เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6
  พิมพ์  
อ่าน: 36505 เรื่องราวเกี่ยวกับพระราชวังและพระที่นั่งต่างๆ
vun
พาลี
****
ตอบ: 374


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 07 ต.ค. 05, 17:24


นี้เป็นรูปหนึ่งในตำหนักฝ่ายใน พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทรา เป็นตำหนักที่สวยที่สุดและดูทันสมัยที่สุด ในพระราชวังบางปะอิน  
บันทึกการเข้า
vun
พาลี
****
ตอบ: 374


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 07 ต.ค. 05, 17:28


พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียรองค์ใหม่ มองจากมุมสวยๆ  
บันทึกการเข้า
vun
พาลี
****
ตอบ: 374


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 07 ต.ค. 05, 17:31

พระระเบียงพระที่นั่งเวหาญจำรูญ
บันทึกการเข้า
สะใภ้จ้าว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 132

นักเรียนชั้นม.4


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 07 ต.ค. 05, 17:32

 ตอบ ค.ห.ที่ 58 นะครับ พระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ ไม่น่าจะใช่พระที่นั่งไว้พระศพนะครับ(จากการสันนิษฐานของผมเอง) เพราะมันติดอยู่กับพระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาทซึ่งใช้เป็นที่ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง น่าจะอยู่ภายในวัดพระศรีสรรเพชญ์มากกว่านะครับ

ขอบคุณ คุณ van ด้วยครับที่ช่วยเพิ่มเติมความคิดเห็น
บันทึกการเข้า
vun
พาลี
****
ตอบ: 374


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 07 ต.ค. 05, 17:33


พระป้าย ที่พระที่นั่งเวหาญจำรูญ
บันทึกการเข้า
vun
พาลี
****
ตอบ: 374


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 07 ต.ค. 05, 17:40


ตุ๊กตาแหม่ม เจอได้ทั่วไปและมีอยู่มากมายในพระราชวังบางปะอิน(ซื้อได้ที่ไหนครับตุ๊กตาที่ปั้นสวยๆและมีแบบให้เลือกเยะๆย่างนี้ครับ)
บันทึกการเข้า
vun
พาลี
****
ตอบ: 374


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 07 ต.ค. 05, 17:46


ภายในพระที่นั่งวโรภาสพิมาณดูเพดานสิครับ สูงมากๆ
บันทึกการเข้า
vun
พาลี
****
ตอบ: 374


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 07 ต.ค. 05, 17:54


สวยอะไรปานนี้เกิดมาเพิ่งเห็นวังนี้เนี่ยแหละ พระราชวังปางปะอิน  
บันทึกการเข้า
vun
พาลี
****
ตอบ: 374


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 07 ต.ค. 05, 17:55


สวยอะไรปานนี้เกิดมาเพิ่งเห็นวังนี้เนี่ยแหละ สภาคราประยูรณ์ พระราชวังปางปะอิน  
บันทึกการเข้า
vun
พาลี
****
ตอบ: 374


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 07 ต.ค. 05, 17:57

 ไม่ทราบช่วยวิเคราะห์หน่อยครับว่าตัดต่อภาพหรือเปล่า
บันทึกการเข้า
สะใภ้จ้าว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 132

นักเรียนชั้นม.4


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 07 ต.ค. 05, 18:07

 ไม่น่าจะตัดต่อนะครับ เพราะที่เห็นมาทั้งหมดเนี่ย งดงามเกินคำบรรยาย ขนาดตอนที่ผมไปครั้งแรก ก็รู้สึกเหมือนได้เข้าไปในโลกอีกโลกหนึ่งจริงๆ มีการบรรเลงดนตรีไทยให้ฟังผ่านทางลำโพงด้วยครับ งดงามมาก
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 07 ต.ค. 05, 22:17

 คุณ vun ครับ ภาพในความเห็นที่ ๖๔ ไม่ใช่พระป้ายครับ เป็นเพียงลับแลประดับธรรมดา

พระป้ายเป็นป้ายไม้แกะสลักพระปรมาภิไธยสูงราวๆ ศอกเดียวเท่านั้นเองครับ ประดิษฐานอยู่ภายในพระที่นั่งเวหาศจำรูญครับ
บันทึกการเข้า
สะใภ้จ้าว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 132

