เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 17171 ในสมัยรัชกาล 5 มีการพระราชทานนามสกุลมากน้อยเพียงใดคะ
ไพรสินธ์ฯ
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 15 ก.ค. 15, 18:38

ทันทีที่พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวนั้นประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ได้มีผู้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้ราชทินนามเป็นนามสกุลในครั้งแร
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 15 ก.ค. 15, 18:43

ทันทีที่พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวนั้นประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ได้มีผู้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้ราชทินนามเป็นนามสกุลในครั้งแรก จำนวน 10 คนดังนี้

จอมพล หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขิตตะสังคะ) ขอใช้นามสกุล พิบูลสงคราม
พลตำรวจตรี หลวงอดุลเดชจรัส (อดุล พึ่งพระคุณ) ขอใช้นามสกุล อดุลเดชจรัส
นาวาเอก หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (ถวัลย์ ธารีสวัสดิ์) ขอใช้นามสกุล ธำรงนาวาสวัสดิ์
พันเอก หลวงเชวงศักดิ์สงคราม (ช่วง ขวัญเชิด) ขอใช้นามสกุล เชวงศักดิ์สงคราม
พลโท หลวงพรหมโยธี (มังกร ผลโยธิน) ขอใช้นามสกุล พรหมโยธี
พลอากาศตรี พระเวชยันตรังสฤษฏ์ (มุนี มหาสันทนะ) ขอใช้นามสกุล เวชยันตรังสฤษฏ์
นายพันเอก พระบริภัณฑ์ยุทธกิจ (เภา เพียรเลิศ) ขอใช้นามสกุล บริภัณฑ์ยุทธกิจ
นายพลตรี หลวงเสรีเริงฤทธิ์ (จรูญ รัตนกุล) ขอใช้นามสกุล เสรีเริงฤทธิ์
หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วัฒนปฤดา) ขอใช้นามสกุล วิจิตรวาทการ
ขุนสมาหารหิตะคดี (โป-ระ โปรคุปต์) ขอใช้นามสกุล สมาหาร

ความหมายคือ   ทันที............../   นั่นแสดงว่ามีอยู่ก่อนแล้ว.

พระราชบัญญัติฉบับนั้นคือ พระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. ๒๔๘๔

และที่มีอยู่ก่อนนั้นคือ "ราชทินนาม"  แล้วจึงมาขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้เป็นนามสกุลในภายหลัง ซึ่งไม่ถือเป็นนามสกุลพระราชทานดังที่ คุณวิกกี้ ทำให้คนอ่านสับสน โดยจัดให้อยู่ในหัวข้อเดียวกัน
บันทึกการเข้า
ไพรสินธ์ฯ
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 15 ก.ค. 15, 22:28



อาจจะคนละฉบับ    เพราะ  จอมพลแปลกฯ   เกิดเมื่อ  14  กค. 2440      พ.รบ.  ร.6  ประกาศใช้ 2458     ตอนนั้  นายแปลก  เป็นนักเรียนนายร้อย    แต่ว่าตอนนั้เขาใช้นามสกุล  อะไร ?   อาจจะเป็น  แปลก ขิตตะสังคะ    นั่นคือความน่าสงสัย   ว่า  ยุค.ร.5  มีนามสกุลใช้หรือยัง   แต่อาจจะไม่เป็นทางการ   อาจจะเป็นปลายยุค    .
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 15 ก.ค. 15, 23:28

ขิตตะสังคะ (Khittasanga) เป็นนามสกุลที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯพระราชทานเป็นนามสกุลที่ ๖๐๕๔ แก่นายร้อยโทปริก ประจำกรมทหารราบที่ ๓ กับนายขีดบิดา ณ วันที่ ๒ มกราคม ๒๔๖๔

นายขีด คือบิดาของจอมพลแปลก
บันทึกการเข้า
ไพรสินธ์ฯ
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 16 ก.ค. 15, 00:31

ขอบคุณมากครับ.
บันทึกการเข้า
ไพรสินธ์ฯ
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 16 ก.ค. 15, 00:36

ขอถามอีกข้อครับ    ไปดูที่ไหนได้ครับ   คือ  มีคนบอกว่านามสกุล  "ทองประเสริฐ"เป็นนามสกุล  พระราชทาน   แก่ช่างทองที่เป็นชาวจีนโพ้นทะเล   เห็นบอกว่าเป็นมหาดเล็กในยุค ร.5   คือสงสัยว่าจริงไหมเลยอยากทราบว่ามีหลักฐานหรือเปล่า.
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 16 ก.ค. 15, 06:57

