เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 15833 อยากทราบราบละเอียดของคำที่ว่า " แน่ยิ่งกว่าแช่แป้ง "
นายชินจัง
อสุรผัด
*
ตอบ: 31



 เมื่อ 23 ต.ค. 05, 15:01

 จากสำนวนที่ว่า แน่ยิ่งกว่าแช่แป้ง

แปลว่าแน่นอนมากๆ ใช่ไหมครับ
แล้วทำไมต้องแช่แป้ง แช่แล้วเกิดอะไรขึ้นครับ

ท่านไหนพอจะทราบที่มาหรือรายละเอียดกว่านี้บ้างครับ

ขอบคุณมากครับ  
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 23 ต.ค. 05, 21:34

 http://bangkokmag.com/webboardnew/webboard_ans.php?id=1245&view=ok
..."มั่นใจหรือตั้งใจว่าจะต้องทำสิ่งนั้นแน่ๆ" บ่งบอกให้รู้ว่าเมื่อเราแช่แป้งแล้วต้องทำ เพราะถ้าไม่ทำมันจะบูดจะเน่าเสียต้องทิ้ง
คราวนี้เราก็มาพิจารณาว่าจะทำอะไรจึงต้องแช่แป้ง ส่วนมากเวลาเราจะเอาแป้งมาทำอะไรนี่มันไม่ต้องแช่นะผสมน้ำแล้วก็ทำได้เลย

เท่าที่นึกออกสิ่งที่ต้องแช่แป้งและนิยมทำกันแต่โบราณมี 2 อย่าง คือขนมจีน และข้าวหมาก ขนมจีนต้องทำด้วยแป้งข้าวเจ้า โบราณ
ไม่ค่อยมีแป้งสำเร็จรูปขายการจะทำจึงต้องเอาข้าวมาแช่น้ำเพิ่อให้อ่อนตัวโม่ง่ายอย่างที่คุณลุงแก่ว่า

แต่หลังจากที่โม่ออกมาเป็นแป้งแล้วจำเป็นจะต้องเอาแป้งนี้ไปกวนกับน้ำแล้วปล่อยให้นอนก้นวันรุ่งขึ้นรินน้ำใสส่วนบนทิ้ง
เติมน้ำลงไปใหม่แล้วกวนแล้วปล่อยให้นอนก้น ทำอยู่อย่างนี้ประมาณ 3 วัน ซึ่งเรียกกันว่าการหมักแป้งหรือแช่แป้ง

จนแป้งนี้มีรสเปรี้ยวจึงจะเอาไปทำขนมจีนได้ ซึ่งหลังจากที่ผ่านขั้นตอนการแช่แป้งแล้ว
ถ้าเราไม่เอาไปทำขนมจีนแป้งนั้นเป็นอันว่าเสียต้องทิ้ง...

 สำหรับข้าวหมากนั้นไม่ใช่เอาแป้งไปแช่น้ำ แต่เป็นการเอาแป้งข้าวหมากไปหมักหรือไปแช่รวมกับข้าวเหนียว
ซึ่งหลังจากแช่แล้วผลก็ออกมาเหมือนกันคือถ้าไม่ทำข้าวหมากก็ต้องทิ้ง  นี่จึงเป็นที่มาของสำนวนที่ว่า

"ไม่(ทำขนมจีนหรือข้าวหมาก)แน่ ไม่แช่แป้ง"...
บันทึกการเข้า
Doraikufuki
อสุรผัด
*
ตอบ: 44


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 23 ต.ค. 05, 21:58

 เราเคยอ่านเจอในหนังสือนิยายเรื่อง ยัยเวอร์จิ้นปิ๊งรักนักเพลย์บอยค่ะ แต่ไม่รู้หรอกค่ะ ว่าแปลว่าอะไร
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 30 ต.ค. 05, 03:42

 อืม เป็นสำนวนที่น่าสนใจครับ แสดงว่า สังคมไทยสมัยก่อนต้องคุ้นเคยกับการทำอาหารด้วยแป้งกินกันในครัวเรือน ก็เลยหยิบมาเ็ป็นสำนวนพูดคุยกัน

ผมก็เคยได้ยินเหมือนกันครับ ซึ่งก็เข้าใจได้ทันทีตามบริบทว่า "แน่นอน ไม่มีเปลี่ยนแปลง" แต่ก็ไม่เคยคิดถึงไปว่า "ทำไมต้องแช่แป้ง" อืม เลยทำให้นึกถึงอีกคำว่า "นั่งแบะแฉะ" ทำไมต้อง แบะแฉะ ?

