เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 16451 สนุกนิ์นึก กับเรื่องที่นึกแล้วไม่สนุก
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


 เมื่อ 19 ธ.ค. 05, 18:19

 ประกาศตั้งกระทู้หมายเลข 5
         เมื่อข้าพเจ้ากำลังทำรายงานเกี่ยวกับเรื่องสั้นนี้ (ตอนนี้ส่งเรียบร้อย) ได้สืบค้นตามแหล่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางอินเตอร์เน็ต,หนังสือ,บทความ และจิปาถะมากมาย หลายๆ เล่มและหลายๆ แห่งต่างกล่างอ้างถึงผลงานที่ชื่อว่า สนุกนิ์นึก ซึ่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากรทรงนิพนธ์ไว้ในวชิรญาณวิเสศ และถือกันว่าเป็นเรื่องสั้นบ้าง นวนิยายบ้าง แต่ถึงกระนั้น เรื่องนี้ก็ส่งผลกระทบหลายอย่างแก่กรมหลวงพิชิตปรีชากร
                   จุดประสงค์ของการตั้งกระทู้นี้ คือ
1. เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง สนุกนิ์นึก
2. เพื่อหยั่งเสียงว่า สมาชิกเห็นว่าเป็นพระนิพนธ์ประเภทใด (จะแจ้งให้ทราบภายหลัง)
        หากผิดพลาดประการใด ข้าพเจ้าขออภัยมา ณ ที่นี้ และสมาชิกสามารถเพิ่มเติมเนื้อหาเกี่ยวกับกระทู้ได้ไม่ขัดข้อง จะเป็นพระคุณอย่างสูง
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 20 ธ.ค. 05, 08:02

 เคยได้ยินครับ แต่ไม่เคยอ่าน

แต่ก็สงสัยว่าทำไมต้องมี "นิ์" ด้วยครับ สนุกนิ์  ฮืม
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 21 ธ.ค. 05, 11:56

 เรื่องสนุกนึก(ขี้เกียจสะกดแบบโบราณ อย่างคุณนกข.สะกด) เป็นพระนิพนธ์กรมหลวงพิชิตปรีชากร
พระเจ้าน้องยาเธอในรัชกาลที่ ๕

ความที่ท่านเขียนโนเวลเรื่องนี้ได้แนบเนียนสมจริงเกินไป เล่าถึงพระหนุ่มๆ ๔ รูป
ในวัดบวรนิเวศที่คุยกันว่าสึกแล้วจะไปทำอะไร แต่ละรูปก็ดูไม่ค่อยจะเป็นพระที่ดีงามเท่าไรเลย
โดยเฉพาะหนึ่งในจำนวนนั้นที่ไม่อยากสึกเพราะไม่รู้จะไปทำมาหากินอะไร
บวชดีกว่าเพราะยังไงก็ไม่อดตาย
ร้อนถึงสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯกรมพระยาวชิรญาณ ฯเดือดร้อนโทมนัส
เพราะทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรฯอยู่เอง
เรื่องเลยไปกันใหญ่จนพระเจ้าอยู่หัวต้องทรงออกมาตำหนิกรมหลวงพิชิตปรีชากร เรื่องก็จบ
แบบสนุกนึกค้างเติ่งไม่มีตอนต่อ เล่าอยู่ต้นเรื่องแล้วสะดุดไว้แค่นั้น

วันที่ 9 ม.ค. 2544 - 11:18:28
โดย: เทาชมพู  [IP: hidden]
 http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Cid=18&Pid=4769&PHPSESSID=7dcd54b3f10dd37adeddce6459e65fe1
***************
สำหรับเรื่องสั้นในประเทศไทยนั้น จะเห็นได้ว่ามีวรรณกรรมนี้เกิดขึ้นมาในสมัยรัชการที่ 5
ยุคที่ได้นำเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาเผยแพร่เป็นอย่างมากในทุก ๆ ด้าน เรื่องสั้นของไทย
ที่มีลักษณะเป็นเรื่องสั้นมากที่สุดคือเรื่อง “สนุกนิ์นึก ( 2428 )” นิพนธ์โดย “กรมหลวงพิชิตปรีชากร”
สนุกนิ์นึกจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นเรื่องสั้นเรื่องแรกของไทย

