เอาสาระทางโภชนาการของ "ลูกชิ้น" มาเสริมครับ
ขอให้ชาวเรือนไทยบริโภคลูกชิ้นกันอย่างอร่อยและปลอดภัยครับ
จุลินทรีย์ในลูกชิ้นลูกชิ้น...
ถือเป็นอาหารยอดนิยมของคนไทย นิยมทั้งบริโภคเป็นอาหารหลัก และบริโภคเป็นอาหารรองท้องก่อนรอเวลาอาหารมื้อใหญ่ต่อไป
ลูกชิ้น หมายถึงผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ เครื่องเทศ เครื่องปรุงรส และวัตถุเจือปนอาหารอื่นๆ โดยนำมาบดผสมกันอย่างละเอียดจนรวมเป็นเนื้อเดียวกัน
แล้วทำเป็นรูปร่างตามต้องการ ที่มีขนาดเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง แล้วนำมาลวกให้สุก แค่นี้ก็นำมารับประทานได้
บางคนนิยมบริโภคลูกชิ้นดิบๆ เพราะเข้าใจว่าผ่านการลวกในน้ำร้อน และสุกแล้วคงไม่มีเชื้อโรคปนเปื้อน
แต่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น เนื่องจากในการผลิตอาหารแทบทุกชนิดหรือแม้แต่ลูกชิ้นนั้น หากใช้วัตถุดิบที่ไม่ได้คุณภาพ ไม่สะอาด หรือใช้อุปกรณ์เครื่องมือ และภาชนะบรรจุที่ไม่สะอาด อาจมีเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคปนเปื้อนได้
อีกทั้งหากลูกชิ้นเก็บรักษาหรือบรรจุในภาชนะ และขนส่งไม่ถูกสุขลักษณะแล้ว อาจมีเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคปนเปื้อนได้เช่นกัน แม้ว่าจะผ่านวิธีการลวกมาแล้วก็ตาม
เชื้อจุลินทรีย์ที่ว่านี้ ได้แก่ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส และซาลโมเนลลา
เจ้าเชื้อทั้ง 2 ตัวนี้ แม้มีชื่อแตกต่างกัน แต่เป็นเชื้อที่เป็นสาเหตุการเกิดโรคอาหารเป็นพิษ
อาการของโรคทั่วไปคือ คลื่นไส้ อาเจียนรุนแรง ท้องเดิน ปวดท้อง หนาวสั่นและอ่อนเพลีย อาการอาจทุเลาภายใน 1-2 วัน แต่ถ้าเราไม่อยากให้ร่างกายได้รับความเจ็บปวด ก็ควรระวังในการเลือกรับประทานอาหาร หรือหากรับประทานไม่หมดก็ควรเก็บในตู้เย็น
อย่าวางใจว่าเป็นอาหารที่นึ่งหรือทำให้สุกแล้วจะไม่มีเชื้อโรค
ตารางด้านล่างนี้ ยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า ควรเลือกรับประทานอาหารอย่างไร?
เพราะมีตัวอย่างลูกชิ้นก่อนปิ้ง ที่สถาบันอาหารสุ่มตรวจ และพบว่า มีเชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อนอยู่ถึง 2 ตัวอย่าง
ขณะที่ลูกชิ้นที่ผ่านการปิ้งแล้ว ตรวจพบเชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อนอยู่บ้าง
แต่ยังอยู่ในระดับที่ปลอดภัย





ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