เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 8010 หลักฐานที่ขัดแย้ง เรื่องพระพันวัสสา กับกรมพระยาชัยนาทฯ
หยดน้ำ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 146

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


 เมื่อ 01 ธ.ค. 05, 18:28

 คุณสมภพ  จันทรประภา  ได้เขียนไว้ในหนังสือเรื่องสมเด็จพระศรีสวรินทิราฯ  เกี่ยวกับเหตุการณ์ภายหลังจากที่กรมขุนชัยนาทฯ  (พระยศในขณะนั้น)  ทรงถูกปล่อยตัวออกจากคุกไว้ดังนี้


"...และที่ศรีราชานี่เองสมเด็จฯ  ไม่ทรงทราบว่าสิ่งที่สำคัญสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น  ...  นับแต่สมเด็จฯ  กรมพระยาชัยนาทฯ  ทรงถูกขังอยู่ในบางขวางแล้ว  สมเด็จทรงพยายามอย่างยิ่งที่จะทรงลืม  และลืมได้เกือบสนิท  โดยเข้าพระทัยว่าเสด็จอยู่ในต่างประเทศ  ...  ดังนั้นเมื่อคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์สั่งให้ปล่อยสมเด็จกรมพระยาชัยนาทฯ  เสด็จกลับวังในฐานะนักโทษชายรังสิตในวันที่  ๒๘  กันยายน  ๒๔๘๖  สมเด็จกรมพระยาชัยนาทฯ  ก็เสด็จไปศรีราชาทันที  และเมื่อเสด็จถึงศรีราชาแล้วก็ตรัสห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดกราบทูลด้วยเกรงว่าจะกลับหวนทรงระลึกถึงขึ้นมาอีก   จะเป็นอันตรายต่อพระสุขภาพ  เพราะขณะนั้นพระชันษา  ๘๑  แล้ว  ทรงแอบเฝ้าทอดพระเนตรสมเด็จฯ  อยู่ห่างๆ  ทอดพระเนตรไปพลางน้ำพระเนตรไหลก็ไหลไปพลาง  เป็นที่สะเทือนใจแก่ผู้พบเห็นยิ่งนัก..."


มีประเด็นขัดแย้งอยู่  2  ประเด็นคือ
1.  จริงหรือที่ในเวลานั้นสมเด็จพระพันวัสสาฯ  ทรงลืมเรื่องสมเด็จกรมพระยาชัยนาทฯ  จนเกือบสนิท

2.  จริงหรือที่หลังจากทรงพ้นโทษแล้ว  ก็เสด็จไปศรีราชาทันที


หลักฐานแย้ง  จาพระนิพนธ์เรื่อง  "สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น"  ของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย  ดิศกุล  พระธิดาในสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ


