เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8]
  พิมพ์  
อ่าน: 31618 หนังสือน่าอ่าน ใครเคยอ่านบ้างคะ
วรรณวรรธน์
อสุรผัด
*
ตอบ: 12


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 22 ม.ค. 06, 16:45

 เท่าที่เคยอ่านสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทร์  เคยมีเจ้านายอยู่พระองค์หนึ่ง น่าจะเป็นหม่อมไกรสรนี้กระมังคะ(หากจำผิดขออภัย)   ที่ถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทร์ แล้วขณะที่ถูกสำเร็จโทษด้วยความที่เพชฌฆาตหลาดกลัวท่านมาก เลยตีผิดจุด ไม่ถูกจุด"ตาย"   ท่านก็เลยลุกขึ้นมาตำหนิว่า "อ้ายพวกนี้สอนไม่รู้จักจำ"  

เลนคิดว่าศิลปะการประหารชีวิตนี่เป็นเรื่องที่ต้องฝึกฝนนะคะ  เพราะถ้าหากไม่ทุบให้ถึงจุดตาย  คนต้องโทษจะทรมานมากกว่าจะเสียชีวิต  ถ้าเป็นรอยข้อต่อระหว่างกระโหลกกับท้ายทอยทุบไม่ต้องแรงมาก ออกแรงกระชากหน่อย ก็หลุดออกจากกัน  ตัวเองก็เลยคิดอยู่เสมอว่า การประหารด้วยท่อนจันทร์ น่าจะเป็นการทุบตรงจุดนี้มากกว่า จุดอื่นของร่างกาย ......อ่า...เขียนเองชักจะกลัวเองค่ะ

...ผ่านไปก่อนดีกว่าค่ะ....   ยิ้ม
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 22 ม.ค. 06, 17:16

 แต่ไงๆ ดิฉันเห็นว่า วิธีสำเร็จโทษด้วยไม้พลอง ยังบาแบเรียนน้อยกว่าวิธีที่พระเจ้าชาร์ล ที่ 1 ถูกเอาคอ
ไปพาดบนเขียง แล้วเอาใบมีดหนักๆ บั่นสดๆ จะๆ คาตา

ว่าไปแล้วพวกมุสลิมในอิรัคที่จับคนผิวขาวไปเป็นตัวประกัน เพื่อต่อรองกับประเทศมหาอำนาจ
พวกนี้ก็ใช้วิธีเอามีดเถือคอ เคยดูทางเว็บแห่งหนึ่ง บั่นสดๆ พอศรีษะขาดแล้ว เจ้าคนประหาร ใช้มือจิกผม
ชูศรีษะสู้กล้องวีดีโอ ดวงตาของร่างไร้วิญญาณยังเบิกโพลง สยองมาก  
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 22 ม.ค. 06, 17:23


.


ใส่ Aspen CTO เข้ามานต่อครับ
อ่านความเห็นพี่วรรณวรรธน์ แล้วต๊กกะใจจนคอเคลื่อนแหนะครับ อิอิ
ที่จริง กระดูกสันหลังก็เป็นข้อต่อ เหมือนส่วนอื่นๆในร่างกายแหละครับ ที่หลุดได้เคลื่อนได้ (บางคนเคลื่อนไปตั้งนานแล้ว ยังไม่รู้ตัว ไม่สนใจจะรักษาก็มี ทั้งๆที่อันตรายนะนั่น) แต่มันอันตรายกว่าข้อต่ออื่นๆตรงที่ว่าในกระดูกสันหลังส่วนนี้มีไขสันหลังอยู่ไงครับ



ปล. เห็นหนังสือเรื่องนกกางเขนแล้วนึกถึงตอนเป็นเด็กๆครับ จำได้ว่าเป็นนิทานก่อนนอนเล่มแรกๆในชีวิตผมเลยล่ะ
บันทึกการเข้า
ชื่นใจ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 136