* จาก “ศัพท์วรรณกรรม ของ อ.กอบกุล อิงคุนานนท์”*
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 21 ธ.ค. 05, 17:05

 ขอบพระคุณครับสำหรับทุกความเห็นครับ
1. จะเห็นได้ว่า คุณ Nuchan พยายามชี้ให้เห็นถึงทัศนคติที่ไม่ตรงกันเกี่ยวกับสนุกนึก
ผู้ที่เห็นว่าสนุกนึกเป็นเรื่องสั้นคนแรก (เท่าที่มีหลักฐาน) คือ สุชาติ สวัสดิ์ศรี (ซึ่งนักวรรณกรรมไทยส่วนใหญ่คิดเช่นนั้น)
และผู้ที่เห็นว่าสนุกนึก เป็นโนเวล(นิยาย) พระองค์แรก คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งปรากฏพระราชปรารภใน พระราชวิจารณ์เรื่องสนุกนิ์นึก และหนังสือกราบทูลกรมสมเด็จพระปวเรศวริยาลงกรณ์(เนื่องด้วยกรมสมเด็จพระปวเรศฯ และกรมหมื่นวชิรญาณถวายฎีกากราบทูลพระราชทานอภัยโษกรมหลวงพิชิตปรีชากร) มีข้อความตอนหนึ่งที่ว่า
"หม่อมฉันทราบอยู่แล้วว่า กรมหลวงพิชิตปรารภว่าจะแต่งเลียนโนเวลฝรั่ง..."
(ไม่แน่ใจว่าพิมพ์ถูกหรือเปล่า)
ถ้ามีโอกาสจะมาเพิ่มเติมใหม่ครับ
2. ส่วนคำถามของคุณ  Hotacunus ที่ว่า ทำไมต้องมี นิ์ นี่ ผปมตอบไม่ได้ครับ เท่าที่สังเกตจะพบการเขียนแบบนี้ในสมัย ร.๕ ครับ
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 22 ธ.ค. 05, 00:21

 ขอนอกเรื่องไปคำว่า "สนุกนิ์" นะครับ

ตำราก็ไม่มีใกล้มือด้วยสิครับ ไม่เช่นนั้นก็คงน่าค้นหาอยู่ไม่น้อย เท่าที่ทำได้ก็พจนานุกรมออนไลน์ ของราชบัณฑิตยสถานครับ

คำ :  สนุก
เสียง :  สะ-หฺนุก
คำตั้ง :  สนุก
ชนิด :  ว.
ที่มา :  (ข.)
นิยาม :  เพลินใจ, ให้ความเบิกบานใจ.

คำว่าสนุก มีรากมาจากภาษาเขมร แต่ทางราชบัณฑิตฯ ก็ไม่ได้บอกเสียด้วยว่ามาจากคำว่าอะไร มาจาก "สนุก-นิ" หรือเปล่า อิอิ

บันทึกการเข้า
patsakorn
อสุรผัด
*
ตอบ: 4

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 07 ม.ค. 06, 14:17

 ผมคิดว่าเป็นนวนิยายครับ  เพราะจำได้ว่าเคยอ่าน จะลงท้ายว่า "เรื่องนี้ยังมีต่อ" ก็เลยเห็นว่ากรมหลวงพิชิตปรีชากร จะทรงนิพนธ์เป็นนิยายหรือโนเวลแบบฝรั่งมากกว่า  เมื่อพิจารณาด้านเนื้อหาแล้ว  ยังค้างปมไว้มาก  เหมือนตัวละครยังไม่ได้แสดงพฤติกรรมอะไรเลย  นอกจากการเปิดเรื่องถึงปัญหาของตัวละคร ซึ่งเป็นพระหน่ม 4 รูป  คุยกันว่าจะสึกไปประกอบอาชีพอะไรกันดี  การให้พระหนุ่ม 4 รูป คุยกันเรื่องทางโลกนี้เองที่ทำให้เกิดเรื่องขึ้นครับ