นักเรียนชั้นม.4


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 15 ต.ค. 05, 01:43


มาเล่าต่อเลยดีกว่า เรื่องราวของพระราชวังต่างๆนะครับ

พอดี ไม่ว่างเข้าเว็บหลายวัน เลยมาต่อ

เห็นว่ากระทู้มันตกลงไป เลยมาขุดดีกว่านะครับ

คราวนี้ไปล่องกันที่ พระราชวัง ณ เกาะสีชัง หรือที่เรียกกันว่า พระจุฑาธุชราชฐาน เลยเอากลอนเพราะๆมาฝากกัน

"สีชัง ชื่อเกาะนั้น               เยียไฉน
ชังพี่ฤาชังใคร                   ใคร่รู้
ความรักหนักแหนงใน         ใจเจ็บ    จริงนา
เสียรักเสียแรงสู้                 คิดไว้  หวังชม "

(พระราชนิพนธ์ในพระบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ)


ที่หมู่เกาะสีชัง ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากปากน้ำเจ้าพระยาทางชายฝั่งทะเลทิศตะวันออกนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดที่จะเสด็จประพาสอยู่เนืองๆ โดยได้มีพระราชดำรัส สรรเสริญเกาะสีชังนี้ ว่าเป็นที่อากาศดี ผู้ที่อยู่ในเกาะนี้ จึงได้มีอายุยืน เพราะมิใคร่มีโรคภัยเบียดเบียน การเสด็จพระราชดำเนินแต่ละครั้งนั้น เสด็จโดยเรือกลไฟ พระที่นั่งสยามอรสุมพล และเสด็จประทับแรมอยู่ในเรือนั้น โดยมิได้ปลูกสร้างพลับพลา เป็นที่ประทับแรมแต่อย่างใด เกาะสีชังเวลานั้น ก็เพิ่งมีคนมาอยู่ ที่แหลมซึ่งได้เป็นที่ตั้ง พระราชฐานในเวลาต่อมา ก็มีชาวบ้านอาศัยอยู่ไม่กี่ครอบครัวนัก มียายเสมซึ่งต่อมา ได้รับพระราชทานสัญญบัตรเป็น ท้าวคิรีรักษา เป็นผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือของชาวเกาะทั้งปวง

" มีพระบรมราชโองการ นามพระบัณฑูรสีหนาท ให้ประกาศแก่มหาชนชาวสยามแลชาวต่างประเทศ ซึ่งเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารอยู่ในกรุงสยามให้ทราบทั่วกันว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาไศรยฐานขึ้นไว้ ณ ตำบลเกาะสีชัง เป็นตึกสามหลัง หลังหนึ่งเป็นตึกสี่เหลี่ยมสองชั้น มีสี่ห้องแลเฉลียงน่าทั้งสองชั้น หลังหนึ่งเป็นตึกกลมมีสามห้องเฉลียงรอบหลังหนึ่งเป็นตึกยาวมี ๕ ห้อง เฉลียงหน้าหลัง แลมีครัวไฟห้องน้ำพร้อม ตึกสามหลังนี้ได้ทรงบริจาคพระราชทรัพย์เป็นส่วนพระคลังข้างที่พระราชทานให้สร้างขึ้นไว้ เพื่อเป็นที่อาไศรยแก่มหาชนทั้งปวงด้วยทรงพระราชดำริห์ว่าที่ตำบลเกาะสีชังนี้ ไม่ไกลจากกรุงเทพนักแลเป็นท่าเรือไปมาได้พักอาไศรยอยู่เนืองๆ บางทีผู้ป่วยไข้ที่จะหาประเทศที่รักษาโรคให้เป็นศุขสบายก็แปลงสฐานออกมาอยู่ที่เกาะสีชังเนืองๆ ฤาผู้ที่มีกำลังอันอ่อนอยู่ในบ้านเมืองไม่สบายจำเป็นต้องออกมาหาความศุขตามชายฝั่งทะเล ก็มาอาไศรยในที่นี้เนืองๆ...."

