สร้อยสิริประภาแว่นทิพย์
อสุรผัด

ตอบ: 11
เป็นคนเข้ามาอ่านในกระทู้วิชาการ
|
 อยากทราบว่า ร. 7 เสด็จไปเมืองเหนือเมื่อไหร่ เห็นว่าครานั้นมีเจ้านายฝ่ายเหนือไปต้อนรับเป็นอันมาก อยากทราบว่ามีผู้ใดบ้าง และต้อนรับกันอย่างไรบ้างค่ะ ผู้รู้ช่วยตอบด้วยน่ะค่ะ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Histor
อสุรผัด

ตอบ: 20
นักดนตรี
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 24 พ.ย. 05, 01:03
|
|
รู้สึกว่าจะเป็นช่วงที่หลังจากเสร็จงานพระราชพิธีบรมมราชาภิเษก คงในราวๆปีพ.ศ.2469 เพราะมีรายงานว่าได้มีการพบช้างเผือกจึงทรงถือโอกาสไปตรวจมลฑลฝ่ายเหนือด้วย ในการนี้มีเจ้านายหลายพระองค์ตามเสด็จ หลักๆคือ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ,หม่อมเจ้าถาวรมงคลวงศ์ แพทย์ประจำพระองค์ และอีกหลายท่านครับจำไม่หมด ส่วนเจ้านายฝ่ายเหนือที่มาต้อนรับก็มีหลักๆ คือพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ที่กลับไปอยู่ที่บ้านเกิดของท่านหลังจากที่พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จสวรรคต เมื่อถึงที่เชียงใหม่ ก็มีเจ้าเชียงใหม่แก้วนวรัฐ พระเชษฐาพระราชชายา ขี่ช้างนำเสด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระราชวงศ์เข้าเมือง ด้วยกระบวนช้าง80เชือก มีการแต่งตัวแบบพื้นเมือง และฆ้องกลองอย่างพื้นเมืองมาในกระบวนด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Histor
อสุรผัด

ตอบ: 20
นักดนตรี
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 24 พ.ย. 05, 01:10
|
|
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องเต็มยศจอมพลทหารบก และ2ข้างทางแน่นไปด้วยราษฎรษ์ที่มาเฝ้ารับเสด็จ ในการนี้พระราชชายาเจ้าดารารัศมีพร้อมเจ้านายพื้นเมืองได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตทำพิธีทูลพระขวัญน้อมเกล้า ถวายแด่พระเจ้าอยู่หัวและพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี และมีเจ้านายพื้นเมืองฟ้อนรำถวายในพิธีนี้ด้วยที่บริเวณหน้าศาลารัฐบาลเมืองเชียงใหม่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Histor
อสุรผัด

