เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 9626 พระยาวิสูตร์สาครดิฐ(สาย โชติกเสถียร)
นกเล็ก
อสุรผัด
*
ตอบ: 8

ทำงาน


 เมื่อ 23 ก.ย. 05, 11:53

 ตอนนี้ กำลังศึกษาเรื่องของ บรรพบุรุษ กรมไปรษณีย์โทรเลข อลู่ค่ะ

ตามประวัติในหนังสือต่างๆ ของกรมไปรษณีย์โทรเลข ระบุว่า ในระว่า Mr.Herr Collman  ดำรงตำแหน่งรักษาการปลัดบัญชาการ ในระหว่างปี 2449-2452
หลังจากนั้น ผู้ดำรงตำแหน่งสืบมา ดังนี้  

พระขบวนบรรณสาร ในระหว่างปี 2452-2453

พระนานริศราชกิร (สาย โชติกเสถียร) ต่อมาเป็นพระนาวิสูตร์สาครดิฐ  ในระหว่างปี 2453-2454

พระวิสูตรเกษตรศิลป์ (นกยูง วิเศษกุล) ต่อมาเป็น พระยาสุรินทรราชา ในระหว่างปี 2454-2462
บันทึกการเข้า
นกเล็ก
อสุรผัด
*
ตอบ: 8

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 23 ก.ย. 05, 11:58

 แต่จากการค้นคว้า เกี่ยวกับกับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขประวัติผลงานของทั้งสี่ท่านที่เอ่ยนามมานั้น

พบว่า ช่วงระยะเวลา  หลังจาก Mr.Herr Collman ชาวเยอรมัน ได้ลาออกจากการเป็นปลัดบัญชาการในปี 2452 เนื่องจาดปัญหาสุขภาพ
หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า จึงโปรดเกล้าตั้งพระขบวนบรรณสาร

และเมื่อค้นคว้าจากเอกสารชั้นต้นที่หอจดหมายเหตุ  จึงพบว่าช่วงระหว่างปี 2453 เป็นต้นมา   พบว่าผู้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมไปรขณะนั้นจนถึงปี 2462 ใช้ราชทินนามว่า "พระยาอจิรการประสิทธิ์"


อยากทราบท่านผู้รู้ว่า...
บันทึกการเข้า
นกเล็ก
อสุรผัด
*
ตอบ: 8

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 23 ก.ย. 05, 12:04

 ได้ไปค้นคว้าเรื่อง พระยาอจิรการประสิทธิ์
จึงพบว่า ผู้ได้รับพระราชทานราชทินนามนี้ ครแรกคือพระยานริศราชกิจ  หลังจากที่พระยานริฐ ย้ายออกจากกรมไปรษณีย์แล้ว จึงใช้ราชทินนามว่า พระนาวิสูตรสาครดิฐ

พระวิเศษเกษตรศิลป์ (นกยูง วิเศษกุล) จึงได้รับพระราชทานราชทินนามดังกล่าวต่อ จากพระยาอจิรการประสิทธิ์ (สาย) แล้วต่อมาจึงได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ราชทินนาม พระยาสุรินทรราช แทน พลโท พระยาสุรินทรราชา(ม.ร.ว.สิทธิ์  สุทัศน์ ณ อยุธยา)ซึ่งได้รับการโปรดเกล้าฯให้เป็นท พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร
บันทึกการเข้า
นกเล็ก
อสุรผัด
*
ตอบ: 8

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 23 ก.ย. 05, 12:09

 ได้ค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับ พระยานริศราชกิจ จึงทราบว่า ท่านย้ายไปเป็น เจ้ากรมพลำภัง(กรมการปกครอง) ในปี 2456 - 2457  แล้วจึงไปเป็น เจ้ากรมเจ้าท่าในระหว่างปี 2458-2472
แต่ตามประวิติศาตร์กรมไปรษณีย์โทรเลขระบุว่า ดำรงตำแหน่งในระหว่างปี 2453-2454 ซึ่งขัดแย้งกันกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์หลายอย่าง

คำถามคือ...
บันทึกการเข้า
นกเล็ก
อสุรผัด
*
ตอบ: 8

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 23 ก.ย. 05, 12:12

 อยากถามท่านผู้รู้เกี่ยว ที่ทราบเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของ ท่านพระยานริศราชกิจ (สาย โชติกเสถียร) และ พระยาสุรินทรราชา (นกยูง วิเศษกุล) ถึงประวัติและผลงาน ของท่านทั้งสอง ด้วยค่ะ จะได้นำไปใช้ประโยชน์เกี่ยวกับประวัติศาสตร์กรมไปรษณีย์โทรเลข ที่มีมาถึง 120 ปี ก่อนจะถูกยุบไปในปี 2547

ขอบคุณค่ะ    
บันทึกการเข้า
นกเล็ก
อสุรผัด
*
ตอบ: 8

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 23 ก.ย. 05, 12:15

 แก้คำผิดค่ะ

พระนานริศราชกิจ (สาย โชติกเสถียร)

พระยาอจิรการประสิทธิ์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 23 ก.ย. 05, 13:33

ดิฉันรู้แต่พระยาสุรินทราชา (นกยูง วิเศษกุล)ค่ะ นอกนั้นไม่ทราบ
ต้องรอท่านอื่นๆมาตอบ
คุณนกเล็กโพสต์ในค.ห.เดียวก็ได้ค่ะ ไม่จำเป็นต้องแบ่งเป็นหลายๆค.ห.

