vun
|
ความคิดเห็นที่ 30 เมื่อ 30 ก.ย. 05, 23:50
|
|
 ผมคิดวิเคราะห์มาตั้งนานจนได้ความว่าเสด็จพระองค์หญิงน่าจะคือพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าศรีนาคสวาทดิ์เพราะด้วยเหตุผลหลายประการ คือในเรื่องของตำหนักที่ท่านอยู่จะเป็นตำหนักคล้ายที่หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์คือมี2ชั้น มีห้องโถงสูงใหญ่ สามารถมองเห็นที่บน(พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร ปัจจุบันรื้อลงแล้ว เพราะเก่าแก่เกินจะบำรุงได้) และพระองค์ท่านยังสิ้นพะชนม์ในสมัยหลังรัชกาลที่5สด็จสู่สวรรคาลัย ได้ไม่นาน และพระศพก็ตั้งอยู่ที่ศาลาธรรมสังเวชเช่นกัน แล้วความคิดทีบอกว่าท่านคือ พระมเหสีในร.5ผมว่าเป็นความคิดที่ดี แต่ผมคิดว่าแทบเป็นไปมิได้เลยเพราะพระมเหสีในร.5จะตามหลังด้วยไม่ใช่พระองค์หญิงครับ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
vun
|
ความคิดเห็นที่ 31 เมื่อ 01 ต.ค. 05, 00:46
|
|
 พระทีนั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร ทีไกล้กับพระทีนั่งอมรพิมาณมณีในพระบรมหาราชวัง |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
vun
|
ความคิดเห็นที่ 32 เมื่อ 01 ต.ค. 05, 00:55
|
|
 ดูสภาพพระทีนั่งทั้ง2องค์สิครับเก่าแก่เกินทีจะบำรุงได้แล้ว และอีกหลายองค์นะครับประมาณสัก5-6องค์ได้ถูกรื้อถอนหมดเลยครับ น่าเสียดายเนอะครับ แต่ถ้าไม่รื้ออีกหน่อยถ้าถล่มลงมาเองจะเป็นปัญหาใหญ่นะครับ ส่วนพระที่นั่งมูลสถานบรมอาสถ์ กับพระที่นั่งสมมติเทวราชอุบัติถูกสร้างขึ้นใหม่ในปัจจุบันเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่หมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 33 เมื่อ 04 ต.ค. 05, 11:02
|
|
รอคุณหยดน้ำมาต่อค่ะ ดิฉันเคยอ่านเรื่อง"คุณพนักงาน" ประเภทต่างๆ แต่ว่าหาหนังสือไม่เจอแล้ว จำได้กะท่อนกะแท่นว่า คุณพุ่ม บุษบาท่าเรือจ้าง เคยเป็น "คุณพนักงานเชิญพระแสง" ในรัชกาลที่ 3 ใครพอจะช่วยขยายความได้บ้างคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 34 เมื่อ 05 ต.ค. 05, 09:58
|
|
มาต่อเรื่อง สี่แผ่นดิน ตอนหนึ่งกล่าวถึง "คุณท้าว" ดังนี้ค่ะ " ถ้าเป็นการเฝ้าสมเด็จโดยเฉพาะแล้ว เสด็จมักจะเสด็จขึ้นทางบันไดด้านตะวันออก ข้างที่มีดาดฟ้าและร้านดอกไม้ แต่พลอยก็ได้ส่งเสด็จเพียงอัฒจันทร์ข้างล่างและนั่งรออยู่จนกว่าจะเสด็จกลับ เพราะการที่จะขึ้นบันไดไปชั้นบนนั้น จะต้องผ่านห้องที่นั่งของคุณท้าวผู้ซึ่งมีคนยำเยงเกรงวาสนาทั้งวัง เพียงแต่รู้ว่าคุณท้าวนั่งอยู่ในห้องก็ทำให้พลอยตัวเล็กลงจนเกือบจะเป็นละอองฝุ่นเสียแล้ว ถ้าขืนอาจหาญล่วงล้ำผ่านขึ้นไป เพียงแต่คุณท้าวท่านมองดูเท่านั้น พลอยก็คงจะละลายหายไปด้วยความกลัวตรงนั้นเอง
ดิฉันสงสัยว่าคุณท้าวที่เอ่ยถึงในนี้ คือท้าววรจันทร ไม่ทราบว่าท่านผู้รู้ที่เข้ามาอ่าน จะช่วยชี้แจงได้ไหมว่าถูกหรือเปล่า ตำแหน่งท้าววรจันทร อย่างที่คุณหยดน้ำโพสต์ไว้ เป็นหัวหน้าท้าวนางทั้งปวง มีหน้าที่บังคับบัญชาราชการทั่วไปในราชสำนักฝ่ายใน ตลอดจนมีหน้าที่ตักเตือนว่ากล่าวพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน และพระสนมกำนัล
