เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 16447 สนุกนิ์นึก กับเรื่องที่นึกแล้วไม่สนุก
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 21 มี.ค. 06, 17:42

 ขออภัยที่หายไปนานจากกระทู้นี้

นิ์ อีกตัว ที่นึกออกคือ สำนักนิ์ ครับ แปลว่าสำนัก
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 25 มี.ค. 06, 11:10

 หา นิ์ มาฝากคุณจมื่นศรีปิงเวียงอีกคำ

ประดับนิ์ แปลว่า ประดับ (เจอในไตรภูมิพระร่วงครับ)
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 25 มี.ค. 06, 22:50

 กรมหลวงพิชิตปรีชากรเป็นพระโอรสรุ่นใหญ่ในรัชกาลที่ 4 เมื่อเด็กทรงตู่สมเด็จเจ้าพระยา(ช่วง) เป็นญาติผู้ใหญ่ ก็เลยได้ดำรงสถานะภาพอันพิเศษ
ทรงเป็นอัจฉริยะบุคคล หัดเรียนภาษาต่างๆด้วยพระองค์เอง และทรงศึกษากฏหมายสากลก็โดยพระองค์เอง เรียกว่า self though ท่านหนึ่งของโลกก็ว่าได้ ทรงเป็นตุลาการคดีพระยอดเมืองขวางได้อย่างวิเศษ และเมื่อพระชนม์เพียงหกขวบเศษ ก็ทรงรับ"ราชการ" แล้ว โดยทรงได้รับมอบหมายจากพระราชบิดาใหหหห้ต้อนรับทูตปรัศเซียที่เขาวัง
เคยอ่านพระราชหัตถ์เลขาที่สอนว่า ให้ยื่นมือให้เขาจับ คงหมายถึงเชคแฮนด์นั่นเอง

คุณสุชาติ เกิดหลังเรื่องสนุกนึกนิ์ตั้งร่วมหกเจ็ดสิบปี มติของแกคงเทียบพระราชวินิจฉัยมิได้ เว้นแต่จะแปลคำว่าโนเวล เป็นเรื่องสั้น ก็พออนุโลม

ผมไม่แน่ใจว่าในปีนั้น ในประเทศสยาม มีใครรู้จักเรื่องสั้นกันบ้างหรือยัง

เจ้านายพระองค์นี้ออกจะอาภัพ เพราะไม่ไคร่มีผู้ใดสนใจศึกษา
บทบาทของพระองค์ตอนทรงเป็นข้าหลวงเมืองลาวกาวนั้น สำคัญอย่างยิ่งครับ
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 26 มี.ค. 06, 10:11