"...คืนหนึ่งหญิงแก้ว เอาลายพระหัตถ์สมเด็จพระพันวัสสาฯ มาส่งให้ข้าพเจ้าและบอกว่า เรื่องกรมขุนชัยนาทฯ ข้าพเจ้าจะถวายเสด็จพ่อคืนนี้หรือพรุ่งนี้ก็ตามใจ ข้าพเจ้าตอบว่าเอาไว้เช้าเถิด กลัวท่านไม่หลับคืนนี้ สักครู่เสด็จพ่อเสด็จผ่านจะไปห้องพระบรรทม ท่านหยุดถามข้าพเจ้าว่า "คุยอะไรกัน?" เรายิงฟันทูลตอบแต่ว่า "เปล่า" ท่านก็เลยไป รุ่งขึ้นเช้าท่านกำลังเสวย ข้าพเจ้าถือลายพระหัตถ์นั้นออกไปเฝ้า ท่าตรัสถามทันทีว่า "เมื่อคืนนี้มีอะไรกัน? พ่อเห็นหน้าเธอก็รู้ว่ามีเรื่อง" ข้าพเจ้าทูลว่า "เรื่องดี หม่อมฉันกลัวเสด็จพ่อจะ excite บรรทมไม่หลับจึงเก็บไว้เช้านี้ ทรงทำพระทัยเสียก่อนว่าเป็นเรื่องกรมขุนชัยนาทฯ" ท่านพระพักตร์แดงก่ำขึ้นทันทีแล้วตรัสว่า "ส่งมาเถอะได้" พอทรงอ่านแล้วก็เรียกคนเขียนตอบในเดี๋ยวนั้น ลายพระหัตถ์สมเด็จพระพันวัสสาฯ มีว่า บัดนี้พระองค์อาทิตย์ฯ  มาทูลว่านายกฯ และรัฐบาลให้กราบทูลว่าถ้าสมเด็จพระพันวัสสาฯ สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ สมเด็จกรมพระนริศฯ  และพระชนนีศรีสังวาลย์ ทรงรับเป็นประกันว่าจะให้กรมขุนชัยนาทฯ ประพฤติพระองค์ให้เรียบร้อยแล้ว รับบาลจะปล่อยออกจากคุกในวันเฉลิมพระชนมพรรษาของในหลวงนี้ เสด็จพ่อทรงตอบรับทันทีว่าขอเป็นประกันเต็มที่ตามต้องพระประสงค์ เสด็จพ่อทรงอธิบายว่า เรื่องนี้เป็นหนามแทงอยู่ในหัวใจ พ่อคิดอยู่เสมอว่าถ้ารู้ตัวว่าจะตายจะขอพบนายกฯ เพื่อขอกรมชัยนาทฯ เพราะสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ท่านทรงฝากลูกเมียไว้ ไม่รู้จะเอาหน้าไปพบกับท่านได้อย่างไรโดยมิได้คิดช่วยเหลือ..."


จากบันทึกนี้แสดงให้เห็นว่าเวลานั้นสมเด็จพระพันวัสสายังประทับอยู่ในพระนคร   และยังทรงจำเรื่องราวของสมเด็จกรมพระยาชัยนาทฯ  ได้ดี  ทั้งยังทรงมีพระสติดีพอที่มีพระหัตถเลขามาถึงสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ  เพื่อทรงจัดการเรื่องการประกันกรมขุนชัยนาท


"...เมื่อสมเด็จพระพันวัสสาฯ ทรงจัดการให้ได้รับประกันมาครบถ้วนแล้วก้ทรงสั่งให้จัดตำหนักถวายกรมชัยนาทฯ ให้เสด็จออกมาอยู่วัง(วังสระปุทม)เดียวกับพระองค์ท่าน แต่ครั้นถึงวันปล่อยจริงกรมชัยนาทฯ ไม่ได้เสด็จไปที่วังนั้นตามกำหนด ส่งรถไปสืบที่คุกก็ว่าออกไปแล้ว หญิงแก้วตกใจวิ่งเผ่นมาทูลเสด็จพ่อว่า ไม่รู้ว่าเขาเอาไปไว้ที่ไหน? เสด็จพ่อพระพักตร์เซียวไปในทันที ทรงนิ่วอยู่อย่างคิดไม่ออก ข้าพเจ้ารีบพูดกับหญิงแก้วว่า "เธอรีบกลับไปสืบให้ดีคงได้ความ" พอตกค่ำหญิงแก้วก็กลับมาทูลว่า "รู้แล้ว อยู่วังถนนวิทยุของท่านเอง ตำรวจเขาไม่ยอมให้มาอยู่วังสมเด็จฯ เพราะรู้ว่าจะมีคนเรียกเงินจากสมเด็จฯ เป็นส่วนตัว เขาจึงให้เสด็จอยู่ในอารักขาของตำรวจ ซึ่งไปเฝ้าวังไว้ตั้ง ๖ - ๗ คน และไม่ยอมให้ใครเข้าออกนอกจากคนใช้ประจำ คนของสมเด็จฯ เอาเครื่องไปส่งที่วังได้พบกับคนใช้ในวังกรมขุนชัยนาทฯ จึงได้รู้เรื่องมา..."

