เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 4658 กั้นประตู ของไทย ของจีน หรือของมอญ
เกาลัดกลมๆ
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


 เมื่อ 25 ก.ย. 05, 16:29

 งานแต่งงานเดี๋ยวนี้ต้องมีกั้นประตู กว่าเจ้าบ่าวจะเข้าบ้านได้ ทั้งประตูเงิน ทอง นอก เพชร (และอื่นๆถ้ามี...ประตูทับทิม มรกต ยังมีเลย) จนสงสัยว่าเป็นธรรมเนียมของชาติใดกันแน่
ได้อ่านหนังสือตึ่งหนั่งเกี้ยของคุณจิตรา ก็มีเรื่องการกั้นประตู ก็เคยคิดว่าเป็นธรรมเนียมจีน แต่พออ่านเรื่อง รัตนโกสินทร์ ในตอนต้นเรื่อง งานแต่งงานของส้มจีน พี่สาวของพระเอก ที่ระบุว่ามีพิธีครบทั้งไทย จีน และมอญ คือฝ่ายมารดาของส้มจีนที่เป็นมอญ โดยพิธีมอญก็คือ การกั้นประตู ทำให้สับสนมาก ขอท่านผู้รู้ช่วยเฉลยไขจะเป็นพระคุณมากค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 26 ก.ย. 05, 09:19

 ประเพณีของชาติต่างๆคล้ายคลึงกันได้ค่ะ
บันทึกการเข้า
อ.อ้อย
อสุรผัด
*
ตอบ: 10

วิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี จ.ปทุมธานี 12000


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 26 ก.ย. 05, 17:42

 น่าจะเป็นพิธีแต่งงานแบบไทย

พิธีสมรส

- พิธีแห่ขันหมาก ครั้นมาถึงวันสุกดิบ ฝ่ายชาย
จะต้องจัดการ แห่ขันหมาก ผ้าไว้ ไปยังบ้านเจ้าสาว ขันหมากตามประเพณีจัดเป็น สามขัน เรียกว่า ขันหมากเอกหนึ่งขัน บันหมากรองสองขัน  
- ขันหมากเอก ใส่ข้าวสาร หมากพลูพลงาม ใส่ตะลุ่ม(ถ้าไม่รู้จัก ตะลุ่มไปขอดูที่กรม ศิลปากร ) มีฝาปิดหุ้มผ้าลายมีผ้าไหมรัด- ขัน หมากกรอง ใส่เงินสินสอด ถั่วงา ข้าว เปลือก ใบเงิน ใบทอง ใบนาค ธูป เทียน ผ้าไหว้บิดามารดาและผ้าไหว้ผี ปู่ ย่า ตา ยาย จะจัดผ้าไหว้ กี่คู่แล้ว แต่จะตกลงกันไว้ก่อน แต่สำหรับเงินสินสอดนั้นตามประเพณีนิยม ให้ใส่ไว้เกินกว่าที่กำหนด กันไว้ เพื่อที่เมื่อเถ้าแก่ตรวจนับดูจะได้ถือว่าเป็นเงินงอก อัน เป็นเคล็ดถือกันว่า หญิงชายคู่ นั้นเมื่ออยู่ร่วมกัน แล้ว จะได้มีทรัพย์สินงอกเงยยิ่งๆขึ้น นอกจากนี้ จะมีถาดขนมอะไร ต่ออะไร มากมายไปอีกเท่าใดก็ได้ไม่จำกัดแต่ที่สำคัญคือ ขันหมาก ทั้งสามดังกล่าวแล้ว