 วันนี้ ผมขออนุญาตนำพระนิพนธ์เรื่อง สนุกนิ์นึก มาลงครับ
เรื่อง สนุกนิ์นึก
วันหนึ่งมีพระสงฆ์หนุ่ม ๔ รูป นั่งสนทนากันอยู่คั่นบันได น่าพระอุโบสถวัดบวรนิเวศน์ ก่อนเวลาลงพระอุโบสถ พอเด็กมาบอกกับพระองค์ ๑ ว่า คุณแม่อินกลับมาแล้ว พระองค์นั้นตอบว่า เออ แล้วเด็กก็ไป
พระองค์ ๑ จึ่งถามว่า คุณสมบุญจะสึกเมื่อไร กำหนดแล้วฤายัง
พระสมบุญจึ่งตอบว่า ยังไม่แน่คอยโยมอินอยู่ พรุ่งนี้จะไปปฤกษาแกดูจึ่งจะตกลงได้ ก็คุณล่ะจะออกวันสิบสองค่ำนี้แน่ฤๅ สึกแล้วจะไปเข้าที่ไหน ทำอะไรบอกกันบ้างสินะ ผมเองนี่ยังลังเลที่สุด ไม่รู้ว่าเข้าที่ไหน
พระเข็มจึงตอบว่า คุณก็เหมือนกันและไปไหนไม่พ้นหละ อีก ๖ วัน ก็แต่งตัวแห่เสด็จฟ้อไปเมื่อวานซืนนี้อีก ผมก็ต้องขอสัญยามั่งน่ะเผื่อถูกดีไก่ฎีกาเข้าบ้าง และเป็นที่พึ่งบ้างนาขอรับ คุณเหลงอย่างไร ยิ้มไปทีเดียวกริ่มใจที่ได้เปรียบเพื่อน มะรืนนี้ละก็ ฮึฮึ อย่านะขอรับ เขาว่าถ้าใจยังไม่ขาดละยังเป็นปาราชิกได้นะขอรับ คุณพระครูท่านว่าอย่างนั้น จริง ๆ นะ
พระเหลงจึ่งว่า พูดอะไรอย่างนั้นผมนะเหลาสิตหลอก ว่าแต่คุณอีกจะลืมกัน ทำไมกับผมคนค้าขายมันก็ได้แค่พอกิน มีแต่ผมจะพึ่งคุณ เปนถ้อยรอยความสาละพัด เอาภามาเลามาสบถกันเสียต่อหน้าพระก็ยังเอา ยังไรท่านเข็ม คนสมบุญว่าอย่างไรละ ฮะ เอา แหมละ
สบถไม่สบถมันก็เหมือนกัน คนที่มีใจซื่อถือสัตย์ด้วยกัน รักกันแล้วมันไม่ต้องสบถดอก
(นี่ เปนคำพระสมบุญแลพูดต่อไปว่า) ที่จริงการรักกัน ชอบกันช่วยกันนี้เป็นประโยชน์มากเหมือนกับเกลียวเหนียวกว่าด้ายเส้น เรารู้จักเห็นใจกันทั้งนั้น ถ้าสึกหาออกไป ภายน่ามีทุกข์ศุขอย่างไร พอช่วยกันได้ต้องช่วยกันทั้ง ๔ คนเรานี้หละนะขอรับ
ดี ดี เอา เอา
พร้อมกันว่า
พอถึงเวลาลงโบถ ก็พากันไปสวดในพระอุโบสถ คำพูดที่เล่ามาข้างต้นนี้  ผู้อ่านคงเข้าใจว่า พระสงฆ์ทั้ง ๔ คนนี้ จะสึกพรรษาเดียวพร้อมกัน แสดงเข้าใจกันว่าพระทรัพย์เปนคนอยู่ในกรมพระตำรวจ พระเข็มเปนเสมียนความ พระเหลงเปนลูกจีน แต่พระสมบุญนั้นได้ความแต่ว่าอาไศรยแม่อิน แต่ไม่รู้ว่าเปนคนอย่างไร เพราะฉะนั้นต้องอธิบายกันน้อยหนึ่ง พระสมบุญนี้เป็นบุตรคนมีตระกูลแต่ตกยาก ด้วยติดมากับมารดาซึ่งต้องออกมาจากตระกูล แต่พระสมบุญยังเล็ก ๆ อยู่ มาบวชเณรอยู่วัด มารดาตายไปก็เปนคนสิ้นญาติที่อุปถัมภ์ แต่ญาติฝ่ายบิดานั้นไม่รู้จัก  ฤๅเขาทำไม่รู้จัก
แม่อินเปนหญิงม่ายที่มั่งมีมาก เปนอุบาสิกาอยู่ในวัด มีความรักความประพฤติและสติปัญญาพระสมบุญจึงรับอุปฐากมาจนได้อุปสมบท แม่อินมีบุตรสาวคนหนึ่งชื่อแม่จันอายุได้ 16 ปี แม่อินจึงคิดอ่านในการที่พระสมบุญจะสึก และจะรับไว้ที่บ้าน ความเปนดังนี้
