เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 42298 ข้าหลวงสมเด็จพระพันปีหลวง
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 19 พ.ย. 05, 08:15

 ดิฉันมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับข้าหลวงบางท่าน ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ  พระพันปีหลวง มาเล่าให้ฟัง

คนแรกที่จะเล่า ชื่อคุณสาย เกิดเมื่อพ.ศ. 2416

บิดาของคุณสายเป็นแพทย์แผนโบราณ  มารดาเป็นช่างทำทองคำเปลว  มีบ้านอยู่ที่ถนนตีทอง
ไม่ทราบชื่อและสกุล ทั้งสองท่าน

คุณสายเป็นลูกสาวที่โชคดีมาก  พ่อแม่ค่อนข้างทันสมัย จึงยอมให้ได้เล่าเรียนเขียนอ่าน  ผิดกับผู้หญิงทั่วไปในสมัยนั้นที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้
เพราะพ่อแม่กลัวว่าจะไปเล่นเพลงยาวเกี้ยวพาราศีกับผู้ชายพายเรือ

นอกจากนี้คุณสายก็ยังหัดอ่านเขียนภาษาจีนจนชำนาญ  เพราะคิดว่าต่อไปเธอจะต้องมีอาชีพค้าขายต่อจากพ่อแม่
รู้ภาษาจีน ทำบัญชีได้ก็จะเป็นประโยชน์

ส่วนความรู้ด้านอื่นๆเช่นจัดดอกไม้ธูปเทียน  มารดาก็อบรมสั่งสอนให้อย่างดีเช่นกัน

พอโตเป็นสาว คุณสายก็ดำเนินอาชีพทำทองคำเปลวต่อจากมารดา  ด้วยความขยันหมั่นเพียรเป็นกำลังให้ครอบครัว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 19 พ.ย. 05, 08:17

 แต่ชีวิตของคุณสายก็เริ่มหักเหไปอีกทางหนึ่ง อย่างไม่ได้เตรียมมาก่อน  
เพราะว่าวันหนึ่งพระยาอิศรพันธุ์โสภณ (ม.ร.ว. หนู อิศรางกูร) ซึ่งครอบครัวนี้นับถือเป็นญาติผู้ใหญ่ มาเห็นเข้า
ท่านเป็นพระอาจารย์ถวายการหนังสือและความรู้แก่พระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่  5
ก็แนะนำว่าให้พ่อแม่ส่งคุณสายเข้าไปฝึกฝนขนบธรรมเนียมเรียนรู้วิชาต่างๆในวังหลวง ดีกว่า
จะได้มีคุณค่าประดับตัว  ดีกว่าฝึกอาชีพอยู่กับบ้าน
พ่อแม่ก็เห็นด้วย  พระยาอิศรพันธุ์จึงนำคุณสายขึ้นถวายตัวต่อสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เป็นนางข้าหลวง

ดิฉันไม่ทราบว่าคุณสายเข้าวังเมื่ออายุเท่าไร   แต่คิดว่าคงเป็นสาวแล้ว  ไม่ใช่เด็กอย่างแม่พลอยเมื่อเข้าวัง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 21 พ.ย. 05, 11:24

 สมเด็จพระพันปีหลวงทรงเห็นว่าคุณสายมีความรู้เรื่องภาษา  อ่านออกเขียนได้
ก็พอพระทั  ทรงฝึกฝนให้รู้พิธีการและระเบียบแบบแผนทางฝ่ายใน

คุณสายเป็นคนมีฝีมือทางประดิษฐ์ของต่างๆ เช่นใบตองทำบายศรี   จัดดอกไม้ธูปเทียน  ทำได้เรียบร้อยสวยงาม
เมื่อมีงานทำบุญ หรือทำพิธีอะไรในราชสำนัก คุณสายก็ต้องไปร่วมทำด้วย
เป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระพันปี  
เวลาทอดพระเนตรเห็นฝีมือการจัดดอกไม้ ก็ทรงจำได้ว่าเป็น "ฝีมือแม่สาย"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 21 พ.ย. 05, 11:29

