ไปดูมาจากเว็บของราชบัณฑิตครับ
คำ : ราพณาสูร ๑
เสียง : ราบ-พะ-นา-สูน
คำตั้ง : ราพณ์
ชนิด : น.
ที่ใช้ : กลอน
ที่มา : (ส. ราวณ + อสุร)
นิยาม : ยักษ์.
--------------------------------------------------------------------------------
คำ : ราพณาสูร ๒
เสียง : ราบ-พะ-นา-สูน
คำตั้ง : ราพณาสูร ๒
ชนิด : ว.
ที่ใช้ : ปาก
ที่มา :
นิยาม : สูญราบ, สูญเสียจนหมดเกลี้ยง.
---------------------
ตรงนี้ไม่เกี่ยวกับราชบัณฑิตนะครับ อิอิ
ราพณะ หรือ ราวณะ เป็นชื่อของ ทศกัณฐ์ ครับ ผมเข้าใจว่า ไทยเรามาแปลงชื่อ ราวณะ ในรามายณะ มาเป็นทศกัณฐ์ในรามเกียรติ์ โดย ทศกัณฐ์ นี้ เป็นฉายาของราวณะครับ แปลว่า "สิบคอ"
กัณฐ์ มาจากคำเขมรว่า "กรฺฐ" ซึ่งแปลว่า "คอ"
ดังนั้น ทศกัณฐ์ ไม่ได้แปลว่า มีสิบหน้านะครับ แต่แปลว่ามีสิบคอ สิบหน้าต้อง ทศพักตร์ ครับ
อสูร ก็คือ ยักษ์ หรือ พวกชั่วร้าย เป็นฝ่ายอธรรม และอยู่ตรงข้ามกับพวกเทวดา
ดังนั้น ราพณาอสูร จึงเป็นคำสนธิ แปลว่า ยักษ์ผู้มีนามว่า "ราวณะ" ก็หมายถึง ทศกัณฐ์ นั่นเอง
แต่ทำไม จึงมีความหมายว่า ราบคราบ หรือ สูญราบ ด้วย

ตรงนี้ผมเข้าใจว่า "เป็นการเล่นคำ" ของคนโบราณมั้งครับ คือ ตั้งใจเล่นคำว่า "ราบ" กับคำว่า "สูญ"
ในคำว่า "ราพณาสูร" จะสังเกตได้ว่ามีคำซ้ำเสียง ๒ คำ คือ "ราพ = ราบ" กับ "สูร = สูญ"
ตรงนี้ก็เป็นการสะท้อนให้เห็นว่า สังคมไทยสมัยก่อนมีความผูกพันกับวรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์มาก ขนาดชื่อของยักษ์ ยังหยิบเอามาใช้พูดกันในชีวิตประจำวันได้