ส่วนพระสมบุญ มีความรู้สึกตัวแต่ว่าเขารักเหมือนลูกเหมือนเต้า ใจก็ยังลังเลไม่รู้ว่าจะคิดอย่างไร อยากเปนคนดี คนวิเสศ มียศ มีทรัพย์ มีชื่อ ที่สุดก็เพียงเสมอน่าพี่น้องที่ชั้นเดียวกัน แต่ทำอย่างไรถึงจะได้อย่างนั้น นั่นแหละเปนความยากที่หนักที่ติดตัว ก็ตัวคนเดียวทุนรอนและที่สนับสนุนก็ไม่มีหลักถานอันใด และแม่อินก็เปนแต่มีทรัพย์ มีทรัพย์อย่างเดียวไม่มีอื่น ถึงเขาจะรักอย่างไร ก็ใครเล่าเปนอย่างพระสมบุญ ที่มุ่งหมายว่าเขาจะทุ่มเทให้สักเพียงใด เพราะอย่างนั้นจึงไม่อยากสึก ด้วยเหนแท้แน่แก่ใจว่า ผ้ากาษาวพัตรเปนที่พึ่งของคนยาก ถึงไม่ทำให้ดีก็ไม่ทำให้ฉิบหายไม่ดิ้นขวนขวาย แล้วไม่มีทุกข์ เปนที่พักที่ตั้งตัวของผู้แรกจะตั้งตัวดังนี้ แต่แม่อินก็มาพูดจาชักชวนอยากจะให้สึกไม่อาจขัด ประการหนึ่งพวกพ้องเพื่อนฝูงก็จะสึกไปหมดพร้อมกัน นั่นแหละความดูตาม ๆ กัน มันก็แรงกล้าพาให้สึกกับเขาบ้างตามนิไสยของคนหนุ่ม ๆ ครั้นพูดไปกันเมื่อหัวค่ำกลับมานอนนึก ๆ ก็รำคาล ด้วยไม่รู้สึกไปทำไม ใคร ๆ เขาก็มีที่หมายทางเดิร แต่ตัวคนเดียวไม่มีที่มุ่งหมายแห่งช่องใดช่องทางที่จะทำนั้นก็มีถมไป แต่ทำอย่างไรถึงจะดี ๆ ยิ่งกว่าทางอื่น นั้นแลเปนเครื่องรำคาลใจอย่างยิ่งด้วย ด้วยเปนสิ่งจะได้เสียโดยเรวอยู่แล้วก็นอนตรองอยู่
พระเข็มมาหา พระสมบุญก็ยกเอาปั้นน้ำชาหมากพลูมาตั้งแล้วก็ชวนพูดด้วยความร้อนใจว่า คุณ ๆ บัดนี้ผมมีความทุกข์หนัก ด้วยเรื่องราวของผมเปนอย่างไรคุณก็รู้อยู่แล้ว เดี๋ยวนี้ผมจะสึกออกไป คนอย่างผมนี้จะทำอย่างไรอะไรจึงจะดีเปนที่ตั้งตัวสืบไป
พระเข็มจึงว่า ฮา คุณถามความที่ง่ายใคร ๆ ก็ตอบคุณได้ทุกคน แต่เปนข้อความที่คุณจะฟังเอาเปนแน่ไม่ได้สักคน คุณถามไปร้อยคนก็ร้อยอย่าง ผมรู้ที่จะตักเตือนอย่างไร ถ้าจะตอบให้เปนประโยชน์จริงแก่คุณ ๆ ก็ว่าจะเหมือนกับไม่ตอบอีกนะแหละ
เอาเถิดขอรับ เอาเถิดขอรับ
พระสมบุญเตือนและพูดต่อไปว่า ผมไม่ว่าคำเดียวถ้าถูกถ้าจริงแล้วก็ดีเสียกว่าคุณตอบผมสักสามวันอีก
พระเข็มยิ้มแล้วจึ่งตอบว่า ถ้าคุณเห็นดังนั้นละผมจะตอบคำเดียวว่า ตามแต่ใจคุณเท่านั้นและขอรับ
อา
พระสมบุญคราง ก็สั้นแท้สั้นจริงและกว้างจริงด้วย ผมอยากจะให้แคบเข้าอีกสักหน่อย ขออีกทีเถอะขอรับ
พระเข็มจึ่งว่า ถ้าอย่างนั้นผมจะกลับคำพูดใหม่ว่า วิชาใด ๆ ย่อมเปนของดีแท้หลายอย่างแต่ความรักของผู้เรียนแลผู้ใช้เปนสำคัญ ถ้ารักจริงเรียนจริงก็ใช้เปนประโยชน์จริงตามคำบุราณว่า คนรู้ ร็ให้จริงถึงสิ่งเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล ความข้อนี้เปนความจริงแท้ ถ้าคุณปรารถนาดีคงได้ดี ผมเห็นอย่างนี้แล แต่เรายังเปนเด็กกันสอนกันยังไม่ได้ เพียรไปด้วยกันก็คงจะได้เห็นหน้ากันต่อไป
พระสมบุญว่า เอาเปนใช้ได้ตามคุณว่า แต่ตัวคุณเอง จะรักวิชาสิ่งใดจะเดินทางไหนละขอรับ
พระเข็มตอบว่า อ้าว คำถามของคุณเปนอย่างอื่นไปละ เดิมคุณถามถึงตัวคุณ เดี๋ยวนี้ถามถึงผมผิดกันมาก คุณกับผมคนละคน ผมก็คนละอย่าง ส่วนผมเหนง่ายคือผมเดินทางเรียนกฎหมายอยู่ คุณก็รู้จักแล้วผมไม่เหนว่าวิชาใดจะดีกว่า และผมรักสุดใจจึงจับเรียน
เวลานั้นพอพระทรัพย์และพระเหลงมาถึงเข้าพร้อมกัน เหนพระเข็มพูดจาท่าทางปลาดจึงถามว่า พูดอะไรกัน
พระเข็มก็เล่าให้ฟ้ง
พระทรัพย์ก็ขัดคอขึ้นว่า คุณสมบุญอย่าเชื่อเอาพระเข็มนะ ไม่ได้เรื่องดอก อ้ายวิชากฎหมายนั่นแหละ บ๊ะแขนอย่างนี้เอามือทุบพื้นดังกระเทือนไปทั้งกุฏิ ฮะ แขนอย่างนี้ไปเรียนกฎหมายละไม่มีใครไปทัพละ เรียนอะไรไม่เรียน ๆ หลอกเขากิน ….. (เรื่องคงมีต่อไป)