นักศึกษาปริญญาเอก University of East Anglia England


ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 23 ม.ค. 06, 03:15

 คุณติบอ อิฉันขอแก้ไขข้อความของคุณค่ะ
(ถ้าไม่รีบชี้แจงความจริงแก่สาธารณะชน อาจถูกยึดวุฒิฯคืนได้ เกรงใจคณาจารย์ทั้งหลายที่อุตส่าห์พร่ำสอนมา)

ที่จริงไขสันหลังมีอยู่ตลอดแนวกระดูกสันหลังนะคะ
กระโหลกและกระดูกสันหลังเป็นกระดูกแกนของร่างกาย
มีหน้าที่สำคัญในการป้องกันอันตรายให้กับระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งก็คือสมองและไขสันหลัง
(สำหรับระบบประสาทส่วนปลายหรือพวกเส้นประสาททั้งหลาย ที่แตกกิ่งก้านสาขาไปตามอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย จะมีมัดกล้ามเนื้อและเนื่อเยื่ออื่นๆคอยระวังอันตรายให้ค่ะ)

แล้วทำไม สมองกับไขสันหลังจึงต้องมีห้องหับพิเศษแน่นหนาขนาดนั้น...
ก็เพราะว่าทั้งสมองและไขสันหลังเป็นเหมือน CPU ของชีวิตมนุษย์เรานี่ไงคะ  CPU เจ๊งก็เรียนร้อยกันเท่านั้น อีกอย่างมันยังไม่มีอะไหล่สำรองให้เปลี่ยน นักประสาทวิทยาศาสตร์ทั้งหลายก็คงศึกษากันต่อไปหละค่ะว่าจะหาอะไหล่ให้ระบบประสาทได้ไหม

ทั้งในสมองและไขสันหลังจะมีแผนที่...เอางี้ดีกว่าค่ะ ...จะมี job description ของตัวเองว่าพื่นที่ส่วนไหนในสมองหรือในไขสันหลัง จะควบคุมอวัยวะชิ้นไหนในร่างกาย

ที่นี้ พุ่งประเด็นมาที่ไขสันหลังอย่างเดียว (ก็คุณติบอ เปิดประเด็นด้วยไขสันหลังส่วนคอนี่คะ)
ถ้าเราจินตนาการว่า ไขสันหลังทั้งแท่ง (ซึ่งยาวประมาณจากต้นคอถึงบั้นเอว) แบ่งออกเป็นเหมือนไม้ไผ่เรียงต่อกันจนเป็นแท่งเรียว 31 ปล้อง
ปล้องสูงๆ ก็มีหน้าที่ดูแลอวัยวะสูงๆ เช่นหน้า คอ ไหล่ แขน
ปล้องที่อยู่ต่ำๆ ก็มีหน้าที่ดูแลอวัยวะที่ต่ำลงมา เช่นท้อง สะโพก เข่า ขา

ความสำคัญมันอยู่ตรงนี้ค่ะ
ถ้าคอเคลื่อน คอหัก แล้วไขสันหลังที่คอถูกกระแทก (และถ้าjob description ของไขสันหลังปล้องนี้ คือ ควบคุมกล้ามเนื้อคอ) อวัยวะทั้งหลายแหล่ที่อยู่ต่ำกว่าอำนาจบัญชาการของเจ้าไขสันหลังปล้องนั้น จะไม่ทำงานเลย เรียกง่ายๆ ว่า ขยับเขยื้อนอะไรไม่ได้ทั้งตัว ทำได้ก็แค่อ้าปากพูด
แต่ถ้าไขสันหลังปล้องต่ำสุด เช่นไขสันหลังระดับบั้นเอว ได้รับอันตราย (และสมมติว่า job description ของไขสันหลังปล้องนี้ คือ ควบคุมกล้ามเนื้อตั้งแต่หัวเข่าลงไปถึงปลายเท้า) อันตรายอย่างมากก็แค่ขยับขาท่อนล่างไม่ได้ แต่ขาท่อนบน ลำตัว มือ แขน คอ หน้า ยังใช้การได้ดีทั้งหมด

