พลอยไพลิน
บุคคลทั่วไป
|
ได้ยินมาว่าตัวละครในเรื่องสี่แผ่นดินเป็น'เงา'ของบุคคลจริงๆ ถ้าอย่างนั้นแล้ว 'เสด็จ' ในเรื่องสี่แผ่นดินล่ะคะเป็นเสด็จพระองค์ไหน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
B
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 09 พ.ย. 00, 13:59
|
|
Is she a daughter of King Rama IV, which means that she is King Rama V's sister?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 09 พ.ย. 00, 14:56
|
|
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ไม่ได้บอกว่าเป็นองค์ไหนค่ะ ทราบแต่ว่าเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๔ คือพระราชธิดาในรัชกาลที่ ๔ ก็คือเป็นพระขนิษฐาในรัชกาลที่ ๕ เสด็จ หรือเสด็จพระองค์หญิง ในพระบรมมหาราชวังมีอยู่มากมายหลายสิบองค์ ท่านอาจจะนำลักษณะของหลายๆองค์มาผสมผสานกันเข้าก็ได้ แล้วอีกอย่าง ท่านผู้ประพันธ์ไม่เคยรับออกมาตรงๆนะคะว่า ตัวละครของท่านเป็น " เงา" ของใคร แม้แต่คุณหญิงประเสริฐศุภกิจ (จำเริญ ไกรฤกษ์) ก็เป็นเพียง "หนึ่ง"ในสตรีร่วมสมัยรัชกาลที่ ๕ และ ๖หลายๆคนที่ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ เก็บเอามาสร้างเป็นแม่พลอยเท่านั้น คุณหาอ่านได้ในหนังสือ "พิเคราะห์คึกฤทธิ์ พินิจสี่แผ่นดิน" พิมพ์โดยสนพ.ดอกหญ้า ในบทความชื่อ " แม่พลอยมีตัวจริง? "ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
โบว์สีชมพู
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 09 พ.ย. 00, 15:27
|
|
คุณเทาชมพูคะ หนังสือพิเคราะห์คึกฤทธินี่ใครแต่งคะ และยังมีขายอยู่ไหมคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 09 พ.ย. 00, 16:02
|
|
เป็นรวมบทความวิจารณ์สี่แผ่นดิน รวมทั้งที่ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์เขียนเองลงในสยามรัฐ ถึงเบื้องหลังสี่แผ่นดินด้วยค่ะ ผู้เขียนบทความ มี ก.สุรางคนางค์ อ.เจือ สตะเวทิน สุชาติ สวัสดิ์ศรี ม.ล. บุญเหลือ เทพยสุวรรณ คุณรัญจวน อินทรกำแหง ฯลฯ พิมพ์ครั้งแรกปี ๓๔ จะพิมพ์ต่อมาอีกหรือเปล่าไม่ทราบ อาจจะมีเหลือตามสาขาดอกหญ้านะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
วราลี
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 09 พ.ย. 00, 16:05
|
|
ถ้าจะลองวิเคราะห์ดู ดิฉันว่า'เสด็จ'ในเรื่องแม่พลอยคงจะเป็น 'สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี' ค่ะ เพราะว่า'เสด็จ'ที่เป็นพระขนิษฐาและเป็นมเหสีของรัชกาลที่ ๕ ก็มีแค่สี่พระองค์ คือพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี แล้วก็พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี แต่เคยดูละครเรื่องสี่แผ่นดินเมื่อประมาณเกือบสิบปีก่อน