เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 5554 รบกวนถามคุณ เทาชมพู
ก้านบัว
อสุรผัด
*
ตอบ: 1

เรียน ป.โท คณะวิทยาศาสตร์ มหิดล


 เมื่อ 13 ธ.ค. 05, 11:47

 สวัสดีคะ รบกวนฝากคำถามถึงคุณเทาชมพูนะคะ คือมีข้อสงสัยนะคะ ว่าคำว่าอาจารย์เราจะใช้ตัวย่อว่า อ. หรือ อจ. กันแน่คะ เพราะมีการถกเถียงกันในที่ทำงาน รบกวรอาจารย์บอกคำที่ถูกต้องเพื่อเด็กรุ่นต่อไปจะได้ใช้ไม่ผิดนะคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 13 ธ.ค. 05, 11:58

 อ.
ค่ะ  
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 13 ธ.ค. 05, 12:20

 ดิฉันคร้านที่จะตั้งกระทู้ใหม่ ขอเรียนถามอาจารย์เรื่อง จดหมายจากเมืองไทยค่ะ
เนื่องจากการพิมพ์หนังสือเมืองไทยไม่ใคร่จะมี preface ทำให้ผู้อ่านมีคำถามในใจ

1. คุณตำรวจ ตม. ยึดจดหมายได้จากคนจีนเมื่อปี พ.ศ. 2510 และส่งแปล
จากนั้นส่งต่อให้โบตั๋นดรามาไทซ์ ใช่ไหมค่ะ

2. ตอนจบฉบับที่ 100 หนังสือไม่ได้กล่าวถึงว่ามารดาของตันส่วงอู่ ได้พบกับลูกชายหรือไม่อย่างไร
อาจารย์พอทราบไหมค่ะ ในทางวรรณกรรม การจบประเภททิ้งท้ายให้คนอ่านไปจินตนการ
ส่วนที่เหลือเอาเอง อาจงดงามทางวรรณกรรม but anathema to readers!

3. อ่านข้อเขียนเรื่อง "ความรู้พื้นฐานทางวรรณกรรม" ดิฉันทดลอง classify เล่นๆว่า ละครแห่งชีวิต
และ จม. จากเมืองไทย เป็น Realism ถูกไหมค่ะ
 http://arc.rint.ac.th/center/pongsak/e_learning/unit5_8.html

ขอบพระคุณค่ะ (มือใหม่หัดขับ)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 13 ธ.ค. 05, 13:01

 1 ใช่ค่ะ
เป็นตัวละครสมมุติ ไม่มีตัวตนจริง  สร้างขึ้นด้วยเจตนาของผู้เขียนที่จะทำให้คนอ่านคล้อยตามว่าเป็นเรื่องจริง
ก็นับว่าโบตั๋นประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี    คนอ่านจำนวนมากที่อ่านครั้งแรกมักจะมีคำถามแบบคุณ Nuchan นี่ละค่ะ  
ถ้าพิจารณารายละเอียด จะรู้ว่าไม่จริง
เพราะ
-พ.ต.อ.สละ สินธูธวัช ไม่มีตำแหน่งหน้าที่การงานระบุไว้  ถ้าเป็นเรื่องจริงเขาจะต้องลงตำแหน่งการงานเอาไว้ด้วย
-ในชีวิตจริง  นายตำรวจไม่มีสิทธิ์เผยแพร่จดหมายส่วนตัวของผู้อื่น โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของ
ยิ่งตีพิมพ์เผยแพร่ยิ่งทำไม่ได้เลย  มีสิทธิ์โดนฟ้องได้

2 พ.ต.อ. สละได้อ้างว่านายไปรษณีย์จีนที่หอบจดหมาย 100 ฉบับติดตัวมาเมืองไทย   พยายามส่งจดหมายตามตำบลที่อยู่ แต่ว่าหาตัวผู่รับไม่พบ ตั้งแต่ฉบับแรกจนฉบับสุดท้าย
ระยะเวลากว่า 20 ปี  แม่ของตันส่วงอู๋หายไปไหนก็ไม่รู้  ถ้าเธอไม่ตายก็คงอพยพไปอยู่ที่อื่นกับลูกชายคนเล็ก
อ่านได้ระหว่างบรรทัดว่าแม่คงไม่มีโอกาสพบลูกชายในเมืองไทยอีกแล้ว

