Nuchana
|
ความคิดเห็นที่ 45 เมื่อ 01 ธ.ค. 05, 20:12
|
|
 . อ่านงานเขียนของ Kahlil Gibran แล้วแยกไม่ถูกว่าจะเรียกเขาเป็น "กวี" หรือ "นักปรัชญา" ดี |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
paganini
|
ความคิดเห็นที่ 46 เมื่อ 02 ธ.ค. 05, 01:16
|
|
กวี นักปรัชญา นักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ จิตรกร ลูกศิษย์โรแด็ง ไม่ว่าเราจะเรียกเขาว่ายังไงก็ไม่สำคัญหรอกครับ ถ้าเราซาบซึ้งงานของเขาอย่างที่คุณนุชซาบซึ้งนะ
ความรู้สึกเวลาผมอ่านคาลิล ยิบรานคือ อืมม อ้ออ เอ๋ออ จ๊าบบบ โหหห เจ๋งงงง แล้วก็.................(ดื่มด่ำในความคิด)
กระทู้นี้ท่าทางจะยาว ขอเวลาผมหน่อยเดี๋ยวจะไปซุ่มทำภาพมา (แต่สงสัยว่าจะมีคนมาเล่นอยู่แค่ 3 คนรึเปล่าน้อ)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|
|
วิรงรอง
อสุรผัด

ตอบ: 3
|
ความคิดเห็นที่ 50 เมื่อ 02 ธ.ค. 05, 19:55
|
|
I do not want a walking school book. What I want are just mainly young men, honest, truthful, (and) clean in habits and thoughts. These sentences appear on ตึกยุพราช
ความที่เป็นภาษาอังกฤษสมัยเก่าแล้ว ขออนุญาตแย้งย้อนหลังติ๊ดนะคะว่า ถ้าจะมองอีกแบบหนึ่ง just ในที่นี้ทำหน้าที่เป็น adjective แปลว่า righteous, upright manly ก็เป็น adjective ได้อีกเหมือนกัน ถ้าจะดีก็น่าจะมี comma คั่นเป็น just, manly young men, ส่วน thumps นั้นไม่น่าจะสะกดผิดมาก น่าจะผิดแค่ตัวเดียวเป็น thumbs ซึ่งคือ นิ้วมือ หรือเล็บมือ เพราะมันพ้องกับ clean habits ซึ่งแปลว่าเสื้อผ้าที่ใส่ก็ได้ จึงน่าจะเป็น I do not want a walking school book. What I want are just, manly young men, honest, truthful, (and) clean in habits and thumbs. These sentences appear on ตึกยุพราช
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Nuchana
|
ความคิดเห็นที่ 51 เมื่อ 03 ธ.ค. 05, 09:11
|
|
ขอบคุณสำหรับอีกมุมมองหนึ่งของคุณวิรงรอง
Sentence correction อาจแก้ได้หลายแบบ ครูสอนวิชา writing ทุกคนคงไม่แก้เหมือนกันเด๊ะ ดิฉันใช้วิธีที่เลือกเพราะเหตุผลบางอย่างดังนี้ค่ะ
1. เนื่องจากประโยคหน้าและหลังแย้งกัน ดังนั้น “just” ในประโยตหลัง ดิฉันจึงไม่เลือกใช้ในความหมาย righteous (adj) แต่เลือกใช้เป็น adv. ทั้งนี้ดิฉันดู parallel โดยที่ a series of adj ไม่อยากวางเกลื่อนทั้งหน้าและหลัง noun (men)
2. ความหมายภาษาไทยที่ให้มา ไม่มีคำไหนที่หมายความว่าสะอาด-สกปรกเลย จึงไม่คิดว่า thumb เป็นนิ้วหัวแม่มือ คิดว่าเป็นเรื่องจิตใจ ความนึกคิดมากว่า
3. คำว่า manly อืม...น่าคิด มองข้ามไปค่ะ ไม่ทราบว่าล้นเกล้า ร. 6 ทรงต้องการสื่อให้ คำนี้มีความหมายเป็นสุภาพบุรุษ มาขยายนาม young men หรือไม่ ดิฉันรู้สึกว่า connotation ของคำว่า manly ออกไปทาง physical มากกว่าทางสุภาพบุรุษ จึงเลี่ยงไปใช้ mainly แทน ประโยคบางครั้ง ถูกไวยากรณ์ แต่ it doesn’t sound “euphonious” เมื่อเอาตัวมัน ขยายตัวมันเอง เสียงใกล้เกินไป ต้องขอความรู้ในจุดนี้จากท่านอาจารย์เทาฯ ช่วยชี้แจงด้วย จะเป็นพระคุณอย่างยิ่งค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 52 เมื่อ 03 ธ.ค. 05, 09:59
|
|
อยากจะขอคุณศรีปิงเวียงช่วยกลับไปดูอีกครั้ง แล้วลอกมาให้ถูกต้องทุกคำ จะได้หมดสงสัยไปเสียที
ดิฉันเห็นอย่างเดียวกับคุณ Nuchan ว่าประโยคที่จารึกไว้น่าจะเป็น I do not want a walking school book. What I want are just mainly young men, honest, truthful, clean in habits and thoughts.