ผมหมายถึงว่าใช้เป็นนามสกุลฤๅใช้เทียบเท่านามสกุล

ก็น่าจะมีมาตั้งแต่ ร.5แล้ว

และอยากทราบว่า นายพุ่ม (พุ่มสกี้) ที่ไปเรียนที่รัสเซียพร้อมทูลหม่อมจักรพงษ์ ใช้คำท้ายชื่อตัวว่าอะไร ในเกิดวังปารุสก์มีบอกไว้ฤๅไม่เพราะจำไม่ได้แล้ว แต่คล้ายกับว่าจะเรียนดีจนมีชื่อสลักไว้ที่นู่นเลยใช่ฤๅไม่ และสลักชื่อของนายพุ่มไว้อย่างไรครับ
"เกิดวังปารุสก์" เขียนเรื่องราวของนายพุ่มไว้ยาวพอสมควรโดยไม่เอ่ยถึงนามสกุลเลย แต่พระองค์จุลทรงกล่าวเรื่องเดียวกันนี้ใน "แคทยา และเจ้าฟ้าสยาม" โดยมีบรรยายภาพๆหนึ่งว่า นายพุ่ม สาคร กับเล่าว่านายพุ่มมิได้ตามเสด็จกลับเมืองไทย และได้เปลี่ยนศาสนาไปเป็นคริสต์โดยมีพระเจ้าซาร์เป็นบิดาบุญธรรม จึงใช้ชื่อ(Cristian name)ว่านิโคลัส แต่ไม่กล่าวถึงเรื่องนี้อีกเลย แม้ตอนท้ายหนังสือจะมีเรื่องนายพุ่มอีกพอสมควรจนนายพุ่มถึงแก่กรรม ก็มิได้เอยถึงนามสกุลใดๆของนายพุ่ม

ผมจึงคิดว่า สาคร คือนามสกุลที่ครอบครัวนายพุ่มใช้ภายหลังที่มีพระราชบัญญัตินามสกุลออกมาบังคับใช้แล้ว เช่นเดียวกับอีกหลายท่านที่หนังสือเล่มเดียวกันอ้างถึงโดยใส่นามสกุลให้ด้วย ปรากฏว่าเป็นนามสกุลพระราชทานในรัชกาลที่ ๖ ทั้งสิ่น ส่วนตัวนายพุ่มเอง หลังตัดสินใจอยู่ในรัสเซียแล้วอาจใช้นามว่า นิโคลัส พุ่มสกี้ก็ได้ เพราะพุ่มสกี้เป็นชื่อที่่คนคุ้นแต่แรกแล้ว ฝรั่งมักเรียกบุคคลโดยชื่อสกุลเป็นส่วนใหญ่ นอกจากสนิทกันจริงๆเท่่านั้นจึงจะใช้ชื่อหน้า
จะเหมาว่าเป็นนามสกุลที่คนไทยใช้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ผมก็ไม่ว่ากระไร
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 16 ก.ค. 15, 07:33

ก่อนมีนามสกุล ความจริงท่านอาจารย์เทาชมพูก็ได้อธิบายให้ชัดเจนแล้ว ผมอยากจะเสริมนิดหนึ่งว่า ในวัฒนธรรมของชาติที่ไม่ใช้นามสกุล(Family name) เช่นคนมุสลิม จะใช้ชื่อบิดามาต่อท้าย ฝรั่งซึ่งคุ้นกับชื่อคนที่อย่างน้อยต้องมีสองพยางค์ ขื่อชื่อตัวและชื่อสกุล เห็นชื่อคนมุสลิมก็ไม่รู้สึกแปลก แต่เรียกชื่อเขาผิดๆเสมอ อย่างเช่น บิน ลาเด็น ความจริงเขาคืออุซามะฮ์ บุตรของลาเด็น (มีนักมวยมุสลิมดังในอดีต ชื่ออุสมาน ศรแดง อ่านว่าอุด-สะ-หมาน ความจริงก็ซื่อเดียวกันนี้)

ฝรั่งที่รู้หลักการนี้ เมื่อคนไทย เขมร ลาวไปเมืองของเขาใหม่ๆ มีแต่ชื่อตัว เขาก็เติมชื่อบิดาให้ ตัวอย่างคนไทยสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งผมเคยเห็นชื่อที่คนอังกฤษเขียนอ้างถึงก็คือ "Sam-ang Modh" หรือสำอางค์ โหมด คือชื่อสำอางค์ บุตรของนายโหมด เขมรลาวก็เจอคนฝรั่งเศสเปลี่ยนให้ตั้งแต่เป็นเมืองขึ้น มาถึงสมัยนี้ คนลาวเปลี่ยนมาใช้ชื่อนามสกุลแบบสากลแล้ว เขมรยังไม่ยอมเปลี่ยนอยู่เลย

