เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 11943 กลอนบทนี้แปลว่าอะไรกันแน่ งง
ราตรีประดับดาว
อสุรผัด
*
ตอบ: 20


 เมื่อ 07 พ.ย. 05, 20:15

 ๑๙.    ชาวแพแห่แง่ค้า ขายของ
แพรพัสตราตาดทอง เทศย้อม
ระลึกศรีสไบกรอง เครือมาศ แม่เฮย
ซัดสอดสองสีห้อม ห่อหุ้มบัวบัง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 08 พ.ย. 05, 07:55

 แผ่แง่ค่ะ ไม่ใช่ แห่แง่
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 08 พ.ย. 05, 09:32

 ดู ค.ห. ที่ 2 ค่ะ
 http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Cid=19&Pid=39004  
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 09 พ.ย. 05, 01:34

 แหม คุณ Nuchan อิอิ ผมก็นึกว่า เคยตอบกันไว้แล้ว พอคลิ๊ก ไปก็ .... อิอิ

จริงๆ สิ่งที่ถามน่าสนใจมากครับ เพราะเป็นโคลงที่ใช้คำเก่าๆ อยู่มาก ผมเองก็ยังไม่แน่ใจในความหมายบ้างคำ

แต่ "วิธีตั้งคำถาม" เลยทำให้ "ไม่น่าสนใจจะตอบ" ครับ

ฝากน้องๆ ที่เข้ามาตั้งคำถามไปคิดกันด้วยนะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 09 พ.ย. 05, 09:43

ดิฉันนึกสนุก ขอลองแปลเป็นภาษาอังกฤษดูนะคะ  
คุณ Hotacunus และคุณ Nuchan
ช่วยตรวจสอบด้วยว่าถูกต้องไหม


The posing raftstraders laid down  their merchandises .
Silk clothes and  gilded brocade ,imported.
Remind me of thy wrap-around shawl of gold-thread embroidery.
Two-colored, two-layered,  wrapped to conceal thy lilylike breast.
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 09 พ.ย. 05, 10:00

 แฮะๆ คุณ Hotacunus ดิฉันขอยืมคำตอบของคุณมาใช้น่ะคะ อันที่จริงนิราศนรินทร์นั้นก็เพราะมาก
แต่สมัยมัธยมไม่มีสอนในโรงเรียน ความจริงวิธีแปลโคลงเก่าๆ ซึ่งใช้ศัพท์เก่าๆที่ไม่คุ้นตา
เราอาจใช้วิธีที่จะกล่าวต่อไปนี้ก็ได้ มันเป็นวิธีที่ดิฉันลองผิดลองถูกกับโคลงภาษาอังกฤษ ที่อ่านแล้วแปลไม่ออกน่ะคะ
บางทีเรานึกถึงความหมายแรก แต่อาจเป็นความหมายที่สาม ที่สี่โน่น

1. ใช้ออนไลน์พจนานุกรม แต่โปรแกรมนี้ไม่ฉลาดเท่าไร เพราะหากคุณสะกดเฉียดไปนิดเดียว
โปรแกรมจะไม่ถามว่า Did you mean...? แต่ปฏิเสธทันที

 http://rirs3.royin.go.th/ridictionary/lookup.html

2. แพรพัสตราตาดทอง เทศย้อม
แพร = ผ้าลื่นๆ
พัสตรา = ผ้าชนิดหนึ่ง
ตาดทอง = ผ้าชนิดหนึ่ง
เทศ = ท้องถิ่น
บรรทัดสุดท้าย ซัด = ห่ม (ความหมายที่สามที่สี่โน่น)

3. จับความหมายมาเรียงกัน น่าจะได้ความสัก 80% ค่ะ
หรือท่านใดมีคำแนะนำที่ดีกว่านี้ไหมคะ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 09 พ.ย. 05, 10:28

 เห็นด้วยทุกอย่างค่ะ แต่มีคำถามว่าคำว่า "เทศ" กาลไหนจึงใช้ความหมายไหนคะ

ความหมายที่ 1 =  ต่างประเทศ เช่น เครื่องเทศ ม้าเทศ
ความหมายที่ 2 = ถิ่นที่, ท้องถิ่น, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 09 พ.ย. 05, 10:54

 ตอบ
ความหมายที่ 1) มักเป็นคำคุณศัพท์ -----> พริกเทศ ม้าเทศ
ความหมายที่ 2) มักเป็นคำนาม ---> เทศาภิบาล  เทศ+อภิบาล

