เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 24978 กามนิต (ภาคพื้นดิน) --- ช่วยหน่อยนะคะ
i*m.Yee
อสุรผัด
*
ตอบ: 1

เรียนที่โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช อุบลราชธานี


เว็บไซต์
 เมื่อ 26 พ.ย. 05, 08:38

 อยากจะได้เรื่องย่อกามนิตภาคพื้นดิน
ที่ย่อเป็นบทๆ น่ะค่ะ

บทที่ต้องการก็คือ
บทที่ 13  เพื่อนบุณย์
บทที่ 14  ผู้เป็นสามี
บทที่ 15  ภิกษุโล้น

ถ้าท่านใดมีก็ช่วยโพสต์ด้วยนะคะ
หรือถ้ามีแหล่งข้อมูล ก็ได้ค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ
^^
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 26 พ.ย. 05, 09:20


ไปที่
 http://www.google.co.th
search คำว่า กามนิต
มีให้อ่านในหลายเว็บ
แล้วลองย่อบทที่ต้องการเอาเอง
๓ บทเท่านั้นกินเวลาไม่นานหรอกค่ะ
ภาษาในเรื่องก็ไพเราะมาก น่าจะได้อ่าน

เรียนรู้ด้วยตัวเอง ดีกว่าขอให้คนอื่นทำการบ้านให้นะหนู
บันทึกการเข้า
ศศิศ
พาลี
****
ตอบ: 326


อหังการ์ ล้านนาประเทศ


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 26 พ.ย. 05, 09:42


สำหรับเรื่องนี้ ที่อ่านบนเว็บ พอดีผมจำทางเข้าไปได้ ก็เลยเอามาแปะไว้ที่นี่ละกันครับผม

ก็ลองเข้าไปอ่านบทดังกล่างเอานะครับ ไม่ยาวมาก

ที่เว็บนี้ครับ

http://www.khonnaruk.com/html/book/liturature/kamanita/kamanita-index.html  
บันทึกการเข้า

- ศศิศ -
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 26 พ.ย. 05, 19:44

 วันก่อนไปเดินตลาดปัฐวิกรณ์ แถวนวมินทร์ ซึ่งมีหนังสือเก่าราคาถูก ได้จดหมายจากเมืองไทย
ใหม่มาก ราคา 20 บาท

อีกเล่มหนึ่งซื้อมา 10 บาท คือ กามนิต ที่เป็นหนังสืออ่านชั้น ม. 2 (ถ้าจำไม่ผิด) หน้าปกสีเขียว ของครุสภา
อ่านจบไป 2 รอบแล้วค่ะ สนุกมาก และภาษาก็ไม่ยาก มีรายการคำศัพท์ให้เสร็จ

เชื่อสิคะ เดี๋ยวเดียวจบ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 26 พ.ย. 05, 20:44

 ใครชอบจดหมายจากเมืองไทยเหมือนดิฉันบ้าง
เป็นเรื่องของ"โบตั๋น" ที่ดิฉันอ่านซ้ำหลายครั้ง
จำความประทับใจเมื่ออ่านเรื่องนี้ครั้งแรกได้


ตอนอ่านครั้งแรก เวลาเห็นสาวจีนหน้าสวยตากลมโต
และหนุ่มจีนขาวๆหน้าตาดี  
นึกถึงตันส่วงอู๋และหมุยเอ็งทุกที  
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 27 พ.ย. 05, 00:22

 คุณ Nuchan ได้อ่านภาคสวรรค์แล้วรึยังครับ ผมเลาๆว่ายัง ไม่ใช่เหรอครับ ลองอ่านดูนะครับ
เชื่อสิครับเดี๋ยวก็จบ อิอิอิ
อาจารย์ครับ เรื่องจดหมายจากเมืองไทยไม่ได้อ่านครับ แต่เคยดูที่ช่อง 7 เอามาทำเมื่อนานนนนนนนนน มาแล้ว
ถ้าจำไม่ผิด น่าจะเป้น ปัญญา นิรันดร์กุล ที่เล่นเป็นพระเอก ใช่รึเปล่าครับ จำได้ว่าเรื่องนี้ฮิตน่าดูทีเดียว เป็นยุคที่ช่อง 7 มีละครดีๆมาฉายๆเยอะ ไม่น้ำเน่าเหมือนสมัยหลังๆ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 27 พ.ย. 05, 10:48