การทิ้งท้ายให้คนอ่านคิดเอาเอง (ไม่ใช่ว่าจบไม่ลง) เป็นฝีมืออย่างหนึ่งของกวีและนักประพันธ์   วรรณกรรมเอกของโลกหลายเรื่องใช้กลวิธีนี้  เพื่อจุดประกายให้คนอ่านได้ขบคิด ถกเถียง ค้นคว้าศึกษาต่อไป
หรืออย่างน้อยก็แลกเปลี่ยนความรู้กับผู้อื่นได้อีก  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 13 ธ.ค. 05, 13:06

 Hamlet ก็ดี ขุนช้างขุนแผนก็ดี ได้ทิ้งปริศนาข้อใหญ่เอาไว้ให้คนอ่านเถียงกันมาเป็นร้อยๆปี
คือทำไมแฮมเล็ตมัวรีรอ ไม่ทำอะไรสักทีกับพระเจ้าอาที่ปลงพระชนม์เสด็จพ่อของเขา   มัวงุ่มง่ามอ้อมค้อมอยู่จนกระทั่งตัวเองก็เลยต้องตายเพราะน้ำมืออา
และ
ถ้าพระพันวษาพระทัยเย็นกว่านี้หน่อย ให้นางวันทองกลับไปนอนคิดที่บ้านสัก ๓ วันแล้วค่อยกลับมาตอบว่าจะเลือกใคร
ป่านนี้เราก็คงรู้คำตอบแล้วว่านางจะเลือกขุนช้าง หรือขุนแผน หรือไม่เอาทั้งสองคนแล้วไปอยู่กับลูกชายให้รู้แล้วรู้รอด

แต่เสน่ห์ของเรื่องก็จะไม่ดึงดูดเท่าเราไม่รู้คำตอบของตอนจบ

3 จดหมายจากเมืองไทย อยู่ในแนวสัจนิยม ( Realism หรือ Realistic Novel)  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 13 ธ.ค. 05, 13:18

 แต่เรื่องจดหมายจากเมืองไทย  ผู้เขียนอาจไม่ได้ตั้งใจทิ้งท้ายให้คนอ่านฉงนเอาเองอย่างเรื่องนางวันทองสองใจ
แต่พล็อตมันบังคับไม่ให้แม่ของตันส่วงอู๋มีตัวตนโผล่เข้ามาในเรื่องเพื่อไขข้อข้องใจได้ต่างหากล่ะคะ

การที่ตันส่วงอู๋เขียนจดหมายถึงแม่อยู่ตั้งยี่สิบกว่าปี โดยไม่ได้รับคำตอบ  ก็คือจุดมุ่งหมายของเรื่องที่ทำให้เรามองเห็นภาพชีวิตในเมืองไทยทางฝ่ายเดียวอย่างถี่ถ้วน ไม่สะดุด ไม่ถูกคั่น   และนำไปสู่การเปิดเผยเรื่องนี้โดยนายตำรวจ ตามแนวที่โบตั๋นวางไว้
มันกระดิกกระเดี้ยจากนี้ไม่ได้

สมมุติว่าแม่ของตันส่วงอู๋อยู่บ้านเป็นปกติดี   เธอก็ต้องได้รับจดหมายและตอบจดหมายลูกชาย   จดหมายตันส่วงอู๋ก็ต้องถูกเก็บไว้ในบ้านเธอ
นายไปรษณีย์จะอ่านได้ยังไง  และเขาจะพกติดตัวเข้ามาในเมืองไทยได้ยังไง  ก็ไม่ได้

สมมุติว่าแม่เกิดลักลอบเข้าเมืองไทย พกจดหมายติดตัวมา  ประเด็นของเรื่องมันก็คงกลายเป็นอีกเรื่อง อย่างน้อยคงมีความวุ่นวายของตันส่วงอู๋ที่จะต้องมาประกันแม่  หรือเศร้าโศกที่แม่ถูกส่งกลับ
กลายเป็นพล็อตอีกพล็อตซึ่งยุ่งยากกว่าพล็อตนี้