ที่ฉัตรชัยแสดงคู่กับจินตหรา จำได้ว่าตอนหนึ่งแม่พลอยได้ตามเสด็จเสด็จตอนที่เสด็จเสด็จพร้อมกับเสด็จอีกพระองค์หนึ่งนั้น เสด็จที่แม่พลอยเป็นข้าหลวงอยู่เสด็จตามรัชกาลที่ ๕ เป็นคนที่สามหรือคนที่สี่ แสดงว่าไม่น่าจะเป็นพระนางเจ้าสว่างวัฒนาหรือพระนางเจ้าเสวภาผ่องศรี ซึ่งเป็นมเหสีอยู่ในลำดับที่หนึ่งกับที่สอง จึงน่าจะเป็นพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรีมากกว่า แล้วอีกอย่างหนึ่ง แม่พลอยในเรื่องสี่แผ่นดินก็มาจากตระกูลบุนนาค ในสมัยก่่อนเวลาเขาเอาลูกสาวไปฝากไว้ในวังฝ่ายใน เขามักจะฝากกับเจ้านายที่เป็นพระญาติ พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรีท่านก็มาจากสกุลบุนนาค ท่านเป็นพระธิดาของรัชกาลที่ ๔ ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสำลี นามสกุลเดิมบุนนาค นามสกุลเดียวกับแม่พลอยค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 09 พ.ย. 00, 16:27
|
|
เสด็จในสี่แผ่นดินไม่ได้เป็นพระมเหสีในรัชกาลที่ ๕ นี่คะ ้เป็นพระขนิษฐาซึ่งมีตำหนักอยู่ต่างหาก เหมือนพระองค์เจ้าอื่นๆ อ่านสำนวนสี่แผ่นดินของคุณวราลีแล้วงงค่ะ ขอชมที่คุณไม่งง ตามสด็จไปไหนกันหรือคะ อ่านแล้วไม่เข้าใจเรื่องลำดับที่ว่า ส่วนที่พลอยไปเป็นนางข้าหลวงของเสด็จ ก็เพราะแม่แช่มแม่ของพลอยเป็นข้าหลวงเดิม และอีกอย่างคือคุณพ่อของแม่แช่มคือตาของพลอยเป็นหลานเจ้าจอมมารดาของเสด็จค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
วราลี
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 09 พ.ย. 00, 16:45
|
|
คุณเทาชมพูลองไปเช่าหนังละครเรื่องสี่แผ่นดินที่ฉัตรชัยแสดงคู่กับจินตหรามาดูใหม่สิคะ คุณเทาชมพูไม่เคยได้ยินเรื่องล้อที่ว่า "เสด็จให้มาทูลถามเสด็จว่าเสด็จจะเสด็จพร้อมกับเสด็จหรือไม่เพคะ" เลยหรือคะ?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 09 พ.ย. 00, 17:20
|
|
จำได้ค่ะ ประโยคนี้อยู่ในสี่แผ่นดิน เป็นประโยคที่แสดงภาษาชาววังได้เยี่ยมมาก จะเรียกว่าเป็นเอกลักษณ์ของสี่แผ่นดินก็ได้ เพราะถ้ายกประโยคนี้ขึ้นมาจะไม่มีใครสับสนกับนิยายเรื่องอื่นเลย
"สวดมนต์เย็นบนพระที่นั่งบ่ายวันนี้มังคะ เสด็จให้มาทูลถามเสด็จว่าจะเสด็จหรือไม่เสด็จ ถ้าเสด็จจะเสด็จ เสด็จจะเสด็จด้วย" และเสด็จก็ตรัสตอบว่า " พลอยถ้าจะยังไม่เคยได้ยินภาษาชาววัง ไหน พลอยบอกมาลัยเขาสิว่า เสด็จให้ไปทูลเสด็จว่าเสด็จจะเสด็จ ถ้าเสด็จจะเสด็จด้วย เสด็จก็จะดีพระทัยมาก"
