เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7
  พิมพ์  
อ่าน: 106886 'เสด็จ' ในเรื่องสี่แผ่นดิน
vun
พาลี
****
ตอบ: 374


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 06 ต.ค. 05, 20:02

 ท่านมรว คึกฤทธิ์ท่านทำปริศนาไว้ให้เรางงเล่นหลายอย่างเลยนะครับ
บันทึกการเข้า
vun
พาลี
****
ตอบ: 374


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 06 ต.ค. 05, 20:05


พระที่นั่งบรรณคมสรณีย์ที่ถูกทุบทำลายไปแล้ว ในพระบรมหาราชวัง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 07 ต.ค. 05, 07:56

 มาต่อเรื่องกล้องเมียร์ชอม
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ทรง"เล่น" กล้องเมียร์ชอมเช่นกันค่ะ
เป็นของสะสมที่สวยงามประณีตมาก
อย่างภาพนี้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 07 ต.ค. 05, 07:57

 กล้องเมียร์ชอม ที่ทรงสะสมไว้ อีกภาพหนึ่ง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 07 ต.ค. 05, 07:58

 กล้องเมียร์ชอมเหล่านี้ อยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 07 ต.ค. 05, 08:40


ขอบคุณค่ะคุณหยดน้ำ
ถ้าหากว่าไม่ใช่คุณท้าววรจันทร   ก็ต้องค้นคว้ากันต่อไป ว่าน่าจะเป็นคุณท้าวท่านใด

ย้อนมาถึงคำว่า "เสด็จอธิบดี"
"เสด็จอธิบดี "ในที่นี้ คือพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้านภาพรประภา กรมหลวงทิพยรัตนกิริฏกุลินี   พระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดาสำลี
ทรงมีหน้าที่รับผิดชอบกิจการเกี่ยวกับพระราชฐานฝ่ายในทุกประการ

เสด็จทรงมีพระปรีชาสามารถในด้านหนังสือ และงานประดิษฐ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพับผ้าเช็ดหน้าเป็นรูปสัตว์ต่างๆ
แกะสลักหินอ่อนเป็นตุ๊กตาตัวเล็กๆ  ถักร้อยลูกปัด  ถักไหม พรม สานตะกร้า และดอกไม้กระดาษ
ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงเป็น "อธิบดีบัญชาการฝ่ายใน" ดูแลทั่วทั้งพระนิเวศน์สถาน  จนถึงรัชกาลที่ 7

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  2475  เสด็จฯตามเสด็จสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต
ไปประทับ ณ เมืองบันดุง อินโดนีเซีย  ประทับอยู่ถึง 13 ปีก่อนจะกลับมาประเทศไทย
สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2501 พระชนม์ยืนยาวถึง 94 ปี

ในพระฉายาลักษณ์ข้างบนนี้  เสด็จอธิบดี(พระองค์ขวา) ทรงฉายกับสมเด็จพระปิตุฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี  พระอัครราชเทวี
ทั้งสองพระองค์ทรงเป็นพระเจ้าลูกเธอ ร่วมเจ้าจอมมารดาเดียวกัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 07 ต.ค. 05, 08:50

 ขอโทษที   ภาพโดดไปหน่อย  
มีภาพกล้องเมียร์ชอม ของหลวง
มาให้ชมอีกภาพค่ะ
ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 10 ต.ค. 05, 10:11

 อีกตอนหนึ่ง  เป็นเกร็ดเรื่องย่อย แทรกเข้ามา
คุณสายเล่าถึงชีวิตสาวชาววัง ชื่อ "คุณสายหยุด" อยู่ตำหนักเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ ให้แม่ของพลอยฟัง
คุณสายหยุดเป็นลูกสาวคนใหญ่คนโต   พ่อเป็นเจ้าพระยา  ปู่ย่าตาทวดเป็นเจ้าคุณราชินิกุล  นิสัยโอ้อวดเอาการ
เข้ามาในวังก็หวังว่าจะได้เป็นเจ้าจอม