ถ้าแม่ลูกเขียนหากัน ก็จะมีชีวิตทางเมืองจีนแทรกเข้ามา อย่างน้อยตันส่วงอู๋ก็ต้องตอบเรื่องเล่าของแม่ไปบ้าง  แนวมันก็ออกนอกสังคมไทยไป  ไม่อยู่ในกรอบของเรื่อง
แล้วตอนที่โบตั๋นเขียนเรื่องนี้  จีนยังปิดประเทศในระบอบคอมมิวนิสม์    เป็นการยากที่นักเขียนไทยจะเล่าถึงชีวิตในเมืองจีนให้คนอ่านไทยเข้าใจ  
มิต้องพูดถึงเรื่องว่า คอมมิวนิสม์เป็นระบอบต้องห้ามในเมืองไทยอีกต่างหาก

ถ้าโบตั๋นจะให้แม่ของตันส่วงอู๋มีตัวตนขึ้นมาในเรื่อง โผล่ออกมาให้คนอ่านรู้จัก  เธอก็ต้องปูพื้นนานพอสมควร
ดิฉันคิดว่าโบตั๋นคงไม่ได้มองในแง่นี้   เพราะมันไม่มีผลอะไรกับเรื่องมากเท่าไร
เอาเป็นว่าแม่หายไปตั้งแต่ต้นจนจบน่ะดีแล้ว   เพราะจดหมายเหล่านี้ไม่ได้ต้องการคำตอบจากแม่   เป็นการระบายความในใจของชายจีนคนหนึ่งเกี่ยวกับสังคมไทยมากกว่า
วางพล็อตแบบนี้ก็สนองจุดมุ่งหมายของคนเขียนได้ครบแล้ว
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 13 ธ.ค. 05, 13:42

 ขอบคุณค่ะ เรื่องมันผิดคาดเพราะวันก่อนที่พูดกันถึงเรื่องนี้ ไม่มีใครบอกให้ทราบว่าเรื่องนี้เป็น
fiction ดิฉันก็คิดมาตลอดว่ามันเป็นเรื่องจริง

พออ่านไปอ่านไป ลองกลับไปอ่านคำนำจากคุณตำรวจอีกครั้ง ก็ชักรู้สึกว่ามันเป็นบันเทิงคดีอันหนึ่งเท่านั้น
ไม่น่าจะใช่เรื่องจริง เป็นเรื่องแต่งที่มีเค้าโครงมาจากเรื่องจริง เพราะการที่ตำรวจเอาเรื่องความลับ
ในจดหมายมาไขในที่สาธารณะ เข้าข่ายเป็นเจ้าพนักงานประพฤติไม่ชอบ คงไม่มีใครไร้เดียงสาที่จะไม่ทราบ

ชักเริ่มเห็นด้วยกับคุณ paganini แล้วค่ะ ที่ว่าเมื่อเรารู้เนื้อเรื่องล่วงหน้า บางครั้งเราก็สร้าง "อคติ" หรือ
"ความคาดหวัง" ในใจว่าเรื่องมันต้องเป็นอย่างนี้ๆนะ พอมันหักมุมอีกอย่างก็เลยผิดคาด
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 13 ธ.ค. 05, 18:23

 1. ในห้องเรียน หลักสูตรยุคไร้จินตนาการ มักจะบรรจุแต่วรรณกรรมอังกฤษประเภทเดียว ซ้ำซาก
น่าเบื่อ เช่น tragic drama ของยุค Renaissance ไม่ว่าเรื่องไหนๆ ทายถูกว่าตัวเอกจะมีจุดอ่อน ตรงตามข้อบังคับ เช่น
Hamlet’s indecisiveness ก็เป็น flaw  หรือแม้แต่วรรณกรรมอเมริกันยุคใหม่ Death of a Salesman
- by Arthur Miller ก็ยังเล่นสไตล์นี้

หากเราพูดถึงวรรณกรรมเปรียบเทียบทราจีดี้ของฝรั่งกับนิยายไทยดูบ้าง  อาจารย์คิดว่า
นอกจากคู่กรรมแล้ว   เรื่องใดจะใกล้เคียงบ้างค่ะ อยากลองหาอ่านแนวนี้แบบไทยๆดูบ้าง
ว่าจะเขียนได้เนียน ตื่นเต้นนนนกว่าของฝรั่งบ้างไหม (คู่กรรม ซื้อแล้วแต่ยังไม่ได้อ่าน)