ที่ใช้ว่า "มักเป็น" เพราะภาษาไม่มีอะไรตายตัว 100 %
ความหมายเปลี่ยนไปได้เสมอในแต่ละยุค

อีกอย่างคือดูบริบทค่ะ  
บันทึกการเข้า
astrop
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 09 พ.ย. 05, 18:36

 "ชาวแพแผ่แง่ค้า ขายของ
แพรพัสตราตาดทอง เทศย้อม
ระลึกศรีสไบกรอง เครือมาศ แม่เฮย
ซัดสอดสองสีห้อม ห่อหุ้มบัวบัง"

จากโคลงที่ยกมาอาจถอดเป็นความเรียงได้ว่า
"เมื่อเห็นแม่ค้าบนแพที่ขายผ้าตาดทองซึ่งเป็นผ้าที่ทำขึ้นในท้องถิ่นนั้นก็ชวนให้หวนกระหวัดคิดไปถึงนางอันเป็นที่รักที่มักจะใส่ ผ้าสไบกรองทองซ้อนสองชั้นเพื่อห่มปิดหน้าอกของนาง"

ผ้าตาดทองเป็นผ้าที่สตรีชนชั้นเจ้านายในสมับก่อนนิยมนุ่งห่มกัน โดยมักจะห่มซ้อนเป็นชั้นที่สอง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 09 พ.ย. 05, 19:11

ดิฉันใคร่ขอทราบว่า
๑)เหตุใดคุณจึงถอดความว่า ผ้าตาดทองเป็นผ้าทำขึ้นในท้องถิ่นคะ

๒)ตาด กับ กรองทอง เหมือนกันหรือเปล่า
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 09 พ.ย. 05, 21:10

 ขออนุญาตตอบตามที่เคยรู้เคยเรียนมาซะหน่อยแล้วกันนะครับ แหะๆ
(หลังๆผมหากระทู้แจมไม่ค่อยได้-เพราะความรู้น้อย- ส่วนมากจะได้แต่อ่านอย่างเดียวครับ)

เริ่มจากคำว่าเทศเท่าที่ผมเข้าใจ น่าจะหมายถึง "ฝ้ายเนื้อเทศ" ซึ่งคนไทยรู้จักกันมานานแล้ว เป็นผ้าฝ้ายขาวเนื้อละเอียดซึ่งไม่สามารถผลิตขึ้นได้ในประเทศ ต้องซื้อจากต่างประเทศ ในที่นี้ คำว่า "เทศย้อม" ผมแปลความหมายว่า "ผ้าลาย" หรือที่เรียกกันในภาษาอังกฤษว่า Chintz ซึ่งนำเข้ามาจากประเทศอินเดีย

แพร คือไหมเนื้อละเอียดซึ่งทอเป็นลายอยู่ในเนื้อผ้า ไม่ได้มีลวดลายยกนูนขึ้นเหมือนผ้ายก

ส่วน "ตาด" ไม่ได้จำกัดการเรียกอยู่ที่ผ้าซึ่งสร้างลวดลายด้วยกรรมวิธีใดวิธีหนึ่ง โดยลายของผ้าตาดอาจเกิดจากการปัก ถัก หรือสานก็ได้ ในที่นี้คำว่า "ตาด" น่าจะสอดคล้องกับประเพณี "นุ่งยกห่มตาด" ซึ่งเป็นพระราชนิยมในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

"สไบกรอง" ควรจะหมายถึง "สไบกรองทอง" ซึ่งใช้ไหมทองถักเป็นผ้าผืนโปร่งขึ้นมาห่มทับผ้าสไบแพรชิ้นในอีกทีหนึ่ง

และการ "ห่มสองสี" คือการห่มผ้าสองชั้นได้แก่ผ้าแพรเนื้อละเอียดซึ่งอัดเป็นจีบที่ห่มไว้ด้านใน และใช้ผ้าที่มีส่วนประกอบของโลหะมีค่า เช่น ผ้ากรองทอง ผ้าตาด ห่มทับไว้อีกทีหนึ่งเพื่อไม่ให้ความคมของโลหะสัมผัสผิวของผู้ใช้ผ้า และใช้น้ำหนักของโลหะในผ้าชั้นนอกทับไว้ไม่ให้ผ้าแพรซึ่งเบาและลื่นกว่าเผยอหรือหลุดได้โดยง่าย