ถ้าเป็นท้าววรจันทร ก็คือเจ้าจอมมารดาวาด ในรัชกาลที่ 4 เจ้าจอมมารดาวาด เคยเป็นข้าหลวงในตำหนักสมเด็จพระนางโสมนัสฯ มาก่อน รำเป็นตัวอิเหนาได้สง่างามมาก อีกบทหนึ่งที่ท่านรำได้งามไม่มีใครสู้คือบทท้าวมาลีวราช ความสามารถอีกอย่างคือเล่าเรียนเขียนอ่านได้ เป็นศิษย์ของแหม่มแอนนามาก่อน
ท่านได้เป็นท้าววรจันทร์เมื่ออายุ 45 ปี ในรัชกาลที่ 5 เป็นอยู่นานกว่า 40 ปี ถึงแก่อนิจกรรมเมื่ออายุ 98 ปี นับว่าเป็นเจ้าจอมที่อายุยืนยาวมากท่านหนึ่ง ท้าววรจันทรมีพระองค์เจ้า องค์หนึ่ง คือพระองค์เจ้าโสณบัณฑิต กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา ต้นราชสกุล โสณกุล และเป็นย่าของพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิยากร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
หยดน้ำ
ชมพูพาน
  
ตอบ: 146
คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
|
ความคิดเห็นที่ 36 เมื่อ 06 ต.ค. 05, 09:43
|
|
มาต่อเรื่องพนักงานครับผม แต่คงเป็นส่วนของพนักงานในสมัยรัชกาลที่ 5 ครับ
หม่อมเจ้าหญิงจงจิตรถนอม ดิศกุล พระธิดาองค์ใหญ่ในสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เคยถวายตัวเป็นข้าหลวงในพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี จนกระทั่งได้เลื่อนขึ้นเป็นคุณพนักงาน ได้ทรงบันทึกชื่อและหน้าที่ของพนักงานเหล่านั้นไว้เท่าที่ทรงจำได้
- พนักงานภูษา --- เจ้าจอมมารดาวาด - พนักงานพระสุคนธ์ --- เจ้าจอมมาดาเหม - พนักงานพระสุธารส - พนักงานพระศรี --- หม่อมราชวงศ์สร้อย - พนักงานพระที่ ดูลาดพระยี่ภู่ ตลอดจนงานประสูติเจ้าฟ้า - พนักงานพระแสง --- หม่อมเจ้าเบญจางค์ - พนักงานนมัสการ เป็นผู้ช่วยจุดธูปเทียนและดอกไม้ จัดพระแท่นพระพุทธรุปทุกรัชกาลในงานถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา - พนักงานเฝ้าหอพระมณเฑียร หรือหอพระบรมอัฐิ - พนักงานเฝ้าหอพระสุราลัยพิมาน หรือหอพระพุทธรูป - พนักงานเช็ดกวาดห้องบนพระที่นั่ง มีพระองค์เจ้าอรไทเทพกัญญา พระองค์เจ้าแขไขดวง ทรงเป็นผู้กำกับ
- พนักงานสนองพระโอษฐ์ ทำหน้าที่เชิญพระบรมราชโองการไปที่ "อ๊อฟฟิสหลวง" ซึ่งอยู่ข้างพระที่นั่งจักรี และคอยประสานติดต่อกับเจ้าหน้าที่ต่างๆ ระหว่างฝ่ายหน้า กับฝ่ายใน --- หม่อมเจ้าถนอม หม่อมเจ้าผอบ สนิทวงศ์
- พนักงานห้องเครื่องต้น --- ม.จ.สารภี ลดาวัลย์ ม.จ.สบาย นิลรัตน์ ม.จ.ประทุม นิลรัตน์ ม.จ.เมาฬี ปราโมช เป็นต้น
- พนักงานกลาง ทำหน้าที่เชิญเครื่องเสวยจากห้องเครื่องต้น - พนักงานลงพระบังคน ผู้รับสั่ง มีหน้าที่กำกับแพทย์ที่เข้ามารักษาไปตามตำหนัก
ต่อจากชั้นพนักงาน ก็เป็นชั้น "นาย" ข้าราชการระดับล่าง โดยมากสังกัดกรมโขลน
- ทนายเรือน (นาย ถมยา) มีหน้าที่กำกับแพทยืเข้ามารักษา - นายหุ่นโขลน กำกับโณงประเคน ซึ่งทำสำรับถวายพระสงฆ์ในงานพระราชพิธีต่างๆ - นายหริดโขลน ดูแลคุกในพระราชวัง - นายชวาลา ทำหน้าที่จุดโคมและนำคบไฟ เนื่องจากในสมัยนั้นไม่มีไฟฟ้า และมีข้อกำหนดว่าผูสัญจรไปมาในพระราชฐานชั้นในตอนกลางคืนต้องถือโถมไฟให้มีแสงสว่างติดตัวไปด้วย นอกจากนี้ยังทำหน้าที่กำกับแพทย์ถวายงานนวดด้วย ตำแหน่งนี้อยู่ในการกำกับดูแลของพนักงานสนองพระโอษฐ์
