vun
|
 เมื่อปีพ.ศ.2525 อันเป็นปีมหามงคลสมัยที่กรุงเทพมหานคร มีอายุครบ 200 ปี หรือ ร.ศ.200 ซึ่งพระบรมมหาราชวัง และ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ที่ชำรุดทรุดโทรม ทั้งพระที่นั่งที่สำคัญที่เคยโดดเด่นในสมัยอดีต แต่ในสมัยนั้นได้ชำรุด ทุดโทรมมากๆก็ต้องมีการรื้อทิ้ง
รวมทั้งพระตำหนักฝ่ายใน บางหลังก็ต้องรื้อลงเช่นกันแต่บางหลังก็อาจจะถูกดัดแปลงเป็นศูนย์เด็กปฐมวัย โดยกฎเกณฑ์ทั้งหลายในเขตพระราชฐานฝ่ายใน รวมทั้งศิลปะอันวิจิตรงดงามในวังหลวงแห่งนี้ ซึ่งได้ถูกเลือนหายไปโดยได้หายไป แต่ยังไม่สายเกินไปที่จะมีการฟื้นฟูวังหลวงแห่งนี้ให้กลับมาดูงดงาม สวยงาม และวิจิตรดังเดิม
ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา จึงเล็งเห็นความสำคัญของศิลปะอันวิจิตรที่เคยโดดเด่น อยู่ในพระบรมมหาราชวังชั้นในแห่งนี้ จนบูรณะเสร็จสมบูรณ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ทรงมีพระดำริการฟื้นฟูวัฒนธรรมของชาววังโบราณรวมไปถึงศิลปอันล้ำค่าที่เคยพิศมัยอยู่ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
vun
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 27 ต.ค. 05, 16:54
|
|
เรื่องแรกที่ผมจะพูดถึงนั้นก็คือ " เขตพระราชฐานชั้นใน ในอดีตครับ "
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
vun
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 27 ต.ค. 05, 17:09
|
|
บริเวณพระราชฐานชั้นในก็เต็มไปด้วยตำหนักใหญ่น้อย ทีสร้างขึ้นมาแล้วหลายรัชกาลตั้งแต่รัชกาลที่1 จนถึงรัชกาลพระพุทธเจ้าหลวงมหาราช ทุกตำหนักใช้วัสดุในการก่อสร้างต่างกันไป เขตพระราชฐานชั้นในเปรียบเสมือนเมืองๆหนึ่งก็ว่าได้ ถนนปูด้วยหินแผ่นใหญ่ๆ ตัดเลี้ยวไปตามตำหนักใหญ่น้อย และ อาคารสถานที่ต่างๆ ซึ่งล้วนแต่เป็นที่ประทับสมเด็จพระอัครมเหสี พระอรรคชายา พระราชชายา ท่านเจ้าคุณจอมมารดา ตำหนักแถวของคุณจอมมารดา พระสนมเอกต่างๆ ตำหนักพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้า และพระบรมวงศ์อีกหลายพระองค์
ตามถนนหนทางภายในพระราชฐานล้วนเต็มไปด้วยผู้คนมากมายตั้งแต่บรรดาเหล่าพระราชวงศ์ พระสนมเจ้าจอม ท้าวนาง คุณพนักงาน คุณเฒ่าแก่ ข้าหลวง หลวงแม่เจ้า คุณห้องเครื่อง โขลน และจ่า ในเมืองเล็กๆแห่งนี้มีแต่ผู้หญิงล้วน เพราะเป็นเขตหวงห้ามสำหรับผู้ชาย สตรีทั้งหลายที่อยู่ในวังล้วนต้องมีสังกัด
ด้วยความที่มีผู้คนอยู่อาศัยกันอย่างหนาแน่น จึงถึงกับมีตลาดย่านการค้าเกิดขึ้นในเขตพระราชฐานชั้นใน ซึ่งธุรกิจการค้าขายนั้นจะเกิดขึ้นบริเวณแถวเต๊ง ซึ่งเป็นเรือนแถวยาวอยู่ทางทิศใต้ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ของพระราชวัง อีกทั้งเต๊งแถวท่อ เต๊งแถวแดง
ในวังต่างๆ ผู้ใดที่มีโอกาสเข้าไปอยู่ในวังหลวงก็จะได้รับการอบรมสั่งสอนขนบธรรมเนียมประเพณี จรรยามารยาท ตลอดจนวิชาสำหรับกุลสตรีต่างๆ ดังนั้นผู้คนจึงถวายบุตรหลานเข้าไปอยู่ในวังกันเป็นจำนวนมาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
vun
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 27 ต.ค. 05, 17:12