"ทีแรกพอโกนจุกได้ไม่กี่วัน   เขาก็เที่ยวคุยว่า  คนอย่างเขาไม่มีเสียละที่จะต้องหาหีบหมากใช้
อย่างเขาต้องกินหีบหลวง"
แต่คุณสายหยุดก็ไม่ได้เป็นเจ้าจอมสักที   นานเข้าก็กลับไปเยี่ยมบ้านชั่วคราว แล้วกลับมาพร้อมด้วยหีบหมากทองหรูหราใบหนึ่ง
บอกว่าเป็นหีบที่เจ้าคุณพ่อสั่งจากนอก  เป็นหีบทอง ฝามีวงกลมเป็นตาข่ายฝังเพชร บนตาข่ายมีงูเขียวทำด้วยมรกตเม็ดเล็กๆซึ่งเป็นปีมะเส็งปีเกิด
แล้วคุยว่า หีบหลวงเขาไม่อยากจะกิน   เพราะซ้ำกับคนอื่นดาษดื่น  เวลาขึ้น ก็เฟื่องฟูไปประเดี๋ยวเดียว แล้วก็ต้องไปหมอบประจำห้องเหลือง   สู้กินหีบของเจ้าคุณพ่อไม่ได้


อ่านแล้วสงสัยว่าหีบหลวงและหีบทองที่กล่าวไว้ในหนังสือ มีรูปร่างหน้าตาเป็นยังไง
จนได้ภาพมาภาพหนึ่ง เป็นหีบทองพระราชทานเจ้าจอมมารดามรกฏ     รูปร่างคงจะคล้ายกับหีบทองจากเมืองนอกของคุณสายหยุด
หมายเหตุ กล่องเล็กๆอีก 3 ใบนั้นคือตลับฝังเพชรค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 10 ต.ค. 05, 10:17


หีบทองใบนี้ ไม่ทราบประวัติและที่มา  แต่เห็นว่าเป็นหีบที่ฉลุลวดลายสวยมาก
ฝีมือช่างไทยสมัยรัตนโกสินทร์
ก็เลยนำมาลงไว้ในกระทู้เดียวกันค่ะ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 10 ต.ค. 05, 11:18


เอาหีบหมากมาฝากอาจารย์เทาฯอีกใบนึงครับ
ไม่ได้เข้ามาเล่นแบบเป็นจริงเป็นจังอยู่นาน ได้แต่ตามอ่านกระทู้(อย่างไม่ค่อยทัน)
เพิ่งจะมีโอกาสตอนปิดเทอมนี่ล่ะครับ

ใบนี้เป็นทองลงยาครับ เสียดายจำไม่ได้แล้วว่าเซฟรูปจากเวบไหนครับ
บันทึกการเข้า
vun
พาลี
****
ตอบ: 374


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 10 ต.ค. 05, 11:33

 แต่ในหนังสือเรื่อง"เลาะวัง"เขาเขียนไว้เต็มๆว่า"เสด็จพระองค์หญิง"คือ"พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้นที่5 พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร"

แต่ผมไม่คิดว่าเป็นอย่างงั้นหรอก แต่ในหนังสือมันเขีนอย่างนี้โดยใช้ตัวอักษรสีดำ ผมไม่เชื่อเลยว่าจะใช่พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร

เพราะเสด็จพระองค์หญิงท่านสิ้นพระชนม์ในปลายรัชกาลที่5ต้นรัชกาลที่6หน่อยๆ แต่พระองค์เจ้าวาปีบุษบากรท่านมีพระชนมายุถึง"รัชกาลที่9"เชียว

งั้นเรามาพูดถึงพระองค์เจ้าในร.4-5ที่ทรงมีพระชนมายุถึงรัชกาลปัจจุบันดีกว่า

พระราชธิดาในรัชกาลที่ 4 ที่มีพระชนม์มาถึงรัชกาลปัจจุบัน

- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐาสารี สิ้นพระชนม์เมื่อ พศ.2505 พระชันษา 97 ปี

- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านภาพรประภา กรมหลวงทิพยรัตนกิริฎกุลินี สิ้นพระชนม์เมื่อ พศ.2501 พระชันษา 94 ปี

- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์ สิ้นพระชนม์เมื่อ พศ.2493 พระชันษา 84 ปี

- สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สวรรคต พศ.2498 พระชันษา 93 ปี

----------------------------------------------------------------------------------

แต่ถ้าเป็นพระราชธิดาในรัชกาลที่ 5 ที่มีพระชนม์มาถึงรัชกาลที่ปัจจุบัน เท่าที่รวบรวมได้ก็มี ...

- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงประภาพรรณพิไลย สิ้นพระชนม์เมื่อ พศ. 2491 พระชันษา 63 ปี

- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอาทรทิพยนิภา สิ้นพระชนม์เมื่อ พศ.2501 พระชันษา 69 ปี

- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอดิศัยสุริยาภา สิ้นพระชนม์เมื่อ พศ.2506 พระชันษา 74 ปี

- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงวาปีบุษบากร สิ้นพระชนม์เมื่อ พศ.2524 พระชันษา 90 ปี

- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงเหมวดี สิ้นพระชนม์เมื่อ พศ.2515 พระชันษา 79 ปี

และพระราชโอรสในรัชกาลที่ 5 ที่มีพระชนม์อยู่จนถึงรัชกาลที่ 9 ก็คือ

- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร สิ้นพระชนม์เมื่อ พศ.2494 พระชันษา 66 ปี

ไปดูพระรูปกันได้ที่"ภาพเมืองไทยในอดีต4"นะครับ นี่เป็นพระรูปของพระองค์เจ้าวาปีบุษบากร
บันทึกการเข้า
vun
พาลี
****
ตอบ: 374


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 10 ต.ค. 05, 12:26

 เจ้านายไทย แบ่งออกเป็น พระบรมวงศ์ และ พระอนุวงศ์

- พระบรมวงศ์ (ณาติสนิท) คือ เจ้าฟ้า และ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า (รวมถึง ที่สถาปนาให้เป็นพระเจ้าบรมวงศ์ด้วย )
- พระอนุวงศ์ (ณาติห่าง) คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ลงมาถึง หม่อมราชวงศ์ หม่อมเจ้า

สมัยก่อนมีธรรมเนียมวัง
ข้าราชบริพารจะขานถึงพระเจ้าอยู่หัวว่า ทูลกระหม่อม เต็มๆ (ห้ามเรียกย่อ)

ส่วนเจ้าฟ้า ก็อาจจะเรียก ทูลหม่อม หรือ ทูลกระหม่อม+พระนาม

ถ้าเป็นพระบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายก็ใช้ ใช้เสด็จ........... จะทรงกรม หรือมิทรงกรมก็แล้วแต่

ส่วนเสด็จพระองค์...  ใช้เรียกพระบรมวงศ์ ชั้นพระองค์เจ้า หมายถึง พระองค์เจ้าที่ทรงศักดิ์เสมอพระราชบุตรีในรัชกาลก่อน

สมมติว่า
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้นที่4 พระองค์เจ้าบุษบงบัวผัน---เสด็จพระองค์บุษบง
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้นที่ 5 พระองค์เจ้าเหมวดี------- เสด็จพระองค์เหมวดี
พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี -------- เสด็จพระนางสุวัทนา

แต่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัตมิ์ พระวรชายา พระองค์นี้ ลองสังเกตตามหน้าหนังสือพิมพ์ ว่าขานพระนามว่า เสด็จพระองค์หญิง

อ่านในหนังสือแพรว  ในเล่มสัมภาษณ์พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์  ท่านทรงเรียกพระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ว่า  " เสด็จพระองค์หญิง  " เหมือนกัน  

ตกลงคือเสด็จพระองค์หญิงมีหลายพระองค์มากครับ หากมัวมานั่งวิเคราะห์คงปวดหัวตายแน่ครับ
บันทึกการเข้า
vun
พาลี
****
ตอบ: 374


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 10 ต.ค. 05, 12:33

 “ชาววัง” ถือเป็นระดับชนชั้นสูงในสังคมไทยแต่โบราณ สามัญชนนอกรั้ววังมักมองภาพชีวิตความเป็นอยู่ของ “ชาววัง” ไว้เลิศหรูทั้งที่ความเป็นจริงความเป็นอยู่ของคนชาววังยังแบ่งออกเป็นหลายระดับชั้นด้วยกัน ชาววังชั้นสูงก็คือพระมหากษัตริย์ เจ้านายพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งประสูติและศึกษาเล่าเรียนอยู่ในรั้ววัง และเมื่อเจริญพระชันษาแล้วก็ยังประทับอยู่ในวัง

           ส่วนชาววังชั้นสูงที่มิได้เป็นพระราชธิดาหรือผู้มีเชื้อสายเกี่ยวดองกับพระเจ้าแผ่นดิน ก็จะเป็นพวกลูกผู้ดีเชื้อสายขุนนาง ราชนิกูลต่างๆ ที่เข้ามาถวายตัวอยู่ในวังแล้ว แต่ว่าอยู่กับเจ้านายพระองค์ไหน ตำหนักไหน แต่ก็อยู่ในเขตรั้วกำแพงพระราชวังเช่นกัน ซึ่งชาววังที่ถือว่าเป็นระดับชั้นสูงนี้ หากเป็นเจ้านายชั้นพระราชธิดาและเชื้อพระวงศ์ราชนิกูลต่างๆ จะต้องศึกษาเล่าเรียนด้านอักษรศาสตร์ เพื่อสามารถเขียนหนังสือแต่งโคลงฉันท์ กาพย์ กลอนได้ นอกจากนี้ ยังต้องเล่าเรียนหัตถกรรม การฝีมือ การปักสะดึง การดอกไม้ การฝีมือด้านต่างๆ ด้านการอาหาร รวมไปถึงการดนตรี