คุณติบอต้องระวังคอคุณไว้ดีๆ นะคะ ถึงแม้อิฉันมีหน้าที่ฝึกหัดผู้พิการให้ช่วยเหลือตัวเองได้ แต่ก็ไม่อยากให้คุณมาเป็นผู้รับบริการจากอิฉันหรอกนะ

ขออภัยดังๆ ด้วยค่ะที่หักมุมกระทันหัน กระทู้หนังสือน่าอ่านต้องกลายเป็นข้อความเกี่ยวกับกายวิภาคของไขสันหลังซะงั้น
โทษคุณติบอคนเดียวเลย    
บันทึกการเข้า
ชื่นใจ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 136

นักศึกษาปริญญาเอก University of East Anglia England


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 23 ม.ค. 06, 03:18

 อ้าวนั่น...บรรทัดที่สอง คหพ 108 "สาธารณะชน"
คำไหนสะกดถูกคะนี่
"สาธารณะชน หรือ สาธารณชน"
อิฉันว่ามันต้องไม่มีสระอะนา
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 23 ม.ค. 06, 05:14

 เห็นความเห็นของพี่ชื่นใจแล้ว ชื่นใจแฮะ (มีพี่สายใกล้ๆ - หรือไม่ก็สายเดียวกันมาคุยเพิ่มอีกคนละครับ เอิ๊กๆ /ที่จริงถ้าเป็นสายใกล้ๆบางสายก็สู้รบตบมือกันสุดฤทธิ์เหมือนกันนะเนี่ยะ ฮ่าๆ/)

แต่ผมว่า เราย้ายห้องไปเปิดกระทู้ในห้อง   vHealth  จะดีกว่ามั้ยครับ
ห้องเขายิ่งเงียบๆอยู่ด้วยอ่ะครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 23 ม.ค. 06, 05:39

 เปิดกระทู้ไว้ให้พี่ชื่นใจเป็นพิเศษเลยนะครับเนี่ยะ

 http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Cid=146&Pid=44254

ลองกดเข้าไปดูได้ครับ


ปล. พี่หมอท่านอื่นๆ อย่างพี่หมอศานติ พี่นทีสีทันดร ถ้าช่วยตอบได้จะเป็นพระคุณกับน้องๆอย่างสูงครับ




.
บันทึกการเข้า
Peking Man
ชมพูพาน
***
ตอบ: 142


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 23 ม.ค. 06, 11:09

 มีโทษประหารของมองโกลชนิดหนึ่งเช่นกันครับที่ใช้ท่อนซุง แต่เขาไม่ใช้ซุงมาทุบนะครับ เขาใช้ซุงมาดามหลัง แล้วก็ทำการ "หัก" ตัวของคนครับ ถือว่าเป็นการประหารนักโทษชั้นสูงเหมือนกัน ถ้าจำไม่ผิด เจงกิสข่านก็จัดการฆ่าพี่น้องร่วมสาบานด้วยวิธีนี้ครับ
บันทึกการเข้า
ชื่นใจ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 136

นักศึกษาปริญญาเอก University of East Anglia England


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 24 ม.ค. 06, 02:11

 เหอๆ หึๆ คุณติบอนะคุณติบอ เล่นเปิดประเด็นแบบชวนให้อิฉันหลงเข้าใจผิด ...

ไอ้เจ้าประโยคนี้ของคุณเนี่ย..."ที่จริง กระดูกสันหลังก็เป็นข้อต่อ เหมือนส่วนอื่นๆในร่างกายแหละครับ ที่หลุดได้เคลื่อนได้ (บางคนเคลื่อนไปตั้งนานแล้ว ยังไม่รู้ตัว ไม่สนใจจะรักษาก็มี ทั้งๆที่อันตรายนะนั่น) แต่มันอันตรายกว่าข้อต่ออื่นๆตรงที่ว่าในกระดูกสันหลังส่วนนี้มีไขสันหลังอยู่ไงครับ"...