ที่งงน่ะคือคุณวราลีเอาละครขึ้นมาเป็นตัวอย่าง อ่านแล้วไม่เข้าใจ หรือถ้าพยายามเข้าใจก็ตีความว่า ในฉากมีขบวนเสด็จตามรัชกาลที่ ๕ โดยที่เสด็จ(ในละคร) ตาม เป็นลำดับที่สามหรือคนที่สี่ งั้นหรือคะ? ถ้าเป็นอย่างนั้น ดิฉันว่าอย่าเอาละครเป็นหลักเลยค่ะ จะผิด เพราะผู้จัดและผู้กำกับจัดตัวละครให้มีจำนวนน้อยกว่าในหนังสือ อาจเพื่อความสะดวกของมุมกล้องและอะไรหลายๆอย่างตามแบบการทำละครทีวี ไม่สามารถจะทำตามในหนังสือได้ครบ ุถ้าเอาหนังสือเป็นหลัก ในงานพิธีโสกันต์ทูลกระหม่อม มีกระบวนแห่ พระเจ้าอยู่หัวเสด็จ และสมเด็จเสด็จลงพร้อมเจ้านายทรงพระเยาว์อีกหลายพระองค์เสด็จผ่านไป พลอยหมอบเฝ้าอยู่อีกนาน จนขาชาเหมือนเป็นเหน็บ จึงเห็นเสด็จเสด็จผ่านหน้าไป แสดงว่าไม่ได้ตามเสด็จในลำดับใกล้ชิดพระเจ้าอยู่หัวอย่างในละครแน่ๆค่ะ
เสด็จไม่ใช่พระนางเจ้าสุขุมาลฯ เพราะในเรื่องใช้คำว่าเสด็จ ตลอด ไม่ใช่ พระนาง พระมเหสีทั้งสี่พระองค์ที่ว่ามา มีพระนามเฉพาะค่ะ คือสมเด็จพระตำหนัก สมเด็จที่บน ส่วนพระนางเจ้าสุขุมาลฯ เรียกว่า "พระนาง" และพระวิมาดาฯ ชาววังเรียกว่า " ท่านองค์เล็ก"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
วราลี
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 09 พ.ย. 00, 18:44
|
|
ดีใจค่ะที่คุณเทาชมพูนึกประโยคที่ว่าออก
กลับมาประเด็นเดิมว่า 'เสด็จ' ในเรื่องสี่แผ่นดินเป็นใคร ดิฉันทราบดีค่ะว่า "ฉากทั้งหลายทั้งปวงที่ผู้เขียนนำมาใช้ในการเขียนเรื่องนี้เป็นของจริงทั้งสิ้น และได้พยายามสอบสวนให้ตรงกับความจริง คลอดจนรวบรวมพิมพ์ขึ้นเป็นเล่มครั้งนี้ ก็ได้พยายามจนสุดความสามารถ ที่จะให้ราบละเอียดแห่งชีวิตที่ได้นำมาบรรยายนั้นถูกต้อง ตรงต่อความจริงให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ฉะนั้น ฉากละครเรื่อง 'สี่แผ่นดิน' จึงเป็นของจริงทั้งหมด แต่ตัวละครนั้นกลับเป็นของสมมุติ ฯลฯ" เพราะฉะนั้นดิฉันถึง'ลองวิเคราะห์'อย่างที่ดิฉันได้กล่าวไว้แล้ว จากฉากที่ดิฉันจำได้ในหนังสือและจากละครที่ได้เคยดูมา ว่าเงาของตัวละครนั้นบางส่วนคงมาจากบุคคลที่ผู้เขียนรู้จักในชีวิตจริง ดิฉันเคยอ่านเจอว่าพวกคุณป้าของม.ร.ว.คึกฤทธิ์หลายท่านถวายตัวเป็นคุณข้าหลวงของพระญาติที่เป็นพระราชธิดา ถ้าจะว่ากันเฉพาะพระราชธิดาของรัชกาลที่ ๔ ที่เป็นสายสกุลบุนนาคซึ่งสกุลทางฝ่ายมารดาของม.ร.ว.คึกฤทธิ์ คือเป็นบุนนาคสายของสมเด็จเจ้าพระยาพระองค์น้อย ก็มีอยู่แค่ ๒ พระองค์คือ พระองค์เจ้าหญิงบุษบงเบิกบาน กับ พระองค์เจ้าหญิงสุขุมาลมารศรี ซึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสำลี(เป็นธิดาของสมเด็จเจ้าพระยาพระองค์น้อย) แล้วเวลารัชกาลที่ ๕ เสด็จไปไหนมาไหน ก็มักจะเป็นฝ่ายหน้าหรือฝ่ายในพระองค์สำคัญๆอย่างพระมเหสี พระอัครชายา พระราชชายา หรือเจ้าจอมคนสำคัญบางท่าน จากเหตุการณ์หรือฉากแวดล้อมทั้งหมดที่ว่ามา ดิฉันจึงคิดว่า'เสด็จ'ในละครเรื่องสี่แผ่นดินน่าจะเป็น'เงา'หรือมีเค้ามาจาก 'สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี' ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