ที่มา ไพรถ เลิศพิริยกมล.วรรณกรรมปัจจุบัน.กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 2542.
อ้างอิงต่อจาก
ธวัช ปุณโณทก.แนวทางศึกษาวรรณกรรมไทยปัจจุบัน.กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 2527.
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 26 มี.ค. 06, 10:29

 
"เปลื้อง ณ นคร. อ่านวรรณคดี.นครหลวง: หจก. บำรุงสาส์น,2515."

หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์ (หน้า 284-304)
........งานประพันธ์ชนิดหนึ่งที่เราเรียกกันทุกวันนี้ว่า “นวนิยาย” หรือ Novel นั้น เข้าใจว่าได้เริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชกาลที่ ๕ โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ได้ทรงพระนิพนธ์นวนิยายเรื่อง “สนุกนึก” ลงพิมพ์ในหนังสือวชิรญาณวิเศษ เมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๔๒๘ แต่เนื่องจากพระองค์ทรงพระนิพนธ์ภายหลังทรงผนวช และทรงคิดเอาพระภิกษุวัดบวรนิเวศฯ มาเป็นตัวละครในเรื่อง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเข้าพระทัยว่า กรมหลวงพิชิตปรีชากร เอาเรื่องจริงมาเขียนประจาน สมเด็จพระมหาสมณเจ้าพระองค์นั้นจึงทรงน้อยพระทัยโทมนัสเดือดร้อนมากมาย จนถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้องทรงไกล่เกลี่ยแก้ไขด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ เรื่องก็ระงับลงได้ กรมหลวงพิชิตปรีชากรก็ไม่กล้าทรงแต่งเรื่องสนุกนึกต่อไป คงทรงค้างอยู่เพียงเท่านั้น ที่ยกมากล่าวนี้เพื่อแสดงให้เห็นว่า การคิดทำอะไรใหม่ๆ ที่เรียกว่า แหวกแนว หรือ แนวใหม่ นั้น ในครั้งแรกมักจะประสบอุปสรรคนานาประการ...
คุณย่าเพิ้ง (หน้า 305-313)
...... จะเห็นได้ว่านักเขียนรุ่นเก่า ที่ลองเขียนเรื่องสั้นแบบชีวิตจริง ยังคงเขียนไม่มีเครื่องหมายวรรคตอน เช่นเรื่องสนุกนึก พระนิพนธ์กรมหลวงพิชิตปรีชากร...เป็นแบบเรื่องสั้น แต่ยังใช้แบบวรรคตอนอย่างหนังสือสามก๊ก ไม่สู้จะสร้างภาพความเข้าใจได้ดีเท่ากับการวางวรรคตอนแบบใหม่ เช่น เรื่องคุณย่าเพิ้ง.[/quote]
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 26 มี.ค. 06, 10:30