แวบแรกที่อิฉันอ่านจบ อิฉันเข้าใจไปว่า ..."กระดูกสันหลังส่วนนี้มีไขสันหลังอยู่ไงครับ"... ที่คุณอ้างอิงหนะหมายความเฉพาะเจาะจงไปที่กระดูกสันหลังส่วนคอ เพราะมีภาพ Aspen CTO ชี้นำอยู่ที่ตอนต้นข้อความ

อันที่จริงเมื่อตามไปอ่านกระทู้ http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Cid=146&Pid=44254  
จึงพอจะประติดประต่อได้ว่าคุณมีเจตนาที่สื่อ "สาร" ใดออกไป แต่บังเอิญสารที่ว่าถูกบิดเบือนเล็กน้อย (เนื่องจากลักษณะการ "สื่อ" - ไม่ใช่ที่ตัวผู้สื่อหรือตัวผู้รับค่ะ)

ผลเลยกลายเป็นว่า
1. อิฉันปล่อยไก่ ซ้ำเอามะพร้าวห้าวมาขายสวน เพราะอ่านไม่ได้ศัพท์จับมากระเดียด
2. คุณควรพึงระวังการใช้ภาษาเขียนสักนิด จากตัวอย่างนี้ แวบแรกที่อิฉันอ่าน ยังหลงเข้าใจผิดเลย ที่จริงคุณใช้ภาษาเขียนได้ถูกต้องเลยหละ แต่อาจต้องใส่ใจบริบทของข้อความทั้งหมดหรือของประโยคนั้นหรือตรวจทานคำขยายที่ประกอบอยู่อีกนิด  ...ถ้าคิดถึงแค่ประโยชน์เฉพาะหน้า เวลาคุณทำข้อสอบที่ต้องเขียน อาจารย์ที่ตรวจข้อสอบก็จะไม่เข้าใจสารที่คุณต้องการสื่อผิดไปไงคะ

น้องๆ นักเรียน นักศึกษา เวลาที่ต้องเขียนข้อความที่เป็นเรื่องเป็นราว ก็อย่าลืมพิจารณาว่าลักษณะการเขียนของเรา สื่อ "สาร" ได้ตรงกับเจตนาของเราหรือไม่นะคะ

คุณติบอคงไม่ถือสานะ สำหรับความคิดเห็นของอิฉัน

ขอเชิญทุกท่านไปทำความรู้จักไขสันหลังของเรากันได้ที่ห้องสุขภาพ บอกทางไปไว้ให้แล้วค่ะ
...หน้าม้าเห็นๆ            
บันทึกการเข้า
กอประกาญจน์
อสุรผัด
*
ตอบ: 15


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 30 ม.ค. 06, 11:23

 มาขอร่วมวงคนเคยอ่าน "เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก" ด้วยคนค่ะ เคยอ่านตั้งแต่ลงเป็นตอนๆ ในสตรีสารภาคพิเศษโน่นแน่ะค่ะ ตอนนั้นดิฉันยังอยู่ประถมต้นอยู่เลยค่ะ ชอบมากจนพอรวมเป็นเล่มก็ขอให้คุณแม่ซื้อให้ แต่ตอนนี้ไม่ทราบไปไหนแล้วค่ะ (คือเวลาผ่านมานานมากแล้ว ประกอบกับย้ายบ้านด้วย)

เรื่องอื่นๆ ที่เอ่ยถึงกันมาโดยมากดิฉันก็มีโอกาสอ่านเช่นกันค่ะ อุดมการณ์บนเส้นขนาน ใต้ฟ้าสีคราม (เรื่องนี้เป็นนวนิยายเรื่องแรกที่อ่านค่ะ อยู่ป. 2 อ่านจากสตรีสารเหมือนกัน) หนังสือของคุณชายคึกฤทธิ์อีกหลายๆ เล่ม นกกางเขนก็ได้อ่านค่ะ แล้วแม่ไก่นันทานี่อยู่ในหนังสืออะไรคะ ไม่ทราบใครจำได้บ้าง ดิฉันจำได้แต่ว่าอ่านแล้วร้องไห้แทบแย่