ตอบ: 20
นักดนตรี
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 24 พ.ย. 05, 01:23
|
|
............และมีเรื่องน่าประหลาดใจเกิดขึ้นด้วย คือ เมื่อถึงเมืองเชียงใหม่นั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ร.7 ท่านได้เสด็จไปทอดพระเนตร ช้างเผือกคู่พระบารมีนั้น ในหลวงท่านทรงเตรื่องยูนิฟอร์มทหารบกเหมือนกับท่านอมรทัต สมุหราชองครักษ์ และทรงยืนอยู่ด้วยกันที่นอกคอกช้าง พอเจ้าหน้าที่เปิดคอกให้ช้างนั้นเดินออกมา ก็เดินตรงไปที่ในหลวงแล้วยกงวงขึ้นแตะที่หัว อันเป็นกิริยาการไหว้ของช้าง ทำให้คนที่อยู่ที่นั้นพากันแปลกใจว่าช้างนั้นรู้ได้อย่างไร ว่าคนไหน เป็นพระเจ้าอยู่หัว เพราะจะสอนให้ดูรูปก่อนล่วงหน้าก็คงเป็นไปไม่ได้ และก็เป็นการพบกันครั้งแรกด้วย ต่อมาช้างนั้นได้ขึ้นระวางเป็นช้างพระที่นั่ง พระราชทานนามว่า " พระเศวตคชเดชดิลก "
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ศศิศ
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 24 พ.ย. 05, 15:31
|
|
ความจริงมีหนังสือ
"จดหมายเหตุ เสด็จพระราชดำเนิรเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ พระพุทธศักราช 2469"
อยู่ครับ ผมก็หาหนังสือเล่มนี้ที่หอสมุดไม่เจอ ตอนค้นที่คอมพิวเตอร์นั้นมีรายชื่อ แต่พอไปหาที่ชั้นกลับไม่อยู่เสียแล้ว หากว่าได้หนังสือก็จะเอามาเล่าสู่กันฟังละกันครับผม
พอดีวันนี้เห็นมีขายที่งาน "CMU Book Fair" อยู่หลายเล่ม แต่ก็แพงอยู่มาก .... เห็นแล้วก็แทบจะลงแดงเสียให้ได้ ก็ได้แต่รีบเดินหนีไว ๆ หาไม่แล้วก็คงเกิดอาการเป็นแน่....
แต่ว่า เอารูปมาให้ชมครับผม
เป็นรูป
แถวนักเรียนโรงเรียนชัวย่งเส็ง ขณะรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เมื่อครั้งเสด็จประพาสนครเชียงใหม่ ปี พ.ศ.๒๔๖๙ ที่หน้าร้านกิติพานิช ของนายเจี๊ยว กิติบุตร คหบดีชาวเชียงใหม่ แถวถนนท่าแพ
ปล. ภาพจากเว็บไซด์ของ คุณลุงบุญเสริม ศาสตราภัย
 |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
- ศศิศ -
|
|
|
ศศิศ
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 24 พ.ย. 05, 15:33
|
|
รูปนี้เป็นรูป โรงแรมรถไฟ ครั้งเมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีประทับที่โรงแรมรถไฟ เพื่อทอดพระเนตรขบวนแห่ช้างรับเสด็จระหว่างเสด็จประพาสนครเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๙
.
 |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
- ศศิศ -
|
|
|
ศศิศ
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 24 พ.ย. 05, 15:36
|
|
 วัดสวนดอก (วัดบุปผาราม) สร้างเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.๑๙๑๕ สมัยพญากือนากษัตริย์ล้านนาราชวงศ์มังราย ลำดับที่ ๖ (พ.ศ.๑๘๙๘ - ๑๙๒๘) วัดนี้เดิมเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์ หรือนิกายวัดสวนดอกหรือนิกายรามัญ ภาพนี้ถ่ายเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ เสด็จพระราชดำเนินประพาสเมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๙ ก่อนหน้าที่ครูบาศรีวิชัยจะมาปฏิสังขรณ์และสร้างวิหารของวัดนี้เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๔ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
- ศศิศ -
|
|
|
ศศิศ
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 24 พ.ย. 05, 15:48
|
|
ประชาชนนั่งรอรับเสด็จ ฯ และเฝ้าชมพระบารมีพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ที่ศาลาที่พักคนเดินทาง ถนนพระปกเกล้า ใกล้สี่แยกกลางเวียงเชียงใหม่ โดยมีทหารรักษาการณ์ ๒ คนยืนอยู่ด้วย ในวโรกาสที่ทั้งสองพระองค์เสด็จพระราชดำเนินประพาสจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๙
ซึ่งบริเวณนี้ เป็นสถานที่ที่พระญามังรายต้องอสนีบาตสวรรคตบริเวณสี่แยกกลางเวียงครั้งเสด็จชมตลาด บริเวณข้างในนั้น มีหอพระญามังราย ซึ่งถือว่าเป็น "เชนเมือง" ที่จะทำพิธีสักการะบริเวณหอพระญามังรายนี้ ซึ่งปัจจุบันนี้ หอพระญามังราย อยู่ในเขตพื้นที่ของเอกชน อยู่หลังร้านเทเลวิชในปัจจุบัน พอตกตอนเย็นก็ปิดประตู คนไปไหว้สาก็ได้แต่ยืนดู หน้าประตูอัลลอยด์ เกาะยืนดูเพียงเท่านั้น แม้แต่ปัจจุบันคนเชียงใหม่ก็ยังไม่ทราบว่า ที่แห่งนั้นมีหอพระญามังรายอยู่
แฮ่ๆๆ เริ่มต้นเป็นเรื่องรับเสด็จ แต่ไหงตอนท้ายเป็นการบ่นเรื่องหอพระญามังรายเสียนี่ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
- ศศิศ -
|
|
|
ศศิศ
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 24 พ.ย. 05, 15:52
|
|
 เจ้าผู้ครองนครฝ่ายเหนือ. ได้แก่. เจ้ามหาพรหมสุร ธาดา เจ้าผู้ครองนครน่าน........ เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ ครองนครเชียงใหม่ เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครอง นครลำพูน.. และเจ้านายฝ่ายเหนือ.....ฟ้อนนำขบวน แห่เครื่องทูลพระขวัญ รัชกาลที่ 7.... เมื่อครั้งเสด็จ ประพาสนครเชียงใหม่ พ.ศ.2467
( ขออภัยนะครับ ที่หารูปใหญ่กว่านี้ไม่เจอ) |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
- ศศิศ -
|
|
|
N.P.
อสุรผัด