วราลี
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 09 พ.ย. 00, 18:51
|
|
ถ้าจะพูดให้ถูก กลัวคุณตีความผิด ก็คงต้องพูดใหม่ว่า ฉากตำหนักของเสด็จหรือฉากในวังฝ่ายในในเรื่องสี่แผ่นดิน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์คงได้เค้าโครงมาจากเรื่องที่ได้ยินได้ฟังมาจากพวกคุณป้าที่เป็นคุณข้าหลวงของสมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
วราลี
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 09 พ.ย. 00, 19:01
|
|
คุณเทาชมพูคงจะเห็นด้วยนะคะว่าบางทีผู้แต่งนิยายต่างๆ มักนำเค้าโครงมาจากเรื่องจริงใกล้ๆตัว เพราะฉะนั้นประโยคที่คุณเทาชมพูเขียนเองว่า "และอีกอย่างคือคุณพ่อของแม่แช่มคือตาของพลอยเป็นหลานเจ้าจอมมารดาของเสด็จค่ะ" คุณเทาชมพูน่าจะเดาได้นะคะว่า เจ้าจอมมารดาที่ว่าหมายถึงใคร และเสด็จที่ว่านั้นน่าจะเป็นพระองค์ได้บ้าง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 09 พ.ย. 00, 19:04
|
|
ดิฉันสังเกตอย่างหนึ่งว่า ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ระมัดระวังในการเอ่ยอ้างเรื่องตัวละครของท่านที่เป็นเจ้านาย ว่ามาจากพระองค์จริง องค์ไหน อ่านหลายหนในบทความของท่าน ก็จับไม่ได้ว่าท่านหมายถึงพระองค์ใด แต่อธิบายรวมๆถึงคุณลักษณะของเสด็จเอาไว้ว่า " ในวังเป็นโลกอีกโลกหนึ่งที่มีแต่ผู้หญิงก็จริง แต่ก็ไม่มีความเปล่าเปลี่ยว เพราะในวังสมัยนั้นเป็นศูนย์กลางของโลกภายนอก เนื่องด้วยเป็นทีประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประกอบด้วยพระเจ้าน้องนางเธฮ เช่นเสด็จ ซึ่งทรงได้รับการศึกษาสูง ภาษาต่างประเทศบางภาษานั้น ก็ได้ทรงศึกษากันไว้มากจนใช้การได้ ทางภาษาบาลีนั้น บรมวงศ์ฝ่ายในบางพระองค์ทรงช่ำชอง ถึงกับทรงทักพระในขณะที่พระสวดผิดได้ เช่นพระสวดอนุโมทนา เผลอไปว่า โส อัตถสัทโธ วิรุฬโห พุทธศาสเน ท่านก็ทรงทักว่า " ท่านเจ้าขา อิฉันเป็นผู้หญิงเจ้าค่ะ" พระก็รู้ตัว แก้คำสวดให้เป็นอิตถีเพศว่า " สา อัตถสัทธา วิรุฬหา พุทธสาสเน" ทางภาษาอังกฤษ ถึงจะไม่รับสั่งได้คล่องแคล่วก็ฟังได้เข้าพระทัย และทรงอ่านเข้าพระทัยได้เรื่องราวตลอด สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เคยทรงหนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษชื่อ Straits Times ทุกวันเป็นประจำ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
อุบลวัณณา
อสุรผัด

ตอบ: 1
ทำงานแต่สนใจประวัติศาสตร์
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 17 ก.ย. 05, 06:34
|
|