ตอนเด็กๆ อ่านหนังสือมากค่ะ อ่านทุกประเภท คุณพ่อคุณแม่สนับสนุนให้อ่านและท่านก็มีหนังสือเยอะ ประจวบกับใกล้บ้านมีห้องสมุดด้วยค่ะ ปิดเทอมเป็นต้องไปยืมหนังสือมาอ่าน ชุดที่ชอบยืมที่สุดคือหนังสือชุดบ้านเล็กค่ะ (ซื้อเก็บด้วยค่ะ ตอนนี้เขาพิมพ์ใหม่อีกแล้ว ก็ซื้อมาอีกค่ะ มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเลย) พอโตมากลับได้อ่านหนังสือหลากหลายน้อยลงค่ะ มัวแต่อ่านหนังสือนอกเวลาเสียเป็นส่วนใหญ่ ดิฉันคงเป็นรุ่นน้องอาจารย์เทาชมพูค่ะ รุ่นดิฉันอาจารย์ให้อ่านหนังสือเทอมละหลายๆ เล่ม ไหนจะต้องอ่านหนังสือประกอบการทำรายงานอีก

ตอนนี้ทำงานแล้ว ช่วงไหนงานไม่ยุ่งมากก็จะได้อ่านหนังสือบ้างค่ะ แต่อ่านหนังสือไม่ค่อยมีสาระเท่าไร อ่านไปทั่วๆ ค่ะ กะว่าจะไปซื้อหนังสือคุณปองพลมาลองอ่านบ้างเหมือนกัน ท่าทางน่าสนใจดี

อ่านกระทู้หลังๆ เรื่องสำเร็จโทษแล้วเสียวสันหลังอย่างไรพิกลค่ะ ตามไปอ่านกระทู้สุขภาพบ้างดีกว่า    
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 14 ก.พ. 06, 14:08

 เรื่องการประหารชีวิตของไทยนั้น  ฝรั่งว่าป่าเถื่อน  แต่ถ้าคิดถึงคนที่ถูกประหารผมว่า  น่าจะไม่เป็นการทรมานผู้ถูกประหารมากกว่า  เพราะการสำเร็จโทษเจ้านายโดยใช้ท่อนจันทน์ทุบที่ต้นคอเพียงทีเดียวนั้นก็ถึงแก่ความตายแล้ว  รวมทั้งการตัดคอที่ใช้ดาบตัดเข้าที่เส้นเลือดใหญ่ที่คอก็จะทำให้ตายในทันทีเช่นเดียวกัน  แต่สำหรับคนดูออกจะน่ากลัวอยู่สักหน่อย  ผมเคยไปค้นรูปที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติสมัยนั้นยังไม่มีการแยกภาพเป็นหมวดหมู่เช่นปัจจุบัน  วันหนึ่งดูภาพเหตุการณ์ในสมัยรัชกาลที่ ๖  พลิกไปพลิกมาไปเจอภาพประหารชีวิตนักโทษ  เรียงลำดับตั้งแต่เอานักโทษเข้าหลักประหารจนถึงตัดหัวแล้วเลือดพุ่งขึ้นไปเท่าตึก ๒ หรือ ๓ ชั้น  เสร็จแล้วเอาหัวไปเสียบหลักประจาน  ดูแล้วนอนไม่หลับไปหลายคืนเลยครับ  

พูดถึงคำว่าวานที่มีการกล่าวถึงกันว่าไม่เหมาะที่จะไปใช้กับผู้อาวุโสนั้น  ผมขอเรียนเสนอว่าถ้าไม่แน่ใจหรือไม่สนิทสนมคุ้นเคยกันมากถึงขนาดแล้วควรใช้คำว่า รบกวน  หรือขอรบกวนให้ช่วยทำอะไรให้จะดูเหมาะสมกว่านะครับ  เป็นการแสดงความอ่อนน้อมถ่อมตนซึ่งมีเฉพาะสังคมไทยเราเท่านั้น
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 16 ก.พ. 06, 12:03

 ได้อ่านถุงแดงและท่อนจันทร์แล้ว ตอนนี้ก็เหลือแต่หาดูภาพมาประกอบค่ะ ใครมีบ้างคะ
********
ท่อนจันทน์ : เครื่องมือประหารเจ้านายชั้นสูง
เฉพาะเพื่อการอ่านออนไลน์

