เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 5804 อยากทราบตำนานพระนางเลือดขาว
drag
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


 เมื่อ 19 ธ.ค. 05, 11:28

 ที่จ.นครศรีธรรมราช ใครพอจะทราบประวัติได้ยิ่งดี อยากรู้ว่ามีจริงรึเปล่า เคยได้ยินมาจากคนเฒ่าคนแก่ที่ จ.นครศรีฯ ตอนไปเที่ยว
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 19 ธ.ค. 05, 17:25

 หญิงผู้เลื่อมใสพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า สร้างวัดไว้ถึง 5 จังหวัด ที่ สงขลา พัทลุง ตรัง ภูเก็ต นครศรีธรรมราช

อ่านประวัตินางเลือดขาวและตำนานเมืองพัทลุง ที่
 http://gotoknow.org/archive/2005/10/02/02/57/37/e4829  
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 20 ธ.ค. 05, 08:33

 ตามไปอ่านมาแล้วครับคุณ Nuchan ขอบคุณมากครับที่หา link มา น่าสนใจมาก

ผมก็เคยเห็น (แต่ยังไม่ได้อ่าน) ว่ามีอยู่ในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๑๕ เหมือนกัน แต่ความจะเหมือนหรือต่างอย่างไร ไม่ทราบได้ครับ เพราะยังไม่ได้ศึกษา

ขึ้นชื่อว่าตำนานแล้ว มีทั้ง "เรื่องจริง" และ "เรื่องแต่ง" อยู่ปะปนกันไปครับ ดังนั้นถ้าจะ "สังเคราะห์ความจริง" จากตำนานแล้ว จะต้องมีการสอบทานกับหลักฐานทางโบราณคดี และเอกสารอื่นๆ ด้วยครับ

โดยทั่วไปแล้วนะครับ เรื่องเกี่ยวกับการกำเนิดอันพิสดาร ของวีรบุรุษ และวีรสตรีในตำนาน ร้อยเปอร์เซ็นต์ เป็นเรื่องแต่งครับ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการบอกว่า บุคคลเหล่านี้เป็นผู้มีบุญญาธิการ กำเนิดมาเพื่อสร้างวีรกรรมอะไรบางอย่างให้เป็นที่จดจำ  

ส่วนวีรกรรมต่างๆ ก็น่าจะมีทั้งที่เป็นเรื่องจริง และเรื่องแต่ง ซึ่งต้องอาศัยการศึกษาค้นคว้าเปรียบเทียบกับหลักฐานที่ผมกล่าวไปแล้วข้างต้น แล้วชั่งน้ำหนักดูว่าน่าจะเป็นเรื่องจริงเท็จประการใด (ศึกษา ๑๐ คน ก็อาจจะมีความเห็นไม่ตรงกันทั้ง ๑๐ คน ครับ จะเชื่อใครก็ต้องตรึกตรองดูตามเหตุและผลครับ)

ส่วนเรื่องนางพญาเลือดขาว เท่าที่ผมไปอ่านในเว็บดู ผมคิดว่าน่าจะมีตัวตนอยู่จริงครับ และน่าจะอยู่ร่วมสมัยกับสุโขทัยยุคแรกๆ ที่เริ่มรับพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ โดยรับผ่านมาจากภาคใต้อีกต่อหนึ่ง และพระนางน่าจะมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่พุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ในภาคใต้

แต่เท่าที่ดูจากการอ้างอิงเรื่องราวนั้น (ร้อยแก้ว) ผมคิดว่าเอกสารน่าจะได้รับอิทธิพลจากข้อมูลการศึกษาประวัติศาสตร์ในปัจจุบันนี้แล้ว (เมื่อร้อยปีที่แล้ว ซึ่งกลอนนี้ก็ผูกขึ้นเมื่อราวร้อยปีที่แล้วเช่นเดียวกัน) เพราะปรากฏชื่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ชัดเจนมาก (และเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวกับสุโขทัย)

ส่วนร้อยกรองนั้น ยังมีการกล่าวอ้างอิงหลักฐานที่ไม่ค่อยชัดเจนนักว่าจริงเท็จประการใด เพราะไม่ได้อ้างอิงถึงที่มาที่ไปของข้อความที่ยกมา

ก็เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจศึกษาให้ถึงการ "สังเคราะห์" ครับ