ครั้งล่วงมาถึงแผ่นดินพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกาะสีชังก็ได้เป็นที่พักระยะ ในเวลาเสด็จพระราชดำเนินหัวเมือง ฝั่งทะเลตะวันออก เหมือนอย่างเมื่อครั้ง สมเด็จพระบรมชนกนาถ และในเวลานั้น การค้าขายในกรุง กับนานาประเทศ เจริญขึ้น มีเรือไปมารับบรรทุกสินค้ามาก การจอดรับและลำเลียงสินค้า ที่นอกสันดอน ปากน้ำเจ้าพระยา ไม่สะดวก ชาวเรือทั้งหลาย จึงได้มาทอดเรือที่เกาะสีชังนี้ เพื่อขนถ่ายสินค้า และอาศัยกำลังคลื่นลม เกาะสีชังจึงเริ่มเป็นชุมชน ที่มีผู้คนไปมามาก และนิยมกันว่า อากาศดี ประจวบกับบางครั้ง เจ้านายชั้นพระบรมวงศ์ บางพระองค์ อาทิเช่น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ซึ่งต่อมา เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์ ลำดับที่ ๖ แห่งพระบรมจักรีวงศ์ ทรงพระประชวร แพทย์ลงความเห็นว่า ควรจะให้เสด็จไป ประทับอยู่ในที่ซึ่งได้อากาศทะเล จึงโปรดเกล้าฯ ให้เสด็จมาประทับรักษาพระองค์ ที่เกาะสีชังนี้เป็นปฐม และต่อมาก็ได้มีเจ้านายอีกหลายพระองค์ เสด็จมารักษาพระองค์ที่เกาะสีชังนี้ อยู่เป็นประจำ เกาะสีชังจึงค่อยมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้น โดยลำดับ มีการปลูกสร้างอาคารสถานต่างๆ จนพอแก่การที่พระบาทสมสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จพระราชดำเนิน มาประทับแรมได้  

ในปีรัตนโกสินทรศก ๑๑๑ ตรงกับพุทธศักราช ๒๔๓๖ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินออกมาประทับที่เกาะสีชัง พร้อมด้วย พระนางเจ้าพระวรราชเทวี (คือสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ) ซึ่งในเวลานั้น ทรงพระครรภ์ ใกล้จะถึงกำหนดประสูติ จึงทรงพระราชดำริว่า ที่เกาะสีชังนี้ เป็นที่อากาศดี มีภูมิสถานเป็นที่สบาย ควรจะตั้งพระราชฐานให้มั่นคง เป็นที่ประทับในฤดูร้อน และต่อไปภายหน้าการค้าขายเจริญยิ่งขึ้น ที่เกาะนี้จะต้องเป็น ที่สำคัญแห่งหนึ่งของกรุงสยาม เพราะเป็นท่าเรือใหญ่ได้อาศัย จอดรับสินค้า พระราชฐานที่เกาะนี้ ย่อมเป็นพระราชฐานสำคัญแห่งหนึ่ง เหมือนดั่งว่าเป็นพระนคร ที่สมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน เสด็จพระราชดำเนินมาประทับ เจริญพระราชอิริยาบทในฤดูร้อน ไม่เป็นที่ควรรังเกียจอันใด ในการที่จะประสูติที่เกาะนี้เลย เมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกเธอประสูติแล้ว ก็จะได้พระราชทานนาม พระราชฐานนี้ ให้ต้องกับพระนามแห่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอนั้น ให้ปรากฏไว้สืบไปภายหน้าด้วย

ครั้น ณ วันที่ ๕ กรกฎาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๑ เวลา ๘ ทุ่ม ๕๓ นาที ได้ศุภวารมหามงคลสมัย อันอุดม พระนางเจ้าพระวรราชเทวีประสูติ พระราชกุมาร ณ พระตำหนักมรกฏสุทธ์ ในพระราชฐานแห่งนี้