ส่วนเรืองสั้นเรื่องแรก มีการค้นพบกันว่าคือเรื่อง นายจิตรกับนายใจสนทนากัน ผู้แต่งคือ เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ ครับ ผู้ค้นพบเรื่องนี้คือ คุณพิทยา ว่องกุล  ด้วยเหตุผลว่ามีความสมบูรณ์ตามองค์ประกอบของเรื่องสั้นมากที่สุดเป็นเรืองแรกของไทย

น่าสังเกตว่าทั้งสนุกและนายจิตรกับนายใจสนทนากัน เป็นเรื่องที่กล่าวถึงปัญหาของคนในสมัย รัชกาลที่ 5  มีลักษณะสมจริง เสียดายว่าเกิดปัญหาเรื่องสนุกนึกนิ์เสียก่อน ทำให้พัฒนาการของนวนิยายและเรื่องสั้นไทย เกิดความชะงักงัน

จินตนาการดูนะว่าถ้าสนุกนึก แต่งจนจบ อาจเป็นการวางรากฐานนวนิยายในประเทศไทยก็ได้  เมื่อไม่มีสนุกนึกนิ์  เราก็เลยหันไปเรื่องจักรๆวงศ์ๆ เหมือนเดิม  อย่างน้อยการวิจัยของ ดร.ตรีศิลป์ บุญขจร (นวนิยายกับสังคมไทย) และของอาจารย์สุพรรณี วราทร ก็ให้ข้อมุลเหมือนกันคือนิยายในช่วงแรกๆ มีเนื้อเรื่องเป็นเรือ่งรักกับผจญภัยมากที่สุด ซึ่งเป็นลักษณะที่เห็นชัดในนิทานวัดเกาะของไทย

ขอร่วมแสดงความเห็นเท่านี้ครับ
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 10 ม.ค. 06, 16:34

 สวัสดีคุณภาสกรนะครับ
ขอบพระคุณที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ สนุกนิ์นึก และเรื่องสั้นเรื่องแรกนะครับ นับว่ามีประโยชน์พอสมควรครับ
ในข้อที่ว่าเรื่องสั้นเรื่องแรกคือเรื่อง นายจิตรกับนายใจสนทนากัน นี้ นับว่าเป็นประเด็นใหญ่ครับ เพราะแต่ก่อนนี้ เคยเชื่อกันว่า สนุกนิ์นึก เป็นเรื่องสั้นเรื่องแรก (และส่วนใหญ่ก็เชื่อตามกันมา แม้คุณเจือ สตะเวทิน จะระบุว่าคนหาปลาทั้งสี่เป็น (นิทานที่มีเค้าคล้าย)เรื่องสั้นเรื่องแรก ,คุณสุดารัตน์ เสรีวัฒน์ให้ พระเปียให้ธรรมทาน เป็นเรื่องสั้นเค้าโครงสมบูรณ์เรื่องแรกก็ตามครับ) แต่ไม่ค่อยมีใครแย้งความเห็นนี้นัก
หลังจาก สนุกนิ์นึกแล้ว ก็มีนิทาน(ซึ่งว่ากันว่าเเป็นเรื่องสั้นตามที่คุณกรรณิการ์ ฤทธิเดชแถลงไว้) ที่ตีพิมพ์ในวชิรญาณวิเศษอีกหลายเรื่อง(ราว 10 กว่า เรื่อง) จนวชิรญาณวิเศษปิดตัวลงครับ ถ้ามีโอกาสได้อ่านบรรดาเรื่องที่คุณกรรณิการ์จัดให้เป็นเรื่องสั้น เราอาจจะพบอะไรบางอย่างนะครับ
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 10 ม.ค. 06, 17:04

 "สนุกนิ์นึก" จะเป็นนวนิยายหรือเรื่องสั้นก็ได้   ในสมัยก่อนโน้น  ความแตกต่างระหว่างนวนิยายและเรื่องสั้นยากจะจำแนกออกจากกัน   เพราะกลวิธีการแต่งไม่ต่างกัน   ต่างกันแต่ความสั้นหรือยาวของเรื่องเท่านั้น  