บันทึกการเข้า
นกเล็ก
อสุรผัด
*
ตอบ: 8

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 23 ก.ย. 05, 14:37

 คุณเทาชมพูค่ะ

สำหรับท่าน พระยาสุรินทราชา (นกยูง วิเศษกุล) พอจะทราบไหมคะว่า... ในระหว่างที่ท่านเป็น เจ้ากรมเพาะปลูก ในปี พ.ศ. ใด  และเป็นอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2454 จึงหรือไม่คะ?
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 23 ก.ย. 05, 15:12

 1) พระยาสุรินทราชา(นกยูง วิเศษกุล) ได้รับตำแหน่งเจ้ากรมเพาะปลูก กระทรวงเกษตราธิการ  เมื่อพ.ศ. 2454
ในปีเดียวกันนี้ ท่านออกไปตรวจการทำไร่ยาสูบที่เกาะสุมาตรา และการทำสวนยาง สวนมะพร้าวและเหมืองแร่ ที่ปีนังและกัวลาลัมเปอร์  
รับราชการที่นี่อยู่ 2 ปี
2) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้เป็นผู้รั้งตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข  เมื่อพ.ศ. 2457(ไม่ใช่ 2454)
3) พ.ศ. 2458  จึงโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี  
เป็นอยู่จนถึงพ.ศ. 2462

ตำแหน่งสุดท้ายในราชการคือ อธิบดีกรมนคราธร กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2470-2475

บรรดาศักดิ์ที่คุณกล่าวถึง ยังผิดพลาดอยู่บ้าง   ที่ถูกคือ
ท่านเป็น หลวงอภิรักษ์ราชฤทธิ์ เมื่อพ.ศ. 2441
เป็น พระวิสูตรเกษตรศิลป์  เมื่อพ.ศ. 2453
เป็น พระยาอจิรการประสิทธิ์ เมื่อพ.ศ. 2457
เป็น พระยาสุรินทราชา  เมื่อพ.ศ. 2463
บันทึกการเข้า
นกเล็ก
อสุรผัด
*
ตอบ: 8

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 23 ก.ย. 05, 16:12

 ขอบคุณคุณเทาชมพูมากเลยค่ะ ข้อมูลนี้จเป็นประโยชน์มากเลยค่ะ

ถ้าเราเอ่งถึงประวัติการไปรษณีย์ไทย จะได้ยินเชื่อ เจ้าหมื่นเสมอใจราช  เป็นผู้กราบบังคมทูล ล้นเกล้ารัชการลที่ 5 เสนอให้จัดตั้งกิจการไปรษณีย์

อยากจะถามคุณเทาชมพูต่อว่า...

เจ้าหมื่นเสมอใจราช ท่านนี้ ตามประวัติของกรมไปรษณีย์ เอ่ยเพียงสั้นๆว่า คือ ม.ร.ว.เทวหนึ่ง ศิริวงศ์  แต่ไม่ได้เอ่ยอะไรมากกว่านั้น  เลยอยากจะทราบว่า ประวัติและผลงานของท่าน เป็นอย่างไร และ เจ้าหมื่นเสมอใจราชที่ อ้างถึงในประวัติการไปรษณีย์ไทยใช่ท่านแน่หรือไม่คะ? เพราะว่าในช่วงนั้น ผู้ที่เป็นเจ้าหมื่นเสมอใจราช คือท่านหรือคือ เจ้าหมื่นเสมอใจราช (ชื่น บุนนาค) กันแน่?    
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 23 ก.ย. 05, 18:29

 คุณนกเล็กลองค้นคำว่า เทวหนึ่ง โดยใช้ www.google.co.th จะเห็นอยู่ในหลายเว็บ
รวมทั้งเว็บวิชาการด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า
หุ้มแพร
อสุรผัด
*
ตอบ: 9


