เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 6975 พระองค์เจ้าดิลกนพรัตน์
juspal
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


 เมื่อ 13 ต.ค. 05, 18:45


พระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ กรมหมื่นสรรควิไสยนรบดี ประสูติ ณ วันเสาร์ เดือน 6 ขึ้น 9 ค่ำ ปีวอก ตรงกับวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2427 ได้เสด็จไปทรงศึกษาในประเทศอังกฤษและเยอรมัน เปนดอกเตอร์วิทสตาตส์ วิสเซนชัพท์ ในมหาวิทยาลัยทุบบิงเงน ในรัชกาลที่ 5 เปนอำมาตย์เอก เจ้ากรมพลัมภังกระทรางมหาดไทย ถึงรัชกาลที่ 6 ทรงสถาปนาเปนกรมหมื่นสรรควิไสยนรบดี เมื่อปีชวด พ.ศ. 2455 และเลื่อนเปนมหาอำมาตย์ตรี คงตำแหน่งในกระทรวงมหาดไทย สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 12 มกราคม ปีชวด พ.ศ. 2455 พระชันษา 29 ปี เจ้าจอมมารดาเจ้าทิพเกสร ชาวเชียงใหม่
ซึ่งที่โดดเด่นนั้น พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ทรงเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับปริญญาเอกทางเศรษฐศาสตร์ และเป็นคนไทยคนแรกที่ศึกษาวิจัย สภานภาพและปัญหาเศรษฐกิจแห่งประเทศไทย ซึ่งนักประวัติศาสตร์เศรษฐกิจทุกชาติที่สนใจประเทศไทย ต้องนำพระวิทยานิพนธ์ของ “ปรินซดิลก ฟอน สิอาม” มาศึกษา

และเป็นคนไทยคนที่สองที่ได้รับปริญญาในระดับดุษฎีบัณฑิต ส่วนคนที่ได้มาก่อนนั้นเป็นสามัญชน ชื่อ ดร.ชู

ในวิชา “เศรษฐศาสตร์” นี้ มีพระเจ้าลูกเธอ 2 พระองค์ที่ทรงศึกษาด้านนี้ หนึ่งก็คือ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ส่วนอีกพระองค์หนึ่งก็คือ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ซึ่งทรงศึกษาในประเทศอังกฤษ โดยจะทรงศึกษาในช่วงทศวรรษสุดท้ายของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ส่วนพระองค์เจ้าดิลกฯ นั้นได้ทรงศึกษาในช่วงทศวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20
ในปี พ.ศ. 2450 นั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสยุโรป ครั้งที่ 2 และเมื่อเสด็จกลับ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐได้ตามเสด็จกลับสยามด้วย


หลังจากที่กลับถึงกรุงเทพฯ ในปลายปี 2450 ก็ได้เข้ารับราชการในกระทรวงมหาดไทยในตำแหน่ง “ปลัดกรมพิเศษ” แผนกอัยการต่างประเทศ แล้วย้ายไปเป็น “ปลัดสำรวจ” กรมมหาดไทยฝ่ายเหนือ และต่อมาก็ดำรงตำแหน่ง “เจ้ากรมเลขาณุการ” ปฏิบัติงานขึ้นตรงต่อเสนาบดี
การกลับมาของพระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ หลังจากไปศึกษาเล่าเรียนยังต่างประเทศ แล้วกลับมารับราชการสนองพระเดชพระคุณ นำมาซึงความปลาบปลื้มยินแด่แก่พระมารดาเป็นที่ยิ่ง แต่เสียดายที่พระมารดาได้มีโอกาสเห็นความสำเร็จของลูกรักได้เพียงปีเดียวเท่านั้น ก็ประชวร และสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2450 ขณะมีพระชนมายุเพียง 38 พรรษา

เจ้าจอมมารดาเจ้าทิพเกสรเป็นเจ้าหญิงจากเชียงใหม่ ฉะนั้นพระญาติและผู้ที่คุ้นเคยจึงมีน้อย ก็จะมีเพียงแต่ บุตร...ดร.ดิลกฯ และ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี เท่านั้น ที่เป็นเรี่ยวแรงในการจัดพระศพในครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เล็งเห็นเหตุนี้ด้วย จึงมีพระบัญชาไปยังอธิบดีหญิงกรมหลวงพิทยรัตน์กิริฎกุลินี เนื่องจากเกรงว่าจะมีเจ้าจอมหม่อมห้ามมาร่วมงานน้อย ในวันนั้นว่า

นภาพร

งานศพนางทิพนี้ไม่มีญาติพี่น้อง จะมีก็นางดาราไปแกร่วอยู่คนเดียว ฉันเห็นว่าเงียบนัก ขอให้เจ้านายลูกเธอและเจ้าจอมมารดา เจ้าจอมอยู่งานชั้นพวกสูงที่ชอบพอกันไปช่วยบ้าง ตามแต่ใจที่เขาจะไป จะเป็นการช่วยองค์ดิลก แต่เจ้านายพี่นางน้องนางไว้แต่วันเผา เพราะถ้ามากนักจะขนลำบาก