|
|
ทัวร์เขตพระราชฐานชั้นใน ในอดีต กับสี่แผ่นดิน(เรียบเรียง)
เขตพระราชฐานชั้นใน ตั้งอยู่ด้านหลังของพระมหาปราสาทและพระราชมณเฑียร ประกอบด้วยตำหนักที่ประทับของพระมเหสีเทวี พระราชธิดา ตลอดจนเรือนเจ้าจอม สนมกำนัลและพนักงานซึ่งเป็นหญิงล้วน ก่อนเข้าประตูศรีสุดาวงศ์จะมีจำโขลนเฝ้าประตูวังชั้นใน พอเข้าไปในวังผ่านโรงละครในวังซึ่งเป็นโรงโถง กลางวัดก็ดูเหมือนศาลาวัดกว้างๆ เดินต่อไปจะพบสระน้ำเป็นสระของพระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา (ปัจจุบันยังคงอยู่)ผ่านทิมโขลนที่ทิมโขลนนี้จะสังเกตเห็นโขลนนั่งอยู่มาก จะมีนายโขลนชาววังเรียกกันว่าหลวงแม่เจ้า
ที่ริมทางเดินจะมีตึกยาวติดต่อกันเป็นสองชั้น แบ่งเป็นห้องๆ เรียกว่า แถวเต๊ง แถวเต๊งเป็นที่อยู่ของคุณพนักงาน คุณเฒ่า คุณห้องเครื่อง รวมทั้งข้าหลวงบนตำหนัก ในแถวเต๊งแดงบางแห่งก็เปิดร้านขายของด้วย
ในเขตพระราชฐานชั้นในนี้ ผู้ใดเดินตามถนนหนทางในวังในเวลาค่ำคืนจะต้องถือใครไม่ปฎิบัติอาจถูกโขลนจับได้
เจ้านาย และเจ้าจอมมารดา หรือเจ้าจอมในวังนี้มีฐานะไม่เท่าเทียมกัน บางพระองค์หรือบางท่านอยู่ในตำหักที่ค่อนข้างเก่าแก่ผุพัง บางท่านก็อยู่ตำหนักใหญ่สูงหลายชั้น ประกอบด้วยเครื่องตกแต่งโอ่โถง ตำหนักแต่ละหลังมีบรรยากาศแตกต่างกันไป บางตำหนักก็ขายน้ำอบ น้ำปรุง บางตำหนักก็ปิดเป็นห้างขายแพร และเครื่องใช้ต่างๆ บางตำหนักเป็นชาวเมืองเพชรบุรี พูดสำเนียงเป็นชาวเมืองเพชรไปทั้งตำหนัก ที่มาจากปักษ์ใต้ก็พูดปักษ์ใต้
ส่วนตำหนักใหญ่สูงสี่ชั้นมียอดหอคอยกลางเป็น ตำหนักพระราชชายาเจ้าดารารัศมี เรือนข้าราชบริพารฝ่ายในนับว่าแปลกกว่าที่อื่น พราะข้าหลวงนุ่งซิ่นไว้มวบ แต่งกายอย่างชาวเชียงใหม่ พูดภาษาเมืองเหนือทั้งตำหนัก และเป็นที่เดียวที่มีเมี่ยงคำแจกกันทานเป็นประจำ(เป็นตำหนักหลังเก่าของพระองค์)
ในวังมีสวนเต่า มีต้นไม้ครึ้ม และมีสระน้ำที่ไม่ลึกพอลุยได้ ก้นสระนั้นปูด้วยหิน มีตะไคร้น้ำจับจนลื้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
vun
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 27 ต.ค. 05, 17:16
|
|
พระที่นั่งบริเวณ และริมพระราชฐานชั้นใน
พระที่นั่งบรมพิมาน ตั้งอยู่เหนือสวนศิวาลัย มี2ชั้น สถาปัตยกรรมแบบยุโรป ในปัจจุบันรับรองแขกบ้านแขกเมือง พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่8 ทรงประทับในพระที่นั่งนี้จนกระทั่งเสด็จสวรรคต
พระที่นั่งมหิศรปราสาท เป็นพระที่นั่ง สถาปัตยกรรมแบบไทย สร้างในสมัยรัชกาลที่4 อยู่ใกล้กับหมู่พระราชมณเฑียรมากที่สุด ปัจจุบันได้ดัดแปลงเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป
พระที่นั่งสีตลาภิรมย์ ตั้งอยู่ริมสนามด้านหลังพระที่นั่งบรมพิมาณ เป็นพระที่นั่งชั้นเดียว เป็นพลับพลาโถง ใช้เป็นที่ประทับเมื่อพระราชทานเลี้ยง เช่นงานพระราชอุทยานสโมสร
พระที่นั่งนั่งศิวาลัยมหาปราสาท อยู่ตรงมุมด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของสวนศิวาลัย ข้างประตูราชสำราญ เป็นปราสาท5ยอด สร้างในสมัยรัชกาลที่5 ในปัจจุบันพระที่นั่งศิวาลัยได้ว่าง ไม่ได้ใช้การอะไร
