ตอบคุณ pharmaceutical scientist ครับ
จริงๆ ก็น่าคิดนะครับ ๒ คำนี้ เพราะจริงๆ ผมก็ชินกับการเขียนว่า "เผลอเรอ" เหมือนกัน อิอิ ก็ขอบคุณมากครับ ที่นำมา
ก็ไปตรวจกับพจนานุกรมของราชบัณฑิตยสถานแล้วครับ ได้ผลดังนี้
คำ : เผอเรอ
เสียง : เผอ-เรอ
คำตั้ง : เผอเรอ
ชนิด : ว.
นิยาม : ขาดความเอาใจใส่ในสิ่งที่ต้องทํา.
เผอ : ไม่พบคำ "เผอ" ในฐานข้อมูล
เรอ : อาการอย่างหนึ่งที่ลมในกระเพาะเฟ้อพุ่งออกทางปาก
-------------------------------------
คำ : เผลอ
เสียง : เผฺลอ
คำตั้ง : เผลอ
ชนิด : ก.
นิยาม : หลงลืมไปชั่วขณะ.
---------------------------------------
คำ : เผลอไผล
เสียง : เผฺลอ-ไผฺล
คำตั้ง : เผลอ
ชนิด : ก.
นิยาม : หลงๆ ลืมๆ.
----------------------------------
ไม่พบคำ "ไผล" ในฐานข้อมูล -----------------------------------
โดยส่วนตัวนะครับ ผมก็ยังสงสัยอยู่ว่า จริงๆ แล้ว "เผลอเรอ" น่าจะมีนัยทางความหมายว่า "ขาดความเอาใจใส่ในสิ่งที่ต้องทํา" มากกว่าคำว่า "เผอเรอ" ที่ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติว่าเป็นคำถูกต้อง
เพราะำคำว่า "เผอ" ไม่มีความหมายครับ แต่คำว่า "เผลอ" มีความหมาย
"เผลอเรอ" ที่หมายถึง ไม่ได้ใส่ใจในสิ่งที่ต้องทำ ก็น่าจะมาจาก "มารยาทบนโต๊ะอาหาร" นั่นคือ เวลากินข้าวกับคนอื่นนั้น อย่า "เผลอ" "เรอ" ออกมา เพราะไม่สุภาพ นั่นคือ เวลากินอาหารจะต้องระมัดระวังเอาใจใส่กับมารยาท อย่า "เผลอเรอ" ออกมา (ได้ยินมาว่า ถ้าไปกินข้าวบ้านคนอินเดีย ถ้าไม่เรอ จะไม่สุภาพ เพราะแสดงว่าอาหารไม่อร่อย ดังนั้น ไปกินข้าวบ้านคนอินเดีย ต้องเรอเยอะ ๆ อิอิ ไม่รู้จริงหรือเปล่า)
แต่ "เผอเรอ" มองหาที่มาของคำไม่ออกเลยครับ
แต่ก็ต้องเขียนตามที่ราชการกำหนดครับ
อย่างมุขตลก มาเปลี่ยนเป็น มุก ตลก ซึ่งผมได้เคยอ่านคำอธิบายถึงการแก้ไขเหมือนกัน แต่ไม่เห็นด้วย อิอิ ผมมองว่า มุขตลกนี้ "มุข" ย่อมาจาก "มุขปาฐะ" ไม่ใช่แปลทื่อๆ ว่า "หน้า" อย่างที่ราชบัณฑิตฯ อธิบายไว้ แล้วก็นำมาเป็นข้ออ้างนี้ เปลี่ยนจาก มุขตลก เป็น มุกตลก แต่ก็ต้องจำใจเขียนตามครับ แต่อย่างไรก็ตาม ได้ยินมาว่า "พจนานุกรม ฉบับมติชน ใช้ว่า "มุขตลก" อันนี้เห็นแล้วชื่นใจ ต่อมาปัญหาจะมาอยู่ที่ว่า ใช้เล่มไหนถึงจะถูก

ข้อเขียนนี้ ผมไปเจอในเว๊บมาครับ
ด้าน ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ นักเขียนคอลัมน์ พิธีกรรายการชิมอาหารชื่อดัง กล่าวว่า สิ่งที่สะดุดใจสำหรับพจนานุกรมมติชน ที่แตกต่างจากราชบัณฑิตยสถาน คือคำว่า "มุขตลก" ใช้ ข ไข่ สะกด แต่ราชบัณฑิตใช้ ก.ไก่ สะกด ที่แปลว่า หอยมุก แต่ "มุข" นี้น่าจะใช้ "ข" ซึ่งมาจาก "มุขปาฐะ"ซึ่งแปลว่าคำกล่าว ราชบัณฑิตน่าจะเปลี่ยนตามด้วยซ้ำ
"ผมเห็นว่าคำแสลงในแต่ละยุคแต่สมัยที่เกิดขึ้น น่าจะนำเข้ามารวมไว้ในเล่มนี้ด้วย คิดว่าสามารถใส่เข้าไปได้ ไม่มีปัญหา อย่างเมื่อก่อนยังมีคำว่า เต้ย แปลว่าเยี่ยม เป็นต้น" ม.ร.ว.ถนัดศรีกล่าว ที่มา :
http://www.matichon.co.th/advertise/book/dictionary/newsdic7.phpอีกเรื่องที่ราชการกำหนดแล้วไม่ค่อยชอบคือ วิธีการเขียนหมายเลขโทรศัพท์ครับ ซึ่งผมก็ยังคงเขียนแบ่งตัวเลขแบบเดิมครับ ไม่เคยทำตามราชการบอกแต่อย่างใด