ทั้งจากบันทึกของหลวงอายุรกิจโกศล  ยังได้ระบุว่าหลังจากที่กรมขุนชัยนาทออกจากคุกแล้ว  3  วัน  ท่านได้เข้าไปเยี่ยมที่วัง  ทั้งยังทรงตรัสว่าเมื่อวันก่อนก็มีขุนนางอีกท่านหนึ่งมาเยี่ยม  แสดงให้เห็นว่าภายหลังจากทรงถูกปล่อยตัว  ไม่ได้เสด็จไปศรีราชาในทันทีแต่อย่างใด  ทั้งจากบันทึกของท่านหญิงพูน  ก็ทำให้เข้าใจได้ว่าสมเด็จพระพันวัสสาฯ  ยังประทับอยู่ในพระนคร  จึงได้ยกมาให้เห็นถึงความขัดแย้งของหนังสาอสองเล่มนี้  โดยส่วนตัวแล้วผมขอเชื่อถือข้อมูลในส่วนนี้ของท่านหญิงพูนมากกว่าครับ


ได้อะไรเพิ่มเติมแล้วจะมาคุยต่อครับผม
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 02 ธ.ค. 05, 01:25

 เรื่องเป็นมายังไงครับ  ช่วยทำลิ้งค์ให้หน่อยครับ
บันทึกการเข้า
หยดน้ำ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 146

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 02 ธ.ค. 05, 08:57

 สืบเนื่องมาจากระทู้เรื่องสมเด็จพระศรีสวรินทิราฯ  ที่คุณเทาชมพู  เมื่อนานมาแล้วครับ  พอดีผมยังจำได้  เจอหลักบานที่ขัดแย้งวกับเรื่องที่คุณสมภพเล่า  ก็เลยเอามาลงให้อ่านกันน่ะครับ

 http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Cid=18&Pid=25903  
บันทึกการเข้า
หยดน้ำ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 146

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 02 ธ.ค. 05, 15:07


ผมขออนุญาตต่อในประเด็นที่ว่าสมเด็จกรมพระยาชัยนาทฯ  ได้เคยเข้าเฝ้าฯ  สมเด็จพระพันวัสสาฯหรือไม่หลังจากที่ทรงได้รับอิสรภาพ

สมเด็จกรมพระยาชัยนาทฯ ทรงออกจากคุก  เมื่อปี พ.ศ.2486
สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า  เสด็จจสวรรคต  เมื่อปี  พ.ศ.  2498

ซึ่งนับว่ากินเวลานานถึง  12  ปี  โดยความคิดเห็นส่วนตัว  ผมเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ที่สมเด็จกรมพระยาชัยนาทฯ  จะไม่เคยได้เข้าเฝ้าฯ  สมเด็จพระพันวัสสาฯ  เลยจนตลอดพระชนม์ชีพ  เพราะอย่างเช่น  ในงานราชาภิเษกสมรสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่  9  กับสมเด็จพระนางเจ้าฯ  พระบรมราชินีนาถ  ณ  วังสระปทุม  สมเด็จกรมพระยาชัยนาทฯ  ก็เสด็จไปเป็นราชสักขีที่พระตำหนักใหญ่ของสมเด็จพระพันวัสสาฯ  พระองค์ต้องมีโอกาสบ้างไม่มากก็น้อยในการที่จะได้เข้าเฝ้าฯ  ในครั้งนั้น
บันทึกการเข้า
บัวพิ้ง
อสุรผัด
*
ตอบ: 1

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 10 ส.ค. 06, 14:00

 คือว่าเป็นสมาชิกใหม่ค่ะ อยากฟังต่อจาก วันที่ 29 พ.ย. 2547 - 17:55:57 ที่คุณเทาชมพูเล่า "เรื่องพระราชกฤษฎีการการสืบราชสันตติวงศ์ในรัชกาลที่ 6 จะนำมาเล่าให้ฟัง ตอนนี้ขอหยุดดื่มน้ำแก้คอแห้งก่อนค่ะ ขอเชิญคุยตามสบาย "

