เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 4021 พจนานุกรมและคำไทย
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


 เมื่อ 26 ธ.ค. 05, 17:56

 ๑.ตอนนี้เว็ปไซด์ ของราชบัณฑิตยสถาน และ พจนานุกรมไทย คืออะไรครับ ผมลองเข้าไปหาแล้วไม่เจอ กรณีผมจะหาความหมายของคำไทยสักคำหนึ่งนี้ผมต้องเข้าไปหาจากไหนได้บ้างครับ รบกวนแนะนำหมูด้วยนะครับ
๒.คำว่า" มกราคม "  มาจาก คำว่า มังกร  สนธิ กับอาคม (ชื่อเดือนอื่นๆที่ลงท้ายด้วย "คม"ก็คงอยู่ในเทือกเดียวกัน)ใช่ไหมครับ  แล้วอาคมที่ใช้สนธิตัวนี้ มาจากไหน แปลว่าอะไร (ผมคิดเอาเองว่าคงไม่ใช่ที่แปลว่า คาถาอาคม นั่นหรอกกระมัง)
๓.คำว่า"มิถุนายน"  มาจาก เมถุน สนธิ กับ คำไหน? อายน??รึ ...มีด้วยหรือ ...อายน..(ผมว่าคงไม่ใช่)(ชื่อเดือนอื่นๆที่ลงท้ายด้วย "ยน"ก็คงอยู่ในเทือกเดียวกัน)
๔. แล้ว "กุมภาพันธ์ " ล่ะครับ?
๕.ขอบพระคุณ  และสวัสดี ปีใหม่ครับผม:cheers
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 26 ธ.ค. 05, 17:57

 http://rirs3.royin.go.th/ridictionary/lookup.html  
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 30 ธ.ค. 05, 05:08

 คุณหมูน้อยในกะลา ก็ตามลิงค์ที่คุณ Nuchan ให้ไว้ได้เลยครับ

เป็นพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่มล่าสุดครับ (พ.ศ.๒๕๔๒) ซึ่งเพิ่งเปลี่ยนระบบมาไม่กี่เดือนนี้เองครับ คือ เดิมเป็นฐานข้อมูลของฉบับ พ.ศ.๒๕๒๕

----------------------------------------

ส่วนเกี่ยวกับชื่อเดือนนั้น เราอาจพิจารณาได้ว่า ชื่อดังกล่าวประกอบด้วยชุดคำ ๒ ชุดครับ

๑. ชื่อจักราศี
๒. คำนาม

ชื่อจักราศีนั้นคงทราบดีแล้ว ส่วนคำนามที่ผมกล่าวถึงประกอบด้วยคำ ๓ คำครับ อาคม, อาพันธ์ และ อายน

คำว่า อาคม และ อายน แปลว่า "การมาถึง"
คำว่า อาพันธ์ แปลว่า "การผูก"

อาคม จะใช้กับเดือนที่มี ๓๑ วัน
อายน จะใช้กับเดือนที่มี ๓๐ วัน
อาพันธ์ จะใช้กับเดือนที่มี ๒๘ วัน (๔ ปี จะมี ๒๙ วัน ครั้งหนึ่ง) ซึ่งก็คือ เดือนกุมภาพันธ์ ครับ

จะเห็นว่า ชื่อเดือนของไทยปัจจุบันจะสัมพันธ์กับการหมุนไปของจักราศี (ดวงดาว) ด้วยครับ ซึ่งเป็นการนับแบบสุริยคติ คือ อิงกับ ๑๒ ราศี และพระอาทิตย์ นั่นคือ พระอาทิตย์โคจรเข้าราศีใด ก็จะนำเอาชื่อราศีมาตั้งเป็นชื่อเดือนครับ ดังนั้น "มกราคม" จึงแปลแบบเต็มๆ ได้ว่า "การเข้ามาถึง (ของพระอาทิตย์ ยัง) ราศีมังกร"

ในเมืองไทย ได้ประกาศใช้ปฏิทินแบบใหม่ตามสุริยคติ อย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๒ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๕) และทางศาสนาได้เปลี่ยนตามเมื่อ วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๕

ไทเดิม นั้นใช้ระบบเหมือนจีน คือนับ เดือนอ้าย (หนึ่ง) เดือนยี่ (สอง) เดือนสาม เดือนสี่ เรื่อยไปจนครบ ๑๒ เดือน ซึ่งถ้าจำไม่ผิดก็จะเป็นระบบจันทรคติครับ

และการนับรอบปีดังกล่าว ไทเดิมเรียก "เข้า" ครับ ซึ่งปัจจุบันเพี้ยนกันเป็น ๒ ทาง คือ "ข้าว" กับ "ขวบ" คำว่า "ข้าว" ที่เราใช้กันในปัจจุบันนี้เพิ่งแก้ไขมาเมื่อไม่กี่สิบปีนี้เองครับ คำดั้งเดิมก็คือ "เข้า" ซึ่งคำนี้ก็ปรากฏในจารึกพ่อขุนรามคำแหงเช่นกัน คือ "เมื่อกูขึ้นใหญ่ได้ ๑๙ เข้า"  
"๑๙ เข้า" คือ "๑๙ ข้าว" ซึ่งก็คือ ๑๙ รอบของการทำนาปลูกข้าว ตรงกับคำปัจจุบันว่า "๑๙ ปี" นั่นเองครับ (แต่โบราณกาล หนึ่งปี ทำนาได้ ๑ ครั้ง ดังนั้น การนับรอบปีของสังคมเกษตรกรรมอย่างเราจึงใช้คำว่า "ข้าว" มาเป็นเกณฑ์อ้างอิงในการนับ)

ถ้าเป็นในจารึกบางหลัก (จำไม่ได้ว่าหลักไหน) เห็นใช้เดือนตามจันทรคติก็มีครับ โดยอิงพระจันทร์ กับกลุ่มดาว ๑๒ กลุ่ม (ซึ่งไม่ใช่ ๑๒ ราศีนะครับ) คือ พระจันทร์เต็มดวง ณ ตำแหน่งกลุ่มดาวใด ก็จะนำชื่อกลุ่มดาวนั้นมาเป็นชื่อเดือนครับ (คำว่า "มาส" แปลว่า เดือน)

เดือนทางจันทรคติมีดังนี้ครับ (สะกดตามภาษาบาลีครับ ถ้าท่านเคยเห็นสะกดอีกแบบคล้ายๆกัน นั่นเป็นตามภาษาสันกฤตครับ)

มิคสิรมาส = เดือนอ้าย
ปุสสมาส = เดือนยี่
มาฆมาส = เดือนสาม
ผคุณมาส = เดือนสี่
จิตตมาส = เดือนห้า
วิสาขมาส = เดือนหก
เชฏฐมาส = เดือนเจ็ด
อาสาฬหมาส = เดือนแปด
สาวนมาส = เดือนเก้า
ภัททปทมาส = เดือนสิบ
อัสสยุชมาส = เดือนสิบเอ็ด
กัตติกมาส = เดือนสิบสอง

กลุ่มดาว ๑๒ กลุ่มนี้ มาจากกลุ่มดาวทั้งหมด ๒๗ กลุ่มครับ

อ้าว ... ออกเรื่องดาราศาสตร์ไปได้ อิอิ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.039 วินาที กับ 19 คำสั่ง