           ยังมีชาววังชั้นสูงอีกประเภทหนึ่งเรียกว่าเป็น “นางพนักงานประเภท 1” อาจะเป็นพนักงานชาวที่ พนักงานพระศรี พนักงานพระภูษา ผู้ที่ทำราชการนี้มักเป็นสตรีในวังชั้นหม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ที่เคยรับราชการมาแล้วเมื่อรัชกาลก่อน ส่วน “นางอยู่งานประเภท 1” ผู้ที่ทำราชการประเภทนี้มักเป็นสตรีชาววังแรกรุ่นสาวๆ โดยจะทำหน้าที่เชิญเครื่องราชูปโภคหรือคอยตามเสด็จ ผลัดเวรกันอยู่บนราชมณเฑียรตามแต่เจ้านายจะใช้สอย

           สำหรับชาววังชั้นกลางก็คือลูกหลานของคหบดีหรือขุนนาง อำมาตย์ที่รับราชการในวังและให้ลูกเข้ามาศึกษาในวังด้วย ชาววังระดับนี้ที่เป็นหญิงจะขึ้นตรงกับเจ้านายในวังพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง ส่วนชาววังระดับล่างสุดเรียกว่า “โขลน” ส่วนผู้ชายเรียกว่า “ไพร่หลวง” ชาววังชั้นนี้จะผลัดเปลี่ยนกันเข้ารับหน้าที่ในพระราชวัง มีหน้าที่รักษาประตูวังหรือรับใช้งานต่างๆ

           ชาววังในครั้งอดีตเมื่อถึงเวลาจะเข้าเฝ้าฯ เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินหากเป็นชายที่เป็นขุนนาง ข้าราชการมักไม่ใคร่ใส่เสื้อเข้าเฝ้าฯ แต่จะเข้าเฝ้าฯด้วยกิริยานอบน้อมโดยการหมอบคลานเข้ามากราบไหว้ ซึ่งเป็นการแสดงความเคารพเทิดทูนพระมหากษัตริย์ของตนอย่างสูงสุด จนมาเลิกระเบียบธรรมเนียมการหมอบคลานเอาเมื่อครั้งรัชกาลที่ ๔-๕ เพราะมีการติดต่อกับชาวต่างชาติมากขึ้น

           ประเพณีชาววังที่น่ากล่าวถึงอีกอันหนึ่งเห็นจะเป็นธรรมเนียมการแต่งกายของสตรีในวังที่ถือเป็นกฎเกณฑ์สำคัญเวลาจะเข้าเฝ้าฯพระเจ้าแผ่นดินคือ ต้องแต่งองค์ด้วยผ้าลายและสะพักแพรที่ต้องมีสีสันตามวันอย่างถูกต้อง โดยต้องนัดหมายแต่งองค์ให้เหมือนกันทุกพระองค์ รวมไปถึง “หีบหมากเสวย” ที่เจ้านายสมัยนั้นทรงเสวยหมากกันก็จะนัดหมายให้ใช้หีบหมากเสวยเหมือนๆ กันทุกพระองค์ เช่น หีบหมากทอง หีบหูหิ้วรูปนาค ฯลฯ

 ในส่วนของการแต่งกายมาจากสี่แผ่นดินเวลาขึ้นเฝ้าฯให้ถูกต้องตามวัน เป็นดังนี้

           วันอาทิตย์ ทรงผ้าลายสีลิ้นจี่ ทรงสะพักแพรสีโศกหรือทรงผ้าสีเขียวใบไม้ ทรงสะพักสีทับทิม
           วันจันทร์ ทรงผ้าเหลืองอ่อน ทรงสะพักแพรสีน้ำเงินหรือสีบานเย็น ทรงผ้าสีนกพิราบน้ำเงินหม่น ทรงแพรสีจำปาแดง
           วันอังคาร ทรงผ้าสีม่วงอ่อน ทรงแพรสีโศกหรือผ้าสีโศก ทรงแพรสีม่วง
           วันพุธ ทรงผ้าสีเหล็กหรือสีถั่วเขียว ทรงสะพักแพรสีจำปาอ่อน      หรือ     แก่ ทรงแพรสีเหลือง หรือสีแก่กว่า
           วันพฤหัสบดี ทรงผ้าสีแสด
           วันศุกร์ ทรงผ้าสีน้ำเงินแก่ ทรงแพรสีเหลือง
           วันเสาร์ ทรงผ้าลายพื้นม่วง ทรงแพรสีโศก

