เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 8
  พิมพ์  
อ่าน: 31587 หนังสือน่าอ่าน ใครเคยอ่านบ้างคะ
Karine!!
ชมพูพาน
***
ตอบ: 130

กำลังค้นหาทางสว่างของชีวิต


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 25 ธ.ค. 05, 21:58

 เอ...ถ้าเป็นงานเขียนของท่าน PAUL ADIREX จะเคยอ่านมากกว่าค่ะ อย่างเรื่อง"พ่อ"ทั้งสองภาค ก็รู้สึกว่าเป็นท่านที่เขียนงานได้อ่านแล้วเพลิน พร้อมกับได้รู้ประวัติศาสตร์ด้วย
แล้วก็เรื่อง "โจรสลัดตะรุเตา" ก็สนุกมาก เป็นการเอาเรื่องจริงมาเขียนเป็นนวนิยายได้อรรถรสอย่างมาก จะว่าไปแล้วพอได้อ่านเรื่องนี้แล้ว ก็เอามาโยงกับเรื่อง "ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน"ซะอีก ตอนที่ตัวเอกของเรื่องถูกส่งไปเกาะตะรุเตาเหมือนกัน พอดีเลย...กลายเป็นว่า เอาสองเรื่องมาคิดบวกกันเองให้เหมือนเรื่องที่เกิดขึ้นจริงๆไปอีกเรื่องซะอีก
บันทึกการเข้า

การศึกษาก้าวไกล ประเทศไทยรุ่งเรือง (แต่ตอนนี้ตูรุ่งริ่งชอบกล)
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 25 ธ.ค. 05, 23:20

 ดิฉันยังไม่เคยอ่านหนังสือของคุณปองพล เลยค่ะ
วันนี้ไปได้เพิ่มเติมมาหลายเล่ม เพื่อเก็บไว่อ่านตอนปีใหม่
เช่น ใต้ฟ้าสีคราม (สีฟ้า) เคยชมแต่ภาพยนต์ ปีศาจ (เสนีย์ เสาวพงศ์)
แวววัน (โบตั๋น) เชิงผาหิมพานต์ (สุชีพ ปุญญาฯ)
กวนอิม (แปลโดย เสฐียรโกเศศ)

อ่านเสร็จจะมารายงานผลค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 25 ธ.ค. 05, 23:53

 ดิฉันอ่าน Rattanakosin ของคุณปองพลแล้วค่ะ  เป็นเรื่องย้อนไปถึงสมัยธนบุรี
มีตัวละครเอกๆ คือสมเด็จพระเจ้าตากสิน   เจ้าพระยาสุรสีห์ (กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท) นายทหารฝรั่งอีกคน
ที่กลับชาติมาเกิด  แล้วฟังเรื่องราวในอดีตเมื่อสองร้อยปีก่อน จากพระภิกษุลึกลับรูปหนึ่ง
ที่เขาพบในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ  

คุณปองพลเล่าได้รวบรัดกระชับดี สำนวนภาษาอ่านง่าย   และสนุก
น่าจะทำหนังฝรั่ง    แต่ใจดิฉันนึกไปถึงมินิซีรี่ส์มากกว่าหนังใหญ่  ไม่รู้ทำไม

คุณ Nuchan น่าจะลองหามาอ่านดูบ้าง   เอาฉบับภาษาอังกฤษดีกว่า  คุณปองพลเขียนเป็นภาษาอังกฤษก่อนแล้วจึงแปลเป็นไทย
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 25 ธ.ค. 05, 23:57

 Rattanakosin ไม่ใช่ของ ว. วินิจฉัยกุลหรือค่ะ เพื่อนเขาแนะนำให้อ่านเล่มนี้ เชิงประวัติศาสตร์ น่ะคะ
บันทึกการเข้า
Karine!!
ชมพูพาน
***
ตอบ: 130