แต่งให้สั้นรวบรัดมันก็เป็นเรื่องสั้น  แต่งให้ยาวด้วยการขยายรายละเอียดมันก็ยาว  ยกตัวอย่าง เช่นเรื่องซินเดอเรลลา   ถ้าดูจากโครงเรื่องก็เป็นเรื่องยาว  แต่ถ้าเล่าให้จบในหน้าเดียวก็เป็นเรื่องสั้นไปได้

ดิฉันเคยลองแต่งต่อ "สนุกนิ์นึก" เอาไว้จนจบ   เพื่อจะดูว่าเป็นเรื่องสั้นหรือนวนิยายกันแน่  พบว่าชีวิตของพระทั้งสี่รูปก็จบลงได้ในไม่กี่หน้า
คุณภาสกรน่าจะเคยอ่านมาแล้ว

ถ้าหาหนังสือเล่มนั้นเจอจะลอกมาให้อ่านกันค่ะ แต่ไม่สัญญานะคะ เพราะคงอยู่ในตู้หนังสือตู้ใดตู้หนึ่ง ไม่ได้แตะมานานแล้ว
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 11 ม.ค. 06, 17:48

 ขอพระคุณความเห็นของ อ. เทาชมพูนะครับ
มาว่าด้วยเรื่อง สนุกนิ์
จากอักขราภิธานศรับภ์ ผลงานของหมอ-บรัดเลย์และอ. ทัดระบุว่า
"สนานสนุกนิ์, สนานเปนคำสร้อย, แต่สนุกนิ์คือความปรีเปรมกระเษมใจนั้น"

หมอ-บรัดเลย์ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2416 เป็นพจนานุกรมที่ทำให้งงกับการเรียงศัพท์ เพราะเรียงตามลำดับพยัญชนะและสระตามมาตรา ก กา
ผมเพิ่มเติมได้เท่านี้นะครับ คราวหลังจะมาใหม่
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 16 ม.ค. 06, 10:47

 จากการตรวจสอบคำว่า สนุก โดยใช้พจนานุกรม พบว่า
1. พจนานุกรมไทยฉบับมติชน ระบุว่า
สนุกนิ,สนุกนิ์  (บางทีใช้ สรนุกนิ) เป็นคำโบราณ มาจากภาษาเขมร มีความหมายเดียวกับ สนุก เช่น
ในอาสนอาศรมสนุกนิ อย่ารู้มีทุกขสักอัน (มหาชาติคำหลวง วนประเวศน์ )
2. พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 และพจนานุกรมไทยฉบับระบุว่ามาจากภาษาเขมร แต่ไม่ได้ระบุว่ามาจากคำว่าอะไร
3. พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2545 (ฉบับล่าสุด) ระบุว่า สนุก มาจากคำว่า สฺรณุก ซึ่งเป็นภาษาเขมร
พอสัณนิษฐานได้ว่า
สฺรณุก > สรนุกนิ > สนุกนิ > สนุกนิ์ (ใช้จนถึงสมัย ร. ๕) > สนุก
แต่ไม่ทราบว่า ทำไมต้องมี นิ ? (ไม่ อิอิ ครับ) ใครมีข้อสันนิษฐานดี ๆ บอกได้ที่กระทู้นี้ครับ
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 07 ก.พ. 06, 17:11

 http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Cid=18&Pid=5346&PHPSESSID=85f4f766978f88698b1116cf2720b418

วรรณกรรมไทย
นอกจาก ดรุโณวาท ก็คือ วชิรญาณวิเศษ ออกเมื่อพ.ศ.๒๔๒๗ เป็นหนังสือของหอพระสมุดวชิรญาณในสมัยที่พระองค์เจ้าคคนางค์ยุคล กรมหลวงพิชิตปรีชากรทรงเป็นสภานายกและอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นักเขียนสำคัญได้แก่กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และกรมหลวงพิชิตปรีชากร