ชื่อคนไทยสมัยโน้นอีกท่านหนึ่งที่ผ่านสายตาผมก็คือ Pho Xai ฝรั่งคงอ่านว่า โฟ ไซ แล้วก็จบๆผ่านๆไป แต่คนไทยเข้าใจ ฝรั่งผู้สัมภาษณ์ได้ถามท่านบิดาว่าลูกคนนี้น่ะ ชื่ออะไร บิดาตอบว่า "พ่อชาย" คือลูกท่านชื่อชาย เรียกให้ดูดีก็ต้องเรียกพ่อชาย ฝรั่งคนนั้นได้ฟังครบสองพยางค์ก็จบคำถาม เอาไปเขียนต่อได้เลย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 16 ก.ค. 15, 09:29

รายชื่อนามสกุลพระราชทานในสมัยรัชกาลที่ ๖
https://sites.google.com/site/thailandsurname/

ดิฉันเข้าใจว่าคุณไพรสินธ์กำลังหาว่านามสกุลทองประเสริฐ ถ้าไม่ใช่นามสกุลพระราชทานในสมัยรัชกาลที่ ๖   ก็น่าจะย้อนกลับไปเป็นนามสกุลสมัยรัชกาลที่ ๕ เพราะท่านผู้เป็นต้นนามสกุลนั้นเป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ ๕   
ความจริง  นามสกุลทองประเสริฐเป็นนามสกุลพระราชทานหรือไม่ก็ตาม เป็นประเด็นหนึ่ง   แต่นามสกุลนี้(พระราชทาน หรือไม่ได้รับพระราชทานก็ตาม) มีมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ ใช่ไหม  เป็นอีกประเด็นหนึ่ง
คำตอบคือสมัยรัชกาลที่ ๕ คนไทยยังไม่มีนามสกุล     ท่านผู้เป็นต้นสกุลทองประเสริฐจะใช้นามสกุลนี้อยู่โดดๆคนเดียว ย่อมเป็นไปไม่ได้    และไม่อาจเป็นนามสกุลพระราชทานในรัชกาลที่ ๕  ด้วยเหตุผลเดียวกัน คือในเมื่อคนไทยยังไม่มีนามสกุล พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ก็ย่อมไม่พระราชทานให้ผู้ใดอยู่ดี
ส่วนความสับสนเรื่องราชทินนามที่คุณเข้าใจว่าเป็นนามสกุลเดิมก่อนนามสกุลพระราชทานนั้น    คุณ NAVARAT.C ได้อธิบายให้ทราบแล้วค่ะ

จากหลักฐานนามสกุลพระราชทาน และมีอีกเล็กน้อยที่ตกค้างอยู่ มาพระราชทานในรัชกาลที่ ๗ (มีอยู่ในกระทู้เก่า) ไม่มีนามสกุลทองพระเสริฐ ค่ะ   
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 16 ก.ค. 15, 10:00

คือว่า การหานามสกุลก่อนหน้าการมีพระราชบัญญัตินามสกุลนั้น ไม่ต้องไปหา เพราะภาษาไทยยังไม่ได้บัญญัติคำนี้ คนไทยไม่มีใครรู้จักนามสกุลว่าคืออะไร จะมีไปทำไม เพื่อประโยชน์อันใด จึงไม่มีใครมีหรอกครับ

ส่วนนามสกุลบุคคลไม่จำเป็นว่าต้องได้รับพระราชทาน ใครๆก็ไปขอจดทะเบียนได้ที่อำเภอ คิดเองไม่เป็นก็ให้นายอำเภอคิดให้ตั้งให้ นามสกุลเหล่านี้จึงมีโอกาสสูงที่จะซ้ำๆกันบ้าง และยากมากชนิดที่เรียกว่าเป็นไปไม่ได้เลยที่จะไปค้นเอกสารว่านามสกุล(ที่ไม่มีในทะเบียนนามสกุลพระราชทาน หรือประทานโดยเจ้านายพระองค์ใด)ใครเป็นผู้ตั้งให้ และตั้งให้แก่ใคร

ถ้าปู่ย่าตายายไม่ได้บอกลูกบอกหลานไว้ เป็นอันจบ หมดหวังครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 16 ก.ค. 15, 10:15

ขอถามอีกข้อครับ    ไปดูที่ไหนได้ครับ   คือ  มีคนบอกว่านามสกุล  "ทองประเสริฐ"เป็นนามสกุล  พระราชทาน   แก่ช่างทองที่เป็นชาวจีนโพ้นทะเล   เห็นบอกว่าเป็นมหาดเล็กในยุค ร.5   คือสงสัยว่าจริงไหมเลยอยากทราบว่ามีหลักฐานหรือเปล่า.