 สิ่งที่ทำให้คุณสายขึ้นชื่อใน"ที่บน" คือฝีมือทำของหวาน    คุณสายเป็นคนทำกับข้าวเก่ง และคล่องแคล่ว
ถ้าเห็นพวกห้องเครื่องงุ่มง่ามอยู่หน้าเตาไฟ  คุณสายจะเข้าไปช่วยทันที
ของเสวยที่คุณสายทำถวายและเป็นที่โปรดปราน
คือ "กล้วยเชื่อม"

คุณสายมีฝีมือในการฝานกล้วยหักมุก ลงกระทะทองแล้วเชื่อม
นำขึ้นถวาย   จนสมเด็จพระพันปีฯ ออกพระโอษฐ์ว่า
"กล้วยเชื่อมของสาย วันหลังจะต้องส่งเข้าประกวดในงานเสียที"

ทุกครั้งที่สมเด็จฯ เสด็จวังบางปะอิน   เมื่อคุณท้าวและเฒ่าแก่จัดขบวนนางในตามเสด็จ
จะต้องมีคุณสายร่วมขบวนด้วยเสมอ
เพราะสมเด็จฯรับสั่งว่า
" ฉันจะให้ไปเชื่อมกล้วยให้กิน"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 22 พ.ย. 05, 10:39

 คุณสายได้อยู่ใต้พระบารมีสมเด็จพระพันปีหลวงมาด้วยความร่มเย็นเป็นสุข
จนกระทั่งพระยาอิศรพันธุ์ผู้นำท่านเข้าไปถวายตัวเป็นนางข้าหลวง  ได้เป็นผู้นำท่านออกจากพระบรมมหาราชวัง
คราวนี้ เป็นเพราะท่านสู่ขอคุณสาย ให้กับพระนวกรณ์บรรณกิจ ซึ่งเป็นสมาชิกในราชสกุล อิศรางกูร
คุณสายจึงกลายเป็น สาย อิศรางกูร ณ อยุธยา

คุณสายกราบถวายบังคมลาออกจากพระบรมมหาราชวัง มาตั้งครอบครัว
อยู่กับลูกๆหลานๆด้วยความสุขสงบ
จนถึงแก่กรรมเมื่ออายุ 87 ปี
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 23 พ.ย. 05, 10:25

 เข้ามาอ่านเหมือนทุกครั้ง
แต่ไม่กล้าออกไปเงียบๆครับอาจารย์
บันทึกการเข้า
ศศิศ
พาลี
****
ตอบ: 326


อหังการ์ ล้านนาประเทศ


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 23 พ.ย. 05, 19:19

 เข้ามาอ่านด้วยเช่นกันครับผม อ่านมาหลายวันละครับ

มารออาจารย์ว่าจะมีข้าหลวงคนอื่น ๆ มาเล่าสู่กันฟังอีกหรือเปล่าครับผม
บันทึกการเข้า

- ศศิศ -
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 24 พ.ย. 05, 08:12

 คนที่สอง ชื่อคุณเลื่อม สิงหลกะ

คุณเลื่อมเข้าวังหลวงตั้งแต่อายุ 10 ขวบ (เหมือนแม่พลอย)  เป็นข้าหลวงรุ่นเล็กในสมเด็จพระพันปีหลวง
คุณสมบัติพิเศษของคุณเลื่อมตามที่สมเด็จพระพันปีฯ ทรงสังเกตเห็น  คือชอบดนตรี
ดังนั้นเมื่อคุณเลื่อมได้รับการฝึกฝนเรื่องขนบธรรมเนียมประเพณีของชาววัง และวิชาที่กุลสตรีสมัยนั้นต้องเรียนรู้กันแล้ว
เธอก็ได้เรียนวิชาเครื่องสายและมโหรีอีกด้วย