จะสังเกตได้ว่าผู้รับหน้าที่เป็น "นางพนักงาน" นั้น ส่วนใหญ่มักจะเป็นเชื้อพระวงศ์ หรือไม่ก็สตรีชั้นสูงที่เคยรับราชการมาก่อนและนอกจากนี้ยังมีพนักงานเฉพาะหน้าที่อื่นๆ อีก แต่เป็นพนักงานชั้นล่างๆ คือ เช่น วิเสท พิณพาทย์ ช่างเย็บ ช่างย้อม ช่างเขียน ช่างบาตร เป็นต้น
สำหรับตำแหน่งอีกอันหนึ่งที่สำคัญก็คือ "นางอยู่งาน" ไม่ใช่เจ้าจอมอยู่งานนะครับ มีหน้าที่เชิญเครื่องราชูปโภคตามเสด็จ และผลัดเวรประจำอยู่บนพระราชมณเฑียรเพื่อคอยรับรับสั่ง หรือที่เราเคยได้ยินกันบ่อยๆ ว่า "นางพระกำนัล" ตำแหน่งนี้สูงกว่า "นางพนักงาน" ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
หยดน้ำ
ชมพูพาน
  
ตอบ: 146
คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
|
ความคิดเห็นที่ 37 เมื่อ 06 ต.ค. 05, 10:03
|
|
ส่วนคุณพุ่ม ธิดาพระยาราชมนตรี(ภู่) นั้น เป็นพนักงานพระแสงครับอย่างที่คุณเทาชมพูบอกอ่ะครับ แต่จะทำหน้าที่อะไรนั้นผมก็ยัไม่รู้เลยครับ จะว่ามีหน้าที่เชิญพระแสงตามเสด็จ มันก็เป็นหน้าที่ของนางพระกำนัลอ่ะครับ แล้วยังไงจะล้องไปหาข้อมูลครับผม
"คุณท้าวผู้ซึ่งมีคนยำเยงเกรงวาสนาทั้งวัง" จริงๆ แล้วก็น่าจะหมายถึงท้าววรจันทรนะครับ แต่ดูจากตำแหน่งหน้าที่ของท่านไม่น่าจะไปนั่งประจำอยู่ที่นั่นได้ในประวัติท้าววรจันทร พระนิพนธ์ในกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร เขียนไว้ว่า
"...การบังคับบัญชาตัดสินราชการโดยมากก็นั่งว่าไปที่เรือนของท่าน บ่ายลงจึงจะต้องขึ้นไปบน และจะกลับมาได้ต่อเมื่อพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ขึ้นจากออกขุนนางแล้ว แต่บางคราวที่ราชการฉุกเฉินต้องขึ้นไปบนจนดึกดื่นก็มี..."
ผมคิดว่าน่าจะเป็นคุณท้าวท่านอื่นมากกว่าครับ
รัชกาลที่ทรงเคยรับสั่งถึงท้าววรจันทรไว้ว่า "...เรื่องท้าววรจันทรนั้น ฉันขอเสียที รู้อยุ่แล้วว่าไฟก้อย่าเอามือเข้าไปจี้ ... เขาไม่ได้เดินเหิรเข้ามา ฉันเอาเขาเข้ามาเอง..."
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|
|
|
|
Gotz21
อสุรผัด

ตอบ: 17
SaWasSdEe
|
ความคิดเห็นที่ 43 เมื่อ 06 ต.ค. 05, 12:14
|
|
ไม่ว่า"เสด็จ" จะเป็น พระองค์ใด แต่ผมว่า ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ได้ทำให้สี่แผ่นดิน เป็นเรื่องราวที่ไม่ตาย ไปจากพวกเรา อย่างน้อยก็มีกลุ่มสมาชิกเรือนไทย มาช่วยกันแสดงความคิดเห็นอยู่ นี่แหละ ความงดงามของวรรณกรรม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
samongi
มัจฉานุ
 
ตอบ: 59
เรียนคณะคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีชั้นสูง มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี
เอกวิทยาการคอมพิวเตอ
|
ความคิดเห็นที่ 44 เมื่อ 06 ต.ค. 05, 12:52
|
|
เห็นด้วยค่ะ ดิฉันเองติดใจสี่แผ่นดิน จนในขณะที่ทำฐานข้อมูล E-Book ต้องหยิบเรื่องนี้มาเลยค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|