sound engineer
อสุรผัด

ตอบ: 37
ทำงาน บ.ทอป ออดิโอ จก.
|
โตไม่ทันหรอกครับ แต่เรียนวิชาtv อาจารย์ชอบพูดถึง ช่อง4 บางขุนพรม อยากเห็นรูปภาพสมัยโน้นจัง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 23 ธ.ค. 05, 12:17
|
|
มีหนังสืออัตชีวประวัติของคุณอารีย์ นักดนตรี ซึ่งทำงานที่ช่อง ๔ บางขุนพรหมมาตั้งแต่ก่อตั้งได้ไม่นาน เอาไว้กลับบ้านก่อนแล้วจะสแกนรูปมาให้ดูกันค่ะ
คุณถาวภักดิ์ น่าจะโตทันค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
sound engineer
อสุรผัด

ตอบ: 37
ทำงาน บ.ทอป ออดิโอ จก.
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 23 ธ.ค. 05, 12:20
|
|
ขอบคุณครับ คุณเทาชมพู กลับบ้านนี่หมายถึงบ้านที่ไหนครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
sound engineer
อสุรผัด

ตอบ: 37
ทำงาน บ.ทอป ออดิโอ จก.
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 05 ม.ค. 06, 12:03
|
|
พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ทำไมไปมีส่วนเกี่ยวข้องในการสร้างสถานีโทรทัศน์ช่อง4บางขุนพรม ความจริงอำนาจหน้าที่หน้าจะอยู่ที่กระทรวงอื่นมากกว่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
sound engineer
อสุรผัด

ตอบ: 37
ทำงาน บ.ทอป ออดิโอ จก.
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 09 ม.ค. 06, 10:04
|
|
บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัดได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทจำกัดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2510 และได้ลงนามในสัญญาร่วมดำเนินกิจการส่งโทร-ทัศน์ในนาม สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง3กับบริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด เมื่อวันที่4 มีนาคม 2511
ต่อมา เมื่อปี2520 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ยุบเลิกบริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด และให้โอนกิจการทั้งปวงให้กับองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยซึ่งรวมถึงสถา-นีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ที่บริษัทบางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์จำกัด ได้ร่วมลงทุนกิจการอยู่ในขณะนั้นด้วย
สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ได้เริ่มวางศิลาฤกษ์เมื่อต้นปี2512 บริเวณ กิโลเมตรที่19 ถนนเพชรเกษม แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม กรุงเทพมหานครและได้ก่อสร้างอาคารสถานี พร้อมทั้งติดตั้งอุปกรณ์เครื่องส่งโทรทัศน์ และเสาอากาศจนแล้วเสร็จ เมื่อประมาณต้นเดือนมีนาคม 2513 เป็นเครื่องส่งโทรทัศน์ ขนาด 25 กิโล-วัตต์ 2เครื่องขนานกัน กำลังส่งรวม50 กิโลวัตต์ สายอากาศขยาย13 เท่า กำลังออกอากาศที่ปลายเสา650 กิโลวัตต์ ทางช่อง3 ด้วยระบบ CCIR PAL 625 เส้น ความถี่54-61 เมกกะเฮิร์ตซ์ เสาอากาศ เครื่องส่งโทรทัศน์สูง 250เมตรและเครื่องส่งวิทยุ เอฟ.เอ็ม.มัลติเพล็กซ์ กำลังส่ง10 กิโลวัตต์ ความถี่ 105.5 เมกกะเฮิร์ตซ์ และได้ เริ่มแพร่ภาพ อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2513
ส่วนช่อง 7
สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบก ช่อง 7 หรือ "ช่อง 7 สี" เริ่มแพร่ภาพตามมาตรฐาน CCIR 625 เส้น ระบบ PAL เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2510 ด้วยการถ่ายทอดสดการประกวดนางสาวไทย ในงานวชิราวุธานุสรณ์ จากบริเวณวังสราญรมย์ ตั้งแต่นั้นมาได้แพร่ภาพออกอากาศ เพื่อสื่อข่าวสาร และสาระบันเทิงต่อประชาชนทั่วไป ต่อมาในปี 2516 ช่อง 7 สี ได้เริ่มจัดตั้งสถานีถ่ายทอดสัญญาณ ในต่างจังหวัด จนกระทั่งบัดนี้มีสถานีเครือข่าย ถ่ายทอดสัญญาณรวม 34 สถานีแพร่ภาพ ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ รวมทั้งบริเวณชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน
จะเห็นได้ว่า ในช่วงปี 2514 -2515 นั้น มีช่อง 3 ช่อง 7 แล้ว ดังนั้นช่อง4 บางขุนพรมน่าจะยุบไปแล้ว ถ้าจำไม่ผิดดูเหมือนจะยุบไปเป็นช่อง3 (ใช่หรือเปล่า?)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 10 ม.ค. 06, 15:17
|
|
บางขุนพรหม สะกด "พรหม" ค่ะ ไม่ใช่ " พรม"
ทีวีช่อง 4 ที่ดำเนินงานโดยบริษัทไทยโทรทัศน์ ยุบเลิกไปเมื่อพ.ศ. 2522 กลายมาเป็น อ.ส.ม.ท. ช่อง 9 หรือ ช่อง 9 MCOT
ในตอนแรก รัฐบาลเปิดสถานีวิทยุ ท.ท.ท. อยู่ตรงสี่แยกคอกวัว ถนนราชดำเนิน แล้วจึงตั้งสถานีโทรทัศน์ขึ้นเป็นแห่งแรก ในรูปของบริษัทไทยโทรทัศน์ เปิดออกอากาศเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2498
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ladydunce
อสุรผัด