ท่านราชบัณฑิตจำนงค์ ทองประเสริฐ อาจจะรู้บ้างกระมังว่า นามสกุลนี้เป็นนามสกุลพระราชทานหรือเปล่า ต้นสกุลเป็นช่างทองชาวจีนโพ้นทะเลใช่ไหม
ถ้าหากว่าเป็นคนละนามสกุล  ซ้ำกันเฉยๆ ไม่ได้เป็นญาติกัน ก็พอจะเชื่อได้ว่าไม่ใช่นามสกุลพระราชทาน
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 16 ก.ค. 15, 10:15

ขอบพระคุณท่านอาจารย์เทาชมพู และท่าน Navarat C. ที่กรุณาสรุปคำถามและตอบชี้แจงไปบ้างแล้ว

ก่อนที่รัชกาลที่ ๖ จะโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชบัญญัติขนานนามสกุลใน พ.ศ. ๒๔๕๖ นั้น  คนไทยยังไม่มีนามสกุลเลยแม้แต่คนเดียว  ส่วนที่คุณไพรสิยธ์ฯ อ้างว่า สกุลทองประเสริฐเป็นนามสกุลที่มีมาแต่รัชกาลที่ ๕ นั้นก็คงจะเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของคนในยุคหลัง  เพราะเมื่อครั้งมีการขอพระราชทานนามสกุลในสมัยรัชกาลที่ ๖ นั้น  ผู้ขอพระราชทานจะต้องส่งบัญชีเครือญาตที่ลำดับย้อนขึ้นไปถึงบิดา ปู่ และปู่ทวด ว่าเป็นใครมาจากไหนทำอาชีพอะไรไปพร้อมกับคำขอพระราชทานนามสกุล  เมื่อพระราชทานนามสกุลลงมาแล้วบรรดาเครือญาติตามบัญชีดังกล่าวที่นังมีชีวิตอยู่ในเวลานั้นก็มาใช้นามสกุลที่ได้รับพระราชทานร่วมกัน  ช่นเดียวกันในกรณีที่เป็นผู้ที่มิได้รับพระราชทานนามสกุลเมื่อไปยื่นคำขอจดทะเบียนนามสกุลกับเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองในท้องที่ก็ต้องยื่นบัญชีเครือญาติที่จะร่วมใช้นามสกุลเดียวกัน  จึงทำให้มีการอ้างชื่อและนามสกุลบุคคลย้อนหลังกันขึ้นไปถึงครั้งกรุงธนบุรีหรือปลายกรุงศรีอยุธยากันได้  เพราะมีการสืบค้นและอ้างอิงบุคคลในสายสกุลต่อๆ กันมา  ในการยื่นบัญชีเครือญาติดังกล่าวนี้เมื่อตรวจสอบพบว่า มีการขอพระราชทานนามสกุลซ้ำซ้อนกัน  ก็จะโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ขอมาภายหลังไปใช้ชื่อสกุลเดียวกับผู้ขอมาก่อนหน้านั้น  แต่ก็มีบ้างที่แม้จะเป็ยญาติกันแต่เมื่อทรงเห็นว่า ควรจะยกย่องเครือญาติที่แตกสายโลหิตออกไปให้ปรากฏเกียรติยศเป็นพิเศษ  ก็จะพระราชทานนามสกุลแยกออกไป เช่น ผู้สืบเชื้อสายลงมาจากเจ้าคุณชูโค  ที่พระราชทานนามสกุลให้ทั้ง ชูโต  แสง - ชูโต  สวัสดิ์ - ชูโต ดังนี้เป็นต้น