2. นิยายไทยที่ดิฉันเคยอ่านมักจะเป็นแฮปปี้ เอ็นดิ้ง และหา flaw ไม่เจอ เช่น ท่านชายพจน์ เคหาสน์สีแดง
เมียหลวง ฯลฯ ตลาดผู้อ่านบ้านเราในยุคก่อนๆ นิยมแนวนี้มาก อย่างนี้เรียก Romance เต็มๆเลยใช่ไหมค่ะ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 14 ธ.ค. 05, 22:51

 อีกคำถามหนึ่งค่ะ
อาจารย์พูดถึงว่าถ้าโบตั๋นจะให้แม่ของตันส่วงอู๋มีตัวตนขึ้นมาในเรื่อง โผล่ออกมาให้คนอ่านรู้จัก เธอก็ต้องปูพื้นนานพอสมควร

แล้วการที่โบตั๋นเขียนให้อั้งบ้วยสนิทชิดเชื้อกับตันส่วงอู๋ อันนี้เป็นเทคนิคเพื่อปูทางไปขอเธอในวันหลังรึเปล่าค่ะ
(ตอนแรกที่ดิฉันนึกว่าเป็นเรื่องจริงนั้น อ่านไปก็กลัวไป สังคมจีนที่บ้านเขาถือเรื่องพี่เขย-น้องเมียค่ะ)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 16 ธ.ค. 05, 10:03

 ตอบทีละข้อ

Tragedy หรือโศกนาฏกรรม มี ๒ ความหมาย
๑) Tragady แบบที่คุณ Nuchan เรียนมาด้วยความเบื่อหน่าย   เป็นแบบคลาสสิคของอังกฤษซึ่งรับอิทธิพลมาจาก Greek Drama อีกที    วรรณคดีโศกนาฏกรรมแบบนี้มีสูตรตายตัวของมัน   อ่านกี่เรื่องก็เหมือนกัน
 
เป็นเรื่องที่นิยมกันแพร่หลายในสมัย Renaissance  ที่ดังที่สุดของอังกฤษคือสมัยพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ ๑  ก็สมัยเชสเปียร์นั่นเอง

สูตรก็คือ พระเอกต้องเป็นบุคคลที่ยิ่งใหญ่เช่นกษัตริย์หรืออย่างต่ำก็ขุนนางสำคัญ   มีความเก่งกล้าสามารถหรือความสูงส่งในนิสัยใจคอฝีไม้ลายมือ   แต่มีจุดอ่อนในนิสัยและความประพฤติที่นำตัวเองไปสู่จุดจบอันน่าเศร้า

๒) หมายถึงเรื่องเศร้าสลดจบลงด้วยความตาย  แม้ไม่ใช่ราชาหรือขุนนาง เป็นคนสามัญ ก็ยังมีเค้า"ขนบ"การแต่งแบบของเดิม อย่างที่บอกไว้ข้างบนโน่น
อย่างDeath of a Saleหman

ของไทยเรา วรรณคดีที่เข้าเกณฑ์ Tragedy เท่าที่นึกออกมีเรื่องเดียวคือ ลิลิตพระลอ

ส่วนคู่กรรม จะนับเป็น tragedy ได้หรือไม่ ดิฉันยังลังเลอยู่   มันอาจเป็นแค่ Romance ที่จบแบบเศร้า
เพราะความตายของโกโบริไม่ได้เกิดจากจุดอ่อนในตัวเขา   มันเกิดจากสิ่งภายนอกคือระเบิดลง

จุดจบของตัวเอกใน tragady ต้องเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  เพราะมันมีสาเหตุมาจากตัวเขาโดยแท้  
แต่ในเรื่องคู่กรรม  ถ้าโกโบริไม่ไปที่สถานีบางกอกน้อยในวันนั้นเขาก็รอด  

ถ้าเขารอดในวันนั้น อังศุมาลินวิ่งไปบอกว่ารัก ทำความเข้าใจกันได้  คุณคิดว่าโกโบริจะยอมตายไหม  
หรือเขาก็คงพยายามเอาชีวิตรอด  เพื่อจะอยู่กับภรรยาและลูกต่อไปเมื่อสงครามจบแล้ว
ถ้าใช่ มันก็ไม่ใช่ tragedy