เมื่อสมเด็จพระพันปีหลวงทรงเห็นว่าคุณเลื่อมเก่งทางด้านเล่นดนตรี  ก็พระราชทานนางข้าหลวงต่อไปยังสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ  กรมหลวงนครราชสีมา พระราชโอรส
คุณเลื่อมจึงได้ไปเป็นพนักงานมโหรีประจำวังขงทูลกระหม่อม
ทำให้เธอได้ฝึกฝนดนตรีจนชำนาญยิ่งขึ้น ไม่ว่า จะเข้ ซอ หรือขิม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 24 พ.ย. 05, 08:17

 ฝีมือจะเข้ของคุณเลื่อมก็เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย    เมื่อมีมโหรีในวัง เธอก็จะได้แสดงฝีมืออยู่เสมอ
นอกจากนี้ คุณเลื่อมเป็นคนมีเสน่ห์ในการเข้าเจ้านาย     ไม่ว่าจะเข้าเฝ้าเสด็จพระองค์ไหนก็เป็นที่พอพระทัย ในความอ่อนหวานนอบน้อม

สมเด็จพระพันปีหลวงเองก็ทรงเสียดายนางข้าหลวงผู้นี้อยู่ไม่น้อย  
เพราะฉะนั้นหลังจากทรงเห็นว่า เธอไปใช้ชีวิตในวงมโหรีนอกวังหลวงนานพอแล้ว  ก็ทรงเรียกตัวกลับมารับใช้ในวังพญาไท
จวบจนเสด็จสวรรคต

เมื่อสิ้นเจ้านาย  คุณเลื่อมก็กลับไปอยู่บ้าน   และต่อมาก็เข้าพิธีสมรสกับพระยาราชมนตรี( ไม่ทราบชื่อและนามสกุล)
จนกระทั่งถึงแก่กรรมเมื่ออายุ 74 ปี
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 28 พ.ย. 05, 14:57

คนที่สาม เป็นข้าหลวงเรือนนอก  ชื่อนางพิทักษ์ธัญญกรณ์
ชื่อเดิมคือ ชั้น นามสกุลคงพันธุ์
ตอนสาวๆคุณชั้นเป็นสาวชาววัง   แต่ต่อมาก็สมรสแล้วย้ายตามสามี
ซึ่งไปรับราชการที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

เธอมีฝีมือเป็นเอกในเรื่องการครัว   คนในกรุงเก่ารู้จักกันดีตั้งแต่เจ้าเมืองลงมาถึงชาวบ้าน
เห็นได้จาก เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปบวงสรวงสมเด็จพระมหาบูรพกษัตราธิราช
มีข้าราชบริพารตามเสด็จมากมาย
ต้องตั้งโรงครัวขนาดใหญ่  จัดหาแม่ครัวมาเป็นจำนวนมาก เพื่อเลี้ยงอาหารชาววัง
ทางการก็ต้องขอตัวคุณชั้นมาเป็นผู้อำนวยการโรงครัว  และมีหน้าที่ทำเครื่องเสวยถวายโดยตรง

ต่อมา เมื่อสมเด็จพระพันปีหลวงเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับที่เกาะลอย ในรัชกาลที่ 6
คุณชั้นก็ได้รับหน้าที่เดิมอีกครั้ง  ประกอบพระกระยาหารถวายสมเด็จ
ด้วยฝีมือตัวเอง

คุณชั้นมีอายุยืนยาวมาจนถึงสงครามโลกครั้งที่สอง   ถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ 74 ปี
บันทึกการเข้า
dara
อสุรผัด
*
ตอบ: 10


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 08 พ.ค. 07, 09:49

น่าสนใจค่ะ  แต่เผอิญเพิ่งได้มาอ่าน เพราะเพิ่งรู้จักเวบนี้ไม่ถึงเดือน 
ไม่ทราบว่าเรื่องข้าหลวงอื่น ๆ อีกไหมคะ  หรือจะเป็นข้าหลวงในสมเด็จพระพันวสาก็ได้ค่ะ
บันทึกการเข้า
cannavaro
อสุรผัด
*
ตอบ: 37