เท่าที่พอจะเข้าใจก็มีอยู่เท่านี้ ส่วนเรื่องแปลวรรณคดี ผมมีความเห็นส่วนตัวว่า "ผู้อ่าน" ควรจะ "เตรียมตัวมาอ่าน" เพื่อได้อรรถรสของถ้อยคำที่ผู้ประพันธ์บรรจงเขียนขึ้นมากกว่าที่จะอ่านผ่านๆ บทไหนไม่รู้เรื่องก็ข้ามไป บทไหนอยากรู้(หรือต้องรู้)ก็ถามเอาครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 09 พ.ย. 05, 21:25

 แล้วในที่สุดก็ลืมตอบคำถามอาจารย์เทาชมพูจนได้

ผ้าสารพัดชนิดในโคลงบทนี้เท่าที่ผมทราบ ไม่ได้ผลิตขึ้นใน "สยาม" เลยครับ ตลาดซื้อผ้าของเจ้านายสมัยก่อนก็หนีไม่พ้น จีน-อินเดีย-เขมร เสียส่วนมากแต่ก็อาจมีบ้างที่จะมาจากญี่ปุ่น หรือยุโรปก็เป็นได้ (ตามประสานิสัย "เห่อของนอก" เหมือนคนไทยตาดำหัวดำสมัยนี้ไม่ผิดเพี้ยน) เพราะฉะนั้น ผ้าทั้งหมดในโคลงบทนี้น่าจะเป็นผ้าที่ "นำเข้า" เสียทั้งหมด

ส่วน "กรองทอง" กับ "ตาด" ถึงแม้ว่าการนำมาใช้อาจจะใช้แทนกันได้ในหลายกรณีเช่นการเคี่ยนเอวเป็นผ้าเกี้ยวหรือห่มทับสไบผืนนอกอีกทีหนึ่ง แต่ผ้าทั้งสองชนิดจะสามารถแยกออกจากกันได้โดยง่ายเนื่องจากผ้ากรองทองจะถักขึ้นจากเส้นไหมเงินไหมทองล้วนๆจึงมีลักษณะโปร่ง (เหมือนผ้าลูกไม้) แต่ผ้าตาดจะมีลักษณะทึบกว่า หรืออาจมีผ้าชนิดอื่นเป็นพื้นหลังของด้านโลหะอีกทีหนึ่ง

(ถ้าใครสนใจจะค้นคว้าเพิ่มเติม เข้าชมผ้าโบราณชนิดต่างๆได้ที่ห้องจัดแสดงผ้าในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินะครับ)
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 10 พ.ย. 05, 02:30

 โอ้ วันเดี๋ยวตอบกันหลายกระทู้เลยนะครับ ตกใจหมดเลย  

คุณเทาชมพูแปลได้ครบถ้วนแล้วครับ ผมว่าผมอ่านที่คุณเทาชมพูเข้าใจได้ดีกว่าอ่านภาษาไทยโบราณอีกนะครับ อิอิ เพราะกลอนโบราณ ผู้ที่จะอ่านได้เข้าใจดีต้องมีความคำศัพท์บาลี-สันกฤตดีพอควร ไม่งั้นจะงงได้ว่าแปลว่าอะไร อ่านครั้งแรก ผมยังงงกับคำว่า "บัวบัง" เลยครับ อิอิ ว่ามันเกี่ยวอะไรกับดอกบัว

อธิบายกันหลายท่านแล้วผมขออธิบายอีกแบบแล้วกันนะครับ โดยจะลองใช้วิธีของคุณ Nuchan ด้วยคือ แปลทุกคำเลยแล้วมาดูหน้าที่ของคำว่าเป็นคำนาม หรือคุณศัพท์

ชาวแพแผ่แง่ค้า ขายของ

ชาวแพ = ในที่นี้หมายถึง คนที่อยู่บนแพ ที่กำลังจะขายของ
แผ่แง่ = อันที่จริงผมไม่ค่อยเข้าใจคำนี้เท่าไหร่ ยังไงช่วยแก้ไขด้วยนะครับ ผมเข้าใจว่า แผ่แง่ คือ แผ่ตัว เพราะคำว่า "แง่" เป็นคำโบราณแปลว่า "ตัว" อาจหมายถึง เริ่มออกมา (แผ่) ตั้งร้านของ ตนเอง (แง่)
นอกจากนี้ผมยังจับบรรยากาศของตลาดน้ำได้ จึงเอาเข้ามาเสริมความด้วยเป็นดังนี้ครับ

