เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7
  พิมพ์  
อ่าน: 62953 ภาพเมืองไทยในอดีต (๔)
vun
พาลี
****
ตอบ: 374


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 10 ต.ค. 05, 11:47


พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี  
บันทึกการเข้า
vun
พาลี
****
ตอบ: 374


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 10 ต.ค. 05, 11:48


พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา  
บันทึกการเข้า
vun
พาลี
****
ตอบ: 374


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 10 ต.ค. 05, 11:49


พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พรองค์เจ้าชายรังสิตประยูรศักดิ์  
บันทึกการเข้า
vun
พาลี
****
ตอบ: 374


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 10 ต.ค. 05, 11:53

 ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือรัชกาลที่ 5 นั้น เป็นห้วงเวลาที่ชาวไทยทั้งหลายถือกันว่าเป็นสมัยที่บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด นอกเหนือจากการประกอบอาชีพโดยสุจริต ประชาชนในยุคนั้นมีเวลาที่จะชื่นชมงานศิลปะหรือมีงานอดิเรกที่ตนพึงพอใจยุคสมัยแห่งการเล่นสะสม “สิ่งของ” บางอย่างจึงเกิดขึ้น เช่นเครื่องลายคราม ไม้เท้า เครื่องแก้ว เครื่องเบญจรงค์ ตลับงา ฯลฯ บางครั้งถึงกับมีการประกวดประขันกันเป็นงานใหญ่ก็มี

ราวปีรัตนโกสินทร์ศก 121 มีการเล่น “ตลับงา” ขึ้น ตลับนั้นเป็นเครื่องอุปโภคชนิดหนึ่งที่ใช้ประกองเชี่ยนหมาก หีบหมาก สตรีไทยในสมัยนั้นตัดผมสั้นทรงดอกกระทุ่มและนิยมเคี้ยวหมากจึงจำเป็นต้องมีขี้ผึ้งและตลับน้ำหอมๆ ไว้สำหรับใส่ผมนอกเหนือจากหมาก พลู ปูน ยาฝอย ขี้ผึ้งสีปาก ใช้สำหรับการเคี้ยวหรือการกินหมาก ตลับงาขนาดต่างๆ จึงใช้ประโยชน์ได้อีกสำหรับใส่ขี้ผึ้งสีปาก รูปร่างของตลับนั้นกลึงมนคล้ายกับรูปลูกพลับสด

สมัยของการเล่น “ตลับงา” เริ่มขึ้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทอดพระเนตรเห็นตลับใส่ขี้ผึ้งสีพระโอษฐ์ของพระเจ้าน้องนางเธอพระองค์เจ้านภาพรประภา แล้วตรัสชมว่า “สวยมาก คล้ายๆ กล้องยาสูบเมียร์ชอม” คือกล้องยาสูบเส้นทำด้วยดินชนิดหนึ่ง สีคล้ายงาช้าง ตั้งแต่นั้นมาบรรดาผู้เป็นเจ้าของตลับงาต่างก็ขัดถูตลับของตนและแสวงหาตลับงามาสะสมเป็นการใหญ่ ที่เป็นเจ้านายผู้ใหญ่หรือที่มีฐานะพอสมควรก็แสวงหาตลับงาอย่างที่เป็นเถาเรียงกันตั้งแต่ใบใหญ่สุดจนถึงใบเล็กขนาดจิ๋วมาเป็นสมบัติการเล่นตลับงาในชั้นหลังแพร่หลายออกไปอย่างรวดเร็ว เริ่มตั้งแต่ใบใหญ่สุดจนถึงใบเล็กขนาดจิ๋วมาเป็นสมบัติการเล่นตลับงาในชั้นหลังแพร่หลายออกไปอย่างรวดเร็ว เริ่มตั้งแต่เจ้านายลงมาจนถึงชาววังทั่วไป นอกจากทรวดทรงและลวดลายต่างๆ แล้วจุกตลับงานั้นก็เป็นเครื่องหมายแสดงฐานะของเจ้าของอีกอย่างหนึ่งด้วย เพราะมีตั้งแต่จุกเลี่ยมนากไปจนถึงจุกทำด้วยทองคำลงยาและประดับเพชรพลอยเป็นรูปทรงต่างๆ

นอกเหนือจากการสะสม “ตลับงา” ในสมัยนั้นยังมีของสะสมที่นิยมเล่นเป็นของเก่ามาจนถึงทุกวันนี้ นั่นคือ “เครื่องลายคราม” มูลเหตุที่เครื่องกระเบื้องลายครามของจีนเข้ามาในเมืองไทยนั้นโดยการค้า และเพราะกระเบื้องลายครามของจีนเป็นของผีมือดี มีลวดลายแปลกตาสวยงามจึงถูกสั่งนำเข้ามาขายในเมืองไทยจำนวนมาก จนเกิดการนิยมเล่นเครื่องลายครามของจีนกันอย่างสูงสุดในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์เองยังเคยสั่งประดิษฐ์เครื่องลายครามชุดพระปรมาภิไธยย่อ จ.ป.ร. โดยคิดผูกลวดลายแบบตัวอักษรจีนและรูปภาพที่เป็นมงคลมาใช้ในราชการด้วย ทุกวันนี้ก็ยังเห็นอยู่ตามรั้ววังหลายแห่ง อาทิพระที่นั่งวิมานเมฆ เป็นต้น

พระปรีชาสามารถในพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงในทางเล่นเครื่องกระเบื้องลายครามนั้น หากเป็นสามัญชนต้องบอกว่า “หาตัวจับยาก” เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินประพาสทวีปยุโรประหว่างที่ประทับอยู่ในกรุงลอนดอนและเมืองอื่นๆ พระองค์ก็มักเสด็จฯไปทรงซื้อเครื่องลายครามชิ้นเยี่ยมกลับมาเมืองไทยเป็นจำนวนมาก

เครื่องลายครามที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงรับถวายบรรณาการมาบ้างหรือที่ทรงพระราชอุตสาหะเลือกซื้อ เลือกสั่ง เลือกทำมาบ้างนั้น เวลานี้มีอยู่เป็นจำนวนมากที่เป็นสมบัติของชาติไทยที่น่าภาคภูมิใจ เครื่องลายครามหลายๆ ชิ้นประมาณค่ามิได้ บางชิ้นมีอยู่เพียงหนึ่งเดียวในโลก

หากสนใจสามารถเข้าชมเครื่องลายครามครั้งแผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวงได้ที่พระที่นั่งเวหาศจำรูญ พระราชวังบางปะอิน ซึ่งเป็นส่วนที่ข้าราชการและพ่อค้าผู้มีเชื้อสายจีนทูลเกล้าฯ ถวายองค์พระพุทธเจ้าหลวงของเราในครั้งนั้น

ที่มา http://www.yingthai-mag.com  
บันทึกการเข้า
vun
พาลี
****
ตอบ: 374


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 10 ต.ค. 05, 11:54


พระองค์เจ้าวุฒิชัยเฉลิมลาภ  
บันทึกการเข้า
vun
พาลี
****
ตอบ: 374


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 10 ต.ค. 05, 11:55


ตลับงาในสมัยพระพุทธเจ้าหลวง  
บันทึกการเข้า
vun
พาลี
****
ตอบ: 374


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 10 ต.ค. 05, 11:59


หม้อน้ำลายคราม ทำขึ้นในสมัยราชวงศ์ชิง ซึ่งอยู่ในช่วงสมัยอยุธยาตอนปลายเรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์  
บันทึกการเข้า
vun
พาลี
****
ตอบ: 374


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 10 ต.ค. 05, 12:00


เครื่องกระเบื้องเคลือบ เครื่องแก้วและเครื่องโลหะ  

ชุดอาหารกระเบื้องเคลือบที่มีอักษรพระบรมนาภิไธยย่อ สพปทจ.5 อันเป็นนาม "สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ รัชกาลที่ 5" ซึ่งทรงใช้ในระหว่างครองราชระยะแรก ๆ ราว พ.ศ.2413 ก่อนที่จะทรงเปลี่ยนเป็น จ.ป.ร.
บันทึกการเข้า
vun
พาลี
****
ตอบ: 374


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 10 ต.ค. 05, 12:02


ชุดจัดเลี้ยงแก้วเจียรไน ประกอบด้วย แจกัน ถาดใส่ผลไม้ ชาม ที่เขี่ยบุหรี่ เหยือกน้ำแข็ง เหยือกน้ำ แก้วน้ำ พาน และโถใส่ของ ซึ่งเป็นเครื่องแก้วเนื้อดีจากยุโรป  
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 10 ต.ค. 05, 12:13

 ขอสันนิษฐานต่อข้อสงสัยของคุณเทาชมพูนะครับ

"อ.ป.ร." นั้นไม่ได้หมายถึง "อานันทมหิดล ปรมราชาธิราช" คือรัชกาลที่ ๘ เท่านั้น แต่ยังหมายถึง "อิศรสุนทร ปรมราชาธิราช" คือรัชกาลที่ ๒ ด้วย

ผมสันนิษฐานว่าสิ่งของที่จารึกอักษรพระปรมาภิไธย อ.ป.ร. และ จ.ป.ร. คู่กันนั้นเป็นอนุสรณ์ในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติเสมอด้วยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยครับ
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 10 ต.ค. 05, 12:20

 ขอสันนิษฐานต่อข้อสงสัยของคุณเทาชมพูนะครับ

"อ.ป.ร." นั้นไม่ได้หมายถึง "อานันทมหิดล ปรมราชาธิราช" คือรัชกาลที่ ๘ เท่านั้น แต่ยังหมายถึง "อิศรสุนทร ปรมราชาธิราช" คือรัชกาลที่ ๒ ด้วย

ผมสันนิษฐานว่าสิ่งของที่จารึกอักษรพระปรมาภิไธย อ.ป.ร. และ จ.ป.ร. คู่กันนั้นเป็นอนุสรณ์ในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติเสมอด้วยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 10 ต.ค. 05, 12:39