บันทึกการเข้า
Traveller
อสุรผัด
*
ตอบ: 11


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 21 ธ.ค. 05, 11:32

 วัดพระนางสร้าง เป็นวัดประจำอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ถนนเทพกษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ตำนานเดิมของวัดพระนางสร้าง มีผู้เล่าสืบต่อๆ กันมา ความละเอียดของเรื่องแตกต่างกัน แต่ใจความส่วนใหญ่ คล้ายคลึงกัน ดังนี้พระนางเลือดขาว เป็นมเหสีของผู้ครองนครใดไม่ปรากฏแน่ชัด เป็นผู้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนามาก ต่อมาถูกเสนาบดี ในนครนั้นกลั่นแกล้ง กราบทูลต่อเจ้าผู้ครองนครใส่ร้ายว่า พระนางมีชู้กับมหาดเล็ก เจ้าผู้ครองนครหลงเชื่อ จึงรับสั่งให้เพชฌฆาต นำพระนางและมหาดเล็กนั้น ไปประหารชีวิต พระนางได้พยายามขอร้อง และแสดงความบริสุทธ์ ถึงกระนั้นเจ้าผู้ครองนครก็ไม่ยอมเชื่อ เมื่อหมดหนทาง พระนางจึงได้ขอผ่อนผันให้ได้ไปนมัสการพระบรมธาตุ ที่เมืองลังกาเสียก่อน แล้วจะกลับมาให้ประหารชีวิต ในสมัยนั้น คนที่เดินเรือมาจากหมู่เกาะสุมาตราและเมืองลังกา ได้เล่าให้คนในนครนั้นฟังเสมอๆ ว่าที่เมืองลังกา พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก และในปีต่อมานั้น จะมีงานกุศลทางพุทธศาสนาครั้งยิ่งใหญ่ด้วย เจ้าผู้ครองนครจึงตกลงยินยอมให้พระนางไปเมืองลังกา เพราะคงมีเหตุผลที่ว่าคนในนครนั้น ไม่ชำนาญในการเดินเรือและหนทางก็ไกลมาก พระนางคงจะไปสิ้นพระชนม์เสียระหว่างเดินทางมากกว่า พระนางเลือดขาว และคณะที่ยังสวามิภักดิ์ต่อพระนางอยู่ ก็ออกเดินทางไป ตลอดเวลาของการเดินทาง พระนางเฝ้าแต่อ้อนวอน และยึดเอาคุณพระศรีรัตนตรัยให้คุมครองป้องกัน ทรงบอกแก่ผู้ร่วมเดินทางว่า ถ้าเราไม่สิ้นวาสนาเสียก่อน ต้องไปนมัสการพระบรมธาตุให้จงได ้และถ้าเดินทางกลับมาโดยสวัสดิภาพ ก็จะสร้างวัดไว้เป็นที่ระลึก จึงจะไปรับอาญาที่ถูกกล่าวหา อาจจะเป็นด้วยบุญญาธิการ ที่เคยมีมาก่อน หรือผลานิสงส์แห่งการยึดมั่น ต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เป็นได้ พระนางและคณะ จึงไปถึงลังกาได้เข้านมัสการพระบรมธาตุ ด้วยความปีติยินดี และได้นำโบราณวัตถุหลายอย่างกลับมา (บางคนเล่าว่า ได้นำเอาพระพุทธรูปกลับมามากมาย และบางคนเล่าว่าได้นำเอาโพธิ์ลังกามาด้วย บางคนเล่าว่าได้นำเอาพระบรมสารีริกธาตุมาด้วย) ตอนเดินทางกลับ พระนางได้นำเรือเข้าพักที่เกาะถลาง และได้สร้างวัดนี้ไว้เป็นที่ระลึกชาวบ้านจึงเรียกกันว่า “ วัดพระนางสร้าง ” (ในเอกสารที่เกี่ยวกับเมืองถลาง ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีกล่าวถึงชื่อ “วัดนาสร้าง”) และเล่ากันว่า พระนางได้ปลูกต้นประดู่ และต้นตะเคียนไว้ด้วย และเล่ากันว่าพระนางคงเอาของมีค่าทางพระพุทธศาสนา ฝังไว้ในเจดีย์บ้าง แต่ตอนนั้น คงไม่ได้สร้างอะไรมากนัก เพราะภูมิประเทศเป็นป่า (ต้นตะเคียนและต้นประดู่ ได้ถูกโค่นเพื่อสร้างโรงเรียนเมื่อประมาณ ๓๐ ปีก่อน ปี พ.ศ.๒๕๑๒) เมื่อสร้างวัดเสร็จแล้วก็ออกเดินทางต่อไป กลับสู่นคร แม้จะรู้ว่ากำลังไปรับกับความตาย แต่พระนางก็มีความสุข ปลื้มปีติเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้สร้างกุศลอันยิ่งใหญ่เอาไว้ แต่เมื่อมาถึงชานเมือง ก็ทรงทราบว่าขณะที่พระนางไม่อยู่ ได้เกิดการแย่งชิงราชสมบัติ พระสวามีได้ถูกประหารชีวิต พระนางจึงมิได้เข้าไปในนคร ด้วยเหตุนี้พระนางจึงพ้นโทษจากพระสวามี พระนางทรงกล่าวกับผู้ติดตามว่า ในชีวิตจะต้องสร้างวัดวาอารามให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้ ทุกคนที่ติดตามต่างพากันอนุโมทนาสาธุ ดังนั้นจึงได้นำสิ่งของต่างๆ ที่นำมาจากเมืองลังกา นำไปสร้างวัดอื่นๆ อีก แต่เมื่อเจ้าผู้ครองนครคนใหม่ได้ฟังเรื่องนี้เข้า จึงสั่งให้ทหารมาจับเพื่อนำไปประหารชีวิต พร้อมทั้งแย่งชิง ของมีค่าทางพุทธศาสนาไปด้วย เมื่อเพชฌฆาตลงดาบตัดศีรษะของพระนางนั้น ปรากฏว่าโลหิตที่พุ่งออกมามีสีขาว ประชาชนจึงขนานนามว่า “ พระนางเลือดขาว ” และวัดต่างๆ ที่พระนางได้สร้างไว้ ก็จะมีชื่อตามพระนามของพระนางเป็นส่วนมาก พระนาง จะสร้างวัดพระนางสร้างเมื่อใด ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด แต่เชื่อกันว่าคงสร้างวัดมาก่อนปี พ.ศ.๒๔๑๖ ซึ่งมีพระครูสุนทรสมนกิจ เป็นเจ้าอาวาสวัดนี้ และมีเจ้าอาวาสสืบต่อๆ กันมาอย่างน้อย ๘ รูป เพราะพระวินัยธร(อดีต) เล่าว่าเป็นประเพณีของวัดนี้ว่า เมื่อเจ้าอาวาสมรณภาพลงทุกรูป ชาวบ้านจะก่อสถูปหรือเจดีย์ ซึ่งทำด้วยอิฐเล็กบ้างใหญ่บ้างประมาณ ๖-๗ องค์ หลวงพ่อปอด( พระครูสุนทรสมณกิจ ) จึงได้รื้อนำกระดูกของมีค่าบางอย่าง มาฝังรวมไว้ด้วยกัน แล้วให้สร้างเจดีย์องใหญ่ขึ้นเพียงองค์เดียวดังที่เห็นปัจจุบัน