เมื่อถึง พ.ศ.๒๔๒๙ บทบาทของกรมหลวงพิชิตปรีชากรในฐานะ “คนรุ่นใหม่” ก็ได้ปรากฏขึ้น เมื่อนิพนธ์เรื่อง สนุกนึก

เรื่องนี้นับว่าเป็นการเริ่มต้นของวรรณกรรมไทยที่ได้รับอิทธิพลตะวันตกในยุคแรกอย่างเห็นได้ชัด แม้ว่ารูปแบบการเขียนยังเป็นแบบเก่า คือเล่าติดต่อกันไปเหมือน สามก๊ก และ ราชาธิราช ไม่มีการใช้เครื่องหมายคำพูด หรือการขึ้นบรรทัดใหม่เมื่อมีบทสนทนา ฯลฯ อย่างวิธีการเขียนนิยายปัจจุบัน แต่แนวคิดนั้นได้รับแนวตะวันตก คือแนวสัจนิยม (realism) มาอย่างเห็นได้ชัด

เนื้อเรื่องของ สนุกนึก บรรยายถึงพระสงฆ์หนุ่มๆ ๔ รูปพูดคุยกันว่าเมื่อสึกแล้วจะออกไปประกอบอาชีพต่างๆกัน เช่นทำราชการ และค้าขาย ผู้ที่ยังลังเลไม่สึกก็มีอุบาสิกาเตรียมมาจัดการให้สึกเพื่อจะเอาไปเป็นลูกเขย ข้อสำคัญคือฉากในเรื่องระบุว่าเป็นวัดบวรนิเวศ

ข้อนี้เอง เมื่อลงตีพิมพ์ก็เกิดเป็นเรื่องอื้อฉาวขึ้น เพราะคนอ่านเข้าใจว่าเป็นเรื่องจริงเนื่องจากคนไทยยังไม่คุ้นกับกลวิธีการแต่งแบบสมจริงเช่นนี้ กลายเป็นเรื่องให้วิพากษ์วิจารณ์กันไปต่างๆจนสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ขณะนั้นทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศเดือดร้อนพระทัยว่าทำให้วัดมัวหมอง ความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงกริ้วและกล่าวโทษกรมหลวงพิชิตปรีชากรพอประมาณแล้วก็ทรงไกล่เกลี่ยให้เรื่องยุติลงเพียงแค่นั้น เป็นอันว่าสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯก็ไม่ติดพระทัยจะกล่าวถึงเรื่องนี้อีก ส่วน สนุกนึก ก็ค้างอยู่เพียงตอนแรก ทิ้งปัญหาไว้ให้นักวิชาการถกเถียงกันว่าเรื่องนี้เป็นนวนิยายหรือเรื่องสั้นกันแน่ และยังไม่มีคำตอบตายตัวมาจนปัจจุบัน

สมัยนี้ เมื่อหยิบเรื่อง สนุกนึก ขึ้นมาอ่านด้วยสายตาคนปัจจุบัน ก็คงไม่เห็นว่ามีอะไรอื้อฉาวเป็นเรื่องเป็นราวได้ถึงขนาดนั้น อาจจะเป็นเรื่องค่อนข้างธรรมดาด้วยซ้ำไป เพราะตามปกติแล้วชายหนุ่มเมื่ออายุครบ ๒๐ปี ก็มักจะบวชสักหนึ่งพรรษาก่อนสึกออกไปประกอบอาชีพและมีครอบครัว ระหว่างบวชอยู่ เมื่อรวมกลุ่มกันก็คุยกันเรื่อยเปื่อยฆ่าเวลาไปบ้าง ไม่สู้จะสำรวมนักก็ไม่แปลกอะไร แต่ถ้ามองด้วยสายตาของคนรุ่นเก่าในสมัยรัชกาลที่ ๕ เรื่องนี้อาจเป็นเรื่องใหญ่เพราะวัดบวรนิเวศ เป็นวัดที่สำคัญที่สุดในสมัยนั้น วัดนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับอยู่หลายปีขณะผนวช และทรงสถาปนาธรรมยุติกนิกายซึ่งได้ชื่อว่าเคร่งครัดมากก็ที่วัดนี้ ต่อมาเป็นวัดที่พระราชวงศ์ผนวชกันโดยมาก รวมทั้งกรมหลวงพิชิตปรีชากรด้วย เจ้าอาวาสนั้นเล่าก็เป็นเจ้านายผู้ใหญ่ เมื่อมีเรื่องเล่าว่าพระหนุ่มๆในวัดคุยกันอย่างไม่สำรวม บวชแล้วก็ไม่ได้นำพระธรรมไปกล่อมเกลาจิตใจ ซ้ำยังมีบทบาทของอุบาสิกาที่มาวัดเพื่อคอยจังหวะจะสึกพระไปเป็นลูกเขยอีกด้วย ก็ย่อมเป็นเป้าหมายการวิพากษ์วิจารณ์ได้มาก

