เจน จูน แจน เอ บี ซี ฯลฯ

อืม ไม่รู้ว่า ถ้าไปขอเปลี่ยนชื่อเป็น "ก" ทะเบียนราษฎร์จะยอม
หรือเปล่าเนี้ยะ อิอิ ใครๆ จะได้เรียก "นาย กอ"

อ้าว วกมาหา "นาย กอ" อีกแล้ว ไม่ได้ตั้งใจครับ อิอิ
บันทึกการเข้า
sound engineer
อสุรผัด
*
ตอบ: 37

ทำงาน บ.ทอป ออดิโอ จก.


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 05 ม.ค. 06, 10:44

 ขอบคุณมากเลยครับนี่แหละครับที่ผมต้องการ พอทุกคนมีแง่มุมของตัวเองก็จะอธิบายกันไปแบบต่างๆ คุณ hotacunusคิดเหมือนผมเลยครับ การถอดชื่อไทยเป็นสันสกฤตบางคำทำไมมันไม่ใคร่จะเหมือนกันเลย ทักษิณ เป็น taksin tuksin thaksin และtaxin ยังมีเลย
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 19 คำสั่ง