กำลังค้นหาทางสว่างของชีวิต


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 26 ธ.ค. 05, 18:28

 สงสัยจะเป็นรัตนโกสินทร์ คนละเรื่องคนละเล่มกันหรือเปล่าค่ะ
...มีหนังสือหลายเรื่องทีเดียวค่ะ ที่คุณปองพล เขียนเป็นภาษาอังกฤษก่อน และมาแปลเป็นไทยทีหลัง(ถ้าจำไม่ผิดอย่างเรื่อง โจรสลัดตะรุเตา ก็ใช่) แต่ความสามารถของการีนคงอ่านต้นฉบับภาษาอังกฤษไม่ไหว 555+
อยากอ่านเรื่อง Rattanakosin บ้างจัง
ยังไม่เคยอ่านรัตนโกสินทร์ของ ว.วินิจฉัยกุล เหมือนกัน
เพราะที่ห้องสมุดไม่มีทุกที แต่ได้ดูตอนเป็นละครทางช่อง 7 สนุกมากเลยค่ะ ...(ขนาดเนื้อร้องยังจำได้เลยนะค่ะ..."รัตนโกสินทร์ คือแผ่นดินที่หล่อหลอมหัวใจ ร้อยความรักรวมผู้คนมากมาย อาศัยอยู่รวมชายคา...เชื้อชาติไหนก็พี่น้อง ล้วนพวกพ้องข้องเกี่ยวนานเนิ่นนาน ทุกชีวิตมีสุขใจใต้ฟ้า ใต้บารมีจักรีวงศ์") นี่น่าจะเป็นคอนเซ็ปของเรื่องนะค่ะ

เคยอ่านเรื่องนี้ค่ะ...จะว่าไปก็น่าจะเป็นของ ว.วินิจฉัยกุล เหมือนกัน เรื่อง "สองฝั่งคลอง"ค่ะ
ตัวเอกมีชีวิตที่โลดโผน แต่ดูเรียบง่าย
ภาษาที่ใช้ในหนังสือก็สวยงามค่ะ มีการยกร้อยกรองในวรรณคดีไทยด้วย แล้วก็ทำให้ทราบด้วยว่าคำว่า "สวัสดี" มาจากอาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จฬาลงกรณมหาวิทยาลัย (อ้าว...การีนลืมอีกแล้วใครหนอ....บอกหนูที...ขี้ลืมจริงแฮะ)การีนชอบอ่านนวนิยายค่ะ แต่ไม่ค่อยอ่านวรรณคดีไทยเท่าไหร่ บางทีก็จำเรื่องราวอะไรไม่ได้ สงสัยต้องหาอ่านบ้างแล้ว ...
บันทึกการเข้า

การศึกษาก้าวไกล ประเทศไทยรุ่งเรือง (แต่ตอนนี้ตูรุ่งริ่งชอบกล)
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 26 ธ.ค. 05, 19:34

 คุณการีน สรุปว่าเรื่องรัตนโกสินทร์ของคุณปองพล และของ อาจารย์ ว. วินจฉัยกุล
สองเล่มชื่อมาพ้องกันใช่ไหมค่ะ เดี๋ยวต้องเสริ์ชดูสักหน่อย  ตั้งใจจะอ่านปีใหม่ช่วงว่างๆค่ะ
บันทึกการเข้า
Karine!!
ชมพูพาน
***
ตอบ: 130

กำลังค้นหาทางสว่างของชีวิต


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 26 ธ.ค. 05, 20:44

 แล้วได้อย่างไร...บอกด้วยนะค่ะ
ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า

การศึกษาก้าวไกล ประเทศไทยรุ่งเรือง (แต่ตอนนี้ตูรุ่งริ่งชอบกล)
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 27 ธ.ค. 05, 08:35

 หนังสือชื่อซ้ำกันค่ะ

เนื้อร้องในละคร คือ
รัตนโกสินทร์ คือแผ่นดินที่หล่อหลอมหัวใจ ร้อยความรักรวมผู้คนมากมาย อาศัยอยู่รวมชายคา..
เชื้อชาติไหนก็พี่น้อง ล้วนพวกพ้องข้องเกี่ยวนานเนิ่นมา ทุกชีวิตมีสุขใจใต้ฟ้า ใต้บารมีจักรีวงศ์

ผู้ที่กำหนดคำว่า สวัสดี  ให้นิสิตจุฬาฯเริ่มใช้ก่อนเพื่อน คือพระยาอุปกิตศิลปสาร ค่ะ
ท่านเป็นอาจารย์คณะอักษรศาสตร์
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 27 ธ.ค. 05, 08:52