จากเวบนี้ค่ะ
 http://www.pahdongdoy.com/G_Pong/WatPanan_13_5_48.asp  
บันทึกการเข้า
Traveller
อสุรผัด
*
ตอบ: 11


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 21 ธ.ค. 05, 11:55

 ลองไปที่เวบนี้ดูสิคะ เป็นงานวิจัยเรื่องพระนางเลือดขาว เรื่องราวน่าสนใจ และอ่านสนุกดีค่ะ
 http://www.tungsong.com/NakhonSri/amphur_new/chainyai/Vijai/Index.htm  
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 22 ธ.ค. 05, 00:48

 ขอบคุณครับ คุณ Traveller

เมื่อคืนผมก็เลยไปอ่าน "พงศาวดารเมืองพัทลุง" มา ซึ่งก็แต่งเมื่อเกือบๆ ร้อยปีมานี้เอง (ผู้แต่งเรียบเรียงจากเรื่องเล่าเก่าๆ) ตอนต้นเรื่องก็มีกล่าวถึงนางพญาเลือดขาวด้วยครับ

แต่ดูเหมือนว่าความจะต่างไปจาก version ที่คุณ Traveller นำมาให้อ่าน โดยเฉพาะเรื่องชาติกำเนิด

ที่เว็บของ tungsong.com ก็มีเนื้อหาดีครับ "แต่" น่าเสียดายที่ "ไม่ได้อ้างอิง" เลยว่า ข้อมูลต่างๆ นั้น ได้มาจากใน สมุดไทยของวัดไหน หรือคำบอกเล่าของใคร (มีบอกเหมือนกันในคำนำครับ แต่บอกแบบรวมๆ)

ถ้าจะอ่านเอาสนุกก็พอได้ครับ แต่ถ้าจะอ่านเอา "สาระทางประวัติศาสตร์" อันนี้ผมว่ายังขาดการอ้างอิงที่มาของข้อมูล

ผมมองว่าข้อมูลบางอย่างชัดเจนมากเกินไป เช่นชาติกำเนิด พี่น้อง หรือแม้แต่การไปลังกา จนดูเหมือนว่า "จะแต่งเติมขึ้นใหม่หรือเปล่า" ที่สำคัญ ตามที่ปรากฏในพงศาวดารเมืองพัทลุง นางพญาเลือดขาวถึงแก่กรรมอย่างสงบในวัยชรา แต่จากงานค้นคว้าใหม่ กลับกล่าวว่าถูกประหาร ก็เลยงงๆ ครับ ยิ่งไม่บอกที่มาของข้อมูลยิ่งทำให้ผมไม่ค่อยอยากเชื่องานค้นคว้า อิอิ ก็ไม่ได้กล่าวหานะครับ แต่สงสัยเท่านั้น (งานค้นคว้าใหม่ อาจอิงกับเอกสารท้องถิ่นฉบับอื่นก็ได้เช่นกัน)

อย่างไรก็ตาม เห็นว่าเป็นโครงการที่ได้งบจาก "สกว" ดังนั้น ที่เอาลงเว็บอาจเป็นสรุปย่อก็ได้ ถ้ามีโอกาสผมคงต้องหาตัวรายงานฉบับเต็มมาศึกษาครับ  ซึ่งหวังว่าคงจะไม่ทำให้ผมผิดหวัง  

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.037 วินาที กับ 19 คำสั่ง