ต้องขอบคุณ คุณ Nuchan มากครับที่อธิบายให้กระจ่างแจ้งเลย ยิ้ม

แต่เดี๋ยวนี้ผมว่า ผมไม่เคยได้ยินแล้วนะครับ ได้ยินแต่

"แ่น่นอน" หรือ "ชัวร์" บ้างที่ก็ "ชัวป้าด" บ้าง "ชัวป้าบ" บ้าง

ซึ่งก็ยืมมาจากภาษาอังกฤษว่า Sure (ฝรั่งเศสว่า sûr = ซิวรฺ หรือ ซีอูรฺ แต่นิยมใช้ประกอบกับคำว่า bien (ดี) เป็น เบียง-ซิวรฺ)

แต่ "ชัวป้าด" หรือ "ชัวป้าบ" ไม่รู้คำว่า ป้าด กับ ป้าบ มาจากไหน อิอิ หรือเป็นคำพูดขึ้นมาแบบมันๆ ปาก อิอิ ไม่รู้วัยรุ่นสมัยนี้ใช้อะไรกันอีก  

เหมือนเดี๋ยวนี้คำว่า "วัยรุ่น" ก็เรียกกันว่า "วัยโจ๋" หรือ "วัยมันส์" หนังสือพิมพ์นี่แหละตัวดีในการสร้างคำแปลกๆ 555

แต่ผมว่า วัยโจ๋ มันแฝงความหมายเชิงลบนะครับ คือเป็นพวกวัยรุ่นที่ทำตัวซ่า ไม่อยู่ในกรอบที่ดีงามของสังคม ไม่รู้มีท่านใดคิดเหมือนผมหรือเปล่า ?
บันทึกการเข้า
kwang satanart
อสุรผัด
*
ตอบ: 48


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 31 ต.ค. 12, 23:35

คำว่า ชัวร์ป้าบ  น่าจะมีการเอาคำกับกิริยามาผสมกันเป็นคำใหม่  คำว่า ชัวร์ คือ แน่นอน  คนที่พูดว่า ชัวร์ แล้วรู้คำแปล คงจะตบเข่า หรือหน้าขาตัวเองประกอบการพูดว่า ชัวร์  การตบเข่า หรือการใช้ฝ่ามือตบหน้าขาจะเกิดเสียงดังป้าบ  ทำให้เกิดการรวมคำกับกิริยา  เป็นคำใหม่ว่า  ชัวร์ป้าบ  น่ะค่ะ

 ส่วนคำว่า นั่งแบะแฉะ  ตลอดชีวิตตัวเอง เคยได้ยินแต่  นั่งแฉะแบะ   เป็นคำพูดว่า เด็กหญิง หรือ หญิงสาว ที่นั่งในท่าที่เกินสบาย คือ ขากางออก ไม่สำรวมน่ะค่ะ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 01 พ.ย. 12, 05:44

แล้ว "สนิมสร้อย" ล่ะครับ (เอ .. คำเดิมจะเป็น สนิมสร้อย หนือ ถนิมสร้อย)


บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 01 พ.ย. 12, 09:37

ขอถามต่อด้วยคนค่ะ  'ขี้เกียจตัวเป็นขน' มีที่มายังไงคะ ? 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 01 พ.ย. 12, 09:48

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน    
ถนิมสร้อย
ความหมาย  [ถะหฺนิมส้อย] ว. หนักไม่เอาเบาไม่สู้, ทำเป็นเหยาะแหยะ, ทำเป็นอ่อนแอ, (ใช้เป็นคำตำหนิ) เช่น โดนว่านิดหน่อยก็ร้องไห้ ทำเป็นแม่ถนิมสร้อยไปได้, สนิมสร้อย ก็ว่า.
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 01 พ.ย. 12, 13:28

ขอถามต่อด้วยคนค่ะ  'ขี้เกียจตัวเป็นขน' มีที่มายังไงคะ ? 

ผมเข้าใจว่าคงจะเปรียบเทียบกับหนอนผีเสื้อ หรือที่เราเรียกว่า หนอนบุ้ง ครับ เพราะในช่วงที่เป็นตัวหนอน มันจะตะลุยกิน แล้วก็นอนไม่ขยับตัวไปไหน แล้วก็ตื่นมากินอีก




บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 07 พ.ย. 12, 16:32

ขอบพระคุณที่ให้ความกระจ่างค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.044 วินาที กับ 20 คำสั่ง