เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 17188 ในสมัยรัชกาล 5 มีการพระราชทานนามสกุลมากน้อยเพียงใดคะ
อุษณี
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


 เมื่อ 29 ต.ค. 05, 07:14

 อยากทราบว่าในสมัยรัชกาลที่ 5 .. มีการพระราชทานนามสกุลบ้างรึเปล่า
และพระราชทานให้มากน้อยเพียงใด....
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 29 ต.ค. 05, 07:32

 ในรัชกาลที่ ๕  ไม่มีการพระราชทานนามสกุล
นามสกุลเริ่มมีในรัชกาลที่ ๖ ค่ะ
บันทึกการเข้า
อุษณี
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 29 ต.ค. 05, 16:05

 ขอบคุณมากค่ะคุณเทาชมพู

แต่เคยได้ยินหลายคนพูดถึงนามสกุลในสมัยรัชกาลที่ 5
ว่าบางสกุลมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 และพระองค์ทรงตั้งให้ .. จึงเกิดความสับสนค่ะ  .. ว่านามสกุลในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น..มีบ้างรึเปล่า..กำลังหาข้อมูลอยู่ค่ะ .. ใครทราบข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาบอกด้วยนะคะ .. ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 29 ต.ค. 05, 16:28

ดิฉันยังไม่เคยได้ยินว่าประชาชนไทยคนใดมีนามสกุลพระราชทานล่วงหน้ามาตั้งแต่รัชกาลที่ ๕  
ขอถามว่า "หลายคน" ที่ว่านั้นระบุหรือเปล่าว่านามสกุลสมัยรัชกาลที่ ๕  ที่เขาพูดถึง คือนามสกุลอะไรบ้าง
เผื่อจะสืบถามที่มาได้ค่ะ

ถ้าหากว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"ทรงตั้งให้" จริง บุคคลนั้นก็ต้องอยู่ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ หรือไม่ก็เป็นขุนนางข้าบริพารสำคัญ  มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก
ถ้าคุณอุษณีบอกนามสกุลมา หรือทำลิ้งค์ให้ไปถึงเว็บที่เอ่ยถึงเรื่องนี้   ผู้รู้ในที่นี้ไม่ท่านใดท่านหนึ่งคงจะแกะรอยถึงที่มาของสกุลนั้นได้ไม่ยาก
คุณ V_Mee ก็เคยรวบรวมนามสกุลพระราชทานไว้ คงจะช่วยคุณได้

ดิฉันทราบแต่ว่าการกำหนดให้คนไทยมีนามสกุล  เป็นพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  
ก่อนหน้านี้คนไทยไม่มีนามสกุล และก็ไม่มีแซ่อย่างคนจีน

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา "พระราชบัญญัติขนานนามสกุล" เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๕ โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ แต่ได้เลื่อนเวลาบังคับใช้ออกไปอีก ๒ คราว เป็นวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๗ และบังคับใช้เป็นกฎหมายโดยสมบูรณ์เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๘

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุล ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๖  

นามสกุลที่ได้รับพระราชทานครั้งแรก ๕ สกุล คือ

๑) สุขุม พระราชทาน เจ้าพระยายมราช เสนาบดีกระทรวงนครบาล

๒) มาลากุล พระราชทาน พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ (ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี) เสนาบดีกระทรวงธรรมการ กับ พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร (ต่อมาได้รับ พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยาธรรมาธิการณาธิบดี) เสนาบดีกระทรวงวัง


๓) พึ่งบุญ พระราชทาน พระยาประสิทธิ์ศุภการ (ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยารามราฆพ) จางวางมหาดเล็กห้องพระบรรทม

๔) ณ มหาไชย พระราชทาน พระยาเทพทวาราวดี (ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาบำเรอบริรักษ์) อธิบดีกรมมหาดเล็ก

๕) ไกรฤกษ์ พระราชทาน พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ อธิบดีกรมชาวที่ และ พระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ (ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยามหิธร) กรรมการศาลฎีกา

นามสกุลสุดท้ายที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน คือ ตันตริยานนท์ พระราชทานแก่ นายประดิษฐ์ ผู้ช่วยนายเวรกรมบาญชีกลาง กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ปู่ชื่อตันก๊กเหลียง บิดาชื่อตันเต็งหยง เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๘

อ่านเพิ่มเติมได้ที่
 http://www.amed.go.th/AboutUs/palace/sur_given.htm
บันทึกการเข้า
อุษณี
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 29 ต.ค. 05, 16:36

 ขอบคุณมากค่ะ
บันทึกการเข้า
อุษณี
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 29 ต.ค. 05, 17:42

 หนูอาจจะตั้งคำถามที่ผิดค่ะ (อันนี้ต้องขอโทษด้วยค่ะ)
เพราะการพระราชทานนามสกุล และการประกาศเป็นพระราชบัญญัตินามสกุลนี้ มีในสมัยรัชกาลที่ 6...