ที่ไม่คิดว่าเป็น What I want are just, manly young men, เพราะถ้ามีคำ adj. 2 คำขยายคำนาม เขาจะนิยมใส่ and ไว้ตรงกลาง pink and grey ถ้ามี adj. 3 คำ ก็เป็นแบบนี้ คำแรก,( ต่อด้วยคอมม่า) คำที่สอง and คำที่สาม pink, grey and blue อีกอย่าง manly man ดูเป็นคำขยายที่ไม่น่าใช้กัน ถึงมี young คั่นกลางก็ตาม
ดิฉันไม่เคยเห็นมาก่อนว่า Thumbs ใช้ในความหมายรวมถึงนิ้วมือและเล็บมือ ถ้ามือสะอาด ก็ hands หรือเล็บสะอาดก็ nails
ดิฉันดูในความหมายรวมว่า พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ทรงหมายความว่า พระองค์ท่านมิได้มีพระราชประสงค์จะให้โรงเรียนนี้ผลิตหนอนหนังสือ (หรือทรงใช้คำว่าตำราเรียนเดินได้) เพราะครูกวดขันเรื่องตำรับตำราอย่างเดียวอาจจะได้เด็กเรียนเก่ง แต่คุณสมบัติอื่นๆที่งดงาม อาจถูกละเลยไป ถึงได้ทรงขยายความว่า สิ่งที่ทรงพระราชประสงค์ ก็คือขอให้ว่าเด็กหนุ่มเหล่านี้ ถูกกล่อมเกลาขึ้นมาเป็นคนซื่อตรง มีสัจจะ อุปนิสัยใจคอและความคิดอ่านที่สุจริต ไม่ใช่เก่งแต่ตำรา ส่วนเสื้อผ้าเล็บมือที่สะอาดสะอ้านแม้ว่าเป็นสิ่งดี แต่เมื่อดูบริบทแล้ว ดิฉันว่าไม่น่าจะเป็นเรื่องใหญ่ที่ทรงยกขึ้นมาเป็นพระบรมราโชวาท
ขอยกคำแปล คำว่า habits มาให้อ่านค่ะ คำนี้ แปลได้หลายอย่าง ที่เกี่ยวข้องกับประโยค คือ 1)A recurrent, often unconscious pattern of behavior that is acquired through frequent repetition. 2)An established disposition of the mind or character. Customary manner or practice: a person of ascetic habits. ส่วนที่แปลว่าเสื้อผ้า ก็ไม่ใช่เสื้อผ้าธรรมดาทั่วไป แต่เป็น 1)A distinctive dress or costume, especially of a religious order. 2)A riding habit. จึงไม่น่าจะเกี่ยวกับนักเรียนร.ร.ยุพราช
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|
|
Dominio
|
ความคิดเห็นที่ 56 เมื่อ 04 ธ.ค. 05, 03:12
|
|
 สวัสดีอาจารย์เทาชมพูและทุกท่าน ขอแนะนำตัวในฐานะสมาชิกใหม่ค่ะ
เห็นสองสามท่านกำลังสนุกกับโปรแกรมเพนท์ ดิฉันก็เลยทดลองทำดูบ้างค่ะ คิดว่าประธานาธิบดี Bill Clinton คงจะโดนใจคำคมของอัลสไตน์ ดิฉันเคย อ่านพบว่าท่านหนีทหารสมัยก่อนน่ะคะ
ตามไม่ทันว่า...อัลสไตน์ผู้คิดค้นระเบิด กลับกลายเป็นเจ้าของคำคมต่อต้านสงครามตั้งแต่เมื่อไร |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Dominio
|
ความคิดเห็นที่ 57 เมื่อ 04 ธ.ค. 05, 10:43
|
|
 พอทำเป็นแล้วหยุดไม่ได้ ดิฉันจะหารูปสดใสให้รับกับฤดูหนาว ก็เห็นมีแต่ Winter Berries เพราะอย่างอื่นใบโกร๋นหมด
วันอาทิตย์เช้าๆ ขอเริ่มต้นด้วยคำคมจากนิยายครอบครัว ซึ่งจะมีใครโด่งดังเท่า เจน ออสเตน คนครึ่งโลกไม่รู้จักความสุขของคนอื่น
ดิฉันชอบนักเขียนท่านนี้ค่ะ มีบางท่านคิดว่านวนิยายชื่อดังของเมืองไทย "ปริศนา" ผู้นิพนธ์ทรงได้รับเค้าโครงเรื่องมาจากเจน ออสเตน |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Dominio
|
ความคิดเห็นที่ 58 เมื่อ 04 ธ.ค. 05, 11:13
|
|
 บ้านเรานี้แสนสุขใจ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Dominio
|
ความคิดเห็นที่ 59 เมื่อ 05 ธ.ค. 05, 18:03
|
|
 รอคุณ paganini ยังไม่เห็นมา ดิฉันล่วงหน้่าไปก่อนนะคะ เอารูปดอก Forget me not มาฝาก และเลือกคำคมของ นักปรัชญาชาวโรมันมานำเสนอ ด้วยในอีกกระทู้หนึ่ง อาจารย์เทาฯสัญญาจะเล็คเชอร์เรื่องปรัชญาให้ฟังค่ะ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|