UP
|
 เชื่อว่าสมาชิกเรือนไทยหลายๆ ท่านคงสนใจงานนี้ จึงขอนำประกาศประชาสัมพันธ์มาแจ้งให้ทราบ เผื่อว่าจะได้ไปร่วมงานครับ
................................................................
เนื่องในโอกาสที่ปีนี้มีอภิลักขิตสมัย ๒ วาระมาบรรจบกันคือ วันประสูติของพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีในรัชกาลที่ ๖ ครบ ๑๐๐ ปีเมื่อวันที่ ๑๕ เมษายนที่ผ่านมา และวาระที่สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาองค์เดียวในรัชกาลที่ ๖ ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา ในวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ศกนี้
กองทัพบก โดยกรมแพทย์ทหารบก โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และหน่วยงานในสังกัดร่วมกับชมรมคนรักวัง ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ราชสุดาฯ ได้ร่วมกันจัดงาน
"เพชรรัตน-สุวัทนา สองราชนารีในรัชกาลที่ ๖"
ระหว่างวันที่ ๒๘ ตุลาคม จนถึงวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ ณ พระราชวังพญาไท (ภายในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า)
ในค่ำวันที่ ๒๘ ตุลาคมนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานในงานราตรี และพิธีเปิดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ
นับเป็นมหกรรมเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่โดยมีการแสดงดนตรีวงโยธวาทิตและวงปี่สก๊อต การแปรขบวนด้วยธงเสือป่า ของนักเรียนวชิราวุธวิทยาลัย และการแสดงละครจากบทพระราชนิพนธ์เรื่อง"พระร่วง" นอกจากนี้จะมีการบรรเลงเพลง "โหมโรง เพชรรัตน-สุวัทนา" ซึ่งแต่งโดย อาจารย์ณรงค์ฤทธิ์ โตสง่า (หรือที่รู้จักกันในนาม "ขุนอิน") มือเดี่ยวระนาดเอกแห่งยุค ประพันธ์ขึ้น
การแสดงจะใช้ระนาดมากถึง ๘๑ รางซึ่ง ใช้คนตีระนาด ๑ คนต่อ ๒ ราง ส่วน อาจารย์ณรงค์ฤทธิ์เล่นนำวง ๑ ราง การเล่นระนาดแบบนี้จะให้ความสนุกสนานไพเราะ รวมทั้งท่วงทำนองที่เร้าใจเป็นอย่างยิ่ง ในส่วนของนิทรรศการซึ่งจะเปิดให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าชม "ฟรี" ตั้งแต่วันที่ ๒๙ ตุลาคม - ๓ พฤศจิกายน ศกนี้ระหว่างเวลา ๐๙.๐๐ - ๐๖.๐๐ น.
การนี้ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานยืมเครื่องประดับส่วนพระองค์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานไว้แก่ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี
เช่น เสมาอักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ ซึ่งพระราชทานเป็นของขวัญชิ้นแรกเมื่อต้องพระราชหฤทัย, กำไลงาช้างซึ่งเป็นเครื่องประดับสำหรับสตรีสูงศักดิ์ในยุคนั้น และหากเป็นระดับเจ้าจอมแล้ว กำไลงาช้างนั้นมักทำมาจากงาช้างเผือก
พร้อมทั้งสิ่งของเครื่องใช้ส่วนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ เช่น ชุดเครื่องเสวยที่สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระราชทานแก่สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ เมื่อทรงเจริญพระชนมายุ ๑ พรรษา, เปียโนคู่พระหัตถ์ขนาดย่อมซึ่งทรงนำกลับมาจากตำหนักที่ประทับ ณ ประเทศอังกฤษ ฯลฯ
นอกจากนี้ ยังมีสิ่งของซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ข้าราชบริพาร อาทิ หีบบุหรี่ทองคำลงยาที่ฝากล่องมีพระปรมาภิไธยประดับเพชร และหีบบุหรี่ลงยาประดับนาฬิกาล้อมเพชร ซึ่งพระราชทานแก่เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) อนึ่ง ชมรมคนรักวัง ในพระอุปถัมภ์ ได้จัดทำของที่ระลึกจำหน่ายเพื่อนำรายได้สมทบการบูรณปฏิสังขรณ์พระราชวังพญาไท และเพื่อสมทบทุนก่อสร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนี้ (๑) เข็มที่ระลึก "พญามังกรถือวชิราวุธ" ถอดแบบจากลายปูนปั้นรูปพญามังกรถือวชิราวุธที่ประดับอยู่ทั่วไปหลายแห่งในพระราชวังพญาไท เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพในปีมะโรง
เข็ม "พญามังกรถือวชิราวุธ" เป็นเนื้อเงินชุบสามกษัตริย์ จำหน่ายในราคาเข็มละ ๒,๕๐๐ บาท (๒) ปฏิทินตั้งโต๊ะ ประจำพุทธศักราช ๒๕๔๙ เป็นเรื่องพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในแต่ละเดือน อาทิ เดือนมกราคม..วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๓ เป็นวันพระบรมราชสมภพ , เดือนกุมภาพันธ์...วันที่ ๒๑กุมภาพันธ์ ๒๔๕๕ โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้พุทธศักราชในราชการ , เดือนมีนาคม...๒๖ มีนาคม ๒๔๕๕ ทรงสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , เดือนกรกฎาคม...๒๑ กรกฎาคม ๒๔๖๑ กำเนิด”ดุสิตธานี” เมืองประชาธิปไตย เป็นต้น