 ขอบคุณค่ะคุณ UP
ดิฉันนึกไม่ถึงจริงๆ ถึงพระปรมาภิไธย อิศรสุนทร ปรมราชาธิราช รัชกาลที่ 2
พระปรมาภิไธยนี้ ซึ่งเดาว่ามีขึ้นในรัชกาลที่ 5  ใช้กันในโอกาสอื่นบ้างหรือเปล่าคะ

ขอเล่นเกม 1 นาที กับคุณ UP
ความเห็นที่ 33  หนุ่มเชียร์ลีดเดอร์ธรรมศาสตร์
แถวยืน คนที่สามจากซ้าย

ตัวท่านไม่ได้เป็นครูอาจารย์หรอกค่ะ แต่ลูกเขยท่านเป็น
เป็นอาจารย์ที่น่าจะถึงระดับเจ้าพระยา
จบนิติศาสตร์ ม.ธ. แล้วไปต่อที่ฝรั่งเศสจนจบปริญญาเอก
กลับมาสอนที่จุฬา  
เคยเป็น " ฎีกาสภาบดี"
เป็นคณบดีคนแรกของคณะที่คุณ UP เรียนจบ
นอกจากเก่งกฎหมาย ยังเก่งเรื่องมัณฑนศิลป์ แต่งบ้านสวยมาก
ภาษาดี แต่งกลอนเก่ง
สมัยสอนที่จุฬา เป็นอาจารย์หนุ่มโสด  เวลาเข้าห้องเลกเชอร์
จะมีมือมืด  เอาดอกกุหลาบมาวางไว้ให้บนโต๊ะ  จับมือใครดมไม่ได้จนบัดนี้
คุณ UP ทันเรียนกับท่านหรือเปล่าคะ
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 10 ต.ค. 05, 13:48

 ขอทายครับ...

แต่เอ...ยังงงๆ คำใบ้อยู่นะครับ เพราะหากว่าคณบดีท่านแรกของคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ก็ต้องเป็น ศาสตราจารย์ ดร.ประยูร กาญจนดุล แต่คณบดีท่านที่ ๒ คือ ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน นี่พอจะทราบกิตติศัพท์ท่านอยู่ว่ามีความสามารถในเรื่องมัณฑนศิลป์

อย่างไรก็ดี ผมไม่ทันได้เรียนกับอาจารย์อาวุโสในยุคนั้นไม่ว่าจะเป็นคณบดีท่านแรกหรือท่านที่สองหรอกครับ แต่อาจารย์ของผมนั้นเป็นลูกศิษย์ท่านทั้ง ๒ ทั้งนั้น หากจะนับญาติ ผมก็คงเป็นหลานศิษย์ของท่าน

หากบุคคลที่ ๓ ในภาพที่ ๓๓ นั้นหมายถึงพ่อตาของท่านอาจารย์อุกฤษ ก็ต้องเป็น คุณมณเฑียร บุณยประสพ

ถูกมั้ยครับ

...........................

ส่วนเรื่องตรา อ.ป.ร. คู่กับ จ.ป.ร. ที่ผมบอกว่าเป็นอนุสรณ์โอกาสรัชกาลที่ ๕ ทรงครองราชย์เสมอรัชกาลที่ ๒ นั้น ขอเปลี่ยนใจครับ ขอแก้ไขเป็นพระบรมราชสัญลักษณ์อนุสรณ์ใน "พระราชพิธีทวีธาภิเษก" ซึ่งจัดขึ้นในโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๓๑ ปี เป็น ๒ เท่าของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (๑๕ ปี) ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 10 ต.ค. 05, 14:07

คุณ UP นี่เก่งจริงๆ ขนาดคนใบ้คำ ใบ้ผิด  ยังทายถูกจนได้
ดิฉันไม่ยักรู้ว่าอาจารย์ประยูร เป็นคณบดีคนแรก  นึกว่าเป็นดร.อุกฤษ
พระยาวัฒนธรรมไทยไพศาล เป็นลูกศิษย์ของท่าน
ภาพคุณมณเฑียร บุณยประสพ สมัยเรียนม.ธรรมศาสตร์  ถูกต้องแล้วค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 11 ต.ค. 05, 09:00


ภาพถ่ายชุดนี้  เป็นศิลปวัตถุจากยุโรป สมัยรัชกาลที่ 5
เมื่อเสด็จประพาสยุโรป  ทรงนำศิลปวัตถุของฟาร์แบเช่ แห่งรัสเซีย
และเครื่องกระเบื้องแซฟวร์ ของฝรั่งเศส กลับเข้ามาในสยามเป็นจำนวนมาก
บางชิ้นก็สั่งทำไปจากสยาม ดังตัวอย่างนี้

ทั้งหมดนี้อยู่ในพิพิธภัณฑ์เอกชน ชื่อพิพิธภัณฑ์ปราสาท ของคุณปราสาท วงศกุล
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 19 คำสั่ง