สยามมินทร์



งานพระศพของเจ้าจอมมารดาเจ้าทิพเกสรนี้ได้รับพระกรุณาจากพระสวามีและบรรดาเจ้าจอมต่าง ๆ ที่มาช่วยงาน จึงผ่านไปด้วยดี

พระองค์เจ้าดิลกนพรัตน์ได้เสกสมรสกับเจ้าศิริบังอร ณ เชียงใหม่ ซึ่งเป็นธิดาของเจ้าธรรมวงษา (เจ้าธรรมวงษาเป็นบุตรชายของเจ้าอุบลวรรณา พระเจ้าน้าหญิงองค์เดียวของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี) ทั้งสองไม่มีโอรสหรือธิดาสืบสกุล

ต่อมาในปี 2453 พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ก็ได้รับพระราชทานยศเป็น “อำมาตย์เอก” (เทียบยศทหารพลตรี) และดำรงตำแหน่ง “เจ้ากรมพลำภัง”

และในปีเดียวกันนี้เอง พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ก็ทรงสูญเสียพระราชบิดาในวันที่ 23 ตุลาคม 2453 ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเศร้า ที่ทรงสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักทั้งสองพระองค์ในเวลาห่างกันไม่กี่ปี …แต่ความโศกาดูรไม่ได้หมดลงเพียงแค่นั้นไม่ ในปีถัดมาหลังจากพี่พระราชบิดาสวรรคต เจ้าหญิงศิริบังอร พระชายา ได้สิ้นพระชนม์ด้วยอุบัติเหตุตกน้ำในสระในพระตำหนัก… แม้ว่าจะทรงประสบแต่เรื่องที่เศร้าโศกเสียใจเพียงใด ก็มิทรงที่จะท้อถอย ย่นย่อแต่ประการใด พระองค์ทรงวิริยะอุตสาหะตั้งใจปฏิบัติราชการอย่างเต็มพระสติกำลัง

หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ได้ทรงลาเพื่อจะกลับไปพำนักอยู่ที่ภูมิลำเนายังดินแดนล้านนา และในครั้งนี้ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ได้ทรงตามเสด็จมาเยือนเชียงใหม่ อันเป็นมาตุภูมิของพระมารดาเป็นครั้งแรกและครั้งสุดท้าย

ต่อมาในเดือน พฤศจิกายน 2455 ในสมัยรัชกาลที่ 6 ก็โปรดเกล้าฯ สถาปนาพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม ดังมีข้อความในประกาศว่า

“จึงมีพระบรมราชโองการ ดำรัสสั่งให้สถาปนาพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี อัชนาม ทรงศักดินา 15000 ตามพระราชกำหนดอย่างพระองค์เจ้าต่างกรมในพระบรมมหาราชวัง จงทรงเจริญพระชนมายุ พรรณ สุข พล ปฏิภาณ คุณสารสมบัติ สรรพสิริสวัสดิพิพัฒนมงคล วิบุลยศุภผลมโหฬารทุกประการ

ให้ทรงตั้งเจ้ากรม เป็น หมื่นสรรควิสัยนรบดี ถือศักดินา 600
ให้ตั้งปลัดกรม เป็น หมื่น อุไทยธานีนรสมาคม ถือศักดินา 500
ให้ทรงตั้งสมุห์ยัญชี เป็น หมื่นมโนรมนรานุรักษ์ ถือศักดินา 300”


หลังจาก “ทรงกรม” เพียงสองเดือนถัดมา พระเจ้าน้องยาเธอฯ กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี ก็ทรงปลงพระชนม์พระองค์เองด้วยพระแสงปืน ด้วยพระชันษาเพียง 28

หลังจากที่สิ้นพระชนม์แล้ว พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรอานันทมหิดล ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามเป็น “พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ” เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478

( อ้างจาก lannaworld.com)
บันทึกการเข้า
juspal
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 13 ต.ค. 05, 18:47


เพิ่มเติมครับ
บันทึกการเข้า
juspal
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 13 ต.ค. 05, 18:48


เพิ่มเติมครับ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 13 ต.ค. 05, 22:03

 ....เจ้าหญิงศิริบังอร พระชายา ได้สิ้นพระชนม์ด้วยอุบัติเหตุตกน้ำในสระในพระตำหนัก… แม้ว่าจะทรงประสบแต่เรื่องที่เศร้าโศกเสียใจเพียงใด ก็มิทรงที่จะท้อถอย ย่นย่อแต่ประการใด พระองค์ทรงวิริยะอุตสาหะตั้งใจปฏิบัติราชการอย่างเต็มพระสติกำลัง....