"พ่อค้าแม่ค้าบนแพริมแม่น้ำ เริ่มออกมาตั้งร้านเพื่อค้าขายกับผู้สัญจรไปมา"  

-------------------------------------


แพรพัสตราตาดทอง เทศย้อม

(เรื่องผ้าๆ คุณติบอ ช่วยตรวจให้หน่อยนะครับ)
แพร คือ ผ้าที่มีเนื้อลื่น เรียบเป็นมัน เนื้อหนาหรือบางก็ได้ เดิมทอด้วยใยไหม ปัจจุบันอาจทอด้วยใยประดิษฐ์ ที่มีลักษณะคล้ายไหม.(พจนานุกรมราชบัณฑิตฯ) ผมเคยได้ยินว่าเป็นผ้าที่มาจาก "จีน"

พัสตรา = พัสตร์ (สันสกฤต = วสฺตฺร; บาลี = วตฺถ)แปลว่า ผ้า, เขียนเป็น พัตร ก็มี. (พจนานุกรมราชบัณฑิตฯ)มีอีกคำคือ "พัสตราภรณ์" แปลว่า ผ้าสำหรับแต่งกาย ก็คือ เสื้อผ้า นั่นเองครับ

ตาด = ชื่อผ้าชนิดหนึ่ง ทอด้วยไหมควบกับเงินแล่ง หรือทองแล่ง จำนวนเท่ากัน, เรียกชื่อตามลักษณะของลาย เช่น ตาดลายคดกริช ตาดตาตั๊กแตน, ถ้ามีไหมปักทับลงไปอีกเป็นดอกๆ เรียกว่า ตาดระกำไหม.

ดังนั้นคำว่า "ตาดทอง" ผมจึงเข้าใจว่า ผ้าทอด้วยไหมควบกับทองแล่ง ทองแล่งก็คือ ทองคำที่เอามาแล่งเป็นเส้นบางๆ ใช้สำหรับปักหรือทอผ้า

แล่ง คือ การรีดออกเป็นเส้นบางๆ

เทศ = ต่างชาติ
ย้อม = ชุบด้วยสี อาบด้วยสี

แต่อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ผมอ่านแล้ว ผมพิจารณาเป็นดังนี้ครับ

ตาด = คำนาม คือผ้าตาด
แพรพัสตรา = คุณศัพท์ ขยายว่า ผ้าตาดเหล่านี้ ทอจากแพรไหม
ทอง = คุณศัพท์ ขยายว่า ผ้าตาดเหล่านี้ มีเส้นทองทอผสมอยู่
เทศ = คุณศัพท์ ขยายว่า ผ้าตาดเหล่านี้ มาจากต่างประเทศ
ย้อม = คุณศัพท์ ขยายว่า ผ้าตาดเหล่านี้ ถูกย้อมเป็นหลายสี

ผมจึงขอแปลว่า

"ผ้าแพรไหมหลายหลากสี ที่ตกแต่งด้วยการทอเส้นทองผสมลงไป (คือ ผ้าตาด?) อันเป็นสินค้าที่มาจากต่างประเทศ"
-----------------------------------------------

ระลึกศรีสไบกรอง เครือมาศ แม่เฮย

ระลึกศรี = คิดถึงนางอันเป็นที่รัก ทำให้ผมนึกถึงคำว่า แม่ "ศรี" เรือน
สไบกรองเครือมาศ = สไบที่ทอด้วยเส้นทอง
กรอง = ทอ
เครือมาศ = เส้นทอง
ดังนั้นจึงขอแปลว่า

"เมื่อได้เห็นผ้าเหล่านั้นแล้ว ทำให้หวนระลึกถึงนางอันเป็นที่รัก ผู้ที่มักจะแต่งกายด้วยผ้าสไบที่ทอด้วยเส้นทอง"
------------------------------------------------


ซัดสอดสองสีห้อม ห่อหุ้มบัวบัง"

ซัดสอดสองสี = ตรงนี้ผมก็ไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ แต่คุณติบอได้อธิบายไว้แล้วว่า เป็นวิธีการนุ่งผ้าที่อัดจีบสอดกัน ส่วนคำว่า "สองสี" คือการห่ม ๒ ชั้น ดังนั้น โคลงบทนี้ จึงพูดถึง ผ้า ๒ ชนิด คือ ผ้าตาด (ซึ่งมีสีอะไรไม่รู้ แต่ไม่ใช่สีทองแ่น่ๆ) กับ ผ้าสไบสีทอง