เป็นปฏิทินตั้งโต๊ะทรงสามเหลี่ยมมีรูปประกอบสวยงาม จำหน่ายราคาชุดละ ๓๕ บาท (๓) “ท่านเจ้าคุณนรฯสอนอะไร? “ท่านเจ้าคุณนรฯ หรือพระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต (ตรึก จินตยานนท์) เป็นพระเถระผู้มีศีลาจารวัตรงดงาม เป็นที่นับถือของพุทธศาสนิกชนทั่วไป ในอดีตท่านเป็นมหาดเล็กผู้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ท่านเจ้าคุณนรฯ ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลที่ซื่อสัตย์มั่นคงทั้งสูงด้วยความกตัญญูกตเวที มีความรู้สูงจนเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย เมื่อวันถวายพระเพลิงพระบรมศพรัชกาลที่ ๖ ท่านได้อุปสมบทถวายเป็นพระราชกุศลและดำรงในสมณเพศจนสิ้นอายุ
คณะผู้จัดทำได้นำประวัติชีวิต โอวาท ๙ ข้อ รวมทั้งวิธีบริหารร่างกายของท่านเจ้าคุณฯ มาเผยแพร่เพื่อสาธุชนได้น้อมรำลึกถึงความดีงามของผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ จำหน่ายในราคาชุดละ ๑๒๐ บาท ผู้สนใจจะร่วมงานราตรีในวันที่ ๒๘ ตุลาคมนี้สามารถซื้อบัตรราคาใบละ ๖,๐๐๐ บาท ๔,๐๐๐ บาทและ ๓,๐๐๐ บาท และหากสนใจของที่ระลึกต่าง ๆ โปรดติดต่อได้ที่ชมรมคนรักวัง โทร. ๐๒-๓๕๔-๗๖๖๐ ต่อ ๙๓๖๔๖, ๙๓๖๙๔
ผู้สนใจเข้าชมพระราชวังพญาไท และนิทรรศการพิเศษในวันที่ ๒๙ ตุลาคม ถึง ๓ พฤศจิกายน สามารถไปชมได้ที่พระราชวังพญาไท ในบริเวณโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ระหว่างเวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น. โดย "ไม่เสียค่าใช้จ่าย" ใดๆ ทั้งสิ้น
ไปร่วมแสดงน้ำใจจงรักภักดีต่อ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๘๐ พรรษา พร้อมทั้งชมพระราชวังและสิ่งของสะสมหายากในรัชกาลที่ ๖ และสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ กันนะครับ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
UP
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 23 ต.ค. 05, 10:39
|
|
 ในย่อหน้าที่ ๙ ผมพิมพ์เวลาผิดไป
เวลาเปิดให้ชมพระราชวังพญาไทพร้อมทั้งนิทรรศการในวันที่ ๒๙ ตุลาคมถึง ๓ พฤศจิกายน คือ "เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น." นะครับ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
UP
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 23 ต.ค. 05, 10:41
|
|
 วลัยพระกรงาช้างเผือก ประดับอักษรพระบรมนามาภิไธย ร.ร.๖ ของ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ในรัชกาลที่ ๖ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ ทรงเก็บรักษาไว้ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
UP
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 23 ต.ค. 05, 10:43
|
|
 หีบบุหรี่ซึ่งพระราชทานแก่เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Nuchana
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 26 ต.ค. 05, 18:12
|
|
เรียนถามคุณ UP ค่ะ ในนสพ. เดลินิวส์ฉบับวันนี้ เขียนว่า วันที่ 17 พ.ย. 2465 โปรดเกล้าฯสถาปนา เป็นพระราชวังพญาไท....
วันก่อนคุณ V_MEE ทักทีหนึ่งแล้วค่ะว่า "วังไกลกังวลนะครับ ไม่ใช่พระราชวัง"
ที่งงคือ การโปรดเกล้าฯสถาปนาเป็นพระราชวัง จะทำให้ศักดิ์และสิทธิ์เปลี่ยนไปประการใดหรือไม่ค่ะ (ชื่อนั้นสำคัญไฉน ไยจึงเปลี่ยน? อย่างไรเสีย วังก็คือที่ของเจ้านาย ไม่ใช่บ้านของราษฎรอยู่แล้วน่ะคะ)
************ สำหรับการออกนามวังไกลกังวลว่า “พระราชวัง” นั้น โดยราชประเพณีปฏิบัติจะต้องมีพระบรมราชโองการสถาปนา แต่จากการค้นคว้าเอกสารของทางราชการไม่พบว่าเคยมีพระบรมราชโองการสถาปนา “พระราชวังไกลกังวล” หรือ “พระราชวังสวนไกลกังวล” แต่อย่างใด ดังนั้นการออกนามว่า “วังไกลกังวล” จึงถูกต้องตามราชประเพณี และพระราชนิยมในรัชกาลปัจจุบันแล้ว
ที่มา .... จดหมายเหตุวังไกลกังวลสมัยรัชกาลที่ ๗ : แพทย์หญิงกรรณิการ์ ตันประเสริฐ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
อุษณี
อสุรผัด

ตอบ: 7
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 29 ต.ค. 05, 16:17
|
|
เพิ่งไปร่วมงานมาเมื่อวานนี้ค่ะ งานจัดได้ดูดี และมีคุณค่ามากเลยค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|