1. ถ้าไม่ใช่เป็นเพราะเสียพระทัยจนสุดจะหักห้ามได้ แล้วสาเหตุใดเป็นเหตุให้พระองค์ทรงกระทำอัตนิวิบาตกรรมล่ะคะ

2.เจ้าหญิงศิริบังอร และเจ้าหญิงสิริมา ณ เชียงใหม่ นี่องค์เดียวกันหรือเปล่าคะ องค์หลังดิฉันเคยอ่านผ่านตาที่ไหนสักแห่งค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 15 ต.ค. 05, 09:43

 พระนามที่ถูกต้องคือ ดิลกนพรัฐ  ไม่ใช่ ดิลกนพรัตน์
ค่ะ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 15 ต.ค. 05, 12:05

คุณ จขกท. ค่ะ ดิฉันไม่ทราบเกี่ยวกับกฏกติกาการอ้างอิงที่ถือปฏิบัติตามเว็บทั่วไป แต่ทางสากลนั้น การขอยืมคำพูดมามากๆ แม้ระบุแหล่งอ้างอิง อาจไม่เพียงพอค่ะ เว้นแต่ว่าเราเรียบเรียงโดยใช้ถ้อยคำของเราเอง การใช้ที่มามาจากหลายแหล่ง อาจป้องกันปัญหานี้ได้ค่ะ

*******
วังของพระองค์เจ้า ดิลกนพรัฐ กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี เป็นวังแห่งแรก ที่ คาร์ล เดอห์ริง สถาปนิกชาวเยอรมัน ได้ออกแบบก่อสร้าง วังแห่งนี้ปัจจุบันคือ ที่ทำการของ การไฟฟ้านครหลวง สามเสน

ผลงานอื่นของสถาปนิกรายนี้ที่มีชื่อเสียงได้แก่  พระรามราชนิเวศน์ หรือวังบ้านปืน ที่จังหวัดเพชรบุรี วังวรดิศ ถนนหลานหลวง ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และ ตำหนักสมเด็จในวังบางขุนพรหมค่ะ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 15 ต.ค. 05, 12:12

 เรียน อ. เทาชมพู ย่อหน้าสุดท้าย ค.ห. ที่ 5 โปรดกรุณาตัดทิ้งทีค่ะ ดิฉันใส่ผิดที่ ว่างแล้วจะมาโพสต์ต่อ ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 17 ต.ค. 05, 20:17

 ท่านที่สนใจพระประวัติ กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี  โปรดรออ่านหนังสือที่ระลึก "พระบารมีปกเกล้าฯ ยุพราชวิทยาลัย ๑๐๐ ปี นามพระราชทาน" ซึ่งกำหนดจะออกในวันวันที่  ๒๔  ธันวาคม  ๒๕๔๘ นี้  

ผมได้อ่านต้นฉบับแล้ว  ขอเรียนว่า มีข้อมูลใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีใครค้นคว้ามาก่อน  น่าสนใจมากครับ  นอกจากนั้นยังมีอีหลายเรื่องที่น่าสนใจ  เช่น ยศ บรรดาศักดิ์ ขุนนางสยาม  และ ยุพราชวิทยาลัย นามนั้นสำคัญไฉน? ฯลฯ
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 22 ต.ค. 05, 10:50

 เสียดายที่มิได้มีโอกาสเจอคุณ V_Mee ครับ เพราะว่าไม่ใช่ครูโรงเรียนนี้(พูดง่าย ๆ ก็คือยังเป็น น.ร. อยู่ และขอถามเลยนะครับว่าหนังสือนี่เขาวางจำหน่ายให้แก่นักเรียนหรือเปล่าครับ จะรอคอยครับ และอีกอย่างคือทางโรงเรียนยังมิได้ประชาสัมพันธ์เกียวกับเรื่องนี้ ผมก็เลยเห็นแปลกครับที่ทางโรงเรียนจัดทำหนังสือเล่มนี้ครับ
ดิลกนพรัฐ = ศรีเมืองเชียงใหม่
ที่ไม่ค่อยเข้าใจก็คือว่า นพรัฐแปลว่าเชียงใหม่ได้อย่างไรครับ
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
ศศิศ
พาลี
****
ตอบ: 326


อหังการ์ ล้านนาประเทศ


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 22 ต.ค. 05, 14:05

 ขอขยายความ ของคำว่า "นพรัฐ" ที่หมายถึงเชียงใหม่ได้อย่างไรนั้น

ก็มาจากชื่อ เมืองเชียงใหม่ว่า "นพบุรี" นั่นแหละครับผม

นพบุรี...นวบุรี...เมืองใหม่...เชียงใหม่

ด้วยเหตุนี้แลครับผม
บันทึกการเข้า

- ศศิศ -
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.056 วินาที กับ 19 คำสั่ง