 |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
vun
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 27 ต.ค. 05, 17:26
|
|
พระที่นั่งมหิศรปราสาท
 |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
vun
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 28 ต.ค. 05, 12:31
|
|
หมู่พระตำหนักที่สร้างขึ้นในรัชกาลที่1-3 ในรัชกาลที่1-3ได้มีสถาปัตยกรรมแบบเรือนไทย แบบเรือนหมู่
พระตำหนักเขียว
ตำหนักเขียว เป็นตำหนักของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดีพระเชษฐภคินีของรัชกาลที่ 1 ทรงโปรดให้รื้อมาสร้างถวายที่วัด สถาปัตยกรรมเป็นเรือนไทยสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ได้ถวายเป็นกุฏิเจ้าอาวาสวัดอมรินทรารามซึ่งอยู่ในความอนุรักษ์ของกรมศิลปากร ซึ่งทางวัดได้ทำการรื้อเพื่อย้าย และ ทำการสร้างใหม่ให้คงสภาพเดิม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
vun
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 28 ต.ค. 05, 12:33
|
|
ตำหนักแดง
พระตำหนักแดง เป็นส่วนหนึ่งของพระตำหนักในพระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดฯ ให้สร้างพระราชทานสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ ต่อมาเป็นที่ประทับของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีในรัชกาลที่ 2 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รื้อไปปลูก ูถวายสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีซึ่งเสด็จไปประทับที่พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี
พระตำหนักแดงหลังนี้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชโอรสในสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี เมื่อเสด็จบวรราชาภิเษกแล้ว จึงทรงย้ายจากพระราชวังเดิม มาปลูกไว้ในพระราชบวรสถานมงคล เมื่อพ.ศ. 2400
พระตำหนักแดง เป็นเรือนหลวง สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง ขนาด 7 ห้อง เครื่องบนประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ แสดงฐานานุศักดิ์ของเรือน ฝาเป็นฝาปะกน มีเสานางเรียงรองรับแนวชายคาด้านหลัง ด้านหน้าเป็นระเบียง ภายในแบ่งเป็น 2 ห้อง และมีห้องสรงอยู่บนเรือนด้วย ปัจจุบันจัดแสดงส่งของส่วนพระองค์สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี และสิ่งของเครื่องใช้สำหรับเจ้านาย หรือชนชั้นสูงในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์
http://www.thailandmuseum.com/bangkok/tumnakdang.htm
 |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
vun
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 28 ต.ค. 05, 14:08
|
|
ต่อไปผมจะพาไปรับชมภาพตำหนักต่างๆในพระราชฐานชั้นในนะครับ
เริ่มจากภายในพระตำหนักแดง
 |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
vun
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 28 ต.ค. 05, 14:10