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 08 พ.ค. 07, 10:35

ผมขอหลบฝนมานั่งรอฟังบนเรือนด้วยคนนะครับ ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 10 พ.ค. 07, 18:59

ปัจจุบันนี้  ยังมีข้าหลวงของเจ้านายระดับพระภรรยาเจ้าในรัชกาลที่ ๕ อยู่ท่านหนึ่งที่ยังมีชีวิตอยู่ อายุ ๙๒ แล้ว  แต่ความจำยังดี ร่างกายแข็งแรง คือม.ล. เนื่อง นิลรัตน
ท่านเก่งเรื่องกับข้าวกับปลา เพราะเป็นหลานของนายห้องเครื่องของพระวิมาดาฯ 
ลองหา "ชีวิตในวัง" เล่ม ๑-๒ และ "ชีวิตนอกวัง" อีกหลายเล่มมาอ่านดูซิคะ  สนุกมาก
บันทึกการเข้า
cannavaro
อสุรผัด
*
ตอบ: 37



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 11 พ.ค. 07, 14:31

ท่านเขียนหนังสือเก่งเหมือนทำกลับข้าวกลับปลาจริงๆ ครับ
เคยอ่านเรื่องของท่านอยู่บ้าง เรื่องทำอาหารนี่ บางเมนูผมเพิ่งจะเคยได้ยินจากเรื่องของท่าน

=====================================

ขอนำเรื่องของข้าหลวงในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีมาเล่าบ้างครับ อายุอานามของท่านก็พอพอๆ กับมล. เนื่อง นิลรัตน์เลยครับ (ท่านนี้เกิดในปี 2458 ความจริงน่าจะรุ่นเดียวกับมล. เนื่องนะครับ เพราะคำนวณแล้วได้ 92 ปีเท่ากัน)

ข้าหลวงท่านนี้คืออาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน ท่านได้เป็นถึงศิลปินแห่งชาติด้วยนะครับ

ในวัยเด็ก บิดาของท่านซึ่งสืบเชื้อสายมาจากตระกูลนักดนตรี ได้นำท่านถวายไว้เป็นข้าหลวงเรือนนอกของรัชกาลที่ 6
ต่อมา เมื่อผลัดแผ่นดิน ท่านจึงถวายตัวเป็นข้าหลวงสมเด็จพระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 มีหน้าที่ขับร้องและบรรเลงดนตรีในวงมโหรี

ในรัชกาลปัจจุบัน ท่านเป็นครูดนตรีไทยที่เชี่ยวชาญมาก ท่านได้สอนดนตรีไทยให้กับจุฬาฯ และได้เป็นพระอาจารย์ถวายการสอนให้กับสมเด็จพระเทพฯ ด้วย

ในปี 2530 ท่านจึงได้รับคัดเลือกให้เป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย)


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 11 พ.ค. 07, 15:11

ข้าหลวงในพระนางเจ้าสุวัทนา และสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนฯ ที่ยังมีชีวิตอยู่ อายุเก้าสิบกว่าแล้วเหมือนกัน คือคุณหญิงนิธิวดี อ้นตระการ   
ท่านเป็นน้องสาวของคุณสด กูระมะโรหิต  นักประพันธ์เจ้าของเรื่อง "ปักกิ่ง นครแห่งความหลัง" และ "เมื่อหิมะละลาย"
คุณหญิงนิธิวดีทันเห็นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ   ตอนนั้นท่านเป็นเด็กอายุสิบกว่าขวบ    ความจำท่านยังดี สามารถเล่าเรื่องเก่าๆในวังได้เหมือนเพิ่งเกิดขึ้นไม่นาน
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 19 คำสั่ง