           วันพระ ทรงผ้าสีแดง ทรงสะพักแพรสีชมพู ผู้ที่จะนุ่งแดงได้นั้น จะต้องเป็นเจ้านายเชื้อพระวงศ์เท่านั้น บรรดาข้าราชการ ข้าราชบริพาร หรือข้าหลวงชาววังต่างๆ ไม่สามารถนุ่งแดงอย่างเจ้านายได้เลย ส่วนวันที่ต้องไว้ทุกข์ก็จะทรงผ้าสีม่วง ทรงสะพักแพรสีนวลหรือทรงผ้าสีเขียว ทรงแพรสีม่วงอ่อนหรือม่วงแก่

           ส่วน “ทรงผม” ชายหญิงของชาววังในยุคต้นรัตนโกสินทร์ ก็ยังคงไว้ตามประเพณีครั้งกรุงศรีอยุธยาคือ เด็กก็ยังคงไว้ผมจุกทั้งชายและหญิง ผู้ชายไว้ผมมหาดไทย ผู้หญิงไว้ผมปีกมีเรือนผม แต่ในสมัยหลังเปลี่ยนเป็นตัดเกรียนรอบศีรษะ แต่ไว้ผมเป็นพู่ข้างหูสำหรับเกี่ยวดอกไม้ หรือเครื่องประดับทั้งสองข้างเรียกว่า “ผมทัด”

           ทรงผมชายหญิงยุครัตนโกสินทร์ เริ่มเปลี่ยนแปลงเมื่อครั้งรัชกาลที่ ๕ โดยผู้ชายให้เลิกไว้ผมทรงมหาดไทย ให้เปลี่ยนเป็นผมยาว ฝ่ายผู้หญิงให้เลิกไว้ผมปีก เปลี่ยนเป็นไว้ผมยาวแทน โดยมี “เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (เจ้าจอมมารดาแพ)” สนมเอกองค์แรกของรัชกาลที่ ๕ เป็นสตรีท่านแรกที่อาสาเปลี่ยนทรงผมปีกมาไว้ผมยาวตามอย่างตะวันตก และเพื่อสนองพระราโชบายของพระราชสวามี

           แฟชั่นการไว้ผมยาวจึงเริ่มต้นขึ้นครั้งแรกในวังหลวง โดยมีเจ้านายฝ่ายหญิงในวังเริ่มไว้ผมยาวตามอย่างกันบ้าง แต่ต่อมาก็เลิกไว้ เพราะดูแลรักษายาก แฟชั่นนี้จึงเงียบหายไป

ที่มา http://www.yingthai-mag.com/  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 11 ต.ค. 05, 09:46


"สี่แผ่นดิน" เล่าถึงงานโกนจุกของพลอย  
ม.ร.ว. คึกฤทธิ์บรรยายการแต่งกายในงานโกนจุกไว้ว่า
"เกี้ยวทำด้วยทองคำประดับเพชรพลอยแวววาม   ผ้ายกทองสีสด   มีนวมสวมรอบคอ ตรึงเครื่องเพชรต่างๆเข้ากับนวม  มีแหวน สายสร้อย จี้ และของอื่นๆอีกเป็นอันมาก"

ภาพที่นำมาลงนี้เป็นเด็กหญิงในชุดโกนจุก  ถ่ายเมื่อพ.ศ. 2339  ประมาณ 3-4 ปีหลังจากพลอย    เป็นเครื่องแต่งกายแบบเดียวกัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 11 ต.ค. 05, 09:48


สาวชาววังสมัยเดียวกับพลอย    
พลอยน่าจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้า และมีทรงผมแบบนี้ สมัยที่พบกับคุณเปรม

หมายเหตุ :สตรีในภาพที่ 60 และ 61 เป็นบุคคลเดียวกัน  คือคุณหญิงนิมิราชทรงวุฒิ  (เนือง วินิจฉัยกุล)
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.077 วินาที กับ 19 คำสั่ง