 สวัสดีครับ ท่าน นกข. และคุณพิพัฒน์
ผมคิดว่า ศัพท์ที่คุณพระนิลยกมานี้ น่าจะมาจากภาษาเขมรครับ
ขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ครับ
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 26 มี.ค. 06, 10:33

 
"สมพร มันตะสูตร.วรรณกรรมไทยปัจจุบัน.กรุงเทพ : 2525.
........เรื่องสั้นของไทยมีวิวัฒนาการเรื่อยมาจากนิทานสู่เรื่องสั้นตามความหมายปัจจุบัน ทั้งนี้จะสังเกตได้ว่า...มีนิทานในหนังสือบางกอกรีคอร์เดอร์...และ...ในหนังสือดรุโณวาท การเสนอนิทานที่มีแนวคิดใหม่กว่าเดิมในหนังสือบางกอกรีคอร์เดอร์นั้น เรียกนิทานนั้นว่า “คำปริศนา” บ้างเรีกยกว่าคำเปรียบบ้าง เช่น หมาไล่เนื้อกับนายพราน, คำเปรียบด้วยตัวฬา ส่วนดรุโณวาทเรียก “นิยายเก่านิทานใหม่” มีเรื่อง คางคกกับคนยิงนกยาง, หมาลักขนม และคนหาปลาทั้งสี่
.........อย่างไรก็ดี คนหาปลาทั้งสี่ยังมีลักษณะเป็นนิทานอยู่มาก , มีเพียงแก่นเรื่องหรือแนวคิดเรื่อง “ความโง่” เท่านั้นที่พอจะมองเห็นแววของเรี่องสั้นได้ สมัยต่อมามีเรื่องสนุกนิ์นึก, ราตรีวันสิ้นปี ลงพิมพ์ในหนังสือวชิรญาณวิเศษ ราว พ.ศ. 2428-2437 มีลักษณะเป็นเรื่องสั้นมากกว่าแม้ว่าจะไม่สมบูรณ์เท่ากับความเป็นเรื่องสั้นในปัจจุบัน แต่ก็มองเห็นโครงเรื่อง แก่นเรื่อง และกลวิธีในการแต่งชัดเจนขึ้น เป็นที่น่าสังเกตว่าเรื่องสั้นของไทยนิยมสร้างความขัดแย้งในโครงเรื่องทั้งความขัดแย้งของตัวละครต่อตัวละคร ตัวละครกับสังคม หรือแม้แต่ความขัดแย้งภายในตนเองที่มีอยู่....
.....กลวิธีในการแต่งเรื่องสั้นสมัยเริ่มแรกดำเนินไปอย่างเดียวกับนิทานเป็นส่วนใหญ่คือ นิยมเดินเรื่องตามปฏิทิน ส่วนผู้เล่าเรื่องก็นิยมให้ตัวละครเล่าเรื่องตัวเอง โดยสมมุติให้ผู้แต่งรู้ทุกอย่างของตัวละคร การเริ่มเรื่องมักจะเริ่มด้วยการบรรยายและจบเรื่องด้วยความสุขเป็นส่วนใหญ่ มีจบแบบไม่คาดหมายอยู่บ้างก็น้อย...
.....ตัวละครในเรื่องสั้นสมัยเริ่มแรก...เป็นตัวละครประเภทน้อยลักษณะ (Flat Character) เป็นส่วนมาก ส่วนบทสนทนานั้นมีบ้างก็ไม่นิยมใส่เครื่องหมายอัญประกาศกำกับ ฉากนิยมฉากสมมุติมากกว่าฉากจริง ซึ่งจะเห็นได้ว่าเรื่องสั้นสมัยแรก ๆ นี้มีเพียเค้าของเรื่องสั้นเท่านั้น ยังมิได้มีลักษณะเรื่องสั้นในปัจจุบันนี้แต่ประการใด...