แต่ไม่รู้ว่าจะหาอ่านจากที่ไหนคะ
ช่วยบอกที
บัวพิ้ง
บันทึกการเข้า
เจ๊กไทย
อสุรผัด
*
ตอบ: 11

ว่างงาน


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 12 ส.ค. 06, 01:44

 ตอบเจ้าของกระทู้ครับ

1. ปัญหาว่า พระพันวัสสาลืมหรือไม่ลืมเรื่องเสด็จในกรม ฯ กันแน่ใน "วันทำหนังสือคำ้ประกัน และ วันปล่อยตัว"

ตอบว่า "ไม่ลืมครับ" แต่กำลังพยายามลืม

ทรงหลบระเบิด และเสด็จไปรักษาพระองค์ที่ศรีราชา ลายพระหัตถ์ ถึงกรมพระยาดำรงฯ อาจจะทรงที่ศรีราชาก็เป็นได้ครับ

วันปล่อยตัว คือ 28 กันยายน 2486 ยังอยู่ในช่วงที่ทรงจำเหตุการณ์ได้ดี และยังโทมนัสมากอยู่

เพราะ...เสด็จในกรมฯ ทรงทราบดีว่า "ยังไม่ลืม" เมื่อไปถึงศรีราชา จึงไม่เข้าไปเฝ้า เพราะจะสะเทือนพระทัยไงละครับ

มันชัดเจนในตัวแล้ว คุณไม่สังเกตุเอง

2. วันปล่อยตัว เสด็จไปที่ไหนก่อน

เสด็จในกรม "ตรงไปที่วังวิทยุ" ทันทีครับ

เพราะยังต้องรายงานตัวกับตำรวจและ ต้องขออนุญาตก่อนจะไปไหน ๆ ได้

เนื่องจากมีเงื่อนไขการประักันตัวอยู่ไงละครับ
คุณไม่สังเกตุอีกเช่นกัน จึงมองข้ามไป

จึงตรงกับบันทึกท่านหญิงพูนฯ ทุกประการครับ ไม่มีตรงไหนขัดแย้งเลย

ลองดูข้อความในวงเล็บที่ผมเพิ่มเข้าไป เพื่อความเข้าใจ

"เสด็จกลับวัง(วิทยุ)ในฐานะนักโทษชายรังสิตในวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๔๘๖ สมเด็จกรมพระยาชัยนาทฯ ก็เสด็จไปศรีราชาทันที(ที่ได้รับอนุญาต)"

ผมแถมให้นะครับว่า ทั้ง 2 พระองค์ทรงพบกันจริง ๆ หลังจากนั้นอีก 2 ปีครับ คือ ในเดือนสิงหาคม 2488 หลังสงครามสงบ

เวลานั้น พระัพันวัสสาทรงลืมได้จริง ๆ แล้ว

เมื่อเสด็จในกรมฯไปเฝ้า ก็ทรงเข้าใจว่า เสด็จในกรมเพิ่งกลับจากต่างประเทศครับ

หนังสือของคุณสมภพ จันทรประภา ไม่มีอะไรผิดครับ มิฉะนั้น ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต ไม่นำมาอ้างอิงในหนังสือ "ไปเมืองนอกครั้งแรก ร.ศ.118"

เพราะนอกจากทายาทของเสด็จในกรมจะเป็นผู้ตรวจทานแล้ว ยังมีคำนิยมของสมเด็จพระพี่นาง กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์อยู่ด้วย

ข้อผิดพลาดแบบที่คุณคิด จึงไม่มีทางเป็นไปได้เลยครับ
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 12 ส.ค. 06, 11:12

 ตามอ่านอยู่ครับ
คุ้นๆ ว่าเคยอ่านเจอที่ไหน  นึกไม่ออก
บันทึกการเข้า
เจ๊กไทย
อสุรผัด
*
ตอบ: 11