 ขอบคุณอาจารย์ค่ะ

คุณ Karine!! ท่าทางจะอ่านนิยายหลายเรื่อง เล่มไหนสนุกคุยให้ฟังอีกนะคะ จะได้อ่านตามค่ะ
บันทึกการเข้า
ถาวภักดิ์
พาลี
****
ตอบ: 240


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 27 ธ.ค. 05, 14:27

 พักเหนื่อยลงแขก ย่องมาคุยเรื่องหนังสือต่อดีก่า  กระทู้โน้น เจ๊เราเฮี้ยนจัด ไม่รู้ไปสะกิดโดนต่อมอะไร ทำท่าหยั่งกะฟันจะขึ้น ฟัดแหลก ไหว้ละ อาจารย์เทาเจ้าขา  หาขาโต๊ะให้แกสงบสติอารมณ์หน่อยเถอะ  วิ่งไม่ทันมีหวังถึงชีวิตแน่งานนี้

ที่อาจารย์ให้ความเห็นข้างต้นว่า เป็นเพราะอาจารย์หม่อมท่านไปโตอยู่ต่างประเทศนั้นก็ถูกส่วนหนึ่งครับ  แต่ถ้าเราพิจารณาดีๆ จะเห็นว่า เป้าหมายของการศึกษาต่อต่างประเทศนั้นผิดเพี้ยนไปจากช่วงต้นๆมาก  ม.จ.อากาศ ดำเกิง ทรงชี้ให้เห้นในหนังสือเล่มหนึ่งของท่านมีใจความทำนองว่า การไปเรียนต่อเมืองนอก กลับกลายเป็นการชุบตัวให้เป็นที่ยกย่องในสังคม เป็นการรักษาหรือเลื่อนระดับชั้นวรรณะให้ตนเอง  จำนวนมากที่เรียนจบกลับมาแล้ว แทนที่จะนำวิชาความรู้นั้นออกมาใช้ให้เป็นประโยชน์  กลับเพียงใช้ชีวิตไม่เป็นโล้ไม่เป็นพาย อยู่ในสังคมชั้นสูง กลายเป็นกาฝากของสังคม

ซึ่งถึงแม้ว่านักเรียนนอกในยุคนั้น มีมากมายที่นำความรู้ ออกมาทำประโยชน์อย่างเต็มที่  หากปฏิเสธไม่ได้ว่า เกิดค่านิยมที่เพี้ยนไปจริงๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการชุบตัว หรือเป็นใบรับรองความเป็นชนชั้นสูง  นักเรียนนอกในยุคนั้นจำนวนมากจึงไม่มีความสามารถในการเข้าใจชาวบ้านดังที่อาจารย์หม่อมเข้าใจ

การคิด วิเคราะห์แบบอาจารย์หม่อม บวกกับความกล้าที่จะแสดงออก  ทั้งพรสวรรค์ในการถ่ายทอด และอะไรอีกหลายๆอย่างที่ประกอบขึ้นมาเป็นอาจารย์หม่อม ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ขาดมิได้ทั้งสิ้นครับ

คุณ karine เป็นภาษาอะไรนะครับ ถ้าเป็นภาษาญี่ปุ่น ก็น่าหวาดเสียว  ผมอ่านออกมาเสียงชอบกล คล้ายๆ กะหรี่แน้ะ

นักเขียนที่ดูจะวางโครงเรื่อง มีแบบมีแผนอย่างสากล ผมเสนอ ประภัสสร เสวิกุลครับ  หนังสือบางเล่มของท่านที่หยิบมาอ่านครั้งแรกๆ อ่านไป ๆ ต้องเปิดมาดูข้างหน้า เพราะงงๆว่าเป็นหนังสือแปล หรือเป็นหนังสือที่นักเขียนไทยเขียน

นักเขียนไทยหลายท่านที่เขียนลงนิตยสาร บ่อยครั้งออกอาการเร่งปั่นต้นฉบับให้ทันส่งโรงพิมพ์  หลายท่านก็เห็นชัดว่าปากกาพาไปเรื่อยๆ  บางท่านเขียนเรื่องแรกๆได้ดี แต่มาแผ่วปลาย ซ้ำรอยตัวเองไปมา  เหมือนนักมวยไม่รู้จักสังขารตัวเอง ไม่ยอมลงจากเวทีจนเสียมวย  เขียนไปเขียนมาชักออกอาการเหมือนวิกลจริต