แต่คำถามจริงๆ ที่หนูควรถามคือ... ในสมัยรัชกาลที่ 5 .. มีการใช้นามสกุลกันบ้างแล้วรึเปล่าคะ

(อย่าเพิ่งเบื่อหนูนะคะอาจารย์..ขอบคุณมากค่ะ)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 29 ต.ค. 05, 18:21

 มันก็มีกรณีหายาก  ในรัชกาลที่ ๕ ไม่ทราบว่าคุณหมายถึงเรื่องนี้หรือเปล่า

ในรัชกาลที่ ๕ คนไทยทั่วไปยังไม่มีนามสกุล  แต่ยุคนี้ มีนักเรียนไทยไปเรียนต่อต่างประเทศกันแล้ว
ในตอนเข้าประเทศอังกฤษ หรือประเทศตะวันตกอื่นๆ ต้องแจ้งชื่อและนามสกุล ตอนนั้นคนไทยมีแต่ชื่อ  ยังไม่มีนามสกุล
ในเมื่อต้องหาอะไรสักอย่างเป็นนามสกุลให้กรอกในแบบฟอร์ม  บางคนก็ใช้ชื่อบิดาบอกเป็นนามสกุลตัวเอง แก้ขัดไปก่อนก็มี

ถ้าเป็นกรณีนี้ จะถือว่ามีนามสกุลแล้วก็ได้ แต่เป็นนามสกุลเฉพาะกิจค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 01 พ.ย. 05, 08:46

 ถ้าคุณอุษณี หาข้อมูลนามสกุลในรัชกาลที่ 5 เจอ
ขอเชิญมาเล่าสู่กันฟังบ้างนะคะ

ดิฉันรู้สึกว่าคุณเชื่อมั่นเอามากๆ ว่านามสกุลในรัชกาลที่ 5 นั้นมีจริง
ใครเป็นคนเล่าให้คุณฟัง ก็ไม่ทราบ แต่คงเป็นบุคคลที่คุณเชื่อถือมาก
ดิฉันจึงอยากทราบเป็นความรู้ใหม่  
บันทึกการเข้า
มีนา
อสุรผัด
*
ตอบ: 26


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 12 พ.ย. 05, 13:41

 หม่อมแคธริน ณ พิศนุโลก
เป็นชื่อที่ใช้ในสมัย ร.5 ใช่ฤๅเปล่า
ตอนที่มีข่าวลือเข้าพระกรรณ ร.5 ว่าสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ ทรงมีหม่อมมาแต่รัสเซีย
อย่างนี้ถือว่า ณ พิศนุโลกเป็นนามสกุลฤๅไม่
และก็มีตอนที่สมเด็จพระราชชนก (สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหิดลฯ) ทรงศึกษาอยู่ที่ต่างประเทศ ก็ทรงใช้พระนามว่า Prince Mahidol Songkhla (มหิดล สงขลา) อย่างนี้ก็ถือว่า สงขลาเป็นนามสกุล หรือใช้อย่างนามสกุลฤๅไม่
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 13 พ.ย. 05, 08:27

นี่คือความเห็นของดิฉัน

หม่อมคัทริน ใช้ว่า มาดาม เดอ พิษณุโลก  คำหลังเป็นส่วนหนึ่งของพระนามทรงกรมของเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลก
บอกให้รู้ว่าเป็นหม่อมของท่าน
ใช้ทำนองเดียวกับ ดัชเชส ออฟ เค้นท์  เป็นภรรยาของดยุคออฟเค้นท์  
ก็ไม่ถือว่าเค้นท์เป็นนามสกุล

กรณีสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร ทรงใช้ "สงขลา" จากพระนามทรงกรม    ตอบไว้แล้วใน ค.ห. ๖ ว่าเป็นเฉพาะกิจ

ถ้าหากว่าทั้งสองชื่อนี้ถือเป็นนามสกุลที่มีมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๕  ก็คงไม่มีพระนามราชสกุล "จักรพงษ์" และ" มหิดล" พระราชทานซ้ำออกมาอีก
บันทึกการเข้า
มีนา
อสุรผัด
*
ตอบ: 26