อุดม รุ่งเรืองศรี.สภาพของวรรณกรรมไทยปัจจุบัน.พิมพ์ครั้งที่ ๒.กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร, ๒๕๒๔.
...โดยทั่วไปถือว่าเรื่อง สนุกนิ์นึก ของกรมหลวงพิชิตปรีชากร...เป็นเรื่องสั้นเรื่องแรก...
.....เรื่อง สนุกนิ์นึก นี้เป็นเรื่องที่มีลักษณะสมบูรณ์ตามแบบเรื่องสั้นสมัยเก่า ใช้วิธีสนทนาถกเถียงกันของพระในวัดบวรนิเวศสี่รูป ถกเถียงถึงการที่พระสมบุญจะสึกออกไปมีเมีย แต่ทั้งนี้การเขียนแบบนี้เป็นแนวใหม่ที่คนในยุคนั้นยังไม่รู้จักดีพอ...ทั้งนี้เรื่อง สนุกนิ์นึก น่าจะไม่จบโดยสมบูรณ์เพราะกรมหลวงพิชิตปรีชากรเขียนในวงเล็บท้ายเรื่องว่า “เรื่องนี้จะยังมีต่อไป” แต่คงจะเป็นเพราะความวุ่นวายดังกล่าวจึงไม่กล้าทรงแต่งตามที่กะไว้แต่ต้นได้ ด้วยเหตุนี้ สุดารัตน์ เสรีวัฒน์ จึงเสนอว่าเรื่องสั้นเรื่องแรกของไทยน่าจะได้แก่เรื่อง พระเปียให้ทานธรรม ซึ่งลงในวชิรญาณวิเศษ ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๓๓ วันจันทร์เดือนเจ็ด แรมแปดค่ำ ปีกุน นพศก ๑๒๔๙ (๒๔๓๐) เพราะเป็นเรื่องที่จบลงได้โดยสมบูรณ์ อย่างไรก็ตามเรื่องสั้นในยุคแรก ๆ นี้ยังเหมือนการเล่านิทานแบบเก่า คือคล้ายความเรียงร้อยแก้ว,การพรรณาและบทสนทนาจะเรียงต่อในบรรทัดเดียวกันเป็นพืดโดยไม่มีเครื่องหมายคำพูด ตอนต้นเรื่องจะมีอารัมภบทว่าทำไมจึงเล่าเรื่องนั้น และในตอนจบจะมีโคลงสี่สุภาพเป็นคติสอนใจ ลักษณะเช่นนี้เหมือนกับการปรารภชาดก,การแสดงธรรมเรื่องชาดก และประชุมชาดกนั่นเอง
"
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 26 มี.ค. 06, 10:33

 ประทีป เหมือนนิล.วรรณกรรมไทยปัจจุบัน.พิมพ์ครั้งที่ ๒ .กรุงเทพฯ : ๒๕๒๓.
........แต่กล่าวกันว่ารุ่งอรุณแห่งเรื่องสั้นไทยได้เริ่มฉายแสงขึ้นสมัยรัชกาลที่ ๕ ในหนังสือพิมพ์ดรุโณวาท...โดยเฉพาะนิทานเรื่อง คนหาปลาทั้ง ๔ นับว่ามีลักษณะของเรื่องสั้นอยู่มาก แล้วไปปรากฏชัดเจนขึ้นในหนังสือพิมพ์ วชิรญาณวิเศษ...และเมื่อกรมหลวงพิชิตปรีชากรได้ทรงนิพนธ์เรื่องอ่านเล่นขนาดสั้นชื่อ สนุกนิ์นึก ขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘ .....
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 26 มี.ค. 06, 19:06