อีกท่านหนึ่งที่ชอบผลงานท่านมากๆ คือครูพนมเทียนครับ เนื้อหาสนุกสนาน เพลิดเพลินทุกเรื่อง ยิ่งเพชรพระอุมาภาคหนึ่งนี้ยกนิ้งโป้งให้สองนิ้วเลย  ผมตะลุยอ่านเหมือนคนบ้า  แนวรักหวานโรแมนติกก็เขียนได้ดี  เช่น มัสยา สกาวเดือน รัศมีแข กัลปังหา ซึ่งแม้จะย่ำรอยเดิมบ้าง ก็ให้อภัยเพราะอ่านจบแต่ละเรื่องแล้วยังรู้สึกไม่อิ่ม

ออกแนวเจมส์บอนด์ขนาดยาวอย่าง เล็บครุฑ ก็สนุกวางไม่ลงเช่นกัน  ถ้าเรื่องออกแนวจักรๆวงศ์ๆ คล้ายๆพระลักษณวงศ์ผสมรามเกียรติ์ ก็ต้องอ่านศิวาราตรีครับ เริ่มแล้ววางไม่ลงเช่นกัน

ครูพนมเทียนในช่วงหลัง ทราบว่าท่านปฏิบัติพระกรรมฐานอย่างเคร่งครัด เป็นผู้รักษาสัจจวาจาอย่างเคร่งครัดน่าสรรเสริญ เคารพบูชาสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสีเป็นครูบาอาจารย์ ถึงกับภาวนาบทสวดมนต์ชินบัญชรวันละเป็นร้อยๆจบ  ท่านคงจะฝึกถอดถอนความติดยึดในกามคุณได้อย่างก้าวหน้าเห็นผล  จนเพชรพระอุมาภาค 3 ดูกร่อยๆไปหน่อยในด้านรักโรแมนติก

ว่าจะพักเดี๋ยวเดียว พล่ามซะยาวเชียว ไปดีฝ่า ก่อนเจ๊จะเห็น
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 27 ธ.ค. 05, 17:47

 อาร้าย อารายกันนี่ คุณถาฯ แค่ดิฉันใช้ร้อยกรองพื้นบ้านกระตุ้นให้เลือดชายไหลแรง
คิดว่าคุณถาฯจะเดินปรี่ออกจากมุมยืดอก ยิ้มกริ่ม ตรงรี่ประดุจพญาเสือโคร่งหมายขย้ำแกะน้อย
หรือนางแมวชายตาอำมะหิต หมายเผด็จลูกไก่ที่ยืนละล้าละลังไม่สมประดีบนใบบัวในสระจ้อย

คุณถากลับเต้นร่า เลือดฉีดซ่านทั่วกายา ว่าแล้วก็แผ่ว เลี้ยวยูเทริ์นกลับเข้ามุมเสียเฉยๆ แป่ว...
ไอ้เราเกือบเปล่งวาจาว่า “ไยท่านพี่หยุดพักใต้ร่มไม้ให้เสียเกียรติ ไฉนมิไสช้างออกมา
ยุทธหัตถีฝีปากให้เป็นที่ประจักษ์แก่สิบทิศากันเล่า”

หมดยุคคุณแจ้ง ใบตอง และสหาย เรือนไทยมีสมาชิกเป็นนักวิชาการคงแก่เรียน
หรือกุมารน้อยนมไม่แตกพานมอง ไปมองมาก็เจอะเจอนักเลงโบราณ หรือจอมยุทธยิ่งใหญ่
ไอเดียจัดจ้าน หน่วยก้านเหมาะสม คารมเข้าท่า วาจาลื่นไหล ไม่มีใครเทียบได้เท่าคุณถาฯ
ก็อยากเชื้อเชิญรื้อฟื้นความทรงจำเก่าๆ.... ครั้งหนึ่ง ครั้งหนึ่งเธอจำได้ไหม สองเราเคยเที่ยวงาน
วัดบ้านใต้ ทำบุญปิดทององค์พระมาลัย ก่อพระเจดีย์ทรายร่วมกัน