ว่างงาน


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 13 ส.ค. 06, 15:44

 ทุกท่านที่อยากจะทราบเรื่องราวของเสด็จในกรม ฯ ควรจะได้อ่านอีกเล่มหนึ่งครับ
"เกิดวังไม้" โดย มจ. ปิยะรังสิต ครับ

และ หากจะได้ความกว้าง มาสนับสนุนความลึกของข้อมูล ก็ขอให้อ่าน อีกหลาย ๆ เล่ม นะครับ อย่าติดยึดว่าเล่มใดเล่มหนึ่งต้องถูกต้องเสมอ ให้ดูว่า เหตุผล ตรงกับเงื่อนไขในปรัวติศาสตร์หรือไม่

อย่าด่วนสรุปเพียง "เขาว่ามา" เดี๋ยวจะกลายเป็น ก.ส.ร.กุหลาบ คืนชีพครับ
บันทึกการเข้า
หยดน้ำ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 146

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 13 ส.ค. 06, 23:00

 ขอบคุณ  เจ๊กไทย  ที่แนะนำหนังสือครับ  ผมเคยอ่านแล้วทั้ง  2  เล่ม  

ผมก็ยังมีข้อข้องใจอยู่ครับคุณ  เจ๊กไทย  การเสด็จประพาสศรีราชาของสมเด็จพระพันวัสสาฯ  นั้น  สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ  เป็นผู้กราบทูลเชิญเสด็จไปพร้อมกัน  และถ้าผมจำไม่ผิด  หรือข้อมูลไม่ผิดพลาดทั้ง  2  พระองค์เสด็จกลับจากศรีราชาพร้อมกัน  และการที่ท่านหญิงแก้วเชิญลายพระหัตถ์มาถึงสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ  หรือถ้าพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องการติดต่อราชการในขณะนั้น  จึงไม่น่าเป็นไปได้ที่จะทรงประทับอยู่ที่ศรีราชา  และยิ่งสมเด็จกรมพระยาชัยนาทฯ  ทรงเพิ่งออกจากคุก  การที่ขออนุญาตออกไปหัวเมืองย่อมเป็นไปไม่ได้ในสถานการณ์การเมืองขณะนั้น  และการที่สมเด็จพระพันวัสสาทรงจัดให้เสด็จในกรมประทับที่วังสระปทุม  แสดงว่าในเวลานั้นที่วังสระปทุมต้องปลอดภัยแล้ว  และก็ย่อมต้องมีพระราชประสงค์ที่จะให้เสด็จในกรมประทับอยู่ใกล้ๆ  กับพระองค์  จึงได้ทรงเลือกที่วังสระปทุม  ผมจึงเห็นว่าเวลานั้นสมเด็จพระพันวัสสาจึงน่าจะประทับอยู่ในพระนครมากกว่าครับ


ประกอบกับบันทึกของหลวงอายุรกิจโกศล  ยิ่งทำให้แน่ใจว่าเสด็จในกรมต้องมิได้เสด็จไปศรีราชาในทันทีแน่นอน  เพราะด้วยการคมนาคมในสมัยคงจะไม่สามารถไปกลับได้เพียงวันเดียวอย่างแน่นอน  การที่มีขุนนาง  ข้าราชการมาเข้าพบพระองค์หลังจากที่ทรงออกจากคุกเกือบทุกวัน  ก็แสดงให้เห็นว่ายังมิได้เสด็จไปศรีราชา


ยิ่งในวันที่เสด็จออกจากคุกด้วยแล้ว  ท่านหญิงแก้วคอยติดตามข่าวตลอดยิ่งแสดงว่าสมเด็จพระพันวัสสาต้องประทับอยู่ในพระนครครับ
บันทึกการเข้า
เจ๊กไทย
อสุรผัด
*
ตอบ: 11

ว่างงาน


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 14 ส.ค. 06, 14:46

 คุณหยดน้ำครับ

คำถามเดิมของคุณคือ "จริงหรือที่หลังจากทรงพ้นโทษแล้ว ก็เสด็จไปศรีราชาทันที?"