 เรื่องจดหมายจากเมืองไทย แค่เปิดๆแต่ยังไม่ได้อ่านคะ เพราะ 2-3 แผ่นแรกมันก็เหมือน
เรื่องจีนๆทั่วไป ที่ซื้อมาเพราะเห็นเป็น 1 ใน 100 เล่มหนังสือดีเมืองไทย คงต้องมีอะไรดีซ่อนอยู่

พวกเราเชยกันหมดทุกคน ชื่อเรื่องเขาไม่เรียก "กามนิต" กันแล้ว แต่เปลี่ยนเป็น
"วาสิฎฐี" ค่ะ เป็นหนังสือเรียนชั้น ม. 3

คุณ paganini พูดอย่างนี้แสดงว่าภาคสวรรค์ ต้องบรมยากเลยใช่ไหมคะ ดิฉันไม่ทราบว่าภาคพื้นดิน
และภาคสวรรค์ หมายความว่าอย่างไร (เผอิญเล่มที่ได้มามันเก่า อ่านแก้ขัดไปก่อนค่ะ ยัง scrutinize ไม่ได้ อิอิ)

ดิฉันสงสัยว่า เวลากวีที่ประพันธ์โดยใช้ภาษาบาลี-สันสกฤตปนมากๆ ท่านต้องมี
คลังความรู้สักขนาดไหนนะ ยกตัวอย่างนิราศนริทร์ ที่พึ่งช่วยกันแปลไปวันก่อน
ถ้าไม่มีพจนานุกรมใกล้ตัว..หมดสิทธิ์แปลค่ะ

๒๐. วัดหงส์เหมราชร้าง......... รังถวาย นามแฮ
เรียมนิราเรือนสาย................ สวาทสร้อย
หงส์ทรงสี่พักตร์ผาย.............. พรหมโลก แลฤา
จะสั่งสารนุชคล้อย................ คลาดท้าวไป่ทัน

๒๑. สังข์กระจายพี่จากเจ้า.....  จอมอนงค์
สังข์พระสี่กรทรง.................. จักรแก้ว
สรวมทิพย์สุธาสรง................ สายสวาท พี่เอย
สังข์สระสมรจงแผ้ว...............  ผ่อนถ้าเรียมถึง

๒๒. จากมามาลิ่วล้ำ............... ลำบาง
บางยี่เรือราพลาง....................พี่พร้อง
เรือแผงช่วยพานาง................. เมียงม่าน มานา
บางบ่รับคำคล้อง.................... คล่าวน้ำตาคลอ
บันทึกการเข้า
samongi
มัจฉานุ
**
ตอบ: 59

เรียนคณะคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีชั้นสูง มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี เอกวิทยาการคอมพิวเตอ


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 27 พ.ย. 05, 11:02

 แต่อาจดหมายจากเมืองไทยชอบมากค่ะ
แต่แหมหมันไส้พระเอกจังเลย ขี้เกก็ก ทิฐิก็เท่านั้น
แหมผู้หญิงไม่ใช่ทาสนะ
หมันไส้จัง
เอ มีใครจะอินเหมือนเราบ้างเปล่าเนี่ย อิอิ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 27 พ.ย. 05, 11:36

 กามนิต หรือ The Pilgrim Kamanita  มีภาคชีวิตของกามนิตเมื่อเป็นมนุษย์  เรียกว่าภาคพื้นดิน
ตายแล้วขึ้นสวรรค์ไปอยู่ชั้นสุขาวดี เรียกว่าภาคสวรรค์
ในที่สุดก็บรรลุธรรม เข้าถึงนิพพาน

ในภาคสวรรค์ พระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป) ได้เปรียญเจ็ด   ท่านปล่อยฝีมือเต็มที่    สร้างพรรณนาโวหาร บรรเจิดเพริศแพร้วเพื่อให้เห็นภาพสวรรค์  
อ่านไปจะเข้าใจค่ะ ไม่ยากหรอก  แต่อ่านเร็วๆไม่ได้ จะไม่ซาบซึ้งเท่าค่อยๆอ่านอย่างช้าๆ เพื่อรับรสวรรณคดี

คุณ Nuchan คะ ภาษาในวรรณคดีที่กลายเป็นเรื่องยาก เพราะเขียนในยุคหนึ่ง  พอเวลาล่วงมาเป็นร้อยปี ภาษาเปลี่ยนแปลงไปมาก   วัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมก็เปลี่ยน
มันก็เลยดูยากเท่านั้นเอง
แต่ในสมัยของกวีมันไม่ยาก เรื่องสมัยไหนภาษาเขาก็เขียนให้คนสมัยนั้นอ่าน

