ตามไปอ่านมาแล้วครับคุณ Nuchan ขอบคุณมากครับที่หา link มา น่าสนใจมาก
ผมก็เคยเห็น (แต่ยังไม่ได้อ่าน) ว่ามีอยู่ในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๑๕ เหมือนกัน แต่ความจะเหมือนหรือต่างอย่างไร ไม่ทราบได้ครับ เพราะยังไม่ได้ศึกษา
ขึ้นชื่อว่าตำนานแล้ว มีทั้ง "เรื่องจริง" และ "เรื่องแต่ง" อยู่ปะปนกันไปครับ ดังนั้นถ้าจะ "สังเคราะห์ความจริง" จากตำนานแล้ว จะต้องมีการสอบทานกับหลักฐานทางโบราณคดี และเอกสารอื่นๆ ด้วยครับ
โดยทั่วไปแล้วนะครับ เรื่องเกี่ยวกับการกำเนิดอันพิสดาร ของวีรบุรุษ และวีรสตรีในตำนาน ร้อยเปอร์เซ็นต์ เป็นเรื่องแต่งครับ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการบอกว่า บุคคลเหล่านี้เป็นผู้มีบุญญาธิการ กำเนิดมาเพื่อสร้างวีรกรรมอะไรบางอย่างให้เป็นที่จดจำ
ส่วนวีรกรรมต่างๆ ก็น่าจะมีทั้งที่เป็นเรื่องจริง และเรื่องแต่ง ซึ่งต้องอาศัยการศึกษาค้นคว้าเปรียบเทียบกับหลักฐานที่ผมกล่าวไปแล้วข้างต้น แล้วชั่งน้ำหนักดูว่าน่าจะเป็นเรื่องจริงเท็จประการใด (ศึกษา ๑๐ คน ก็อาจจะมีความเห็นไม่ตรงกันทั้ง ๑๐ คน ครับ จะเชื่อใครก็ต้องตรึกตรองดูตามเหตุและผลครับ)
ส่วนเรื่องนางพญาเลือดขาว เท่าที่ผมไปอ่านในเว็บดู ผมคิดว่าน่าจะมีตัวตนอยู่จริงครับ และน่าจะอยู่ร่วมสมัยกับสุโขทัยยุคแรกๆ ที่เริ่มรับพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ โดยรับผ่านมาจากภาคใต้อีกต่อหนึ่ง และพระนางน่าจะมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่พุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ในภาคใต้
แต่เท่าที่ดูจากการอ้างอิงเรื่องราวนั้น (ร้อยแก้ว) ผมคิดว่าเอกสารน่าจะได้รับอิทธิพลจากข้อมูลการศึกษาประวัติศาสตร์ในปัจจุบันนี้แล้ว (เมื่อร้อยปีที่แล้ว ซึ่งกลอนนี้ก็ผูกขึ้นเมื่อราวร้อยปีที่แล้วเช่นเดียวกัน) เพราะปรากฏชื่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ชัดเจนมาก (และเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวกับสุโขทัย)
ส่วนร้อยกรองนั้น ยังมีการกล่าวอ้างอิงหลักฐานที่ไม่ค่อยชัดเจนนักว่าจริงเท็จประการใด เพราะไม่ได้อ้างอิงถึงที่มาที่ไปของข้อความที่ยกมา
ก็เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจศึกษาให้ถึงการ "สังเคราะห์" ครับ