เอ้าไม่เป็นไรค่ะ รวบรวมกำลังใจก่อน แล้วค่อยต่อยกสอง....ฟังเพลงเย็นๆไปก่อนนะคะ
เพื่อปลุกอารมณ์ ให้กลับมาคึกครื้นอีกครา

...........จูบแก้มนวล ช่างยวนเย้าตรึง............จิตคนึงถึงวันรักซ่านฤทัย
...........หอมหวลนวลปราง มิสร่างหายไป......ถึงห่างแสนไกลยังติดหัวใจมิลืม
.
บันทึกการเข้า
Karine!!
ชมพูพาน
***
ตอบ: 130

กำลังค้นหาทางสว่างของชีวิต


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 27 ธ.ค. 05, 17:48

 555+
Karine เป็นชื่อนักร้องท่านหนึ่งของฝรั่งเศสค่ะ
เพราะงั้น Karine = การีน เป็นภาษาฝรั่งเศสค่ะ
เอ....แต่ถ้าออกเสียงอย่างญี่ปุ่นก็ต้อง อกกเสียง คะ-ริ-เนะ ไม่ใช่หรือค่ะ
ถ้าเป็นนักเขียนที่วางโครงเรื่องดีน่าจะเป็น วินทร์ เลียววาริณอีกท่านะค่ะ หนังสือหลายเรื่องของท่านนั้น มักจะเป็นแบบหักมุม โดยใช้ภาษาที่ค่อนข้างเป็นทางการ เช่นเรื่อง "สมุดปกดำกับใบไม้สีแดง" ที่สำคัญมักอิงกับสถานการณ์ปัขขุบันของบ้านเมืองด้วย อีกเรื่องคือ "สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน" ค่ะ เรื่องนี้ก็สนุกและก็ค่อนข้างออกไปทางวิชาการพอสมควร (ผิดพลาดประการ หรืออย่างไร อย่าว่ากันนะค่ะ ขอยอมรับว่า เรื่องนี้ อ่านไม่จบ ...555+)
บันทึกการเข้า

การศึกษาก้าวไกล ประเทศไทยรุ่งเรือง (แต่ตอนนี้ตูรุ่งริ่งชอบกล)
Karine!!
ชมพูพาน
***
ตอบ: 130

กำลังค้นหาทางสว่างของชีวิต


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 27 ธ.ค. 05, 17:56

 ออ...ใช่ๆ
นี่เป็นหนังสือที่การีนชอบมากค่ะ...น่าจะเคยอ่านกันแล้ว
"กิ่งไผ่" ของ สีฟ้า ชอบตอนทำเป็นละครฉายทางช่อง 7 ด้วย พอได้อ่านแล้วก็ชอบมากขึ้น ยอมรับว่าเนื้อเรื่องก็ดูเรียบๆธรรมดาๆนะค่ะ แต่ชอบมากๆเลยค่ะ โดยเฉพาะเรื่องของ คำมั่นสัญญา ที่ตัวเอกตัวหนึ่งในเรื่องยึดถือ จนรู้สึกซาบซึ้ง

ชอบมากขนาดเอามาวิจารณ์ในวิชาจิตทยาสังคมเลยล่ะค่ะ
บันทึกการเข้า

การศึกษาก้าวไกล ประเทศไทยรุ่งเรือง (แต่ตอนนี้ตูรุ่งริ่งชอบกล)
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 27 ธ.ค. 05, 18:29

 กำลังอ่านใต้ฟ้าสีคราม ของ สีฟ้า สงสัยตัวเองจะเป็นโรคจิตจริงๆเสียด้วย เหมือนที่คุณ paganini
ว่ารับประทาน (ว่าแดก) คือชอบอ่านเรื่องที่รู้มาก่อนว่ามัน OK หนะ เรื่องไหนไม่เคยอ่าน ก็ไม่กล้าลอง
พี่สาวว่าเอาจะบ้าหรือ ย้ำคิดย้ำทำอ่านพจมาน หรือปริศนา ซ้ำๆซากๆร่วมสิบรอบ Life must go on.
อย่างเรื่องใต้ฟ้าสีครามนี่ สมัยก่อนนพพลเล่นคู่นวรัตน์ ยุกตะนันท์ เรื่องสดใสสบายๆ ไม่เครียดดี