แต่ในทางตรงข้าม  คนอย่างโกโบริ ยังไงก็ต้องตาย  ต่อให้ไม่โดนระเบิดตาย เขาก็ฮาราคีรีตัวเองแน่นอน
หากว่าแพ้สงคราม    อุดมการณ์สูงส่งที่ทำให้เขาเป็นญี่ปุ่นที่แสนดี(และน่ารักสำหรับนางเอก)กลายมาเป็นจุดอ่อน ทำให้เขาอยู่ไม่ได้ในโลกยุคที่ซามูไรประสบภาวะไร้เกียรติ  
ถ้ายังงี้ละก็ คู่กรรมเป็น tragedy
แต่อ่านแล้วยังไม่เห็นลักษณะนี้

นิยายรักที่จบแบบเศร้ามีให้อ่านหลายเรื่อง  ของทมยันตี และในนามปากกาอื่นๆด้วยค่ะ
ในฝัน   เลือดขัตติยา  ถนนสายหัวใจ ฯลฯ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 16 ธ.ค. 05, 10:20

 Romance ที่จบแบบแฮปปี้เอนดิ้ง
เป็นที่นิยมกันเป็นส่วนใหญ่ในโลกค่ะ
ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทย
ยุคไหนก็นิยมทั้งนั้น
ไม่ว่าเก่าหรือใหม่
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 16 ธ.ค. 05, 10:26

 ใน"จดหมายจากเมืองไทย" มีตัวละครเอก ๓ ตัว รุ่นใหญ่ คือตันส่วงอู๋  พระเอก
ส่วนนางเอกมี ๒ คน  คืออั้งบ๊วยและหมุยเอ็ง

การที่ผู้เขียนปูพื้นเรื่องให้ตันส่วงอู๋สนิทกับอั้งบ๊วยมาแต่แรก
แล้วก็ยังมีบทอั้งบ๊วยต่อมาเรื่อยๆ ไม่จบสักที แม้ว่าตันส่วงอู๋แต่งงานไปกับพี่สาวของเธอแล้ว
ก็คือการบอกเป็นนัยให้คนอ่านรู้ว่า อั้งบ๊วยไม่ใช่ตัวประกอบ
แต่จะต้องมีบทบาทสำคัญต่อไปอีก   ถึงมีบทเธอในเรื่องตลอดเวลานานนับยี่สิบกว่าปี

มันก็คือการปูพื้นไปสู่ตอนจบ ที่ตันส่วงอู๋กลับมาขอแต่งงานกับอั้งบ๊วย
เราก็คงดูออกว่า อั้งบ๊วยรักตันส่วงอู๋มาแต่แรกแล้ว   แต่เขาไม่รักเธอ กลับไปรักพี่สาวที่สวยกว่า
เธออกหัก ถึงเป็นโสดมาตลอด ไม่ยอมแต่งงานกับใคร
แต่เธอก็ดำรงความเป็นเพื่อนที่ดีของพี่เขย  ตอนท้ายเธอก็ไม่ปฏิเสธเมื่อพี่เขยขอแต่งงานด้วย
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 16 ธ.ค. 05, 11:21

 ขอบคุณค่ะ อาจารย์เชื่อไหมค่ะ โรงเรียนมัธยมปลายของเรา สายวิทย์ นักเรียนจบออกมา
ยังขาดทักษะการเขียนเพราะไม่เคยได้ฝึกมาเลย  เขียนให้พอรู้เรื่อง เขียนได้ค่ะ
แต่เขียนให้ถูกลักษณะของ essays ต้องฝึกเพิ่มมาก

สาเหตุที่เบื่อหน่ายเพราะว่ามันยาก  ความรู้ภาษาอังกฤษระดับมัธยมปลายของดิฉัน
ไม่พอที่จะรับมือกับวิชาพวกนี้ค่ะ เช่น รู้ศัพท์น้อย ศัพท์บางครั้งมีหลายความหมาย
เลือก meaning มาใช้ไม่ถูก ทำให้แปลไม่ออก  บางครั้งเรารู้ความหมายของโคลงทั้งบท
แต่ก็พรรณนาคำตอบข้อสอบให้สวยหรูเท่าใจคิดไม่ได้ หากข้อสอบเป็นปรนัย และถ้าหวังแค่ B
การเรียนคงจะไม่ต้องออกแรงมาก