ห้อมห่อหุ้ม บัวบัง = สวมใส่เพื่อบิดบังปทุมถันของนางไว้
บัว = ปทุมถัน = หน้าอกของสตรี

ดังนั้นผมขอแปลว่า
"ผ้าทั้ง ๒ ชนิดนี้ นางสวมใส่เพื่อบิดบังปทุมถันของนางไว้"
ุ------------------------------------------------

ดังนั้น ตามที่ผมเข้าใจนะครับ จะขอเรียบเรียงใหม่ และเพิ่มเติมเรื่องราวตามความเหมาะสมว่า (ผมไม่เคยอ่านเรื่องนี้นะครับ ถ้าตีความผิดของของอภัยด้วยครับ)

... ข้าพเจ้าได้มาเยือนตลาดน้ำ และพบเห็นพ่อค้าแม่ค้าบนแพ เริ่มออกมาตั้งร้านขายของกันอย่างคึกคัก แต่สินค้าที่สะกิดใจอันอ้างว้างของข้าพเจ้าคือ ผ้าตาดจากต่างประเทศ ที่ทอจากแพรไหม ซึ่งมีหลายหลากสี และตกแต่งด้วยการทอเส้นทองผสมลงไป นั่นเป็นเพราะว่า ผ้าเหล่านี้ เป็นผ้าชนิดเดียวกันกับที่นางอันเป็นที่รักของข้าพเจ้า ใช้สวมใส่ คู่กันกับผ้าสไบที่ทอด้วยเส้นทอง เพื่อบิดบังปทุมถันของนางไว้ ...
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 10 พ.ย. 05, 02:33

 ถ้าตีความผิด "ของของ" อภัยด้วยครับ = พิมพ์ผิดครับ อิอิ

ถ้าตีความผิด "ต้องขอ" อภัยด้วยครับ

หัวคิดอย่าง นิ้วไปอย่าง
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 10 พ.ย. 05, 10:15

 ผ้าในราชอาณาจักรไทย
.
.
สมัยรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. ๒๓๒๕–ปัจจุบัน)  
          ขนบประเพณีการใช้ผ้า การแต่งกายในสมัยนี้ ยังคงดำเนินไปตามแบบอย่างสมัยกรุงศรีอยุธยาเรื่อยมา
ผ้าที่ใช้ในราชสำนักมีหลายชนิด อาทิ ผ้ากรองทอง คือผ้าที่นำเส้นลวดทองหรือไหมทอง
มาถักทอเป็นผืนผ้า นิยมใช้ทำเสื้อครุยของพระมหากษัตริย์ ทำสไบหรือผ้าทรงสะพักสำหรับเจ้านายสตรี
ซึ่งบางครั้งมีการปักปีกแมลงทับหรือปักดิ้นทองเป็นลายก้านแย่ง

ผ้าเขียนทอง คือผ้าลายปกตินำมาเขียนด้วยเส้นสีทองตามขอบลาย ใช้นุ่งเฉพาะสำหรับพระมหากษัตริย์
จนถึงเจ้านายชั้นพระองค์เจ้าโดยกำเนิดเท่านั้น นอกจากนี้ยังมี ผ้าไหม ผ้ายก ผ้าสมปัก
ผ้ายกทองระกำไหม ผ้าใยบัว และผ้าโขมพัสตร์

การเพิ่มความงามให้กับเสื้อผ้าที่ใช้ นอกจากมีการปักไหมเป็นลวดลายต่างๆ แล้ว
ยังมีการปักด้วยทองเทศ ปักด้วยปีกแมลงทับ ซึ่งใช้ปักทั้งบนผ้าทรงสะพัก ผ้าสมรดหรือผ้าคาดเอว
และเชิงสนับเพลาของเจ้านายผู้ชาย ส่วนผ้าของคนทั่วไป มีคุณภาพสีสันและลวดลายอยู่ในเกณฑ์ด้อยกว่า
ตามฐานะที่ประชาชนซื้อหามาได้ เช่น ผ้าตาบัวปอก ผ้าดอกสน ผ้าดอกเทียน ผ้าเล็ดงา ผ้าตามะกล่ำ ผ้าตาสมุก
ส่วนมากเป็นผ้าตาเล็กๆ ไม่มีเชิงหรือสอดดิ้นเงินทองเหมือนผ้าในราชสำนัก
 http://www.sac.or.th/umn/Article/Thai/article10.html  
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.073 วินาที กับ 19 คำสั่ง