ส่วนที่ร้ายที่สุดเห็นจะเป็นทัศนคติต่อการบวช แสดงผ่านทาง ความคิดเห็นของพระสมบุญว่า

“ผ้ากาสาวพัตรเป็นที่พึ่งของคนยาก ถึงไม่ทำให้ดีก็ไม่ทำให้ฉิบหาย ไม่ดิ้นไม่ขวนขวายแล้วไม่มีความทุกข์ เป็นที่พักที่ตั้งตัวของผู้แรกจะตั้งตัวดังนี้”

หมายความว่าการอยู่ในสมณเพศไม่ยอมสึกนั้นไม่ได้เกิดจากความศรัทธาในศาสนา แต่การอยู่วัดเปรียบได้กับหอพักชนิดไม่เสียเงินสำหรับผู้ยังไม่มีทางประกอบอาชีพ ถ้าอยู่ไปวันๆไม่ทะเยอทะยานอะไรมากก็ไม่มีความทุกข์ พูดง่ายๆคืออยู่อย่างนี้ขี้เกียจและอาศัยเกาะเป็นกาฝากได้อย่างสบายนั่นเอง จนกว่ามีลู่ทางไปดีกว่านี้ได้ก็ค่อยสึก

กรมหลวงพิชิตปรีชากรนั้นถ้าเทียบกับทางฝ่ายสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศฯแล้ว ฝ่ายแรกน่าจะจัดเข้าประเภท “คนรุ่นใหม่” หรือ “คนหนุ่ม” ส่วนฝ่ายหลังคือ “คนรุ่นเก่า” กรมหลวงพิชิตปรีชากรทรงรับการศึกษาแผนใหม่ตามแบบเจ้านายรุ่นใหม่ เมื่อนิพนธ์เรื่อง สนุกนึก ทำนองนิยายฝรั่ง การสร้างเหตุการณ์เลียนแบบชีวิตคนจริงๆให้สมจริง ไม่ใช่นิทานประเภท “แต่ปางหลังยังมีจอมกษัตริย์” ดังนั้นความคิดอ่านของพระหนุ่มๆทั้ง ๔รูป จึงเป็นความคิดที่ไม่น่าจะไกลจากคนจริงๆนัก คือยังเป็นปุถุชน มีกิเลสและความเห็นแก่ตัวเช่นคนธรรมดา ไม่ใช่ว่าครองผ้าเหลืองแล้วจะตัดกิเลสได้หมดสิ้นเสมอไป

แต่ความสมจริงนั้นเมื่อแนบเนียนจนเหมือนเรื่องจริง บางครั้งความจริงก็ระคายหูได้มากกว่าความเท็จ ยากที่คนรุ่นเก่าจะยอมรับได้ เพราะถึงมีเหตุผลสมัยใหม่อย่างไร ก็ยังไม่อาจหักล้างความคิดที่ว่าสถาบันศาสนาเป็นเรื่องที่ต้องเคารพ และพระก็ไม่ควรออกนอกลู่นอกทางอยู่นั่นเอง