 หางเสียง "นิ" ยังติดอยู่ในภาษาปาก สมัยเด็กๆผมได้ยินจนชินหู เดี๋ยวนี้หายไป
ถ้าให้เดา ก็ขอหลับตาเดาว่ามาจากภาษาเทศน์ของพระสงฆ์ ฟังก็ไพเราะดีนะครับ โบราณอาจจะออกเสียง
***สะ หนุก ***
ไม่ได้ถนัดปาก ก็เลยเติมหางเสียงเข้าไป เป็น
****สะ หนุก นิ***
บันทึกการเข้า
ต้นกล้าเป็นspy
อสุรผัด
*
ตอบ: 25

โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัยครับ


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 26 มี.ค. 06, 21:58

 วัยรุ่นอ่านแล้วงงครับ ฮ่าๆ
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 27 มี.ค. 06, 16:06

 ความเห็นของคุฯพิพัฒน์ ผมนึกขึ้นได้คำหนึ่งครับ
นั่นคือคำว่า ดูกร
ในแบบเรียนภาษาไทย ระบุว่า ดูกร มาจากคำว่า ดูก่อน
แต่บางท่านบอกว่า ดูกร มาจากคำว่า ดู-กะ-ระ ซึ่งเชื่อว่าผันมาจากคำว่า ดูก่อนรา
เวลาเทศน์ พระมักจะสวดว่า ดู-กะ-ระ ครับ เพื่อให้คล้องจอง เป็นทำนองดี
ป.ล. ที่พูดนี้ไม่เกี่ยวกับศัพท์ตระกูล นิ ครับ
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 27 มี.ค. 06, 18:21

 เรื่องเสียงในแต่ละภาษาเป็นเรื่องลึกซึ้ง
อย่างภาษาแขก ออกเสียง star สะ ตา ไม่ได้
ต้องเติมข้างหน้าเพื่อออกเสียงว่า อิช สะ ต้า
จิตร ภูมิศักดิ์ก็ค้นไว้มากเหมือนกัน รวมทั้งพระยาอนุมานฯ

ส่วนคำว่า ดูกร
สมเด็จนริศ ทรงเคยปรึกษากับนาคะประทีบ ลองไปหาอ่านดูนะครับ
สรุปว่า สรุปไม่ได้เหมือนกันครับ

เรื่องพวกนี้เข้าตำรา รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 08 พ.ค. 06, 10:56

 
"หม่อมฉันทราบอยู่ว่ากรมหลวงพิชิตทำหนังสือนี้ปรารถนาจะทำอย่างหนังสือโนเวลฝรั่ง ที่เขาแต่งกันนับพันนับหมื่นเรื่อง เป็นเรื่องคิดผูกพันอ่านเล่นพอสนุก แต่เมื่อว่าความจริงผู้ที่จะแต่งหนังสือเช่นนั้นมักจะต้องมีที่หมายเทียบกับคนในปัจจุบันบ้าง แต่ไม่ได้ทำตามความที่ประพฤติจริง ๆ ทุกอย่าง เป็นแต่เก็บเค้าบ้าง ยักเยื้องเสียบ้าง จึงจะชวนให้คิด ก็ในการที่กรมหลวงพิชิตแต่งหนังสือฉบับนี้ที่ออกชื่อวัดบวรนิเวศน์นั้น หม่อมฉันเชื่อว่าไม่ประสงค์จะกล่าวด้วยความจริงที่เป็นอยู่ในบัดนี้  ถ้าการที่เป็นล่วงเกินแล้ว แต่ถึงหม่อมฉันจะไม่ได้นึกสงสัยยินร้ายวัดบวรนิเวศน์ประการใดเพราะได้อ่านหนังสือฉบับนี้ก็จริง แต่คนทั้งปวงเป็นอันมากที่ไม่ได้เคยอ่านโนเวลฝรั่ง คงจะหมายว่าหนังสือพิมพ์แล้วคงจะกล่าวถึงการที่ผู้แต่งนั้นทราบมาตามความจริง ฤๅแต่งเฉพาะหาความให้คนยินร้ายตามคำตัวพูด ไม่เข้าใจได้ว่าผู้แต่งรู้ตัวแลตั้งใจให้คนอื่นทราบว่า หนังสือที่ตัวแต่งนั้นไม่แต่งสำหรับให้คนอื่นเชื่อว่าเป็นความจริง เป็นแต่จะให้อ่านสนุกเท่านั้นดังนี้ได้ เพราะฉนั้นหม่อมฉันจึงได้ถามกรมหลวงพิชิตให้แก้ความเสียให้สว่างทั้ง ๕ ข้อคือ ข้อที่ได้กล่าวนั้นเป็นจริงบ้างฤๅไม่ ถ้าไม่เป็นความจริงแล้วเหตุใดจึงได้ชื่อวัดบวรนิเวศน์ ดังนี้ กรมหลวงพิชิตยังไม่ได้แก้กระทู้ไปทูลขอประทานโทษซึ่งโปรดประทานโทษให้เธอ แลรับสั่งไม่ให้มีความผิดแก่กรมหลวงพิชิตนั้น หม่อมฉันก็ยอมยกโทษถวาย แต่มีความเสียใจอยู่มากด้วยกรมหลวงพิชิตก็มิใช่คนอื่น เป็นคนบวชวัดบวรนิเวศน์ ได้ยกย่องเป็นถึงเจ้าต่างกรมผู้ใหญ่ มาเป็นคนไม่คิดหยั่งหน้าหลังให้รอบคอบ ทำให้เหตุที่คนไม่ทราบความจริงเป็นที่ยินร้ายแก่วัดดังนี้ เป็นการไม่ควรเลย แต่บัดนี้เธอก็รู้โทษแลผิดแลการที่ผิดก็ปรากฏแก่คนทั้งปวงแล้ว ก็เห็นจะเป็นอันล้างมนฑิลในวัด กลับเป็นโทษแก่ตัวผู้แต่งที่จะต้องติเตียนมากเหมือนกับได้รับบาปทันตาเห็นอยู่แล้ว ก็ตกลงเป็นพอความปรารถนาเป็นยุติกันได้เพียงเท่านี้"