- สินสอด หมายถึง เงินที่ผ่ายชายได้ให้แก่ตัวเจ้าสาวผิดกับคำว่า เงินทุน หมายถึง เงินที่ผู้ใหญ่ ฝ่ายหญิง ได้มอบให้แก่เจ้าบ่าวและ เจ้าสาว ฝ่ายละครึ่งเพื่อให้เป็นทุนแก่คู่สมรสที่จะให้ใช้ก่อ สร้างตัว ต่อไปใน อนาคตกาล- ประเพณีการกั้นประตู เมื่อถึงฤกษ์งามยามดี ขบวนแห่ของ เจ้าบ่าวก็เริ่มแห่ ไปยัง บ้านเจ้าสาวอย่างครึกครื้น มีการไชโยโห่ร้องมีกลองยาวยิ่งเป็นหัว บ้านหัวเมืองไกลยิ่งสนุกสนาน ยิ่งนักครั้นขบวนแห่ขันหมากมาถึงบ้าน เจ้าสาวแล้วต้องเจอกับ

การกั้นประตูเงิน ประตูทอง ประตูแก้ว

ของบรรดาพวกพ้องของ เจ้าสาว โดยให้คนยืน สอง ข้าง ใช้แพรสีสด ขึงกั้นก็ หรือไม่ก็ใช้สาย สร้อยผูกต่อกันกางกั้นไม่ให้ขบวนเจ้าบ่าว ผ่านเข้าประตูเรือนหอได้ เมื่อถูกกั้นประตูแรกพวกเจ้าบ่าวจะต้องถามว่า นี่ประตูอะไร ? พวกเจ้าสาวที่ยืนกั้นก็จะตอบว่า ประตูเงิน พวกเจ้าบ่าวต้องจ่ายค่า ผ่านประตูให้เป็น เงินตรา แล้วจึงผ่านเข้าไปได้ พอถึงประตูที่สองอีก คนคอยเก็บค่าผ่านก็จะตอบว่า ประตูทอง ต้องจ่ายอีกแล้วผ่าน ไปถึงประตูที่สามคนเฝ้าจะตอบว่าประตูแก้ว คราวนี้ จ่ายหนักหน่อย แล้วจึงผ่านเข้าไปได้ และเมื่อผ่านไปแล้วญาติทางฝ่ายเจ้า สาวจะเป็น ผู้ล้างเท้าทำความ สะอาดให้กับเจ้าบ่าวก่อนย่างขึ้นบ้าน ต่อจากนั้น เถ้าแก่คนกลางทั้ง สองฝ่ายก็ร่วมกันตรวจ ขันหมาก ว่าทุกอย่างเป็นไป ถูกต้องตามข้อตกลงไหม เมื่อถูก ต้องเรียบร้อยแล้ว ฝ่ายเจ้าสาว ก็รับขัน หมาก แล้วจัดอาหารมา เลี้ยงดูกันเป็นเสร็จพิธี
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 27 ก.ย. 05, 15:01

 ขอขยายความ
ธรรมเนียมกั้นประตูในวันแต่งงาน มีทั้งของพม่า มอญ ไทยทางเหนือ ภาคกลาง  และจีน
ต่างกันในรายละเอียด แต่ก็เป็นการกั้นขบวนเจ้าบ่าวไม่ให้ขึ้นเรือนเจ้าสาวได้ง่ายๆ แบบเดียวกัน จนกว่าจะเสียค่าผ่าน หรือตอบคำถาม หรืออะไรสักอย่าง ให้ลุล่วงไปได้

ประเพณีมอญ มีแบบนี้ค่ะ
หน้าบ้านเจ้าสาวทำซุ้มแต่งด้วยผ้าสี มีใบไม้มาสะไว้  เรียกว่า "เฝ้าประตูเมือง" ไม่ให้คนนอกล่วงล้ำเข้าไปง่ายๆ
พอขบวนเจ้าบ่าวมาถึง ก็ถูกกักและสอบถาม  ต้องยื่นเงินหนึ่งบาทให้คนกั้นประตู
ผ่านขึ้นไปถึงบันไดขึ้นเรือน  กฌมีคนถือสร้อยคอทองคำขวางไว้  ต้องเสียเงินอีก ถึงผ่านขึ้นเรือนไปทำพิธีได้
มีประตูเดียว ไม่ใช่ 3 ประตู

หาอ่านรายละเอียดได้จาก "ประเพณีเกี่ยวกับชีวิตแต่งงาน"
ของเสฐียรโกเศศ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.039 วินาที กับ 19 คำสั่ง