ภาษาของเชกสเปียร์ที่เราต้องกัดฟันอ่านกันมา  ในสมัยของเขาก็ถือกันว่าเชคสเปียร์เป็นกวีชาวบ้าน  
เขียนบทละครให้ชาวบ้านร้านตลาดดูกัน  เป็นภาษาง่ายๆคนทั่วไปเข้าใจ

ย้อนกลับมาที่นิราศนรินทร์    ทำไมถึงใช้ภาษาบาลีสันสกฤตมาก   ก็เพราะสมัยสองร้อยปีก่อน  
ผู้ชายที่เล่าเรียนเขียนอ่านได้ล้วนเรียนจากวัด   หลวงพ่อท่านก็รู้บาลี เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว
พวกเรียนจบมารับราชการเป็นอาลักษณ์ มักจะเป็นเปรียญกันแยะ  
เขาไม่ต้องเอาเวลาไปเรียนอังกฤษ สังคม วิทยาศาสตร์ ฯลฯ อย่างพวกเรา   เลยเรียนภาษาไทยและบาลี ได้เต็มที่

อีกอย่าง การเลียนแบบบทกวีโบราณ ก็เป็น"ขนบ" ที่กวีไทยยึดถือกันมา  ภาพพจน์มักคล้ายๆกัน
ทำให้คนอ่านเมื่อ ๒๐๐ ปีก่อน ซึ่งก็คือพวกในรั้วในวังด้วยกันตามอ่านทำความเข้าใจไม่ยาก  
ในนิราศนรินทร์ และนิราศลำน้ำน้อยของพระยาตรัง ก็ได้อิทธิพลมาจากกำสรวลศรีปราชญ์  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 27 พ.ย. 05, 11:43

 จดหมายจากเมืองไทย  ได้รับรางวัล ส.ป.อ.  ก็พอจะการันตีคุณภาพของงานชิ้นนี้ได้
ที่ถือว่าเป็นงานสร้างสรรค์ เพราะในสมัยนั้น ยังไม่มีนักเขียนคิดสร้างนิยายขึ้นมาจากเนื้อหาชีวิตประจำวันของคนจีนในเมืองไทย
โบตั๋นผูกเรื่องขึ้นมา ดูเหมือนเรียบๆง่ายๆคือเล่าถึงชีวิตลูกจีน เข้าเมืองไทยมาแบบเสื่อผืนหมอนใบ
มาเป็นลูกจ้างในร้านของชำ แล้วถีบตัวขึ้นมาจนได้เป็นอาเสี่ย
แบบคนจีนในเมืองไทยที่คนไทยเห็นผ่านตากันมามาก  แต่ไม่มีใครสะดุดตาสะดุดใจพอจะหยิบยกขึ้นมาเขียนได้มีชีวิตชีวาอย่างโบตั๋น
ตอนนั้นเธอเป็นหญิงสาววัยยี่สิบต้นๆเท่านั้นเอง

เรื่องนี้ถูกคนอ่านเลือดไทยไหลแรง โจมตีกันมาก เพราะตันส่วงอู๋แสดงความไม่พอใจ
และดูแคลนคนไทยที่เขาเห็นอยู่มาก ว่าขี้เกียจ เห็นแก่ตัว ฯลฯ
จนกระทั่งมาได้ลูกเขยไทยในตอนท้าย ถึงได้รู้จักความเป็นมิตรมีน้ำใจของคนไทย

แนะนำให้คุณ Nuchan อ่านค่ะ  เป็นหนังสือนิยายเชิงประวัติศาสตร์สังคมที่มีคุณค่าสาระมากที่สุดเล่มหนึ่งของไทย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 27 พ.ย. 05, 11:45

 ดิฉันก็อินค่ะ   คุณ samongi  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 27 พ.ย. 05, 11:48

 คุณ Nuchan คะ เคยได้ยินมาว่ากระทรวงศึกษาธิการสมัยโน้นๆๆ
เปลี่ยนชื่อเรื่องเป็น วาสิฏฐี เพราะอ่อนไหวกับชื่อ กามนิต ค่ะ
จะเอาเรื่อง "กาม" มาให้นักเรียนมัธยมอ่านได้ไง  
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 27 พ.ย. 05, 12:48

 ขอบคุณสำหรับคำแนะนำค่ะ ถ้าอย่างนั้นดิฉันจะอ่านจดหมายจากเมืองไทยในวารต่อไป
ดิฉันหยิบขึ้นมาดูหลายครั้งแล้ว คิดในใจว่า แค่ตัวละครพูดอะไรออกมา ดิฉันก็สามารถเดา
ประโยคต่อไปได้แล้ว เลยยังไม่อ่าน