อ่านดูข้อความการเสวนาของคุณวราลีกับคุณเทาชมพูก็สนุกดีนะครับ เพราะต่างฝ่ายต่างให้ข้อมูลกันดี อย่างไรก็ตามผมเห็นว่า คุณเทาชมพูให้ข้อมูลที่น่าเป็นไปได้มากกว่า คุณวราลีดูสับสนและไม่ค่อยรู้เรื่องราวละเอียดพอเพียงนะครับ "เสด็จ"ในสี่แผ่นดิน ผู้แต่งไม่ได้บอกนะครับ ว่าเป็นเงาของท่านผู้ใด แต่ที่สันนิษฐานว่า เป็น สมเด็จพระปิตุฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี ไม่น่าจะใช่ เพราะขณะช่วงรัชกาลที่ห้า พระองค์ท่านได้รับสถาปนาที่พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี ชาววังจะออกพระนามว่า "พระนาง" และพระองค์ก็มีพระราชโอรส และพระราชธิดาส่วน"เสด็จ"ในสี่แผ่น ไม่มีการกล่าวถึงพระโอรสและพระธิดา ดังนั้นแล้วข้อนี้ตัดออกไปได้ ผมเห็นด้วยกับคุณเทาชมพูที่ว่า อาจจะเป็นพระน้องนางเธอพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง หรือหลายพระองค์รวมๆกัน(พระองค์เจ้าโสมาวดีฯ, พระองค์แขไขดวง, พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอาง,ฯลฯ มากมายครับ) ในระดับชั้นพระองค์เจ้า...และผู้แต่งไม่ได้บอกว่าเสด็จมาจากสายสกุลบุนนาค เพียงแต่บอกว่าแช่ม(แม่ของพลอย)เป็นญาติห่างๆของเสด็จ และเสด็จก็โปรดและสงสารแช่มเพราะเป็นหลานห่างๆเท่านั้นเอง แม่แช่เลยพาพลอยมาถวายตัวกับเสด็จที่เป็นเจ้านายเก่า และอีกช่วงเห็นได้ชัดตอนที่คุณเชยพี่สาวต่างมารดามาเยี่ยมพลอย ช่วงพลอยอยู่ในวัง คุณเชยไปพักที่ตำหนักเจ้าจอมก๊ก"ออ" ซึ่งถ้ารู้ประวัติศาสตร์ดี เจ้าจอมก๊ก"ออ "นี่แหละสายสกุลบุนนาค และช่วงที่เสด็จสิ้นพระชนม์ พระศพตั้งที่หอธรรมสังเวส(ลองหาดูละครสี่แผ่นดิน ช่องเก้าที่เพิ่งจบไป) ไม่ได้ตั้งที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท แต่สำหรับสมเด็จพระปิตุฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี เห็นมีการเชิญพระบรมศพมาจากวังบางขุนพรมนะครับ มีรายละเอียดอีกเยอะครับ ยังไงก็แล้วแต่ผมว่าไม่ใช่ ตามที่คุณวราลีพูดถึงแน่ แต่จะเป็นใครก็แล้วแต่ เราก็ได้รับความรู้จากเรื่องสี่แผ่นดินเป็นอย่างมากครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 18 ก.ย. 05, 11:19
|
|
ในความเห็นผม กลับมองว่า บรรยากาศในเรื่องในวังที่คุณชสยคึกฤทธิ์ท่านบรรยายไว้ ส่วนใหญ่น่าจะเป็นบรรยากาศในราชสำนักสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง มากกว่า เนื่องจากเมื่อคุณชายยังเยาว์ก่อนออกไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษนั้น คุณชายได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระพันปีหลวง ซึ่งในช่วงเวลานั้นเสด็จออกไปประทับที่พระตำหนักพญาไทแล้ว แทบจะมิได้เสด็จเข้าไปประทับในพระราชฐานชั้นในเลย บรรยากาศในวังหลวงจึงเป็นเรื่งที่คุณชายน่าจะฟังมาจากผู้ใหญ่ที่เคยใช้ชีวิตในวังหลวงมากกว่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|