อีกประมาณหนึ่งเดือนต่อมา เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๑ ได้มีการสมโภชเดือนพระราชกุมาร ก่อพระฤกษ์พระที่นั่งองค์ใหญ่ อันเป็นหลักแห่งพระราชฐาน และการพระราชทานนามแก่พระราชฐาน รวมกันเป็นสามพระฤกษ์ พระราชกุมารนั้น ได้รับพระราชทานพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลกฯ ส่วนพระราชฐานนั้น ให้เรียกว่า พระจุฑาธุชราชฐาน โดยนิยมตามพระนามซึ่ง พระราชทาน สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอนั้น และพระราชทานนาม พระที่นั่งซึ่งก่อพระฤกษ์ในคราวนั้นว่า พระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุ์วงษ์วรเดช เป็นแม่กอง แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า การทั้งหลายมิได้ดำเนินไป โดยตลอดลุล่วงดังพระราชประสงค์ ด้วยหลังจากนั้นไม่นานนัก ได้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง ระหว่างประเทศขึ้น ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส เมื่อรัตนโกสินทรศก ๑๑๒ เหตุการณ์ลุกลามใหญ่โต ถึงขนาดฝรั่งเศส ทำการปิดอ่าวไทย พระจุฑาธุชราชฐาน จึงไม่เป็นสถานที่ปลอดภัยอันควรแก่การ เสด็จพระราชดำเนินอีกต่อไป พระราชฐาน ณ เกาะสีชังแห่งนี้ จึงถูกทอดทิ้งรกร้างตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
บันทึกการเข้า
สะใภ้จ้าว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 132

นักเรียนชั้นม.4


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 15 ต.ค. 05, 01:50

 ต่อมาในวันที่ ๕ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๓๕ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องสี พระวรราชเทวีประสูตรพระราชโอรส ณ พระตำหนักมรกฏสุทธิ์ในพระราชฐานนี้ มีการสมโภช ๓ วัน ตามขัตติราชประเพณี และในระหว่างนั้น ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้เร่งดำเนินการสร้างสถานที่ต่าง ๆ ในพระราชฐานให้ทันการพระราชพิธีสมโภชเดือนสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ โดยมีสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธ์วงษ์วรเดชทรงเป็นแม่กองพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นสรรพศาสตรศุภกิจเป็นนายช่างผู้แบบอย่าง พระยาชลยุทธ์โยธินทร์เป็นกงสีจ่ายสิ่งของ พระยาสมุทรบุรานุรักษ์เป็นกงสีจ่ายเงินและจ้างจีนเป็นลูกจ้าง และได้พระราชทานนามสถานที่ต่าง ๆ เหล่านี้โดยคล้องจองกัน ดังนี้

   ก. พระที่นั่ง ๔ องค์

      ๑. พระที่นั่งโกสีย์วสุภัณฑ์     ๒. พระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์
      ๓. พระที่นั่งโชติรสประภาต์     ๔. พระที่นั่งเมขลามณี

   ข. พระตำหนักต่าง ๆ ในพระราชฐาน ๑๔ ตำหนักคือ

๑. พระตำหนักวาสุกรีก่องเก็จ
๒. พระตำหนักเพ็ชรระยับ

๓. พระตำหนักทับทิมสด
๔. พระตำหนักรกฎสุทธ์

๕. พระตำหนักบุษราคัม
๖. พระตำหนักก่ำโกมิน

๗. พระตำหนักนิลแสงสุก
๘. พระตำหนักมุกดาพราย

๙. พระตำหนักเพทายใส
๑๐. พระตำหนักไพฑูรย์กลอก

๑๑. พระตำหนักอกตะแบกลออ
๑๒. พระตำหนักโอปอล์จรูญ

๑๓. พระตำหนักมูลการะเวก
๑๔. พระตำหนักเอกฟองมุก


       

   ค. บ่อต่าง ๆ จำนวนทั้งสิ้น ๑๔ บ่อ

๑. บ่ออัษฎางค์ ๒. บ่อเชิญสรวล
๓. บ่อชวนดู ๔. บ่อชูจิตร
๕. บ่อพิศเพลิน ๖.บ่อเจริญใจ
๗. บ่อหทัยเย็น ๘.บ่อเพ็ญสำราญ
๙. บ่อศิลารอบ ๑๐.บ่อขอบก่อ
๑๑. บ่อล้อหอย ๑๒.บ่อน้อยเขา
๑๓. บ่อเลาเหมือน ๑๔.บ่อดูเหมือนต่อ