ใจชื้นขึ้นมาหน่อยค่ะ ไม่ใช่แต่ดิฉันคนเดียวที่พบปัญหา เมื่ออ่านอัตของคุณหญิงมณีฯ
ท่านเล่าว่าสมัยพระองค์เจ้าเปรมฯ เชิญท่านมาสอนที่เทวาลัย มีนักเรียนเพียง 2% เท่านั้นที่เขียนใช้ได้
นอกนั้นต้องจับติวเข้มกันใหม่ แถมตัดเกรดต้องปราณีสุดๆ

เห็นนักเรียนโพสต์เข้ามาถามการบ้านที่เว็บนี้ ทุกคนว่าเป็นวิธีที่ทำให้ได้เกรดอย่างไม่สุจริต
สมัยที่ดิฉันแปลไม่ออก ก็ต้องเรียนเพิ่มเติมกับผู้รู้เหมือนกัน วิธีนี้ตามมาตรฐานของอาจารย์
อาจจะเรียกว่า  cheat แต่สำหรับดิฉัน มันไม่มีทางเลือก เพราะ self-taught ไม่ได้ค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 16 ธ.ค. 05, 12:00

 นักเรียนเกือบทุกคน เว้นไว้แต่พวกอัจฉริยะ   มีปัญหาหนักในการเรียนทั้งนั้น  ไม่วิชาใดก็วิชาหนึ่ง
ตอนดิฉันอยู่ม.ปลาย  ก็มีปัญหาอย่างหนักกับวิชาคณิตฯ เรียกว่า 100 ทำได้ 0
ต้องเรียนพิเศษเพิ่มเติมกับอาจารย์สายวิทย์  ถึงได้รอดตัว

แต่การเรียนและหาความรู้เพิ่มเติม  อาจารย์พิเศษไม่ได้ทำการบ้านให้ตั้งแต่ต้นจนจบ
อาจารย์เอาแบบฝึกหัดที่เราไม่รู้ มาบอกวิธีทำ  ทำตัวอย่างที่ 1 ได้ก็ทำตัวอย่างที่ 2 ต่อไป

มันผิดกับการเข้ามาโพสต์ขอให้คนอื่นทำการบ้านให้  แล้ว copy&paste ลากเม้าส์ปร๊าดเดียวจบ
รู้ได้จากวิธีถาม คือโยนคำถามโครมเดียวใส่ตักใครก็ได้ที่ใจดีตอบให้
ตัวเองไม่พูดสักคำว่า ได้พยายามแล้วตรงไหนบ้าง

แบบนี้ไม่ได้ความรู้ติดหัวออกไปเลย  ผลพลอยเสียคือไม่รู้จักพึ่งตัวเอง  หวังพึ่งผู้อื่นแบบเต็มร้อย เขาจะตอบผิดตอบถูกยังไงก็รับไปหมด  

จริงละ มันอาจจะทำให้ได้คะแนนในการสอบคราวนี้ แต่ในระยะยาว ผลเสียมากกว่าดี แน่นอน
อย่างน้อย เป็นการเพาะนิสัยมักง่ายอย่างได้ผล

self-taught ทำได้เสมอ แต่ต้องค่อยเป็นค่อยไป  
ดิฉันเองก็ไม่เคยเป็นเด็กเรียนเก่งชนิดหัวกะทิของห้อง
แค่พอเอาตัวรอดได้เท่านั้น
ที่รอดได้เพราะแสวงหาไม่หยุดนิ่ง  
วันหนึ่งเต่าก็ต้วมเตี้ยมเข้าเส้นชัยได้เช่นเดียวกับกระต่ายค่ะ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 17 ธ.ค. 05, 02:47

 แต่บอร์ดอื่น เช่น pantip.com เขาช่วยเจ้าตัวทำการบ้านนะคะ บางทีมีคนโพสต์ขอให้ช่วยแปล
ไทยเป็นอังกฤษ (การบ้านส่งครู) ก็ยังมีคนใจดีอุตส่าห์ช่วยตอบให้ เข้าทำนองพ่อแม่รังแกฉัน
โดยที่เจ้าของการบ้านรอ cut & paste อย่างเดียว
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 19 คำสั่ง