เขียนโดย มณีอักษร

สมัยโบราณนั้นการประหารชีวิตเจ้านายชั้นสูงต้องมีรูปแบบพิเศษแตกต่างจากสามัญชนทั่วไป
โดยกำหนดแบบแผนไว้ในกฎมนเทียรบาลว่าด้วยการสำเร็จโทษ ซึ่งน่าจะมีขึ้นครั้งแรก
ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ปีจุลศักราช 722 แล้วมีการปรับปรุงและกำหนดชัดขึ้นไว้ในกฎหมาย
ตราสามดวง หมวดกฎมนเทียรบาล มาตรา 176

ผู้พิพากษาโทษ คือ กษัตริย์

ผู้กระทำความผิด คือ เชื้อพระวงศ์ พระมเหสี พระสนม

ลักษณะความผิด กฎมนเทียรบาลจักกำหนดข้อปฏิบัติ ข้อห้าม และบทลงโทษหนักเบาตามพฤติกรรม
หากเป็นบทหนักถึงประหารชีวิต ต้องได้รับคำสั่งจากกษัตริย์ซึ่งทรงพิจารณาว่าจะใช้โทษนั้นหรือไม่
กับใคร และเมื่อไร

ทีมงานประหารชีวิต ประกอบด้วย
นายแวง ผู้คุม กำกับดูแลนักโทษสู่แดนประหาร ระวังภัยมิให้มีการชิงนักโทษ
ขุนผู้ใหญ่ ตัวแทนกษัตริย์ในการเป็นประธานพิธีสำเร็จโทษ
หมื่นทลวงฟัน เพชฌฆาต
มีสองคนในการประหารแต่ละครั้ง

แดนประหาร โคกพญา ปัจจุบันน่าจะเป็นพื้นที่รวมของกลุ่มโบราณสถานคลองสระบัว
จังหวัดอยุธยา อันได้แก่ วัดหน้าพระเมรุ วัดหัสดาวาส วัดตะไกร โดยมีวัดหน้าพระเมรุ
หรือวัดพระเมรุโคกพญา เป็นหลัก

ลักษณะท่อนจันทน์ ไม้ค้อนขนาดใหญ่ที่มีปลายด้านหนึ่งใหญ่กว่าอีกด้านหนึ่ง รูปร่างคล้ายสากตำข้าว
ทำจากไม้จันทน์หอม หลังจากพิธีประหารชีวิตเสร็จสิ้น จักใส่ไปในหลุมศพด้วย

ขั้นตอนการสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์
- ต้องพันธนาการร่างแล้วสวมถุงแดงตั้งแต่พระเศียรลงไปตลอดปลายพระบาท เอาเชือกรัดถุงให้แน่น
เพื่อป้องกันมิให้ผู้ใดจับต้องพระวรกายและมิให้ผู้ใดเห็นพระศพ แม้แต่เพชฌฆาต
- หมื่นทลวงฟันทำการไหว้ครู และขอขมาต่อนักโทษ
- ทุบท่อนจันทน์บนพระนาภี (ท้อง)
หรือ พระเศียร (หัว) คล้ายท่าตำข้าว
- นำพระศพฝังในหลุมซึ่งจัดเตรียมไว้ที่ โคกพญา แล้วจัดเจ้าพนักงานเฝ้ารักษาหลุม 7 วัน
เพื่อมั่นใจว่าสิ้นพระชนม์ หรือ ป้องกันการชิงพระศพ

ข้อมูลอ้างอิงจาก หนังสือ “สำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์” เขียนโดย ปรามินทร์ เครือทอง

***************************
 http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=leelalaw&group=5  
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 19 มี.ค. 06, 11:18

 เห็นหลาย ๆ ท่านพูดถึงการสำเร็จโทษมาแล้ว
ผมคิดว่า ลองมาคุยเรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย กันดีกว่าครับ
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
หน้า: 1 ... 6 7 [8]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.076 วินาที กับ 19 คำสั่ง