ตอบ: 19
ทำงาน
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 24 พ.ย. 05, 16:12
|
|
คุณศศิศ ลองมาสอบถามข้อมูลที่ศูนย์ข้อมูลพระปกเกล้าศึกษาและจดหมายเหตุ พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว อาคารกรมโยธาธิการเดิม เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ คาดว่าน่าจะมีหนังสือที่ต้องการนะครับ หรือ www.kpi.ac.th/museum
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ศศิศ
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 24 พ.ย. 05, 16:16
|
|
รูปนี้หากจำไม่ผิด น่าจะเป็นการฟ้อนรับเสด็จ ที่พระตำหนักของพระราชชายาเจ้าดารารัศมีบนดอยสุเทพนะครับ เป็นการฟ้อน "ม่นมุ้ยเชียงตา" ในคราวต้อนรับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
(หากจำผิดก็ขออภัยด้วยครับ) |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
- ศศิศ -
|
|
|
ศรีปิงเวียง
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 25 พ.ย. 05, 22:03
|
|
สวัสดีครับ วันนี้คงต้องคุยเยอะหน่อย เพราะไม่ได้มาหลายวัน 1. ถ้ามีโอกาสลงกรุงเทพฯ ก็จะลองแวะมาตามที่คุณ N.P. แนะนำไว้นะครับ และขอบพระคุณพระรูปทูลกระหม่อมติ๋วมากครับ 2. ใน สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น ซึ่งม.จ. พูนพิศมัยทรงนิพนธ์ไว้ ก็มีการกล่าวถึงเรื่องนี้เหมือนกันครับ และมีการกล่าวเสริมว่า พระเศวตคชเดชน์ดิลกฯ ไม่ยอมแตะหญ้าแตะน้ำเลย มีอาการซึม ๆ ซึ่งเกิดขึ้นเพียง 1 วัน ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองครับ 3. หนังสือ พระบารมีปกเกล้าฯ ที่คุณ V_Mee แนะนำไว้นี้วางจำหน่ายแล้ว ถ้ามีโอกาสเห็นเล่มจริง ๆ ก็จะลองดูว่ามีเนื้อหาส่วนนี้หรือไม่ หนังสือเล่มนี้รายละเอียดเป็นอย่างไรคงต้องสอบถามทางสำนักงานพระบารมีปกเกล้าฯ เสียก่อน 4.โรงช้างต้นของพระเศวตคชเดชน์ดิลกฯ ปัจจุบันคืออาคารดนตรีสากล (วงดุริยางค์ของโรงเรียน) ในโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ซึ่งครั้งหนึ่ง อาคารนี้เคยใช้เป็นห้องสมุดประชาชนจังหวัดมาแล้วหลังจากพระเศวตคชเดชน์ดิลกฯ ล้มแล้ว(ผมไม่แน่ใจว่าล้มในรัชกาลที่ ๗ หรือเปล่าครับ)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ไม่เห็นใครแน่นอน
|
|
|
สร้อยสิริประภาแว่นทิพย์
อสุรผัด

ตอบ: 11
เป็นคนเข้ามาอ่านในกระทู้วิชาการ
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 27 พ.ย. 05, 22:26
|
|
ขอขอบพระคุณทุกๆท่านที่มาให้ความรู้ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 03 ธ.ค. 05, 12:09
|
|
สำหรับท่านที่สนใจเรื่องล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๗ เสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ ขอแนะนำให้อ่าน "จดหมายเหตุเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ พระพุทธศักราช ๒๔๖๙" รองอำมาตย์ตรี กมล มโนชญางกร จ่าจังหวัดน่าน เป็นผู้เรียบเรียงโดยคำสั่งพระยาราชนกูลวิบูลยภักดี สมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลพายัพ หนังสือนี้มีที่หอสมุดแห่งชาติ โดยเฉพาะที่ห้องวิจิตวาทการ มีภาพประกอบเยอะมากครับ ขอฝากถึงน้องศรีปิงเวียงหรือท่านที่สนใจอยากจะอ่านจดหมายเหตุฉบับนี้ หรืออยากจะแลกเปลี่ยนความรู้ ขอเชิญที่สำนักงานสมโภยุพราช ๑๐๐ ปี เรือนวชิร (อาคาร ๕) ชั้น ๒ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ตอนนี้ผมมานั่งทำต้นฉบับหนังสือพระบารมีปกเกล้าฯ ยุพราชวิทยาลัย ๑๐๐ ปี นามพระราชทาน อยู่ทุกวันครับ และสำหรับท่านที่สนใจเรื่องเมืองเชียงใหม่ในรอบ ๑๐๐ ปี ที่ผ่านมาก็สามารถแวะเวียนมาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นได้ตลอดเวลา แล้วท่านจะได้ข้อมูลใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยเปิดเผยในที่ใดมาก่อน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Dominio
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 04 ธ.ค. 05, 00:57
|
|
หายหน้าไปนานคุณ V_Mee แฟนๆถามหา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|