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 27 เม.ย. 06, 14:15

 พระยาวิสูตรสาครดิษฐ์(สาย โชติเสถียร) ท่านดำรงตำแหน่ง
เจ้ากรม กรมเจ้าท่าพ.ศ. 2458 - 2472  
  ท่านเป็นน้องชายของพระยาทิพโกษาโต ท่านโตเป็นข้าหลวงเทศาภิบาล มณฑลภูเก็ต คนแรก แต่เดิมท่านเป็นเจ้าเมืองนครชัยศรี แล้วเสด็จรัชกาลที่ 5 ให้ท่านไปคุมงานเรื่องภาษี ท่านจึงไปดำรงตำแหน่ง ผู้เชี่ยวชาญภาษีอากร ส่วนท่านสายก็ตามพี่ชายไปอยู่ที่ภูเก็ต ในช่วงระยะการบริหารราชการตามระบบมณฑลเทศาภิบาลภูเก็ต มีรายนามสมุหเทศาภิ-บาล ซึ่งบัญชาการหัวเมืองในมณฑลนี้ คือ
๑. พระยาทิพโกษา   (โต  โชติกเสถียร) ๒. พระยาวิสูตรสาครดิฐ  (สาย  โชติกเสถียร)
   พระยานริศรราชกิจ (สาย โชติกเสถียร) ข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพใน พ.ศ. 2442
  ผมจำไม่ได้ว่าท่านดำรงตำแหน่ง กรมไปรษณีย์เมื่อพ.ศ.อะไร แต่ท่านเป็นระยะเวลาสั้นๆ ช่วงที่ทหารเรือโอนเข้าเป็นราชการกรมไปรษณีย์สร้างสถานีวิทยุศาลาแดง
บันทึกการเข้า
หุ้มแพร
อสุรผัด
*
ตอบ: 9


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 27 เม.ย. 06, 14:21

 มณฑลภูเก็ต พระนริศราชกิจ (สาย โชติกเสถียร พ.ศ. 2433 - 2441)
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 30 เม.ย. 06, 14:18

 พระยานริศรราชกิจ (สาย  โชติกเสถียร) เป็นข้าหลวงใหญ่สำเร็จราชการมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ (มณฑลพายัพ) ในช่วง พ.ศ. ๒๔๔๑ - ๒๔๔๕  แล้วย้ายกลับกรุงเทพฯ ถ้าจำไม่ผิดนะครับดูเหมือนจะได้เป็นพระยาอจิรการประสิทธิ์ อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข  แล้วย้ายไปเป็นอัครราชทูตสยาม ณ กรุงโตเกียว ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาวิสูตรสาครดิษฐ์ในช่วงนี้แหละครับ
บันทึกการเข้า
อสุรผัด
*
ตอบ: 10


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 01 พ.ค. 06, 10:42

 สวัสดีค่ะ ทุกท่าน ขออนุญาตยกมือถามด้วยคนได้ไหมคะ  คือมีคำถามที่อาจจะเกี่ยวเนื่องกับพระยานริศราชกิจ (คำว่า นริศ ตกลงมี ร.เรือ ข้างหลังศ.ศาลา หรือเปล่าคะ  เพราะในหนังสือแต่ละเล่มเขียนไม่เหมือนกัน?)

คำถามคือ  ตำแหน่งนี้  พี่ชายของพระยานริศ (สาย) ที่ชื่อ โต  ที่ภายหลังได้เป็น พระยาทิพโกษา  ผู้ว่ามณฑลภูเก็ตเคยเป็นมาก่อนหรือเปล่าคะ?

ที่ถามก็เพราะว่า  กำลังค้นเรื่อง พ.ท. จรูญ โชติกเสถียร น่ะค่ะ ทราบว่าท่านเป็นคุณหลวงแต่ไม่ทราบราชทินนาม  ในบทความวิชาการหนึ่งมีอาจารย์ท่านหนึ่งค้นมาว่า ร้อยตรีจรูญ โชติกเสถียร (ในขณะที่แต่งงาน) เกิดที่ภูเก็ต เป็นบุตรพระยาทิพโกษา

แต่จากหนังสือ ความสัมพันธ์ไทย ญี่ปุ่น ๓๘๐ ปี  ได้มีการอ้างถึงจม.กรมหมื่นนครไชยศรีกราบทูลพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ ๓๑/๑๖๖๔๖ ลงวันที่ ๒๕ ธค. ร.ศ. ๑๒๗ บอกว่า ทางการไทยตัดสินใจส่งนักเรียนไปเข้ารร.ในรร.ทหารบกของญี่ปุ่น ๒ คน หนึ่งในนั้นคือ นาย จรูญ บุตรพระยานริศราชกิจ

ประกอบกับมีข้อมูลมาจากที่อื่นอีกว่า  พระยานริศราชกิจ (สาย โชติกเสถียร) เคยเป็นอัครราชทูตอยู่ที่ญี่ปุ่น  ก็เลยสงสัยไปกันใหญ่ว่า  ตกลง  พ.ท. จรูญ โชติกเสถียร  ที่ได้ไปเรียนทหารที่ญี่ปุ่นนั้น  เป็นบุตรใครกันแน่  ระหว่างพระยาทิพโกษา (โต) หรือ พระยานริศราชกิจ (สาย)    

นอกเสียจากว่า  ก่อนหน้านั้น  พระยาทิพโกษาเคยได้มีราชทินนามเป็นพระยานริศราชกิจมาก่อนน้องชายตัวเอง?

ขอโทษอีกทีนะคะที่มาแจมในกระทู้  แต่ถ้าท่านผู้รู้ใดจะช่วยได้  ก็จะเป็นพระคุณอย่างยิ่งค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.054 วินาที กับ 19 คำสั่ง