|
|
พระแท่นบรรทมแบบไทยบน จีน / คันฉ่องโบราณสวยงามมากครับ
 |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
vun
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 28 ต.ค. 05, 14:15
|
|
ตำหนักแบบเรือนแถวที่สร้างขึ้นในสมัยต้นรัชกาลที่4-5
ตัวอย่าง: พระตำหนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษณวดี
ภาพนี้เป็นตำหนักที่ถูกดัดแปลงเป็นห้องเครื่อง พระตำหนักสูง 2 ชั้น มีพาลัยหน้าหันสู่ทิศใต้
 |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
vun
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 28 ต.ค. 05, 14:18
|
|
ตัวอย่างที่2: เรือนเจ้าจอมเยื้อน ในรัชกาลที่ 5
เป็นเรือนแถวทีถูกดัดแปลงบางส่วนเป็น2ชั้น เป็นเรือนที่กึ่งไทย กึ่งจีน กึ่งยุโรป หรือเรือนลูกครึ่ง แต่โดยมากจะเป็นแบบจีน
 |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
vun
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 28 ต.ค. 05, 14:19
|
|
แปลนเรือนเจ้าจอมเยื้อน
 |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
vun
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 28 ต.ค. 05, 14:24
|
|
ตัวอย่างที่3: เรือนเจ้าจอมประคอง ในรัชกาลที่ 5
ภาพนี้เป็นเรือนเจ้าจอมประคอง ในรัชกาลที่ 5 เป็นเรือนแถวเรือนสูง 2 ชั้น มีลานกว้างตรงกลางเรือน ประมาณปี 2528 คาดว่าจะใช้เป็นรร.อนุบาล
 |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
vun
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 28 ต.ค. 05, 14:42
|
|
ตำหนักของ- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้นที่4 - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้นที 5 - และเจ้าจอมมารดาบางท่าน
1. ตำหนัก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรไทเทพกัญญา 2. ตำหนัก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์ 3. ตำหนัก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประเวศวรสมัย และเจ้าจอมมารดาทับทิม ในรัชกาลที่ 5 4.ตำหนักเจ้าจอม หม่อมราชวงศ์จิ๋ว หรือพระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ ในรัชกาลที่ 5
ตำหนักเหล่านี้เป็นตำหนักเดี่ยว ก่ออิฐถือปูน ความสูง 2 หรือ 3 ชั้น มีผนผังเป็นรูปตัว U มีมุข 2 ข้าง มีกำแพงก่ออิฐถือปูนเชื่อมมุขทั้ง 2 ที่รั้วกำแพงมีซุ้มเหลี่ยมกั้นเข้าออก ไปลานกว้างในตำหนัก ภายในมีบันได 2 แห่ง คือ บันไดใหญ่ กับบันไดบ่าว ส่วนมากบันไดบ่าวเป็นบันใดเวียน บ้างก็เป็นบนไดคล้างตึกพระยาอภัยภูเบศร ที่ปราจีนบุรี ตำหนักมีการทำ Built in(เครื่องเรือนติดผนัง) ไว้กันห้อง และบางตำหนัก ( ตำหนักพระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ ในรัชกาลที่ 5 ) มีที่ประดับชายคาเป็นลายไม้ฉลุเล็กๆ
รูปแบบตำหนัก เป็นแบบตะวันตก บนตะวันออกอย่างลงตัว ภายในการตกแต่งหน้าต่างเป็นแบบตะวันตก ส่วนหลังคายังคงมุงกระเบื้องว่าวสีขาว หรือกระเบื้องเคลือบดินเผาไม่ทาสี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|