ยินดีต้อนรับ
ท่านผู้มาเยือน
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
หน้าแรก
ตู้หนังสือ
ค้นหา
ข่าว
: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
เรือนไทย
>
General Category
>
ประวัติศาสตร์ไทย
>
มาแล้วครับ จารึกลาว (พ.ศ.๑๗๑๓ ???) ที่ล่ำลือกันว่าเก่ากว่าจารึกสุโขทัยกว่าร้อยปี
หน้า:
1
[
2
]
พิมพ์
อ่าน: 10919
มาแล้วครับ จารึกลาว (พ.ศ.๑๗๑๓ ???) ที่ล่ำลือกันว่าเก่ากว่าจารึกสุโขทัยกว่าร้อยปี
sound engineer
อสุรผัด
ตอบ: 37
ทำงาน บ.ทอป ออดิโอ จก.
ความคิดเห็นที่ 15
เมื่อ 22 ธ.ค. 05, 12:15
ผมใช้ พี่อ้าย เรียกพี่เขย ครับ และใช้เอื้อย เรียกพี่สาว ใช้อาว เรียก น้องพ่อที่เป็นผู้ชาย
บันทึกการเข้า
หยดน้ำ
ชมพูพาน
ตอบ: 146
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ความคิดเห็นที่ 16
เมื่อ 23 ธ.ค. 05, 17:25
ผมขออนุญาตย้อนไปเรื่อง "จุลศักราช" นะครับ
ไทยเริ่มใช้ "จุลศักราช" ในสมัยอยุธยา แต่เดิมในยุคต้นๆ ของสมัยนั้นก็ใช้ "มหาศักราช" แต่ภายหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 ในปีพ.ศ. 2112 เอกสารส่วนใหญ่ในสมัยนั้นและสมัยต่อมาต่างก็ใช้ "จุลศักราช" เป็นส่วนใหญ่ครับ โดยส่วนตัวผมเห็นว่าการที่เราเปลี่ยนมาใช้ "จุลศักราช" แทนมหาศักราช" นั้น ก็เพราะว่า "จุลศักราช" เป็นศักราชประจำชาติของพม่า ดังนั้นเมื่อเราตกเป็นเมืองขึ้น เราจึงต้องเปลี่ยนมาใช้ศักราชนี้ตามพม่าครับ
แต่อย่างไรก็ตามมี "จุลศักราช" เป็นที่รู้จักดีที่สุดสำหรับคนไทยในสมัยโบราณ เพราะถือว่าเป็นศักราชที่แพร่หลายในทางล้านนา สุโขทัย และอยุธยา โดยเฉพาะการใช้จุลศักราชในล้านนาและสุโขทัยนั้น มีผู้สันนิษฐานว่าเป็นการถ่ายทอดทางวัฒนธรรม เพราะพุกามเป็นเมืองหลวงและเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรม และพุทธศาสนานิกายเถรวาท ก่อนที่รัฐไทยทั้ง 2 แห่งนี้จะมีบทบาทเข้ามาแทนที่
สำหรับมหาศักราชนั้น ถือกันว่าเป็นศักราชศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นจารึกรุ่นแรกๆ ของไทยและในดินแดนแถบนี้จึงพบศักราชนี้เป็นส่วนมาก และพม่าเองแต่เดิมก็ใช้ศักราชนี้เช่นกัน
"...อย่างไรก็ตามในสมัยโบราณ ไทยใช้ศักราชสำคัญๆ หลายศักราช โดยมิได้ระบุนามศักราชอย่างชัดเจน แต่ผู้อ่านสามารถทราบได้เองจากบริบทของข้อความที่อยู่ในหลักฐานเอกสารนั้น ในเอกสารบางชิ้น มหาศักราชอาจหมายถึง พุทธศักราช ก็ได้..." (วันวาร กาลเวลาฯ : กรมวิชาการ)
สำหรับพุทธศักราชนั้นไทยประกาศใช้เป็นศักราชอย่างเป็นทางการในสมัยรัชกาลที่ 6 ตามประกาศพระบรมราชโองการลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร์ศก 131 ตรงกับพ.ศ. 2455 ครับ
บันทึกการเข้า
จิตแผ้ว
ชมพูพาน
ตอบ: 169
ความคิดเห็นที่ 17
เมื่อ 21 ก.ค. 06, 11:28
ในเมืองอีสานที่จริงคือลาวพุงขาวไม่นิยมการสกัหมึก ส่วนลาวทางเหนือเรียกว่าลาวพุงดำเพราะนิยมการสักหมึก คำ พี่อ้ายใช้เรียกแทนพี่เขยเชียงใหม่เรียก จาย ส่วนพี่เอื้อย ใช้เรียก พี่สะใภ้ แถวเมื่องแพร่เมืองน่านเรียยกสะใภ้ว่า ไป้ เรียกลูกเขย ว่าเขย เรื่อง ลาวนั้นให้อ่านเพิ่มเติมจากหนังสือ ลาวในรุงรัตนโกสินทร์ รู้สึกว่า สำนักพิมพ์มติชน
จะเป็นผู้พิมพ์ถ้าจำไม่ผิด ทั้งหมดที่แสดงทัศนมาหากผิดพลาดขอกราบอภัย ผิดเป็นครูครับ
ถ้าถูกต้องแล้วครับต้อง ลุงปังยากะน้องเดียว สองคงเลย
บันทึกการเข้า
วรรณวรรธน์
อสุรผัด
ตอบ: 12
ความคิดเห็นที่ 18
เมื่อ 21 ก.ค. 06, 20:34
ขอบคุณที่พิจารณาหลักเกณฑ์ความเก่าแก่ของจารึกหลักนี้ค่ะ
ค่อนข้างเห็นด้วยกับการพิจารณาอายุความเก่าดังกล่าว ว่าไม่น่าจะถึงสมัยตามจุลศักราชที่อ้างในจารึก
แล้วขอมากราบรายงานตัว อ.เทาชมพู ว่ายังอยู่ตามสุมทุมพุ่มไม้ของเรือนนี้ไม่ได้ไปไหนห่างไกลเลยค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า:
1
[
2
]
พิมพ์
กระโดดไป:
เลือกกระทู้:
-----------------------------
General Category
-----------------------------
=> ศิลปะวัฒนธรรม
=> ภาษาวรรณคดี
=> ระเบียงกวี
=> ชั้นเรียนวรรณกรรม
=> หน้าต่างโลก
=> ประวัติศาสตร์โลก
=> ประวัติศาสตร์ไทย
=> ทันกระแส
=> วิเสทนิยม
=> ห้องหนังสือ
=> ชมรมอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมไทย
Powered by SMF 1.1.21
|
SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder
XHTML
|
CSS
|
Aero79
design by
Bloc
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.03 วินาที กับ 19 คำสั่ง
Loading...