เรื่องทางธรรมเป็นเรื่องละเอียดอ่อนกว่าเรื่องทางโลก แตะต้องได้ยาก

เพราะเหตุนี้ สนุกนึก จึงไม่จบ หลังจากนั้นแม้ไม่มีเหตุการณ์อื้อฉาวใดๆเกิดขึ้นอีก วชิรญาณวิเศษยังออกตีพิมพ์อยู่จนกระทั่งถึง พ.ศ. ๒๔๓๗ เรื่องสั้นแนวอื่นแพร่หลายสืบต่อมาไม่ขาดสาย แต่เรื่องทำนองเดียวกับ สนุกนึก ไม่ได้ปรากฏออกมาอีกเลย

ดร.แพรมน และ นายตะวัน [IP: 202.133.158.227] วันที่ 29 ธ.ค. 2544 - 21:56:40
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 10 ก.พ. 06, 23:40

 ขอเห็นต่างจากเจ้าของกระทู้ นิ้ดเดียว

ผมยังยืนยันว่า เรื่องที่เกี่ยวกับสนุก(นิ์)นึกนั้น นึกทีไรก็สนุกทุกทีนี่นา ขอรับ?

ทั้งในแง่ที่ว่า What If ... พัฒนาการวรรณกรรมไทยจะเป็นอย่างไร ถ้า ... หรือในแง่ว่า เรื่องนี้สะท้อนสังคมสมัยโน้นยังไง หรือแม้แต่ว่า คำว่าสนุกสะกดอย่างไร

ผมว่าสนุกดีออก เนอะ

รอฟังอภิปรายต่อไป ขอรับ
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 10 ก.พ. 06, 23:42

 มีข้อสังเกตที่ไม่ค่อยเป็นเรื่องเป็นราวนักว่า ภาษาไทยเก่าๆ มี -นิ หรือ -นิ์ ที่ไม่ออกเสียงนิ ต่อท้ายอยู่หลายคำเหมือนกัน สนุกนิ์นี่คำหนึ่ง แต่เหมือนจะมีคำอื่นอีก ?

ทำไมก็ไม่รู้นิ
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 12 ก.พ. 06, 10:33

 สวัสดีครับท่านนิลกังขา
ในฐานะเจ้าของกระทู้ ผมคิดว่าที่ไม่สนุกประการแรกคือ
1. สมจริงจนเกิดเรื่องใหญ่ จนกรมหลวงพิชิกไม่ทรงนิพนธ์ต่อ
2. แยกได้ยากว่าเป็นนวนิยายหรือเรื่องสั้น เพราะเขียนไม่จบ เป็นเรื่องค้าง
3. ไม่สนุกว่าจะเชื่อใครดี ระหว่างฝ่ายที่เห็นว่าเป็นเรื่องสั้น กับฝ่ายนวนิยาย
ผมไม่เถียงว่าจะสนุกหรือไม่ เพราะนึกอีกทีก็สนุกเหมือนกันที่ให้พวกเรา ๆ ปวดขมองเล่น ๆ
แต่กระนั้น ก็ไม่เข้าใจเหมือนกันนิ ว่าทำไมต้องลงท้ายด้วยนินะนินะ (คุณ Hotacunus ยังไม่แวะมาที่นี่)
ผมเห็นว่า กระทู้นี้ออกนอกทะเลได้ครับ ท่านนิลกังขาจะว่าอย่างไรก็ได้ เพราะเพียงข้อสังเกตที่ไม่เป็นเรื่องเป็นราว ก็เป็นเรื่องเป็นราวได้ครับ เพราะเจตนาจริง ๆ คือ อยากให้เป็นกระทู้ปลายเปิดมากกว่า
ป.ล. ท่านนิลกังขายกตัวอย่างตระกูล นิ มาที่นี่ก็ได้ครับ
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 21 มี.ค. 06, 17:40


.
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร และหม่อมเจ้าปรีดิยากร พระโอรส
ไม่ทราบปีที่ฉาย
ดำรงราชานุภาพ,สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา.คนดีที่ข้าพเจ้ารู้จัก เล่ม ๑.กรุงเทพ:รวมสาส์น,2526.
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.049 วินาที กับ 19 คำสั่ง