ส่วนที่เห็นราชทินนามต่อท้ายชื่อบุคคลคล้ายเป็นนามสกุลในช่วงก่อนมีนามสกุลใช้ในรัชกาลที่ ๖ เรื่อยมาจนถึงยุคก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น  มองได้เป็น ๒ กรณีดังท่าน Navarat C. กล่าวไว้ข้างต้น คือ เป็นการเรียกชื่อบุคคลโดยต่อท้ายด้วยนามบิดาเหมือนการออกชื่อชาวมุสลิมที่ใช้นามบิดามาต่อท้ายชื่อตัว  เพื่อใจำแนกแยกแยะห้รู้ว่าบุคคลนั้นเป็นบุตรของท่านผู้ใด  แต่อีกกรณีหนึ่งนั้น  ท่านที่ใช้ชื่อและต่อท้ายต่อด้วยบางส่วนของราชทินนาม  มักจะเป็นผู้ต้องรับพระราชอาญาถอดจากยศบรรดาศักดิ์  ซึ่งเมื่อยังคงอยู่ในยศบรรดาศักดิ์นั้นคงจะเป็นที่นับหน้าถือตาของผู้คน  เมื่อถูกถอดจากยศบรรดาศักดิ์แล้ว  จึงนิยมระบุตัวให้รู้ว่าเป็นคนไหนให้ชัดเจน เช่น นายเทียม ไกรสีห์ เดิมมีบรรดาศักดิ์เป็นขุนหลวงพระยาไกรสีห์ อธิบดีศาลต่างประเทศ  เมื่อต้องพระราชอาญา ก็เปลี่ยนมาเรียกกันว่า นายเทียมซึ่งเป็นนามเดิม แล้วต่อท้ายด้วยราชทินนาม  หรือนายเพ่ง ศรีสรรักษ์  เดิมก็เป็นหัวหมื่นมหาดเล็กที่เจ้าหมื่นศรีสรรักษ์  เมื่อถูกถอดแล้วจึงกลับไปเป็นนายเพ่ง  แล้วด่อท้ายด้วยศรีสรรักษ์ซึ่งเป็นราชทินนามเดิม  เมื่อมีนามกุลใช้แล้วความนิยมเรียกชื่อเดิมของบุคคลที่ต้องพระราชอาญาแล้วต่อท้ายด้วยราชทินนามก็เริ่มเสื่อมความนิยมลง  โดยหันไปใช้ชื่อตัวและนามสกุลจริงแทน  เช่นรายพระยานนทิเสนสุเรนทรภักดีที่ต้องคดีทุจริตออกลอตเตอรี่เสือป่าจนถ้องรับพระราชอาญาจำคุกนั้น  เมื่อถูกถอดจากยศบรรดาศักด์ก็กลับไปเรียกชื่อตัวและสกุลจริงว่า นายแม๊ก  เศียนเสวี ดังนี้เป็นต้น

ส่วนสกุลทองประเสริฐนั้นตรวจดูในสารบบทะเยียนนามสกุลที่รัชกาลที่ ๖ พระราชทานไว้  รวมทั้งที่รัชกาลที่ ๗ พระราชทานก็ไม่ปรากฏนามสกุลนี้ว่าเป็นนามสกุลพระราชทาน  แต่จะเป็นกรณีขอใช้ราชทินนามเป็นสกุลหรือไม่นั้นไม่ทราบ  และถ้าอยากทราบที่มาของนามสกุลดังกล่าวก็น่าจะเรียนถามจากท่านอาจารย์จำนงต์  ทองประเสริฐ ราชยัณฑิต ผู้สืบสายสกุลนี้น่าจะให้ความกระจ่างได้ดักว่าครับ
บันทึกการเข้า
ไพรสินธ์ฯ
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 16 ก.ค. 15, 10:48

ขอบคุณมากครับที่อธิบายอย่างละเอียด    ก็จะได้เป็นที่เข้าใจกันได้้ในกลุ่มผู้ใช้นามสกุลนี้ว่าไม่มีหลักฐานให้เป็นที่ประจักษ์     ตามที่มีการเล่าขานกันมามากว่านามสกุลนี้มาจาก  มหาดเล็กในสมัย ร.5    แต่ก็ยังมีผู้ให้ความเห็นว่า   กรมหลวงชุมพรเป็นผู้ตั้งให้อีกอาจจะเป็นอย่างนั้นก็ได้     การแสวงหาข้อเท็จจริงก็เพื่อว่าจะได้เป็นข้อยุติ      และจะได้แสวงหาข้อเท็จจริงว่าแล้วความจริงมันเป็นอย่างไรต่อไป   ใครเป็นต้นตระกูลคนแรก     แต่ตอนนี้เราทราบแต่ว่า     แพร่หลายในกลุ่มคนจีน    และมีหลายแซ่.

ความจริงไม่รู้จัก อ.จำนงค์ฯ  เป็เ็นการส่วนตัวแต่ก็คงเป็นช่องทางหนึ่งที่จะให้เรื่องนี้กระจ่างออกมา.    เราจะได้บันทึกเป็นนหลักฐานไว้ว่า  "ทองประเสริฐ"มีความเป็นมาอย่างไร.?

ขอบคุณมากครับที่ทำให้เกิดกระจ่าง.

ผม  นาย ไพรสินธ์  ทองประเสริฐ

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.14 วินาที กับ 20 คำสั่ง