พระราชหัตถเลขา ที่ล้นเกล้าฯ ร.๕ ทรงมีถึงสมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ครับ
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 13 พ.ค. 06, 11:50

 จากหน้า 701 ในวิทยาวรรณกรรม ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 พระนิพนธ์ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
ระบุว่า
"การจำแนกท้ายคำนี้ ไทยเราไม่นิยม ภาษาไทยเดิมเป็นภาษาคำพยางค์เดียว จึงไม่มีคำท้ายและไม่นิยมท้ายคำ ที่เคยเติมท้ายคำเห็นมีอยู่แต่ "นิ" ในศัพท์ "สนุกนิ" "สำนักนิ" "พำนักนิ" อันเป็นการเติมท้ายคำในศัพท์ ซึ่งในภาษาเดิมคือภาษาเขมร เป็นนามแล้วเติมให้เป็นกริยาหรือคุณศัพท์ แต่ดูก็ไม่สู้แน่นอนนัก มาบัดนี้เราจึงตัดออกเสีย"
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 29 ก.ย. 06, 16:43

 เรียน ทุก ๆ ท่าน ที่เคารพครับ

คุณสุดารัตน์ เสรีวัฒน์(จากวิทยานิพนธ์ วิวัฒนาการของเรื่องสั้นในเมืองไทยตั้งแต่แรกจนถึง พ.ศ.2475.เอกสารการนิเทศการศึกษาฉบับที่ 212 ภาคพัฒนาตำราและเอกสารวิชาการ หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู,2522)
ท่านเห็นว่า สนุกนิ์นึก ไม่น่าจะเป็นเรื่องสั้นเรื่องแรกของไทย เพราะแม้มีลักษณะและส่วนประกอบของเรื่องสั้นครบถ้วนและสมจริง แต่ สนุกนิ์นึก ขาด แก่นเรื่อง(วินิจฉัยว่าบทที่พระสนทนากันน่าจะเป็นการกล่าวถึงกันเท่านั้น
คุณสุดารัตน์ จึงจัดให้เรื่อง พระเปียให้ธรรมทาน เป็นเรื่องสั้นเรื่องแรกมากกว่า หากไม่คิดว่าเรื่องนี้ขาดกลวิธีแต่งเรื่องให้ชวนอ่านติดตาม.
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.094 วินาที กับ 19 คำสั่ง