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 14 พ.ย. 05, 15:12

 ผมหมายถึงว่าใช้เป็นนามสกุลฤๅใช้เทียบเท่านามสกุล
ก็น่าจะมีมาตั้งแต่ ร.5แล้ว
และอยากทราบว่า นายพุ่ม (พุ่มสกี้) ที่ไปเรียนที่รัสเซียพร้อมทูลหม่อมจักรพงษ์ ใช้คำท้ายชื่อตัวว่าอะไร ในเกิดวังปารุสก์มีบอกไว้ฤๅไม่เพราะจำไม่ได้แล้ว แต่คล้ายกับว่าจะเรียนดีจนมีชื่อสลักไว้ที่นู่นเลยใช่ฤๅไม่ และสลักชื่อของนายพุ่มไว้อย่างไรครับ
บันทึกการเข้า
ไพรสินธ์ฯ
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 15 ก.ค. 15, 14:29

ผมก็กำลังค้นหาที่มาของนามสกุล "ทองประเสริฐ"   เคยอ่านพบว่า  เป็นมหาดเล็กในสมัย ร.5   เป็นชาวจีนโพ้นทะเล    และเป็นช่างทอง
ในสมัยร.5  จะมีการใช้นามสกุลหรือไม่   แต่มีหลักฐานว่า
   พรบ.นามสกล  มีขึ้นในสมัย ร.6     แต่การใช้นามสกุลมีมาก่อนนั้น.....เช่น/จอมพล หลวงพิบูลสงคราม   (แปลก ขิตตะสังคะ) ขอใช้นามสกุล พิบูลสงคราม
พลตำรวจตรี หลวงอดุลเดชจรัส   (อดุล พึ่งพระคุณ) ขอใช้นามสกุล อดุลเดชจรัส
นาวาเอก หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (ถวัลย์ ธารีสวัสดิ์) ขอใช้นามสกุล ธำรงนาวาสวัสดิ์


จากการประเมิน  อายุ  นามสกุล "ทองประเสริฐ"   จากหมอสมหมายฯ    (ท่านเสียแล้ว)  แต่ถ้ายังมีชีวิตอยู่น่าจะประมาณ  96ปี   และท่านยังมีพี่ชาย ใช้นามสกุล "ทองประเสริฐ"   นั่นหมายความว่าพ่อท่านก็น่าจะใช้นามสกุล "ทองประเสริฐ"   ถ้าประเมินดูแล้วน่าจะเกิน110ปี   ยุคของ ร.6  ถึงปัจจุบัน   106ปี   จึงน่าจะอยู่ในยุค ร.5   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 15 ก.ค. 15, 14:42

รอคุณ V_Mee เข้ามาตอบน่าจะได้คำตอบถูกต้อง

ึุคุณเข้าใจผิดเรื่องการใช้ราชทินนามเป็นนามสกุล   ท่านทั้งสามที่ว่า มาใช้ราชทินนามแทนนามสกุลเดิม หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475   ไม่ใช่ว่าใช้มาก่อนรัชกาลที่ 6 ค่ะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 15 ก.ค. 15, 15:13

   พรบ.นามสกล  มีขึ้นในสมัย ร.6     แต่การใช้นามสกุลมีมาก่อนนั้น.....เช่น/จอมพล หลวงพิบูลสงคราม   (แปลก ขิตตะสังคะ) ขอใช้นามสกุล พิบูลสงคราม
พลตำรวจตรี หลวงอดุลเดชจรัส   (อดุล พึ่งพระคุณ) ขอใช้นามสกุล อดุลเดชจรัส
นาวาเอก หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (ถวัลย์ ธารีสวัสดิ์) ขอใช้นามสกุล ธำรงนาวาสวัสดิ์

นามสกุลตามตัวอย่างไม่ได้มีมาก่อนรัชกาลที่ ๖ แต่บุคคลที่เอ่ยนามมาเหล่านั้นได้ขอใช้ราชทินนามของตนแทนนามสกุลเดิม เช่นหลวงพิบูลสงคราม ขอเปลี่ยนจากขิตตะสังคะ เป็นพิบูลสงครามเป็นต้น

เรื่องนี้เกิดขึ้นสมัยที่มีคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลในขณะทรงพระเยาว์ ตามมติ ค.ร.ม.ให้กระทำได้ และมีผู้กระทำตามท่านผู้นำนับร้อยๆคน แล้วอ้างกันว่าเป็นนามสกุลพระราชทานในสมัยรัชกาลที่ ๘ บางก็มั่วไปกว่านั้นว่าเป็นนามสกุลที่รัชกาลที่ ๘ พระราชทานให้เลยก็มีครับ
บันทึกการเข้า
ไพรสินธ์ฯ
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 15 ก.ค. 15, 18:25

ไม่เข้าใจครับ   การเปลี่ยนก็แสดงว่ามีนามสกลใช้อยู่แล้ว.
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 19 คำสั่ง