เรื่องกามนิต  ดิฉันว่ากระทรวง sensitive ไม่เข้าเรื่อง พิมพ์คำว่า
กามนิต ง้ายง่าย จะพิมพ์ "วาสิฏฐี" ต้องมานึกว่า ฎ หรืิ ฏ สะกด

เอ...แสดงว่ากวีสมัยก่อนใช้บาลีสันสกฤต เป็นของธรรมดา ตอนอ่านเรื่อง ก.ศ.ร. กุหลาบ
ที่อาจารย์เล่าให้ฟังก็สังเกตเหมือนกันค่ะว่า พระมหากษัตริย์ เชื้อพระวงศ์และขุนนางระดับสูง
ต่างก็รู้บาลีเป็นอย่างดี

สำหรับวรรณคดีอังกฤษ พออาจารย์พูดถึงเช็คสเปียร์ ดิฉันก็นึกออกว่าเคยถูกจับตัว
มาสอนรากศัพท์ภาษากรีก และละติน ก่อนไปบ้านท่าน ก็ท่องในใจว่า  no, no, no ยังไม่พร้อมที่จะเรียน
สิ่งรีบด่วนคือต้องการให้ท่านช่วย criticize เปเปอร์ critical essay ที่ดิฉันต้องส่งอาจารย์

ไปถึงบ้านท่าน จากคำว่า  no ก็กลายมาเป็น yes   เพราะ say no ไม่เป็น
พอเรียนรากศัพท์ละติน และกรีก ในวันนั้น ทำให้การเรียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษง่ายขึ้นจริงๆค่ะ
เหมือนกับผู้รู้ภาษาบาลี หากมาอ่านนิราศนรินทร์คงง่ายเหมือนพลิกฝ่ามือ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 27 พ.ย. 05, 13:19

 ละติน กับสันสกฤต มีรากศัพท์เดียวกันจำนวนมาก
เมื่อรู้สันสกฤต ก็จะรู้บาลี หรือรู้บาลีก็รู้สันสกฤตได้ไม่ยาก

ตอนที่เจ้าฟ้ามงกุฎหรือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯท่านทรงแลกเปลี่ยนวิชาภาษาบาลีและละติน กับสังฆราชปาเลอกัวซ์
ก็ทำให้ท่านรู้จักภาษาตะวันตกได้ง่ายขึ้น เมื่อนำมาเทียบกับบาลีที่ทรงเชี่ยวชาญ
ทำให้ทรงเรียนภาษาอังกฤษได้เร็ว  เป็นพระมหากษัตริย์องค์เดียวของตะวันออกไกลที่อ่านเขียนภาษาอังกฤษได้

โคลงนิราศนรินทร์ บทแรก  แต่งตามธรรมเนียมของนิราศ
คือเวลาผ่านสถานที่แห่งใดระหว่างการเดินทาง
กวีจะเอาชื่อของสถานที่นั้นมาโยงเข้ากับอะไรสักอย่าง ที่เชื่อมต่อไปถึงอารมณ์คิดถึงนาง
ครวญคร่ำรำพันแบบนี้ไปจนจบเรื่อง

วัดหงส์เหมราชร้าง......... รังถวาย นามแฮ
เรียมนิราเรือนสาย................ สวาทสร้อย
หงส์ทรงสี่พักตร์ผาย.............. พรหมโลก แลฤา
จะสั่งสารนุชคล้อย................ คลาดท้าวไป่ทัน

เห็นวัดหงส์ ก็นึกถึงหงส์พาหนะของพระพรหม
หงส์พาพระพรหมบินไปพรหมโลก  
กวีจะฝากสารไปถึงนางก็ฝากไม่ทัน
 
เห็นไหม  ก็โยงเข้าไปถึงนางจนได้ค่ะ
บันทึกการเข้า
samongi
มัจฉานุ
**
ตอบ: 59

เรียนคณะคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีชั้นสูง มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี เอกวิทยาการคอมพิวเตอ


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 27 พ.ย. 05, 16:12

 เคยจะอ่านกามนิตหลายทีแล้ว ไม่พ้นเลย
ถ้าภาคที่1 ก็ไม่พ้นตอน 4
ภาคที่ 2 ไม่ถึง 2 ตอนเลยมังคะ
แถมมีแมงสามง่ามในหนังสืออีกต่างหาก
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 19 คำสั่ง