นอกจากนี้ยังมีบ่อต่าง ๆ อีก ๙ บ่อ ในเขตพระราชฐานที่มิได้มีชื่อพระราชทานบันทึกไว้

   ง. สระ จำนวนทั้งสิ้น ๓ สระ

       ๑. สระเทพนันทา

       ๒. สระมหาอโนดาตต์

       ๓. สระประพาสชลธาร

   จ. ธาร จำนวนทั้งสิ้น ๒ ธาร

       ๑. ธารเครื่องหอมปน

       ๒. ธารสุคนธ์ปรุง

   ฉ. บันได จำนวนทั้งสิ้น ๒๑ บันได

๑. บันไดเนรคันถี ๒. บันไดรีฟันม้า
๓. บันไดผาเยปนูน ๔. บันไดมุนโสตหนา
๕. บันไดศิลาทอง ๖. บันไดผองผลึก
๗. บันไดบึกประพาฬ ๘. บันไดปกนาคสวาสดิ์
๙. บันไดปกนาคสวาสดิ์ ๑๐. บันไดลาดนากแท่งหยก
๑๑. บันไดศิลาแร่ ๑๒. บันไดแพร่เพ็ชร์น้ำค้าง
๑๓. บันไดพร่างนิลน้ำขาว ๑๔. บันไดพราวตากระต่าย
๑๕. บันไดพรายคัมเมียว ๑๖. บันไดเขี้ยวหนุมาน
๑๗. บันไดผสาณโมรา ๑๘. บันไดศิลาอ่อน
๑๙. บันไดท่อนมาเบอร์ ๒๐. บันไดเสมอกรุนผา
๒๑. บันไดศิลาอ่อนลาย  

   ช. ถ้ำ จำนวนทั้งสิ้น ๓ ถ้ำ

๑. ถ้ำจรูญนพรัตน์  

๒. ถ้ำจรัสนพเลาห์

๓. ถ้ำเสาวภา

   ฉ. ผา จำนวน ๓ ผา

๑. ผาเงินตระหง่าน

๒. ผาม่านนาก

๓. ผาฉากสัมฤทธิ์

   ช. น้ำตก น้ำตกในเขตพระราชฐานมีจำนวน ๕ น้ำตก

       ๑. น้ำตกไหลหลั่ง

       ๒. น้ำตกถั่งธาร

       ๓. น้ำตกปานร่ม

       ๔. น้ำตกสมพู่

       ๕. น้ำตกพรูสาย

ซ. ทางในพระราชฐาน มีชื่อพระราชทางคล้องจองกันจำนวนทั้งสิ้น ๒๖ ทาง และทางในมหาวัน จุลวัน ซึ่งไม่มีชื่ออีก  จำนวนหนึ่ง มีตำแหน่งที่ตั้งและความยาวตามชื่อที่ได้บันทึกไว้ดังนี้

    ๑. ทางโรยทองทราย ตั้งแต่ปตูดุสิตเทวะสภา ถึงทางอ้อมหล่อ ซึ่งเปนทางริมเขื่อนน้ำกว้าง ๒ วา ยาว ๑ เส้น ๑๒ วา ๑ ศอก

   ๒. ทางรายทองเหรียญ ทางริมกำแพงพระราชฐานด้านเหนือ ตั้งแต่ทางโรยทองทรายถึงทางกรวดทองก้อน

หมายเหตุ........คำศัพท์บางคำใช้ตามคำสะกดภาษาไทยสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว......................

ใครอยากดูรูปก็ดูที่นี่เลยครับ >>http://www.arri.chula.ac.th/sichang_pic/map.gif
บันทึกการเข้า
Olympus
อสุรผัด
*
ตอบ: 12


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 18 ต.ค. 05, 20:39

 อยากจะรบกวนถามผู้รู้เรื่องเกี่ยวกับวังหลังของกรุงรัตนโกสินทร์หน่อยครับ ว่าอยู่ตรงไหน เป็นมาอย่างไร และถ้ามีรูปด้วยจะเป็นพระคุณอย่างสูงครับ ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.042 วินาที กับ 19 คำสั่ง