ตอนนี้คุณกำลังถามเปิดประเด็นใหม่ ว่า....

สมเด็จพระพันวัสสาประทับที่ไหนกันแน่ วังสระประทุม หรือ ศรีราชา

ก่อนอื่นผมต้องออกตัวก่อนว่า ผมไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด แต่คาดการณ์ได้ดังนี้คือ

ขณะมีลายพระหัตถ์ถึงกรมพระยาดำรง ฯ

*****ไม่ใช่วันเดียวกัน หรือเดือนเดียวกันกับวันปล่อยตัวแน่นอน*****

เพราะต้องทำหนังสือประกันตัวล่วงหน้า ดังนั้น อาจจะทรงเสด็จอยู่ที่ไหนก็ได้ ระหว่างศรีราชา หรือ กรุงเทพ จะมีกรมพระยาดำรง ฯ ประทับอยู่ด้วย(ที่ราชา)หรือไม่ก็เป็นได้ทั้งนั้น

แต่ผมเชื่อว่า"น่าจะ"เสด็จอยู่ที่ศรีราชาตลอดเวลาครับ พระสุขภาพของสมเด็จทรุดโทรมเพราะทรงตรอมพระทัย ไหนจะต้องหนีระเบิดด้วย

ทั้งสมเด็จฯ และ หม่อมอลิชซาเบธ ชายาของเสด็จในกรม ต่างก็ไ้ด้รับทุกขเวทนามากจากคนที่แวะเวียนมาขอเงินวิ่งเต้น
แลกอิสรภาพให้เสด็จในกรม ฯ

ซึ่งล้วนเป็นพวกหลอกลวงแต่ร้ายกาจทั้งนั้น

หากยังประทับอยู่ในกรุงเทพ สมเด็จจะต้องโทมนัสอย่างรุนแรงซ้ำ ๆ ซาก ๆ

หม่อมอลิชซาเบ็ธนั้น เสียใจที่ถูกคนไทยรังแกอย่างนั้นจนในบั้นปลาย ไม่ยอมกลับมาอยู่เมืองไทยอีกเลย

ผมอยากให้คุณหยดน้ำอ่านหลักฐานที่คุณมีแล้ว
กรุณาไตร่ตรองก่อนถามนะครับ

สังเกตุได้ว่า แม้แต่คำถามแรก คุณเองก็ตอบได้ และมีหลักฐานในมืออยู่แล้ว

นี่คุณกำลังถามในสิ่งที่ อนุมานเองก็ได้อีกเช่นกัน
บันทึกการเข้า
หยดน้ำ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 146

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 14 ส.ค. 06, 21:04

 เรียนคุณเจ๊กไทยครับ  ผมไม่เปิดประเด็นใหม่ครับ  การที่ผมต้องการทราบข้อเท็จจริงว่าในเวลานั้นสมเด็จพระพันวัสสาประทับอยู่ที่ไหน  จะทำให้ประเด็นที่ว่าสมเด็จกรมพระยาชัยนาทฯ  ได้เสด็จไปศรีราชาทันทีที่ออกจากคุกนั้นจริงหรือไม่ด้วย


ผมทราบดีครับว่าระยะเวลาระหว่างการหาองค์ประกันกับวันปล่อยตัวคงกินเวลาพอสมควร  เอาเป็นว่าผมจะลองไปหาข้อมูลอื่นๆ  ดูล่ะกันครับ


และแน่นอนครับผมได้ไต่ตรองแล้วก่อนถาม  และผมมเองก็มีคำตอบที่ผมอนุมานเอาเองไว้แล้วเช่นกัน  เพียงแต่ที่ผมตั้งกระทู้นี่ขึ้นมาก็เพื่อต้องการทราบข้อมูลและความคิดเห็นจากท่านอื่นๆ  ที่แตกต่างออกไป  เผื่อถ้าท่านใดพอจะทราบข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้จะได้แลกเปลี่ยนกันครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.037 วินาที กับ 19 คำสั่ง