ตอบ: 9
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 10 ม.ค. 06, 19:27
|
|
เคยอ่านที่คุณอารีย์ นักดนตรีเขียนไว้เป็นตอน ๆ ในหนังสือต่วยตูนค่ะ
อยากเห็นเหมือนกันค่ะ
^^
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 11 ม.ค. 06, 10:04
|
|
เล่าความเป็นมา สถานีโทรทัศน์แห่งแรกของไทย เกิดจากดำริของจอมพล ป. พิบูลสงครามที่เดินทางไปเยือนประเทศต่างๆทั้งในสหรัฐอเมริกาและยุโรป เห็นการตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์ที่ให้ความรู้เรื่องข่าวสารและบันเทิง เป็นสื่อมวลชนที่มีอิทธิพลมาก
จึงกลับมาก่อตั้งโครงการขึ้น การตั้ง ก็คือตั้งในรูปของบริษัทไทยโทรทัศน์ ไม่ได้เป็นกรมหรือหน่วยงานราชการ แต่บทบาทดิฉันคิดว่าน่าจะเป็นรัฐวิสาหกิจ ไม่ใช่ราชการและไม่ใช่ของเอกชน เพราะรัฐบาลเป็นผู้ดำเนินงาน
ทีแรกตั้งสถานีวิทยุขึ้นมาก่อน ชื่อ "วิทยุ ท.ท.ท." อยู่ในเครือของบริษัทไทยโทรทัศน์ เพื่อเป็นสถานที่ฝึดหัดเจ้าหน้าที่ ทั้งด้านรายการและเทคนิค เพื่อจะไปสู่การปฏิบัติงานด้านโทรทัศน์ ส่วนเงินรายได้จากวิทยุ ท.ท.ท. ก็เป็นแหล่งหล่อเลี้ยงบริษัทไทยโทรทัศน์ ซึ่งต้องลงทุนสูงมาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 12 ม.ค. 06, 06:39
|
|
ส่วนคำถามของคุณ sound engineer ว่าทำไมโครงการสร้างสถานีวิทยุและโทรทัศน์ ถึงมีอธิบดีกรมตำรวจ พล ต.อ. เผ่า ศรียานนท์เป็นประธาน ไม่ยักใช่อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ทั้งที่ยุคนั้นก็มีกรมประชาสัมพันธ์แล้ว
ดิฉันคิดว่ามีเหตุผลหลายอย่าง 1) เป็นโครงการใหญ่ระดับชาติ ต้องอาศัยผู้บริหารที่มีอำนาจและบารมียิ่งใหญ่ระดับชาติเช่นกัน ถึงจะบริหารงานได้ 2) พล ต.อ. เผ่า เป็นมือขวาของจอมพล ป. ได้รับความไว้วางใจในเกือบจะทุกเรื่อง โครงการวิทยุและโทรทัศน์ไม่ได้เป็นแค่งานด้านสื่อสารธรรมดา แต่รวมถึงความมั่นคงของชาติด้วย สามารถใช้เป็นสื่อโดยตรงจากรัฐบาลถึงประชาชนได้ผลกว่าผ่านหนังสือพิมพ์อย่างในยุคก่อน 3) พล ต.อ. เผ่าเป็นเจ้าของคำขวัญ "ไม่มีอะไรภายใต้ดวงอาทิตย์ที่ตำรวจไทยทำไม่ได้" นี่ก็คือตัวอย่างข้อหนึ่งค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|
|
วันเสาร์
อสุรผัด

ตอบ: 20
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 26 ม.ค. 06, 16:26
|
|
หนังสือที่เกี่ยวกับโทรทัศน์ไทย ที่น่าสนใจอีกเล่มหนึ่งชื่อ "กำเนิดโทรทัศน์ไทย" โดยสินิทธิ์ สิทธิรักษ์ สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดพิมพ์ คุณซาวน์ฯน่าจะลองหาจากห้องสมุดได้ พิมพ์มาหลายปีแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
sound engineer
อสุรผัด

ตอบ: 37
ทำงาน บ.ทอป ออดิโอ จก.
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 01 ก.พ. 06, 11:17
|
|
ครับผม ขอบคุณครับ ตอนนี้มีหนังสือ ยักษ์ปากเหลี่ยม ของอาจินต์ ปัญจพรรค์ อยู่ครับ อ่านสนุกดี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|