เมื่อกี้ไปดูบนชั้นหนังสือของพี่สาว เจอเรื่อง "สองฝั่งคลอง" ของ รศ. ดร. คญ. วินิตาฯ
ขอบคุณคุณการีน คุณเป็นนักเล่าที่ใช้ได้นะ เล่าแล้วกล้าอ่านตาม เดี๋ยวอ่านจบ
จะเล่าให้ฟังค่ะ อีกเรื่องหนึ่งที่เคยเป็นหนังสือนอกเวลาสมัยโบราณ "อุดมการบนเส้นขนาน"
ใครเคยอ่านบ้างคะ มันเกะกะลูกตา อยากลองจริงๆ

นึกถึงเรื่องเก่าๆ ไม่ทราบว่าใครเคยอ่านเรื่อง "ชายชราใต้ร่มพฤกษ์" บ้างไหมค่ะ เคยอ่านสมัยเด็กๆค่ะ
ไม่ทราบว่ายังมีขายหรือเปล่าค่ะ  
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 29 ธ.ค. 05, 23:24

 พออ่านพม่าเสียเมืองได้ครึ่งเรื่อง ดิฉันต้องพักยกจิบน้ำร้อนทำใจ ยิ่งอ่านมาถึงตอนโหร
ให้จับคนเป็น 600 คน มาฝังรอบเมืองเพื่อสะเดาะเคราะห์  ทำให้ผู้คนหวาดผวาอพยพไป
อยู่พม่าแดนใต้ เพื่อซุกปีกฝรั่งนั้น ก็นึกรักประเทศไทยขึ้นมาเป็นกอง คงเป็นเพราะ
พระมหากษัตริย์ไทยทรงมีทศพิธราชธรรม ทำให้บ้านเมืองไม่ร้อนระอุ อย่างน้อยชาวเมือง
ไม่ต้องทิ้งเมืองหลบหนีการบูชายัญเซ่นพระนครเช่นนั้น

เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ที่ผ่านมา ในหลวงทรงมีพระราชดำรัสในวันสุกดิบ วันคล้ายวันประสูติ
ทำนองว่าหากรัฐบาลเอาเรื่องเอาราวคดีหมิ่นประมาทแก่คนใดก็ตามที่พูดถึงพระมหากษัตริย์
คนที่เดือดร้อนกลับจะป็นพระองค์ท่าน โดยทรงย้ำว่าในหลวงอยู่ในฐานะที่จะถูก “วิจารณ์ได้”  
และทรงยกตัวอย่างว่าพระมหากษัตริย์ต้องมีเมตตาธรรม เช่น รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชทาน
อภัยโทษให้แม้กระทั่งบุคคลที่พยายามโค่นล้มบัลลังก์ ชี้ให้เห็นว่าชนชั้นปกครองยิ่งต้องมี
เมตตาธรรม พระราชดำรัสในวันนั้น ส่งผลให้รัฐบาลของนายกฯ ทักษิณ ถอนแจ้งความคดี
หมิ่นประมาทหลายคดีทันที

ก็แปลกใจว่าพม่าเป็นเมืองพุทธที่เคร่งครัดไม่น้อยกว่าประเทศไทย แต่กษัตริย์พม่า
กลับฆ่านักโทษ (การเมือง) แบบสดๆ
ดิฉันเห็นด้วยกับคำพูดคุณซูม ไทยรัฐว่า คนโบราณเชื่อว่ากรรมเวรมีจริง ใครก่อเวรไว้
อย่างไร เวรนั้นย่อมคืนสนอง กษัตริย์พม่าก่อกรรมไว้มาก จนรักษาราชวงศ์ไว้ไม่ได้
และยังต้องถูกเนรเทศไปชั้นชีวิตบั้นปลายที่อินเดีย

ใครยังไม่ได้อ่านเรื่อง “พม่าเสียเมือง”นี้  ก็ขอแนะนำบอกต่อว่าเป็นหนังสือ
ที่อาจารย์คึกฤทธิ์ฯ เขียนได้ตื่นเต้นมาก อ่านแล้วเห็นสัจจธรรมของชีวิตค่ะ  
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.321 วินาที กับ 19 คำสั่ง